การปฏิบัติงานของศึกษานิเทศก์ ตาม ว.11 (PA) ระดับวิทยฐานะ ชำนาญการ มีระดับการปฏิบัติการ ดังนี้

(สีแดง คือระดับวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ ที่ต้องทำให้ถึง)

เอกสาร แบบบันทึกข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA) (PA1: 2565)

รายงานผลการพัฒนาตนเองตามข้อตกลง Performance Agreement: PA 2565

ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง (60 คะแนน)

ด้านที่ 1 ด้านการนิเทศการศึกษา

1.1 ออกแบบ จัดทำแผนการนิเทศการศึกษา ให้สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา หน่วยงานการศึกษา หรือผู้รับการนิเทศและสามารถแก้ไขปัญหา (ริเริ่ม คิดค้น พัฒนา) การนิเทศการศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพครูและผู้เรียน (และเป็นแบบอย่าง)

1.2 คัดสรร สื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา (ริเริ่ม คิดค้น พัฒนา) คัดสรร สื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยี ให้สอดคล้องกับแผนการนิเทศการศึกษา บริบทของสถานศึกษา หน่วยงานการศึกษา หรือผู้รับการนิเทศ โดยเน้นการมีส่วนร่วม เพื่อแก้ไขปัญหา (เพื่อพัฒนา) การนิเทศให้มีผลต่อคุณภาพครูและผู้เรียน (และเป็นแบบอย่างได้)

1.3 การปฏิบัติการนิเทศ มีการนิเทศ ให้คำปรึกษา แนะนำ ชี้แนะ เป็นพี่เลี้ยงให้ครู สถานศึกษา และหน่วยงานการศึกษา ตามแผนการนิเทศการศึกษา โดยเน้นการมีส่วนร่วม และสามารถแก้ไขปัญหา (พัฒนา) การนิเทศการศึกษา เพื่อให้ผู้รับกาานิเทศพัฒนาการจัดการเรียนรู้หรือการจัดการศึกษา ให้มีผลต่อคุณภาพครูและผู้เรียน (และเป็นแบบอย่าง)

1.4 การพัฒนางานวิชาการ การพัฒนางานวิชาการ ให้ครู สถานศึกษา และหน่วยงานการศึกษา สามารถจัดการศึกษาได้บรรลุผล ตามแผนการนิเทศการศึกษา โดยเน้นการมีส่วนร่วม และสามารถ แก้ไขปัญหา (พัฒนา) การนิเทศการศึกษาเพื่อให้ผู้รับการนิเทศพัฒนาการจัดการเรียนรู้หรือการจัดการศึกษาให้มีผลต่อคุณภาพครูและผู้เรียน (และเป็นแบบอย่างได้)

1.5 ประสานงานกับหน่วยงาน สถานประกอบการ ประสานงานกับหน่วยงาน สถานประกอบการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้ครู สถานศึกษาและหน่วยงานการศึกษาสามารถจัดการศึกษาได้บรรลุผล ตามแผนการนิเทศการศึกษา โดยเน้นการมีส่วนร่วม และสามารถ แก้ไขปัญหา (พัฒนา) การนิเทศการศึกษา เพื่อให้ผู้รับการนิเทศพัฒนาการจัดการเรียนรู้หรือการจัดการศึกษา ให้มีผลต่อคุณภาพครูและผู้เรียน

1.6 ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา มีการติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา ของครู สถานศึกษา และหน่วยงานการศึกษา ให้สามารถจัดการศึกษาได้บรรลุผล ตามแผนการนิเทศการศึกษา โดนเน้นการมีส่วนร่วมและสามารถ แก้ไขปัญหา (พัฒนา) เพื่อให้ผู้รับการนิเทศพัฒนาการจัดการเรียนรู้หรือการจัดการศึกษา ให้มีผลต่อคุณภาพครูและผู้เรียน (และเป็นแบบอย่าง)

1.7 รายงานผลการนิเทศ มีการรายงานผลการนิเทศ สอดคล้องกับแผนการนิเทศการศึกษา (โดยวิเคราะห์สังเคราะห์ สะท้อนผลการนิเทศ) ที่แสดงถึง การแก้ปัญหา (การริเริ่ม คิดค้น และพัฒนา) ผู้รับการนิเทศ หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อเป็นข้อมูลสารสนเทศในการพัฒนางานวิชาการ และการจัดการศึกษา (และเป็นแบบอย่าง)

ด้านที่ 2 ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษา

2.1 วางแผนการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาการจัดการศึกษา วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายและความต้องการจำเป็นสังเคราะห์สารสนเทศที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน โดยเน้นการมีส่วนร่วม (เป็นแบบอย่าง) เพื่อวางแผนการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาการจัดการศึกษา

2.2 เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับสถานศึกษา/หน่วยงานการศึกษา ประสานความร่วมมือกับหน่วยงาน องค์กร หรือ สถานประกอบการ รวมถึงภูมิปัญญาหรือผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่างๆ ให้เข้าร่วมมีส่วนร่วมพัฒนาการจัดการศึกษา (โดยเป็นแบบอย่าง) เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับสถานศึกษาหรือหน่วยงานการศึกษา

2.3 ติดตามประเมินผลการส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษา ติดตาม ประเมินผล การส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษาของสถานศึกษาหรือหน่วยงานการศึกษา โดยเน้นการมีส่วนร่วม (เป็นแบบอย่าง) ให้สามารถจัดการศึกษาได้บรรลุผลตามพันธกิจ

2.4 จัดทำรายงานสารสนเทศ วิเคราะห์ข้อมูลและจัดทำรายงานสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาต่อสถานศึกษาและหน่วยงานการศึกษา

ด้านที่ 3 ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษา

3.1 พัฒนาตนเองให้มีความรู้ ความสามารถ ทักษะ การใช้ภาษาไทย ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อการศึกษา สมรรถนะทางวิชาชีพศึกษานิเทศก์ และความรอบรู้ในเนื้อหาที่นิเทศ

3.2 เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อ แก้ไขปัญหา การจัดการเรียนรู้ และการจัดการศึกษา

3.3 นำความรู้ความสามารถ ทักษะที่ได้จากการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ มาใช้ในการ แก้ไขปัญหาการนิเทศการศึกษา ให้มีผลต่อคุณภาพครูและผู้เรียน

3.4 เผยแพร่องค์ความรู้ด้านการนิเทศ การจัดการเรียนรู้และการจัดการศึกษา และบริการวิชาการแก่หน่วยงานการศึกษาหรือหน่วยงานต่างๆ

ส่วนที่ 2 ประเด็นท้าทาย (40 คะแนน)

1. วิธีการดำเนินการ (20 คะแนน)

พิจารณาจากการดำเนินการที่ถูกต้อง ครบถ้วนเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในข้อตกลง และสะท้อนให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังตามตำแหน่งและวิทยฐานะ

2. ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนที่คาดหดวัง (20 คะแนน)

  1. เชิงปริมาณ (10 คะแนน)

พิจารณาจากการบรรลุเป้าหมายเชิงปริมาณได้ครบถ้วนตามข้อตกลง และมีความถูกต้องเชื่อถือได้

  1. เชิงคุณภาพ (10 คะแนน)

พิจารณาจากการบรรลุเป้าหมายเชิงคุณภาพได้ครบถ้วนถูกต้อง เชื่อถือได้ และปรากฎผลต่อคุณภาพผู้เรียนได้ตามข้อตกลง