กลศาสตร์วิศวกรรม

มคอ. 3


ชื่อสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์

วิทยาเขต/คณะ/สาขาวิชา คณะวิศวกรรมศาสตร์/สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา


หมวดที่ 1 ข้อมูลโดยทั่วไป


1. รหัสและชื่อรายวิชา

510202 กลศาสตร์วิศวกรรม

510202 Engineering Mechanics

2. จำนวนหน่วยกิต

3 หน่วยกิต 3 ( 3 - 0 - 6 )

3. หลักสูตรและประเภทของรายวิชา

วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธาและสาขาวิชาวิศวกรรมอื่นๆ

วิชาพื้นฐานทางวิศวกรรมศาสตร์ / หมวดวิชาเฉพาะทางวิศวกรรมศาสตร์

4. อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาและอาจารย์ผู้สอน

1. อาจารย์ สมภพ ลิ้มประไพพงษ์ อาจารย์ผู้สอน

2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เทอดศักดิ์ สายสุทธิ์ อาจารย์ผู้สอน


5. ภาคการศึกษา/ชั้นปีที่เรียน

ภาคการศึกษาที่ 2-2559 / ชั้นปีที่ 2 / กลุ่มที่ 201/ห้อง ........

6. รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน (Pre-requisite)

510104 วิชาฟิสิกส์ 1

7. รายวิชาที่ต้องเรียนพร้อมกัน (Co-requisite)

ต้องสอบผ่านหรือเรียนควบกับวิชา 510104 ฟิสิกส์ 1

8. สถานที่เรียน

มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร

9. วันที่จัดทำหรือปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชาครั้งล่าสุด

3 มกราคม 2560


กรณียเมตตสูตร (กะระณียะเมตตะสุตตัง)

♦ บทขัดกะระณียะเมตตะสุตตัง

ยัสสานุภาวะโต ยักขา เนวะ ทัสเสนติ ภิงสะนังยัมหิ เจวานุยุญชันโต รัตตินทิวะมะตันทิโตสุขัง สุปะติ สุตโต จะ ปาปัง กิญจิ นะ ปัสสะติเอวะมาทิคุณูเปตัง ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ

♦ กะระณียะเมตตะสุตตัง

กะระณียะมัตถะกุสะเลนะ ยันตัง สันตัง ปะทัง อะภิสะเมจจะ สักโก อุชู จะ สุหุชู จะ สุวะโจ จัสสะ มุทุ อะนะติมานี สันตุสสะโก จะ สุภะโร จะ อัปปะกิจโจ จะ สัลละหุกะวุตติ สันตินทริโย จะ นิปะโก จะ อัปปะคัพโภ กุเลสุ อะนะนุคิทโธ นะ จะ ขุททัง สะมาจะเร กิญจิ เยนะ วิญญู ปะเร อุปะวะเทยยุง สุขิโน วา เขมิโน โหตุ สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา

เย เกจิ ปาณะภูตัตถิ ตะสา วา ถาวะรา วา อะนะวะเสสา ทีฆา วา เย มะหันตา วา มัชฌิยา รัสสะกา อะณุกะถูลา ทิฏฐา วา เย จะ อะทิฏฐา เย จะ ทูเร วะสันติ อะวิทูเร ภูตา วา สัมภะเวสี วา สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา นะ ปะโร ปะรัง นิกุพเพถะ นาติมัญเญถะ กัตถะจิ นัง กิญจิ พยาโรสะนา ปะฏีฆะสัญญา นาญญะมัญญัสสะ ทุกขะมิจเฉยยะ มาตา ยะถา นิยัง ปุตตัง อายุสา เอกะปุตตะมะนุรักเข เอวัมปิ สัพพะภุเตสุ มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง

เมตตัญจะ สัพพะโลกัสมิง มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง

อุทธัง อะโธ จะ ติริยัญจะ อะสัมพาธัง อะเวรัง อะสะปัตตัง ติฏฐัญจะรัง นิสินโน วา สะยาโน วา ยาวะตัสสะ วิคะตะมิทโธ เอตัง สะติง อะธิฏเฐยยะ พรัหมะเมตัง วิหารัง อิธะมาหุ ทิฏฐิญจะ อะนุปะคัมมะ สีละวา ทัสสะเนนะ สัมปันโน กาเมสุ วิเนยยะ เคธัง นะ หิ ชาตุ คัพภะเสยยัง ปุนะเรตีติ ฯ

************************************************************************************************************************

คำแปล กรณียเมตตสูตร

กุลบุตรผู้ฉลาด พึงกระทำกิจอันใดที่พระอริยเจ้าได้บำเพ็ญบรรลุแล้วซึ่งพระนิพพาน อันเป็นที่สงบระงับได้แล้ว กุลบุตรนั้น พึงเป็นผู้องอาจ (กล้าหาญ) ซื่อตรงและประพฤติตนดี เป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย อ่อนโยน ไม่เย่อหยิ่ง เป็นผู้สันโดษ เป็นผู้เลี้ยงง่าย เป็นผู้มีกิจธุระน้อย เป็นผู้ประพฤติเบากายจิต เป็นผู้มีอินทรีย์ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) อันสงบระงับแล้ว มีปัญญา เป็นผู้ไม่คะนอง (กาย วาจา ใจ) ไม่พัวพันในสกุลทั้งหลาย ไม่พึงประพฤติกรรมอันใดที่วิญญูชน (ผู้รู้ทั้งหลาย) ติเตียนชนอื่นทั้งหลายว่าทำแล้วไม่ดีอันนั้นเลย ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงเป็นผู้มีความสุข มีความเกษมจิตถึงพระนิพพาน จงเป็นผู้ทำตนให้ถึงความสุขทุกเมื่อเถิด สัตว์มีชีวิตทั้งหลาย เหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่ ยังเป็นผู้สะดุ้ง (คือมีตัณหา) หรือเป็นผู้มั่นคง (ไม่มีตัณหา) ทั้งหมดไม่เหลือ เหล่าใดเป็นทีฆชาติหรือร่างกายโตใหญ่หรือปานกลางหรือต่ำเตี้ยหรือผอมหรืออ้วนพี เหล่าใดที่เราเห็นแล้ว หรือมิได้เห็นก็ดี เหล่าใดอยู่ในที่ไกลหรือที่ใกล้ก็ดี ที่เกิดแล้วก็ดีหรือที่กำลังแสวงหาภพอยู่ก็ดี ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้น จงเป็นผู้มีตนถึงความสุขเถิด สัตว์อื่นไม่พึงข่มเหงสัตว์อื่น ไม่พึงดูหมิ่นใครๆ อะไรๆ ในที่ใดๆ เลย ไม่ควรปรารถนาความทุกข์แก่กันและกัน เพราะความกริ้วโกรธหรือความเคียดแค้น มารดาถนอมบุตรคนเดียวผู้เกิดในตนย่อมสละชีวิตของตนได้ฉันใด พึงเจริญเมตตาจิตที่มีในใจไม่มีประมาณในสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง แม้ฉันนั้น บุคคลพึงเจริญเมตตาให้มีในใจ ไม่มีประมาณ ไปในโลกทั้งสิ้น ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง การเจริญเมตตาจิตนี้เป็นธรรมอันไม่คับแคบ ไม่มีเวร ไม่มีศัตรู ผู้เจริญเมตตาจิตนั้น จะยืนอยู่ก็ดี เดินไปก็ดี นั่งแล้วก็ดี นอนแล้วก็ดี เป็นผู้ปราศจากความง่วงนอนเพียงใด ก็ตั้งสติอันนั้นไว้เพียงนั้น บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวกิริยาอันนี้ว่า เป็นพรหมวิหารในพระศาสนานี้ บุคคลผู้มีเมตตา ไม่เข้ายึดถือความเห็นผิด (ทิฏฐิ) เป็นผู้มีศีล ถึงพร้อมแล้วด้วยความเห็นคือปัญญา (ทัศนะคือโสดาปัตติมรรค) นำความหมกมุ่นในกามทั้งหลายออกได้แล้ว ย่อมไม่ถึงความเข้าไปนอนในครรภ์อีก เพื่อเกิดอีกโดยแท้ทีเดียว ฯ

************************************************************************************************************************

♦ นะโม (นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุท ธัสสะ) 3 จบ

" เมตตัญจะ สัพพะโลกัสมิง มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง "

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) แนะให้สวดภาวนาเวลาขับรถทำให้ปลอดภัย-เป็นมนต์บอกเจ้าที่เจ้าทางของสถานที่เราเข้าไปอาศัยจักทำให้เราได้รับการคุ้มครองต้อนรับอย่างดี- พระเดชพระคุณหลวงพ่อจรัญ ฐิตธมโม ก่อนขับรถหรือเดินทางให้สวดบทคาถานี้

♦ คาถาแผ่เมตตา (กรณียเมตตาสูตร) แบบย่อ ใช้ภาวนาก่อนจบการปฏิบัติภาวนา เป็นการแผ่เมตตาไปทั่วจักรวาล หรือภาวนาบ่อย ๆเป็นพรหมวิหารภาวนา มีอานิสงส์มาก หลวงปู่เคยภาวนาคุยกับพญาช้างในป่ามาแล้ว♦หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ่ำกลองเพล ศิษย์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ดังนี้

พุทธะ เมตตัง จิตตังมะมะ พุทธะ พุทธานุภาเวนะ

ธัมมะ เมตตัง จิตตังมะมะ ธัมมะ ธัมมานุภาเวนะ

สังฆะ เมตตัง จิตตังมะมะ สังฆะ สังฆานุภาเวนะ

หลักปฏิบัติ ๑๕ ข้อ

๑.ผู้จะเข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานต้องศึกษาถึงภูมิของวิปัสสนาก่อน

ภูมิของวิปัสสนา กล่าวโดยย่อได้แก่ นามและรูป๒อย่างเพราะนามและรูปนี้จะต้องเป็นวัตถุที่ ถูกพิจารณา คือ ถูกเพ่ง นามและรูปนี้จะเป็นตัวกรรมฐานของวิปัสสนา จึงจำเป็นต้องเข้าใจ ลักษณะที่แตกต่างกัน ของนามและรูปให้ถูกต้อง

๒. กำหนดนาม-รูปในขณะปัจจุบันเสมอ

นาม-รูปที่ยกขึ้นสู่การพิจารณา หรือเป็นตัวกำหนดของวิปัสสนานั้น คือ นาม-รูปที่ปรากฏอยู่ที่ ตัวเราเอง ต้องรู้สภาวะ คือ ความจริงที่ปรากฏอยู่ที่ตัวเอง แล้วกำหนดนาม-รูปในขณะปัจจุบัน ใช้คำว่าดูหรือกำหนดก็ได้

๓.ต้องรู้สึกตัวอยู่ว่าขณะนั้นกำหนดนามอะไร หรือกำหนดรูปอะไร

ผู้ปฏิบัติต้องมีนาม-รูปรองรับ ความรู้สึกอยู่เสมอความรู้สึกที่ปรากฏขณะเจริญกรรมฐานจะต้องมีนามหรือรูปเป็นตัวถูกรู้จะเป็นนามอะไร รูปอะไรก็ได้ถ้าขณะใดมิได้กำหนดนามหรือรูปแม้จะมีสติรู้อยู่ กำหนดอยู่ก็ตามพึงทราบขณะนั้น ว่าจิตได้ตกออกจากทางวิปัสสนาหรือสติปัฏฐานเสียแล้ว ต้องยกนามหรือรูปกลับขึ้นสู่ความรู้สึกใหม่ต้องระลึกว่า การกำหนดตามหลักสติปัฏฐานแล้ว ต้องมีนาม-รูปเป็นอารมณ์อยู่เสมอ

๔. ห้ามมีความต้องการ

ขณะกำหนดหรือดูนาม-รูปอยู่ ผู้ปฏิบัติต้องระวังมิให้เกิดความรู้สึกต้องการ หรือมิให้เกิดความรู้สึกว่า กำหนดเพื่ออะไร เช่น ต้องการเห็นนาม-รูป หรือต้องการเห็นนาม-รูปเกิดดับ หรือต้องการให้เกิด วิปัสสนาญาณ เช่นนี้เป็นความรู้สึกที่ไม่ถูกต้อง

๕.ไม่ให้กำหนดรูปและนามไปพร้อมกัน

ขณะใดกำหนดรูปอยู่ ก็ต้องกำหนดเฉพาะรูป ขณะใดกำหนดหรือดูนามอยู่ ก็ต้องกำหนดเฉพาะนาม จะกำหนดนามและรูปพร้อมกัน ในขณะเดียวกันหรือในอารมณ์เดียวกันไม่ได้

๖.ไม่ควรใช้อิริยาบถโดยไม่จำเป็น

ผู้ปฏิบัติไม่ควรใช้อิริยาบถย่อยเช่น เคลื่อนไหว เหยียด คู้ก้ม เงย เหลียวซ้าย-ขวา เป็นต้นหรืออิริยาบถใหญ่เช่น ยืน เดิน นั่ง นอนโดยไม่จำเป็นจะเปลี่ยนอิริยาบถก็ต่อเมื่อเกิดทุกข์เช่น ปวดเมื่อยหรือมีเหตุจำเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น

๗. ถ้ามีความจำเป็นต้องเปลี่ยนหรือต้องใช้อิริยาบถต้องรู้เหตุนั้นก่อนว่าเปลี่ยนเพราะเหตุอะไร

เหตุผลในการเปลี่ยนอิริยาบถนี้มีความสำคัญมาก ผู้ปฏิบัติที่ต้องใช้หรือต้องเปลี่ยนอิริยาบถย่อยหรือใหญ่ก็ตาม ให้รู้เหตุที่จำเป็นนั้นก่อน จึงค่อยเปลี่ยนหรือใช้อิริยาบถนั้น

๘. อย่าทำอิริยาบถให้ผิดปกติ

เราเคยนั่งอย่างไร เคยเดินอย่างไร เคยนอนอย่างไร เมื่อเข้ากรรมฐาน ก็นั่งอย่างนั้น ไม่ต้องเดิน ให้ผิดปกติ ไม่ต้องนั่งให้ผิดปกติ ส่วนมากผู้เข้ากรรมฐานมักเข้าใจว่าต้องนั่งขัดสมาธิก่อน แล้วจึงกำหนด สำหรับวิปัสสนาไม่จำเป็น นั่งอย่างไรก็ได้เปลี่ยนอิริยาบถตามสะดวก นั่งอย่างไรทำอย่างไรก็ได้ตามปกติ แต่ขอให้รู้อยู่ในท่านั้น คือในรูปนั้น ๆ เท่านั้นจะเป็นท่านั่ง หรือท่านอนก็ตาม ขณะกำหนดท่านั่งหรือท่านอนจะต้องรู้สึกตัวด้วยสติสัมปชัญญะเสมอว่า กำลังกำหนดหรือดูรูปอะไรอยู่ ถ้ากำหนดท่านั่ง คือ ดูท่าที่นั่งก็ให้รู้สึกว่าขณะนี้กำลังดูรูปนั่ง ถ้ากำหนดท่านอน คือ ดูท่าที่นอนก็ให้รู้สึกว่าขณะนี้กำลังดูรูปนอนอยู่ ทำนองเดียวกัน ในการดูรูปยืนหรือรูปเดินก็ตาม ต้องรู้สึกเสมอว่าขณะนี้กำลังดูรูปอะไร หรือกำลังดูนามอะไรอยู่

๙. ไม่ให้ประคองอิริยาบถมากจนผิดปกติ

ผู้ปฏิบัติบางท่านขณะเดินก็พยายามประคองอิริยาบถมากค่อย ๆ ยกเท้า ก้าวเท้าอย่างช้า ๆคล้ายหุ่นยนต์ขณะยกมือหรือใช้อิริยาบถอื่นๆ ก็รู้สึกว่าจะประคองมากจนผิดปกติ ความระวังอิริยาบถจนผิดปกติเช่นนี้เป็นการทำเพื่อความต้องการ ความต้องการจะแฝงอยู่ในความรู้สึกนั้นความต้องการเป็นโลภะ เป็นกิเลส จึงสร้างท่าทางและอิริยาบถที่ผิดธรรมชาติขึ้นมาโดยไม่รู้ตัว ทั้งนี้แทนที่การปฏิบัตินี้จะเป็นไปเพื่อละกิเลส จะกลายเป็นการพอกพูนกิเลสที่แฝงอยู่ในการใช้ อิริยาบถต่าง ๆ ฉะนั้น ความรู้สึกเช่นนี้จึงไม่ถูกต้อง ผู้ปฏิบัติต้องคอยสังเกตเจตนาแฝงเร้น ของตนเองอยู่เสมอ

๑๐. ขณะเข้ากรรมฐาน ห้ามทำสิ่งที่ไม่จำเป็น

หากไม่จำเป็นแล้ว ไม่ให้ทำการงานใดทั้งสิ้น การพูดถ้าไม่จำเป็นไม่ให้พูดคุยกันระหว่างผู้ปฏิบัติด้วยกันการนั่ง นอน ยืน เดินอ่านหนังสือ ก็ไม่ควรทำถ้าไม่มีเหตุให้ต้องทำ แม้กระทั่งการรับประทานการดื่ม ในเวลาที่ไม่หิวไม่กระหาย เป็นต้น

๑๑. ก่อนทำสิ่งใดต้องรู้เหตุจำเป็นก่อน

ก่อนจะใช้อิริยาบถ หรือก่อนจะทำสิ่งใด เช่น กินข้าว อาบน้ำ ถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะ หรือนั่ง นอน ยืน เดิน ต้องรู้ว่าที่ทำเพราะมีความจำเป็น หรือมีเหตุให้ต้องทำ ไม่ทำไม่ได้ เป็นต้น ผู้ปฏิบัติที่ไม่ได้สังเกต บางขณะอาจลุกขึ้นเดินโดยไม่ทราบเหตุผลที่ลุกขึ้นว่าจะลุกขึ้นไปเดินเพราะอะไร บางครั้งมีความตั้งใจจะเดินกรรมฐาน การตั้งใจเช่นนี้ก็ไม่ถูกต้อง หรือบางครั้งกำลังเดินอยู่ นึกอยากจะเลิกก็เลิก อย่างนี้ก็ใช้ไม่ได้ เวลาจะเลิกจากการเดินก็ต้องรู้ว่าจำเป็นต้องเลิกจึงจะค่อยเลิก และจะต้องรู้เหตุของความจำเป็นด้วยว่า ที่ต้องเลิกนั้นเพราะเหตุใด เช่น เพราะเหตุรู้สึกเมื่อยล้า ความเมื่อยล้าบีบคั้นให้ต้องเลิกเดิน เป็นต้น ไม่ใช่เราอยากเลิก ความหมายของความจำเป็นนั้น ค่อนข้างลึกซึ้ง และต้องใช้ไหวพริบในการพิจารณาพอสมควร จึงจะสามารถกันความต้องการ และความไม่รู้ได้สิ่งเหล่านี้ถ้าไม่ระวังให้ดีความต้องการที่จะทำย่อมแฝงอาศัยอยู่ในความรู้สึกนั้นได้เมื่อกิเลสเข้า อาศัยแล้วจิตของผู้นั้นก็จะเข้าไม่ถึงวิสุทธิได้ในสติปัฏฐาน พระบาลีกล่าวว่า

อนิสฺสิโต จ วิหรติหมายถึงว่า ตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยแล้ว(จึงจะเข้าถึงวิสุทธิได้)

๑๒. อย่าทำความรู้สึกว่าที่ทำเพราะจะทำกรรมฐาน

เวลาจะเดิน จะนั่ง จะนอน จะยืน ไม่ให้รู้สึกว่าจะเดินกรรมฐาน จะนั่งกรรมฐาน หรือจะนอนกรรมฐาน ไม่ให้รู้สึกว่าที่ทำเพราะจะทำกรรมฐาน ทั้งนี้ เพราะความรู้สึกที่ว่าตนกำลังทำกรรมฐานนั้น จะสร้างท่าทางที่ผิดปกติไปจากธรรมชาติที่ตนเคยเป็นอยู่โดยไม่รู้ตัว อิริยาบถที่สร้างขึ้นไม่ใช่ของจริง แต่เกิดขึ้นจากอำนาจกิเลสความต้องการ เป็นพื้นฐานของการมีอัตตาบังคับท่าทางต่าง ๆ ตามมา

๑๓. อย่าทำความรู้สึกในเวลาที่กำหนดว่า จะกำหนดเพื่อให้จิตสงบ

อย่าทำความรู้สึกในขณะที่กำหนดนาม-รูปว่าจะกำหนดเพื่อให้จิตสงบเพื่อให้ได้สมาธิหรือตั้งใจว่าจะกำหนดเพื่อให้จิตอยู่ตรงนี้ ไม่ให้จิตเคลื่อนย้ายไปที่อื่นการมีความรู้สึกเช่นนี้ ไม่ถูกต้องหรือบางครั้ง ขณะตั้งใจดูนาม-รูป มีความปรารถนาเพื่อให้เกิดปัญญา จะได้เห็นธรรม หรือดูเพื่อให้ธรรมเกิดขึ้น ในระหว่างที่ดูนั้น หรือดูเพื่อต้องการให้ธรรมที่เราไม่ชอบนั้นหายไป อย่างนี้ก็ยังไม่ถูกต้อง ผู้ปฏิบัติต้องไม่ให้ความรู้สึกดังกล่าวเกิดขึ้นในขณะที่ดูที่กำหนด

๑๔.เวลาทำกรรมฐานต้องทำใจให้เหมือนดูละคร อย่าไปร่วมเล่นละคร

เช่น บังคับจะทำอย่างนั้น บังคับจะทำอย่างนี้ เป็นต้น เช่นนี้ใช้ไม่ได้สำหรับวิปัสสนา ต้องทำความรู้สึก ให้เหมือนกับเราดูละคร อย่างนี้จิตจึงจะเข้าเป็นมัชฌิมา มิฉะนั้น จิตมักตกไปในอภิชฌา และโทมนัส เสมอ เมื่ออภิชฌาและโทมนัสเกิดแล้ว ก็ยากที่ปัญญาจะเกิดได้

๑๕.ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาอย่าตั้งใจจนเกินกว่าเหตุ

เช่น ตั้งใจจะทำเพื่อให้จิตสงบหรือเป็นสมาธิ เป็นต้น

หลักการทั้ง๑๕ ข้อ เป็นอุบายให้ผู้ปฏิบัติใหม่ทุกคนพึงระลึกถึงอยู่เสมอในขณะกำหนดว่าตนกำลังออกนอกหลักการ ข้อใดข้อหนึ่งหรือไม่ผู้ปฏิบัติจะต้องมีความเข้าใจในแง่มุมต่างๆ ให้ดีก่อนการปฏิบัติจึงจะได้ผล

******************************************************************************************************

หลักของการปฏิบัติกรรมฐาน

เวทนานุปัสสนา

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วัดบวรนิเวศวิหาร

คัดจากเทปธรรมอบรมจิต ข้อความสมบูรณ์ อณิศร โพธิทองคำ บรรณาธิการ

อนุปัสสนา

บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม

กรรมฐานย่อมเป็นข้อพึงปฏิบัติสำหรับที่จะทำจิตให้สงบ และให้ได้ปัญญารู้แจ้งเห็นจริง สติปัฏฐานย่อมเป็นข้อกรรมฐานที่พึงปฏิบัติ ทั้งเพื่อสงบ ทั้งเพื่อให้เกิดปัญญารู้แจ้งเห็นจริง ฉะนั้น จึงได้ตรัสสอนเอาไว้ให้ทำสติที่เป็นตัว อนุปัสสนา คือตามดูตามรู้ตามเห็น กาย เวทนา จิตธรรม ของตนที่เป็นไปอยู่ ในภายใน ในภายนอก ทั้งภายในทั้งภายนอก

ทั้งให้ทำอนุปัสสนาคือตามดูตามรู้ตามเห็นในกายเวทนาจิตธรรมว่ามีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา มีความเสื่อมดับไปเป็นธรรมดา ทั้งมีความเกิดขึ้นทั้งมีความเสื่อมดับไปเป็นธรรมดา ตั้งสติก็เพื่อให้รู้ให้เห็นว่ากายเวทนาจิตธรรมมีอยู่สำหรับตั้งสติ และสำหรับที่จะให้ได้ปัญญารู้ ไม่ยึดมั่นอะไรๆในโลกดั่งนี้ นี้เป็น หลักของการปฏิบัติกรรมฐาน มิใช่แต่สติปัฏฐานเท่านั้น แม้ในกรรมฐานข้ออื่นก็เช่นเดียวกัน ในเบื้องต้นจะต้องทำสติให้เป็นอนุปัสสนาตามดูตามรู้ตามเห็น ข้อกรรมฐานที่ตั้งกำหนดนั้น

กำหนดว่ามีอยู่

หากว่าตั้งกำหนดในกาย ในเวทนา ในจิต ในธรรม ก็ให้ตั้งสติกำหนดว่ากายมีอยู่ เวทนามีอยู่ จิตมีอยู่ ธรรมะมีอยู่ หรือหากว่าจะยกขึ้นเป็นตัวอย่างในข้อใดข้อหนึ่ง ที่จำแนกแยกออกไปจาก ๔ ข้อใหญ่นี้เช่น ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก เมื่อตั้งสติให้เป็นอนุปัสสนาตามดูตามรู้ตามเห็นลมหายใจเข้าลมหายใจออกของตน ในเบื้องต้นก็ต้องตั้งสติกำหนดว่าลมหายใจเข้าลมหายใจออกมีอยู่

คำว่ามีอยู่นี้หมายถึงว่ามีอยู่ในจิตที่ตั้งกำหนดไม่หายไปจากจิตที่ตั้งกำหนด ต้องให้มีอยู่ในจิตที่ตั้งกำหนด อันความมีอยู่ในจิตที่ตั้งกำหนดนี้จึงหมายถึงตัวอารมณ์ คือเรื่องที่มีอยู่ในจิต ต้องให้เรื่องของลมหายใจเข้าลมหายใจออกมีอยู่ในจิต อารมณ์นี้ไม่หายไปจากจิต ถ้าหายไปจากจิตเสียก็แปลว่ากรรมฐานไม่ตั้งขึ้นในจิต

เพราะเหตุว่า จิตนี้จะสลึมสลือง่วงเหงาไปก็ตาม จะรับอารมณ์อื่นเข้ามาก็ตาม อารมณ์แห่งลมหายใจเข้าหายใจออกก็จะหายไป ถ้าเพราะสลึมสลือง่วงเหงาก็จะหลับไป ดับไป คือหลับไป ดับหรือหลับไปนี้ไม่ใช่เป็นตัวปัญญาที่เห็นดับ ไม่มีตัวปัญญาอยู่ในความสลึมสลือ ในความง่วงเหงา หรือในความที่หลับหรือดับไปนั้น เป็นถีนมิทธะ ความง่วงงุนเคลิบเคลิ้ม หรือว่ารับอารมณ์อื่นเข้ามา ก็เช่นคิดถึงเรื่องนั้นเรื่องนี้ที่เป็นกังวลอยู่ หรือที่ใจผูกอยู่

ก็แปลว่าจิตปล่อยอารมณ์แห่งลมหายใจเข้าลมหายใจออก ไปจับเอาอารมณ์ของเรื่องต่างๆเข้ามา เมื่อเป็นดั่งนี้อารมณ์แห่งลมหายใจเข้าลมหายใจออกก็หายไป ก็แปลว่าจิตไม่ตั้งอยู่ในลมหายใจเข้าลมหายใจออก ก็ไม่ได้อานาปานสติสมาธิ เป็นการได้ความง่วงเหงา ความหลับ หรือว่าได้ความฟุ้งซ่าน

เพราะฉะนั้นความที่จิตจะตั้งอยู่ในอารมณ์ของกรรมฐานนั้นก็คือว่าอารมณ์ของกรรมฐานข้อนั้นมีอยู่ในจิต อารมณ์แห่งกรรมฐานคือลมหายใจเข้าลมหายใจออกมีอยู่ในจิต จิตรู้อยู่กับลมหายใจเข้าลมหายใจออก หายใจเข้าก็รู้ หายใจออกก็รู้ ดั่งนี้ก็คือว่ามีอยู่ มีอยู่ในจิต

กำหนดให้รู้ภายในภายนอก

คราวนี้มีอยู่เพื่ออะไร ก็มีอยู่เพื่อที่จะสำหรับเป็นที่ตั้งของสติ เพราะสตินั้นจำเป็นที่จะต้องมีที่ตั้ง เมื่อตั้งใจที่จะทำอานาปานสติ ก็ต้องให้มีลมหายใจเข้าลมหายใจออกนี่แหละเป็นที่ตั้งของสติ เป็นที่ตั้งของสติกำหนด กำหนดยังไง ก็กำหนดให้รู้ภายใน ให้รู้ภายนอก ให้รู้ทั้งภายในทั้งภายนอก

ความที่ตั้งกำหนดให้รู้ดั่งนี้ก็ไม่ต้องไปขวนขวายค้นหาว่าภายในอยู่ที่ไหน ภายนอกอยู่ที่ไหน ทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ที่ไหน มีอยู่ที่อารมณ์คือลมหายใจเข้าลมหายใจออก กับตัวสตินี่แหละ ที่ตั้งกำหนดอยู่ และเมื่อตั้งกำหนดอยู่ดั่งนี้ ความที่เป็นภายในความที่เป็นภายนอกของลม ก็รู้เอง ก็คือว่าเมื่อเข้ามาก็เป็นภายใน ออกไปก็เป็นภายนอก เท่านี้ หายใจเข้าก็ให้รู้ หายใจออกก็ให้รู้ เข้ามาก็เป็นภายใน ออกไปก็เป็นภายนอก

และก็ต้องให้รู้ทั้งภายในทั้งภายนอก คือทั้งเข้าทั้งออก ไม่สับสนกัน

และละเอียดขึ้นไปกว่านี้ก็ให้รู้ยาว ให้รู้สั้น ให้รู้กายทั้งหมด และรู้แล้วก็ต้องปล่อย ให้สงบ ให้ละเอียด ไม่ยึดถือ ไม่ปรุงแต่ง ก็เป็นความสงบกายสังขารคือเครื่องปรุงกาย ตามที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน เพราะฉะนั้น ไม่ต้องไปทำความสงสัยค้นหาอะไรมากมาย ว่าภายในอยู่ที่ไหน ภายนอกอยู่ที่ไหน เอาแค่นี้แหละ เข้าก็เป็นภายใน ออกก็เป็นภายนอก ให้รู้ ให้รู้ทั้งภายในทั้งภายนอก และเมื่อจิตมีสติกำหนดอยู่ดั่งนี้ ลมหายใจก็มีอยู่ทั้งภายในทั้งภายนอก ทั้งขาเข้า ทั้งขาออก ไม่หายไป หายไปเมื่อไรก็แปลว่าจิตฟุ้งออกไปแล้ว จิตไม่ตั้งแล้ว หรือว่าสติหลงลืมไปเสียแล้ว ฟุ้งแล้ว จึงต้องให้มีอยู่

ฉะนั้นความที่ตั้งสติกำหนดว่ากรรมฐานข้อที่ปฏิบัติมีอยู่เช่นลมหายใจเข้าออกมีอยู่ดั่งนี้ ก็เพื่อสติกำหนด เพื่อเป็นที่ตั้งของสติ และเมื่อเป็นที่ตั้งของสติดั่งนี้แล้วก็รู้เอง รู้ภายในขึ้นมาเอง รู้ภายนอกขึ้นมาเอง คือเข้าก็รู้ ออกก็รู้ ความทำความเข้าใจภายในภายนอกง่ายๆดั่งนี้ปฏิบัติง่าย ไม่ต้องไปค้นหาว่านอกในอยู่ที่ไหน อยู่ที่นี่แหละ เพียงเท่านี้ก็เป็นตัวสติขึ้นมาได้

เกิดดับเป็นธรรมดา

และเพื่อญาณคือความหยั่งรู้นั้น ก็คือว่าเพื่อให้รู้ว่ามีเกิดเป็นธรรมดา มีดับเป็นธรรมดา มีทั้งเกิดทั้งดับเป็นธรรมดา ตอนนี้ก็เข้าขั้นที่จะเป็นวิปัสสนา แต่อันที่จริงนั้นจะเรียกว่าอนุปัสสนาก็ได้ คือเป็นการตามดูตามรู้ตามเห็นเหมือนกัน

ก็คือว่าเกิดเป็นธรรมดาดับเป็นธรรมดานั้นก็ปรากฏอยู่แก่ลมหายใจเข้าลมหายใจออกที่มีอยู่นี่แหละ เพราะว่าคำว่ามีอยู่นี้ไม่ใช่หมายความว่าตั้งอยู่เป็นความตั้งอยู่ ไม่ใช่อย่างนั้น แต่อันที่จริงนั้นก็เข้าออกนั่นแหละเป็นตัวความเกิดความดับ เข้าก็คือว่าเกิด ออกก็คือว่าดับ

แต่ว่ามีสันตติคือความสืบต่อเนื่องไปเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันจึงเหมือนอย่างว่าลมหายใจเข้าออกนี้ไม่มีดับ แต่อันที่จริงนั้นมีเกิดมีดับอยู่ทุกขณะที่หายใจเข้าหายใจออก ความเกิดความดับจึงปรากฏแก่ปัญญาหรือญาณที่กำหนดได้ เพราะฉะนั้น ก็เป็นความตามดูตามรู้ตามเห็นอีกเหมือนกัน คือว่าตามดูในอาการที่เกิดของลมหายใจ ในอาการที่ดับของลมหายใจ และให้รู้จักว่ามีสันตติคือความสืบต่อ ขาดสันตติคือความสืบต่อขาด เช่นว่ากลั้นลมหายใจ หรือว่าจมน้ำ หรือว่าถูกรัดคอเป็นต้น หากว่าสันตติคือความสืบต่อขาดในระยะที่ยังไม่เป็นอันตรายแก่ชีวิต ชีวิตก็ดำรงอยู่ได้ ถ้าขาดไปจนถึงขีดเป็นอันตรายแก่ชีวิต ชีวิตนี้ก็ดับในที่สุด ที่เรียกว่ามรณะคือความตาย

เวทนา ๓ อย่าง

ฉะนั้น ลองกลั้นลมหายใจดูจะเห็นว่าเมื่อสันตติขาดแล้วเป็นยังไง ก็จะพบ ทุกขเวทนา ครั้นเมื่อเลิกกลั้นลมหายใจปล่อยให้หายใจไปตามปรกติเป็นยังไง ก็รู้สึกว่าเกิด สุขเวทนา แต่ว่าในขณะที่ไม่ได้ลองกลั้นลมหายใจ และเลิกกลั้นปล่อยให้หายใจตามปรกติ ก็จะไม่ค่อยรู้สึกว่ามีสุขเวทนาหรือทุกขเวทนาเพราะลมหายใจ เป็นเรื่องที่เป็นไปตามปรกติธรรมดา ก็มีเวทนาเหมือนกัน เรียกว่าเป็นเวทนาที่เป็นกลางๆ ที่ไม่สุขแรงนัก ไม่ทุกข์แรงนัก อันที่จริงก็มีสุขมีทุกข์อยู่แต่ไม่แรงนักจนเป็นที่ปรากฏชัด ก็เป็น อุเบกขาเวทนา ก็จับเวทนาได้อีกอย่างหนึ่งจากลมหายใจเข้าลมหายใจออก

เวทนาทางกาย

อันเวทนานี้เป็นสิ่งที่มีประจำอยู่ในกายและจิตหรือในกายและใจอยู่ตลอดเวลา เป็นลักษณะของความที่ยังมีชีวิตอยู่ของกายใจอันนี้ ซึ่งจะต้องมีเวทนาอยู่เสมอ เป็นเวทนาทางกายเป็นเวทนาทางใจ เพราะฉะนั้นเวทนานี้จึงเป็นตัวนามธรรมชนิดที่หยาบ ประกอบอยู่ทั้งทางกาย ทั้งทางใจ

เวทนาที่ประกอบอยู่ทางกายนี้ ก็ไม่ใช่กาย เป็นความรู้สึก หรือเป็นความรู้อย่างหนึ่งในขณะที่ร่างกายยังมีประสาททั้งหลายเป็นปรกติ และโดยเฉพาะเวทนาทางกายนี้ย่อมเกิดขึ้น เพราะสัมผัสสิ่งที่ถูกต้องทางกาย อันเป็นอายตนะที่ ๕

อันอายตนะนั้นมี ๖ ภายใน ๖ ภายนอก ๖ คู่กัน กายเวทนาจิตคู่กัน ตา หู จมูก ลิ้น กาย และมนะคือใจ เป็นอายตนะภายใน รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมะคือเรื่องราวเป็นอายตนะภายนอก ตากับรูปก็คู่กัน หูกับเสียงก็คู่กัน จมูกกับกลิ่นก็คู่กัน ลิ้นกับรสก็คู่กัน กายและโผฏฐัพพะ คือสิ่งที่กายถูกต้องก็คู่กัน มนะคือใจและธรรมะคือเรื่องราวก็คู่กัน โดยเฉพาะคู่ที่ ๕ ก็คือกายและโผฏฐัพพะคือสิ่งที่กายถูกต้อง คู่นี้แหละที่ทำให้เกิดเวทนาทางกายทั้งสุขทั้งทุกข์ และทั้งที่เป็นกลางๆไม่ทุกข์ไม่สุข

ดังจะพึงเห็นได้ว่ากายที่มีกายประสาทอยู่เป็นปรกติเมื่อได้รับโผฏฐัพพะคือสิ่งที่กายถูกต้อง จะเป็นดินฟ้าอากาศก็ตาม เป็นสิ่งอื่นก็ตาม ที่เกื้อกูลให้เกิดความสุข ก็เกิดสุขเวทนาทางกาย เช่นเวลาที่ร้อนก็ได้รับลมพัดให้เย็น ในเวลาที่หนาวก็ได้รับความอบอุ่น จะจากไฟก็ตาม จากเสื้อผ้าที่สวมใส่ก็ตาม ดั่งนี้ก็เกิดความสุข เป็นความสุขทางกาย

ถ้าหากว่าไม่ได้รับสิ่งที่เกื้อกูลให้เกิดความสุขทางกายได้รับตรงกันข้าม ก็เกิดทุกขเวทนาทางกาย เช่นต้องพบกับอากาศที่ร้อนมาก หนาวมาก หรือว่าต้องประสบกับของแข้นแข็งที่มากระทบกระทั่งให้บอบช้ำลำบาก ตลอดจนถึงต้องศาสตราอาวุธ เหล่านี้ ซึ่งเป็นเครื่องทำให้เกิดความทุกข์ ก็เกิดทุกขเวทนาทางกาย ถ้าหากว่าสิ่งแวดล้อมทั้งหลายที่เป็นตัวโผฏฐัพพะมากระทบกระทั่งนั้น เป็นกลางๆ ไม่ให้เกิดทุกข์ไม่ให้เกิดสุขอะไรมากนัก ก็เป็นเวทนาที่เป็นกลางๆ ก็เป็นดั่งนี้อยู่ตลอดเวลา นี่เป็นทางกาย

เวทนาทางใจ

ส่วนว่าสัมผัสที่เกิดจากอายตนะคู่อื่นๆ คือว่าเกิดจากตากับรูปประจวบกัน หูกับเสียงประจวบกัน จมูกกับกลิ่นประจวบกัน ลิ้นกับรสประจวบกัน และมโนคือใจกับธรรมะคือเรื่องราวประจวบกัน ในอีก ๕ ทางนี้ก็ให้เกิดเวทนาทางใจ เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง เป็นกลางๆไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง

เพราะฉะนั้น จึงต้องทำความเข้าใจให้รู้เวทนาทางใจนี้อีกสักหน่อยหนึ่ง ดังเช่นตากับรูปประจวบกันก็หมายความว่าเห็นรูป หากว่ารูปที่เห็นนั้นเป็นรูปที่เป็นที่ตั้งของความชอบใจพอใจ ก็ให้เกิดสุขเวทนาทางใจ ถ้าเป็นรูปที่ไม่ทำให้ ที่ๆไม่เป็น ที่เป็นที่ตั้งของความไม่ชอบเกลียดชัง ก็ให้เกิดทุกขเวทนาทางใจ

คำว่าตากับรูปประจวบกันนั้นจึงหมายถึงอย่างนี้ ตาเห็นรูป รูปที่เป็นที่ตั้งของความชอบก็มี ความชังก็มี ก็ให้เกิดสุขเวทนา ให้เกิดทุกขเวทนาทางใจไปตามประเภท แต่ไม่ใช่หมายความว่ารูปที่เป็นวัตถุนั้น เช่นว่าผงเข้าตา ผงเข้าตาก็เกิดความแสบคัน ถ้าเป็นเรื่องเช่นนี้ไม่ใช่หมายความว่าตากับรูปประจวบกันดังกล่าวนั้น แต่ไปเข้าข้อๆที่ ๕ กายและโผฏฐัพพะ

เพราะว่าผงเข้าตานั้นหมายถึงตาที่เป็นส่วนกาย ไม่ใช่ประสาทที่ให้เห็น ไม่ใช่เป็นตัวความเห็นรูป และผงนั้นก็เป็นโผฏฐัพพะคือสิ่งที่กายถูกต้อง ก็เกิดแสบคันเจ็บปวดขึ้นดั่งนี้ ก็มาเข้าข้อที่ ๕ ไม่ใช่เข้าข้อที่ ๑ ที่เข้าข้อที่ ๑ คือตากับรูปประจวบกันก็หมายถึงที่ตาเห็นรูป รูปที่เห็นนั้นเป็นที่ตั้งของความชอบหรือไม่เป็นที่ตั้งของความชอบ ก็ให้เกิดสุขให้เกิดทุกข์ไปตามประเภท

แม้ในข้อที่ ๒ ก็เหมือนกัน หูกับเสียงประจวบกันก็หมายถึงว่าได้ยินเสียง เมื่อได้ยินเสียงที่พอใจก็ให้เกิดสุข ที่ไม่พอใจก็ให้เกิดทุกข์ แต่ว่าถ้าเป็นเสียงชนิดที่ว่า เช่นว่าเสียงดังเกินไปทำให้แสบแก้วหู ถ้าเป็นดั่งนี้ก็ไปเข้าข้อที่ ๕ คือกายและโผฏฐัพพะ เพราะว่าอาการที่แสบแก้วหูนั้นเป็นเรื่องของกาย คือส่วนกาย แล้วก็ตัวเสียงนั้นเองก็เป็นตัวโผฏฐัพพะที่มากระทบ อันทำให้แสบแก้วหู หรือจนถึงทำให้หูตึงหูหนวก ก็มาเข้าข้อที่ ๕ คือกายและโผฏฐัพพะ

ส่วนที่เป็นข้อที่ ๒ หูกับเสียงนี้ หมายถึงว่าได้ยินเสียง ได้ยินเสียงที่น่าพอใจ ไม่น่าพอใจ เช่นว่าได้ยินเสียงที่พอใจ ถ้าใครพอใจฟังธรรมะได้ฟังธรรมะที่พอใจ ก็เกิดความสุขเวทนาทางใจ หรือใครที่พอใจจะฟังเสียงอย่างอื่น เมื่อได้ฟังเสียงอย่างนั้นแล้วก็เกิดความสุขขึ้น ก็เกิดสุขเวทนาทางใจ แต่ว่าถ้าเป็นเสียงที่ไม่น่าพอใจ เช่นว่าเสียงด่าเสียงว่าอะไรเป็นต้น มากระทบกระทั่งใจเข้า ก็เกิดทุกขเวทนาทางใจขึ้นมา ดังนี้ให้เกิดทุกขเวทนาทางใจ เกี่ยวแก่อายตนะข้อหูกับเสียงนี้

จมูกกับกลิ่นก็เหมือนกัน ก็หมายถึงกลิ่นที่ชอบหรือไม่ชอบใจ แล้วก็เกิดทุกข์หรือสุขทางใจขึ้น ลิ้นกับรสก็เหมือนกัน ก็หมายถึงว่ารสที่ชอบใจหรือไม่ชอบใจ ก็เกิดทุกข์หรือสุขทางใจขึ้น และมาถึงข้อสุดท้ายคือมโน ใจกับธรรมะคือเรื่องราวก็เหมือนกัน ก็ถ้าเป็นเรื่องที่พอใจ ก็ทำให้เกิดสุขเวทนา ถ้าไม่พอใจก็ให้เกิดทุกขเวทนา

เพราะฉะนั้นสำหรับที่ให้เกิดเวทนาทางกายนั้นจึงมีข้อเดียวคือข้อกายและโผฏฐัพพะ ส่วนข้อตากับรูป หูกับเสียง จมูกกับกลิ่น ลิ้นกับรส และใจกับธรรมะคือเรื่องราวนั้น ให้เกิดสุขเวทนาหรือทุกขเวทนาทางใจ

ปัจจัยให้เกิดตัณหา

ฉะนั้น บุคคลจึงต้องมีเวทนาทางกายทางใจกันอยู่ตลอดเวลา ที่เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง เป็นกลางๆไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง และเวทนานี้เองที่เป็นต้นทางให้เกิดราคะโทสะโมหะ หรือโลภโกรธหลง หรืออีกอย่างหนึ่งเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหาความดิ้นรนทะยานอยาก ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสแสดงไว้ว่า เวทนาปัจจยาตัณหา เพราะเวทนาเป็นปัจจัยเกิดตัณหาคือความดิ้นรนทะยานอยาก เพราะฉะนั้นอันตัวกิเลสตัณหาก็ดี ราคะโทสะโมหะก็ดี หรือว่าโลภโกรธหลงก็ดี ที่บังเกิดขึ้นในจิตใจของบุคคลนั้น ย่อมสืบเนื่องมาจากเวทนาดังกล่าวมา จะต้องมีเวทนาขึ้นก่อน เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง เป็นกลางๆไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง ซึ่งเวทนานี้เองเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา หรือให้เกิดกิเลสทั้งหลายดังกล่าวนั้น

อันตัวเวทนานั้นอันที่จริงก็เป็นขันธ์ข้อหนึ่งในขันธ์ ๕ ซึ่งขันธ์ ๕ นี้เป็นวิบากคือผลของกรรมและกิเลส ซึ่งเป็นชนกกรรมให้เกิดมา เกิดก่อขันธ์ ๕ ขึ้นมา เป็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ย่อลงเป็นกายใจอันนี้ เพราะฉะนั้น ตัวขันธ์ ๕ หรือตัวกายใจ หรือนามรูป เป็นวิบากขันธ์ ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล แต่เป็นตัวกลางๆ ไม่เป็นบุญ ไม่เป็นบาป เป็นตัวกลางๆ เพราะฉะนั้น ตัวขันธ์ ๕ เองนี้จึงเป็นอัพยากตธรรม ธรรมะที่เป็นกลางๆ เป็นตัวผล เป็นตัววิบาก ไม่จัดว่าเป็นบุญ ไม่จัดว่าเป็นบาป ไม่จัดว่าเป็นกุศล ไม่จัดว่าอกุศล เป็นตัววิบากซึ่งเป็นกลางๆ

แต่ว่าบุคคลหรือว่าจิตนี้ก็อาศัยขันธ์ ๕ นี้แหละทำดีบ้างทำชั่วบ้าง ทำบาปบ้างทำบุญบ้าง กุศลบ้างอกุศลบ้าง หรือว่าทำเป็นกลางๆ ไม่ใช่บาปไม่ใช่บุญบ้าง กันอยู่ และเพราะเหตุนี้ จึงกล่าวว่าเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา หรือเกิดกิเลสทั้งหลาย และบรรดาขันธ์ที่จะเป็นปัจจัยดังกล่าวอย่างชัดเจนนั้นก็คือตัวเวทนานี้เอง

สติกำหนดเวทนา

ฉะนั้น พระพุทธเจ้าเมื่อได้ทรงตรัสสอนให้ทำสติกำหนดกายแล้ว ซึ่งนับว่าเป็นหยาบ กำหนดง่าย จึงได้ตรัสสอนให้ทำสติกำหนดเวทนา ตามรู้ตามดูตามเห็นเวทนา และเมื่อมีสติกำหนดเวทนาอยู่ ก็คือว่าทีแรกก็กำหนดว่าเวทนามีอยู่ดังกล่าวนั้นนั่นเอง เพื่อเป็นที่ตั้งของสติ ให้เวทนาเป็นอารมณ์ที่ตั้งอยู่ในจิต ไม่หายไปจากจิต ก็เพื่อเป็นที่ตั้งของสติ ก็กำหนดตามดูตามรู้ตามเห็นภายในภายนอก ทั้งภายในทั้งภายนอก นั่นแหละ

จะกำหนดพร้อมกับลมหายใจเข้าออกก็ได้ แต่ไม่มุ่งที่จะกำหนดลมหายใจดั่งนั้น แต่มุ่งกำหนดตามดูตัวเวทนาที่ได้จากการหายใจ ที่จะบังเกิดขึ้นจากการหายใจ ดั่งนี้ก็ได้ และเวทนาที่บังเกิดขึ้นนี่ก็เป็นภายใน หายไปก็เป็นภายนอก เพราะเวทนานี้ก็มีความเกิดขึ้นและดับไป อยู่เช่นเดียวกับลมหายใจเหมือนกัน หากกำหนดแล้วจะเห็นได้ เช่นว่าสุขเกิดขึ้น ก็ไม่ใช่หมายความว่าจะเกิดขึ้นตลอดไป เช่นว่าเมื่อยืนนานๆก็นั่ง ก็รู้สึกว่าเป็นสุข ครั้นนั่งนานๆแล้วก็รู้สึกว่าไม่เป็นสุขเสียแล้วเป็นทุกข์ ต้องยืนขึ้นมาอีก ดั่งนี้เป็นต้น เพราะฉะนั้นแม้สุขทุกข์นี้ก็มาและไป มาและไป สลับกันไปอยู่เสมอตลอดเวลา

มโนคือใจและธรรมะคือเรื่องราวก็เช่นเดียวกัน เมื่อประจวบกันก็ต้องเกิดเวทนาขึ้นก่อน เป็นที่ชอบใจก็สุขไม่ชอบใจก็ทุกข์ ก็เป็นอยู่ดั่งนี้ เพราะฉะนั้นจึงเห็นได้ว่าสุขทุกข์ที่เป็นตัวเวทนานี้ มาและไปอยู่ตลอดเวลา ทางตาบ้าง ทางหูบ้าง ทางจมูกบ้าง ทางลิ้นบ้าง ทางใจบ้าง และทางกายอันเป็นของหยาบนั้นบ้าง ตามอารมณ์ที่มาประสบนั้นเอง เพราะฉะนั้น คนเรานั้นต้องประสบอารมณ์ร้อยแปดอยู่มากมาย ไม่สามารถจะนับถ้วน สุข ทุกข์ หรือเป็นกลางๆไม่ทุกข์ไม่สุขซึ่งเป็นตัวเวทนาก็เกิดขึ้นมากมาย นับไม่ถ้วนเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้น เมื่อหัดทำสติกำหนดกายแล้ว ก็ให้มาหัดสติกำหนดเวทนา จะได้ให้ทันเวทนามากขึ้น และเมื่อทันเวทนามากขึ้นแล้วก็จะเป็นการระงับกิเลสได้มาก

ต่อไปนี้ก็ขอให้ตั้งใจฟังสวดและตั้งใจทำความสงบสืบต่อไป

http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/somdej/sd-033.htm

******************************************************************************************************

หลักการปฏิบัติพระกัมมัฏฐานในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พระศรีวรญาณ (วิ) เก็บเพชรจากคัมภีร์พระไตรปิฎก

โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร 2542

หน้า 301 - 320

ความนำ

การปฏิบัติวิปัสสนาธุระเป็นหน้าที่หลักอย่างหนึ่งของพุทธศาสนิกชนควบคู่กับคันถธุระการศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์พระไตรปิฎกและอรรถกถา คันถธุระ การปฏิบัติพระกัมมัฏฐานในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลง กรณราชวิทยาลัย ถือกำเนิดมาพร้อมกับการศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎก ตามพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช รัชกาลที่ ๕ ผู้ทรงสถาปนามหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งนี้เพื่อให้พระสงฆ์ฝ่ายมหานิกายได้ศึกษาพระไตรปิฎกและวิชาชั้นสูง การศึกษาพระไตรปิฎกนั้น เป็นหน้าที่โดยตรงของพระสงฆ์อยู่แล้ว ส่วนการศึกษาวิชาชั้นสูงนั้นน่าจะหมายถึงการศึกษาวิชาการ ที่จะนำไปสู่การพัฒนาประเทศชาติและเผยแผ่พระศาสนาควบคู่กันไป กล่าวเฉพาะด้านพระศาสนา วิถีชีวิตของพระภิกษุสงฆ์ นอกจากจะมีความเป็นผู้นำด้านความรู้ในพระไตรปิฎกแล้ว ยังจะต้องพัฒนาตนให้เป็นพระสงฆ์ในอุดมคติ ด้วยการพัฒนาตนนั้นจะต้องอาศัยหลักการปฎิบัติพระกัมมัฏฐานเพื่อฝึกฝนอบรม โสฬสญาณ ญาณ ๑๖ อันเป็นวิชาชั้นสูงให้เกิดขึ้นในขันธสันดาน

จุดมุ่งหมายของการปฏิบัติพระกัมมัฏฐานนั้นก็เพื่อชำระจิตของผู้ปฏิบัติให้บริสุทธิ์สะอาดหมดจดจนกระทั่งถึงบรรลุมรรคผลนิพพาน อันเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดทางพระพุทธศาสนา ก่อนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน พระองค์ทรงมอบพระพุทธศาสนาให้เป็นสมบัติของพุทธบริษัท ๔ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา การที่บริษัทใดบริษัทหนึ่งได้บรรลุธรรมระดับใดก็ตามด้วยการเจริญพระกัมมัฏฐานก็ย่อมจะทำให้พุทธบริษัทเหล่าอื่นเกิดความมั่นใจในการเจริญพระกัมมัฏฐานโดยเห็นว่า การเจริญพระกัมมัฏฐานเป็นการปฏิบัติธรรม เพื่อพัฒนาจิตของมนุษย์ให้บรรลุถึงพระนิพพานได้ ผู้ที่เคยเจริญพระกัมมัฏฐานอย่างไร้จุดหมายหรือมีความท้อแท้หมดกำลังใจในการปฏิบัติ ก็จะมีกำลังใจในการปฏิบัติมากขึ้น ในขณะเดียวกันผู้ที่ยังไม่สามารถบรรลุธรรมระดับใดระดับหนึ่งก็สามารถพัฒนาจิตของตนขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งสามารถบรรลุจุดหมายสูงสุดคือพระนิพพานได้ สังคมโลกก็จะได้รับประโยชน์คือสันติภาพพร้อม ๆ กับผู้ปฏิบัติธรรม ปัญหาต่าง ๆ ที่โลกกำลังประสบอยู่ เช่น การเบียดเบียนกัน การเข่นฆ่ากัน การแย่งชิงผลประโยชน์กัน ก็จะลดน้อยลงไปตามลำดับ เพราะอาศัยบุคคลผู้มีคุณภาพดี มีจำนวนมากขึ้นในสังคม

การปฏิบัติพระกัมมัฏฐานในพระพุทธศาสนา มีหลายวิธีด้วยกัน แต่พระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท มีความเชื่อและยอมรับแนวการปฏิบัติพระกัมมัฏฐาน ตามที่มีปรากฏหลักฐานอยู่ในพระไตรปิฎกและอรรถกถาว่า เป็นวิธีการที่ถูกต้องตามคำสอนของพระพุทธเจ้าและสามารถทำให้พุทธศาสนิกชน ได้พัฒนาตนจากระดับปุถุชนธรรมดาเป็นพระอริยบุคคลซึ่งเป็นบุคคลในอุดมคติของพระพุทธศาสนา

ในบทความนี้ จะกล่าวถึงเรื่องที่สำคัญ ๓ ประการ คือ

๑. หลักกัมมัฏฐานในพระไตรปิฎก

๒. หลักมหาสติปัฏฐาน

๓. โสฬสญาณ

หลักกัมมัฏฐานในพระไตรปิฎก

สมถกัมมัฏฐาน

พระพุทธศาสนาแบ่งพระกัมมฎฐานออกเป็น ๒ วิธีปฏิบัติด้วยกัน วิธีที่ ๑ เรียกว่า สมถกัมมัฏฐาน วิธีที่ ๒ เรียกว่า วิปัสสนากัมมัฏฐาน พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ (คัมภีร์ธัมมสังคณี) ข้อ ๔๕ หน้า ๓๐ ได้ให้ความหมายของสมถกัมมัฏฐานไว้ว่า

กตโม ตสฺมึ สมเย สมโถ โหติ

ยา ตสฺมึ สมเย จิตฺตสฺส ฐิติ สณฺฐิติ อวฏฺฐิติ อวิสาหาโร อวิกฺเขโป อวิสาหฏฺฐมานสตา สมโถ สมาธินฺทฺริยํ สมาธิพลํ สมฺมาสมาธิ อยํ ตสฺมึ สมเย สมโถ โหติ

แปลความว่า

สมถะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้นเป็นไฉน

ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่ ความตั้งมั่น ความไม่ซัดส่าย ความไม่ฟุ้งซ่าน ความที่จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสมถะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้นดังนั้น สมถกัมมัฏฐาน จึงหมายถึงอุบายวิธีสำหรับฝึกจิตให้สงบ ในงานเขียนนี้ จะไม่นำเสนอขั้นตอนวิธีการฝึกจิตให้เกิดสมาธิในคัมภีร์วิสุทธิมรรคโดยละเอียด เพียงแต่จะชี้ให้เห็นว่า ภาวะที่จิตสงบอันเกิดจากการเจริญสมถกัมมัฏฐานไม่ว่าจะได้สมาธิในระดับใดก็ตามก็ถือว่าได้สมาธิแล้ว เหตุที่ต้องฝึกจิตให้เกิดสมาธิ เพราะว่าโดยธรรมชาติ ปุถุชนมักจะถูกกิเลสทำให้จิตไม่สงบเสมอ พระพุทธศาสนาอธิบายว่า การที่จิตไม่สงบนั้น เป็นเพราะจิตถูกนิวรณ์ ๕ ชนิด เข้าครอบงำนิวรณ์ ๕ ชนิดนั้น คือ

(๑) กามฉันทะ ภาวะที่จิตมีความอยากได้รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (ผัสสะ) ธัมมารมณ์ที่น่าใคร่ น่าพอใจ

(๒) พยาบาท ภาวะที่จิตมีความขัดเคืองใจ มองคนในแง่ร้าย

(๓) ถีนมิทธะ ภาวะที่จิตมีอาการหดหู่ เซื่องซึม ไม่เข้มแข็ง

(๔) อุทธัจจกุกกุจจะ ภาวะที่จิตฟุ้งซ่าน เดือดร้อนใจ จิตไม่หยุดนิ่ง และ

(๕) วิจิกิจฉา ภาวะที่จิตมีความสงสัย ลังเล มีความคิดแยกเป็น๒ ทาง เลือกไม่ถูกว่าจะไปทางไหน

เมื่อมนุษย์ถูกกิเลสเหล่านี้ครอบงำแล้วจิตก็จะแกว่งไปตามอำนาจกิเลส ไม่สามารถทรงตัวอยู่ในความนิ่งสงบได้ จริงอยู่ การที่จิตจะเป็นกลาง หยุดนิ่ง ไม่ไหลเวียนไปตามอำนาจของกิเลสเป็นสิ่งที่กระทำได้ยากยิ่ง พระพุทธศาสนาสอนว่าการที่จะเอาชนะกิเลสเหล่านี้ได้ ต้องเปิดโอกาสให้ตนเองได้พัฒนาสมาธิ จึงจะสามารถระงับกิเลสเหล่านี้ให้ลดลงโดยลำดับได้

วิธีฝึกฝนจิตด้วยหลักสมถกัมมัฏฐาน

๑.วิธีฝึกจิตไม่ให้ลุ่มหลง อยากได้รูป เสียง กลิ่น รส ผัสสะ ที่น่าพอใจ ผู้ปฏิบัติต้องฝึกหัดมองสิ่งที่น่าใคร่น่าพอใจเหล่านี้ว่า เป็นของไม่มีความสวยงามที่แท้จริง ไม่คงทนถาวรอย่างที่เราคิดไว้ เมื่อเราฝึกฝนความคิดมองให้เห็นความจริงเช่นนี้ จิตที่เคยยึดมั่นถือมั่นก็จะค่อย ๆ คลายจากความยึดถือน้อยลงไปบ้าง การปล่อยวางจะทำได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม เพราะการฝึกหัดมองให้เห็นความจริง จะทำให้เราได้ประสบกับความจริงด้วยตนเอง

๒.วิธีฝึกจิตไม่ให้มีความขัดเคือง ไม่มองคนอื่นในแง่ร้าย ผู้ปฏิบัติจะต้องปลูกจิตที่มีแต่เมตตา รู้จักรักผู้อื่น อีกทั้งเพ่งกสิณที่มีสีต่าง ๆ เช่น สีเขียว (นีลกสิณ) สีเหลือง (ปีตกสิณ) สีแดง (โลหิตกสิณ) สีขาว (โอทาตกสิณ) จะทำให้จิตที่ชอบขัดเคือง มีปีติ (เอิบอิ่มใจ) โสมนัส (ความยินดี) เพิ่มขึ้น ความโกรธ ความขัดเคืองที่เคยมีมาก่อนก็จะค่อย ๆ จางหายไป

๓.วิธีฝึกจิตไม่ให้ถูกถีนมิทธะอันเป็นภาวะที่จิตง่วงนอนเศร้าซึมเข้าครอบงำ ผู้ปฏิบัติต้องฝึกหัดการกำหนดลมหายใจเข้าหายใจออก (อานาปานสติ) เมื่อฝึกบ่อย ๆ จิตใจก็จะเข้มแข็ง ไม่ง่วงนอน ไม่เศร้าซึม เป็นจิตมีสมาธิเพิ่มขึ้น

๔.วิธีฝึกจิตไม่ให้ความฟุ้งซ่านรำคาญ ผู้ปฏิบัติต้องฝึกหัดกำหนดลมหายใจเข้าหายใจออก (อานาปานสติ) เช่นเดียวกับผู้ถูกถีนมิทธะเข้าครอบงำ สภาวะจิตที่มีความเข้มแข็ง ก็จะมีสมาธิมากขึ้น ความฟุ้งซ่านหายไป มีแต่สมาธิเข้ามาแทนที่

๕.วิธีฝึกจิตไม่ให้ความสงสัย (วิจิกิจฉา) เข้าครอบงำ ผู้ปฏิบัติจะต้องฝึกหัดให้เป็นคนมีเหตุผลตามหลักที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ การที่เราจะพัฒนาความสามารถทางปัญญาตามแบบอย่างของพระพุทธเจ้า ก็จะทำให้เราพบอุปสรรคน้อยลงจนหมดอุปสรรคในที่สุด

ดังนั้น ตามหลักพระพุทธศาสนา การที่จิตถูกนิวรณ์ตัวใดตัวหนึ่งในนิวรณ์ ๕ เข้าครอบงำ ถือว่าจิตถูกรบกวนไม่เป็นสมาธิแล้ว ในความรู้สึกของคนทั่วไป การฝึกสมาธิต้องให้มีสมาธิมาก ๆ (ขั้นอัปปนาสมาธิ) จึงจะถือได้ว่า ประสบความสำเร็จในการฝึกสมาธิ หากฝึกสมาธิได้เพียงชั่วขณะ (ขณิกสมาธิ) ไม่ถือว่าประสบความสำเร็จ แต่ตามหลักวิปัสสนากัมมัฏฐาน จิตที่เป็นขณิกสมาธิ ก็เป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาวิปัสสนาปัญญา อย่างไรก็ตาม การที่จะใช้หลักสมถกัมมัฏฐาน เป็นเครื่องมือฝึกจิตให้ระงับนิวรณ์ตัวใดตัวหนึ่งหมดในทันทีทันใดนั้น นับว่าเป็นสิ่งที่ทำได้ยากยิ่ง

อย่างไรก็ตาม ผู้ที่จะปราศจากนิวรณ์ได้ทั้งหมดก็คือ พระอรหันต์ (ผู้ปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานจนหมดกิเลสแล้ว) เท่านั้น การที่ปุถุชนทั่วไปจะเจริญสมถ-กัมมัฏฐานไปจนกว่าจะละนิวรณ์ได้ทั้งหมดแล้ว จึงหันไปฝึกวิปัสสนากัมมัฏฐาน นับว่าเป็นสิ่งที่เนิ่นช้าถ่วงเวลาในการปฏิบัติธรรมชั้นสูง สำหรับผู้ใคร่ต่อการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ดังนั้น บุคคลทั่วไป แม้ยังไม่สามารถละนิวรณ์ได้หมดทุกตัว และมีสมาธิชั่วประเดี๋ยวเดียว (ขณิกสมาธิ) ก็สามารถนำสมาธิชนิดนี้ มาเป็นเครื่องมือในการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานต่อไปได้ ขณะที่ผู้ปฏิบัติเจริญวิปัสสนา- กัมมัฏฐานอยู่ หากมีนิวรณ์ตัวใดตัวหนึ่งเข้ามาครอบงำในระหว่างนั้น ผู้ปฏิบัติก็จะสามารถฝึกกำหนดได้ทันที โดยการกำหนดรู้ตามความเป็นจริง จิตก็จะไม่ตกอยู่ในอำนาจของนิวรณ์เหล่านั้นและเมื่อผู้ปฏิบัติฝึกกำหนดรู้นิวรณ์ ๕ อยู่บ่อย ๆ ก็สามารถใช้ความสงบขั้นขณิกสมาธิ เป็นเครื่องมือในการประหาณนิวรณ์ได้ โดยผ่านกระบวนการของวิปัสสนากัมมัฏฐาน ด้วยเหตุนี้ขณิกสมาธิก็จะเปลี่ยนสภาพเป็นมัคคสมาธิต่อไป

ลักษณะสมาธิแบบพุทธศาสนา

ในคัมภีร์พระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสถึงบริขารแห่งสมาธิไว้ ๗ ประการ (บริขารในที่นี้หมายถึงบริวาร หรือองค์ประกอบแห่งมัคคสมาธิ (ที.ม.อ. ๒๙๐/๒๕๗, องฺ. สตฺตก. อ. ๓/๔๔-๔๕/๑๘๒) ไว้ว่า บริขารแห่งสมาธิ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)

๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) ๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)

๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) ๖. สมมาวายามะ (พยายามชอบ)

๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ)

ท่านผู้เจริญทั้งหลาย สภาวะที่จิตมีอารมณ์เดียว ซึ่งมีองค์ ๗ ประการนี้แวดล้อม เรียกว่า อริยสัมมาสมาธิที่มีอุปนิสะ บ้าง คำว่า อุปนิสะ ในที่นี้ได้แก่ หมวดธรรมที่เป็นเหตุ ทำหน้าที่ร่วมกัน (ที.ม.อ. ๒๙๐/๒๕๗, ที.ม.ฏีกา ๒๙๐/๒๖๗) เรียกว่า อริยสัมมาสมาธิที่มีบริขาร บ้าง

ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ผู้มีสัมมาทิฏฐิ จึงมีสัมมาสังกัปปะ ผู้มีสัมมาสังกัปปะจึงมีสัมมาวาจา ผู้มีสัมมาวาจา จึงมีสัมมากัมมันตะ ผู้มีสัมมากัมมันตะ จึงมีสัมมาอาชีวะ ผู้มีสัมมาอาชีวะ จึงมีสัมมาวายามะ ผู้มีสัมมาวายามะ จึงมีสัมมาสติ ผู้มีสัมมาสติ จึงมีสัมมาสมาธิ ผู้มีสัมมาสมาธิ จึงมีสัมมาญาณะ ผู้มีสัมมาญาณะ จึงมีสัมมาวิมุตติ (ที.ม. ๑๐/๒๙๐/๒๒๔-๒๒๕)

จากพระพุทธพจน์ที่ยกมานี้จึงแสดงให้เห็นว่าสมาธิหรือภาวะที่จิตสงบ ไม่ใช่เป็นภาวะที่จิตไร้สติ ขาดสัมปชัญญะ(ปัญญา) แต่หากเป็นสมาธิที่มีอริยมรรคเป็นองค์ประกอบอยู่ในจิต จึงจะสามารถนำไปเป็นเครื่องมือในการเจริญวิปัสสนา กัมมัฏฐานต่อไปได้

วิปัสสนากัมมัฏฐาน

วิปัสสนากัมมัฏฐาน คืออุบายวิธีสำหรับฝึกจิตให้เกิดปัญญารู้แจ้งตามความเป็นจริง พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่มที่ ๓๔ ข้อ ๕๕ หน้า ๓๐ ได้ให้ความหมายของวิปัสสนาไว้ว่า

กตมา ตสฺมึ สมเย วิปสฺสนา โหติ

ยา ตสฺมึ สมเย ปญฺญา ปชานานา วิจโย ปวิจโย ธมฺมวิจโย สลฺลกฺขณา อุปลกฺขณา ปจฺจุปลกฺขณา ปณฺฑิจฺจํ โกสลฺลํ เนปุญฺญํ เวภพฺยา จินฺตา อุปปริกฺขา ภูรีเมธา ปริณายิกา วิปสฺสนา สมฺปชญฺญํ ปโตโท ปญฺญา ปญฺญินฺทฺริยํ ปญฺญาพลํ ปญฺญาสตฺถํ ปญฺญาปาสาโท ปญฺญาอาโลโก ปญฺญาโอภาโส ปญฺญาปชฺโชโต ปญฺญารตนํ อโมโห ธมฺมวิจโย สมฺมาทิฏอยํ ตสฺมึ สมเย วิปสฺสนา โหติ

แปลความว่า

วิปัสสนาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้อย่างแจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ดี ปัญญาเหมือนรัตนะ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฎฐิ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า วิปัสสนา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น

อย่างไรก็ตาม แม้พระไตรปิฎกจะให้ความหมายของคำว่า วิปัสสนา ไว้หลายนัยก็ตาม แต่ผู้ปฏิบัติก็ต้องผ่านกระบวนการฝึกวิปัสสนากัมมัฏฐานตามหลักสติปัฎฐาน ซึ่งเป็นพระสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในพระไตรปิฎก จึงจะสามารถพัฒนาวิปัสสนาปัญญาให้เกิดขึ้นได้ หลักการฝึกเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานนั้น แม้ผู้เข้าฝึกจะมีสมาธิในระดับใดก็ตาม ก็สามารถนำมาเป็นเครื่องมือในการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานได้ แม้แต่จิตที่สงบชั่วขณะ (ขณิกสมาธิ) ก็สามารถนำมาเป็นพื้นฐานในการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานได้ ดังที่ท่านกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคว่า ปราศจากขณิกสมาธิเสียแล้ว วิปัสสนาย่อมมีไม่ได้ (วิสุทธิ.ฏีกา. ๑/๑๕/๒๑) อีกทั้งผู้เจริญสมถกัมมัฏฐานจนได้ผลของสมถะในระดับสูง เช่น แสดงฤทธิ์ได้ ก็สามารถนำผลนั้นมาเป็นบาทฐานในการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานได้ด้วย เพราะการได้ฌานสมาบัติจนถึงขนาดแสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ได้นั้น ถ้ายังไม่ผ่านกระบวนการฝึกจิต ด้วยหลักวิปัสสนากัมมัฏฐานจนถึงขั้นบรรลุเป็นพระอรหันต์ ก็ยัง ไม่ถือว่าได้บรรลุจุดหมายสูงสุดในทางพุทธศาสนา เพราะอิทธิฤทธิ์ต่าง ๆ เป็นสิ่งที่เสื่อมสลายไปได้เสมอ ในกรณีที่เกิดกับคนยังมีกิเลสอยู่ แต่ถ้าเกิดกับคนที่ไม่มีกิเลส อิทธิฤทธิ์ก็สามารถใช้เป็นคุณประโยชน์ได้ เช่นการที่พระมหาโมคคัลลานะแสดงอิทธิฤทธิ์เพื่อประกาศคุณของพระพุทธศาสนา

อย่างไรก็ตาม พระพุทธศาสนาถือว่า การฝึกฝนอบรมจิตให้เกิดปัญญา ตามกระบวนการวิปัสสนากัมมัฏฐานถึงขนาดทำลายกิเลสได้ เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพราะการฝึกฝนอบรมจิตนี้ย่อมจะทำให้ความไม่รู้(อวิชชา)หายไป เปรียบเหมือนแสงสว่างทำให้ความมืดหายไป ด้วยจิตของปุถุชนโดยปกติหนาแน่นไปด้วยกิเลส เมื่อได้รับการชำระโดยกระบวนการวิปัสสนากัมมัฏฐานแล้ว สภาพจิตก็จะบางเบาจากกิเลส เปลี่ยนไปในทางที่ดี จากสภาพจิตของปุถุชนธรรมดากลายเป็นกัลยาณปุถุชน จนเป็นพระอริยบุคคลชั้นพระอรหันต์ ซึ่งเป็นชีวิตในอุดมคติของพระพุทธศาสนา ดังนั้น เราจึงสามารถกล่าวได้ว่า พระอรหันต์ทุกรูปต้องผ่านการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน (สติปัฏฐาน) มาแล้วทั้งนั้น

สรุปสาระสำคัญของหลักมหาสติปัฏฐาน

ก. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน

๑. การกำหนดลมหายใจเข้าออก

การพิจารณาลมหายใจเข้าออกนี้ พระพุทธองค์ได้ทรงสอนให้ติดตามพิจารณาลักษณะของการหายใจเข้าออกอย่างใกล้ชิด คือเมื่อหายใจเข้าหรือออกสั้นยาวอย่างไร ก็ให้รู้อย่างแน่ชัด เปรียบเหมือนนายช่างกลึง หรือลูกมือของนายช่างกลึงผู้ชำนาญ เมื่อเขาชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ชัดว่าเราชักเชือกกลึงยาว เมื่อชักเชือกกลึงสั้น ก็รู้ชัดว่าเราชักเชือกกลึงสั้น

ในการปฏิบัติวิปัสสนากัมมฏฐาน ท่านให้พิจารณาอาการที่ท้องพองออก หรือยุบเข้า เนื่องจากการหายใจเข้าหรือหายใจออก ซึ่งมีลักษณะทำนองเดียวกับการชักเชือกกลึง การกำหนดรู้อาการพองอาการยุบของท้องนี้เป็นหลักสำคัญยิ่งในการปฏิบัติวิปัสสนา เพราะเป็นการกำหนดรูปหยาบ ซึ่งรู้ได้ง่ายกว่าการกำหนดรูปนามอย่างอื่น ๆ และมีปรากฏอยู่ทุกลมหายใจเข้าออก โดยไม่ต้องไปแสวงหาเหมือนอาการที่ปรากฏทางกายอย่างอื่นหรือทางนามธรรม เป็นการปฏิบัติที่สะดวกและง่ายแก่สามัญชนทั่วไป ส่วนอาการที่ปรากฏทางกายอย่างอื่นหรือทางนามธรรมอันได้แก่ เวทนา จิต และธรรมนั้น ให้กำหนดเมื่อสภาวะเหล่านี้ ปรากฏชัดเจนกว่าอาการพองอาการยุบ โดยการกำหนดว่า พองหนอ ยุบหนอ

อนึ่ง ขอให้สังเกตว่า ในการปฏิบัติสมถกัมมัฏฐาน มีการให้เพ่งลมหายใจด้วยเหมือนกันซึ่งเรียกว่า อานาปานสติ แต่ในการปฏิบัติสมถกัมมัฏฐานวิธีนี้ ไม่เหมือนกับปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน กล่าวคือ แทนที่จะเพ่งดูอาการพองยุบของท้อง ท่านให้เพ่งดูลมที่หายใจเข้าออกซึ่งกระทบปลายจมูกหรือริมฝีปากบน และตามเพ่งเข้าไปในช่องท้อง จนกระทั่งหายใจออกมา แต่พระพุทธโฆษาจารย์ก็กล่าวไว้ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคว่า การเพ่งลมหายใจเข้าออกนี้ เป็นกัมมัฏฐานที่ทำสำเร็จได้ยาก เพราะเป็นของละเอียดมาก เป็นกัมมัฏฐานของมหาบุรุษ เช่น พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า หรือพระอรหันต์สาวกของพระพุทธเจ้าเท่านั้น

๒. กำหนดอิริยาบถใหญ่และอิริยาบถย่อย

นอกจากการกำหนดอาการพองยุบของท้องแล้ว ผู้ปฏิบัติยังจะต้องกำหนดรู้อาการที่ปรากฏทั้งหลายอื่นอีกด้วย เช่น การเคลื่อนไหวอิริยาบถต่าง ๆ มี ยืน เดิน นั่ง นอน การแลดู การเหลียวดู การคู้อวัยวะ ฯลฯ ในทุกขณะ การทำกิจประจำวันต่าง ๆ ก็ต้องกำหนดรู้อยู่ทุกขณะเช่นเดียวกัน เช่น การกิน การดื่ม การเคี้ยว การนุ่งห่ม การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ การดู การได้ยิน การได้กลิ่น การรู้รส การสัมผัส

๓.พิจารณาอาการ ๓๒

อาการ ๓๒ ซึ่งมีอยู่ในร่างกาย ได้แก่อวัยวะส่วนต่าง ๆ มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า มันสมอง ดี เสลด น้ำเหลือง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา น้ำมันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ และน้ำมูตร ในการพิจารณาอาการ ๓๒ นี้ ให้พิจารณาลักษณะของอาการนั้น ๆ ให้เห็นว่า เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่ใช่ตัวตน ถ้าจะพิจารณาให้เห็นอาการเหล่านี้เป็นของปฏิกูลล้วนแต่ไม่สะอาด ก็เป็นการเจริญสมถกัมมัฏฐาน

๔.พิจารณาธาตุทั้ง ๔ ในร่างกาย

ธาตุทั้ง ๔ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ และธาตุลม ธาตุดินมีลักษณะแข็งและอ่อน ธาตุน้ำมีลักษณะไหลและเกาะกุม ธาตุไฟมีลักษณะร้อนและเย็น ธาตุลมมีลักษณะเคลื่อนไหวและเคร่งตึง ในการพิจารณา ให้ใช้สติพิจารณาว่าร่างกายนั้นไม่ใช่สัตว์ บุคคล เรา เขา เป็นเพียงแต่ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม ประกอบกันอยู่เท่านั้น แต่ละอย่างเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่ใช่ตัวตน

๕. พิจารณาศพ

ศพนี้ มีลักษณะแตกต่างกัน แล้วแต่ทิ้งไว้เร็วหรือช้า ตลอดจนเป็นกระดูกและเถ้าถ่าน รวม ๙ ชนิด ในการพิจารณา จะต้องใช้สติพิจารณาเปรียบเทียบกับกายของเราว่า จะต้องเน่าเปื่อยไปอย่างนั้นเป็นธรรมดา เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่ใช่ตัวตน

ข. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน

การใช้สติกำหนดรู้อาการของเวทนา ซึ่งเรียกว่า เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือการกำหนดรู้ในเมื่อสุขหรือทุกข์กำลังเกิดขึ้นว่า สุขหรือทุกข์อย่างไร หรือเมื่อรู้สึกว่าไม่สุขไม่ทุกข์ก็รู้ชัดแก่ใจ หรือสุขหรือทุกข์เกิดขึ้นจากอะไรเป็นมูลเหตุ เช่น เกิดจากเห็นรูป หรือได้ยินเสียง หรือได้กลิ่น หรือได้ลิ้มรส หรือได้สัมผัส ก็รู้ชัดแจ้ง หรือเมื่อรู้สึกเจ็บหรือปวดหรือเมื่อย หรือเสียใจ แค้นใจ อิ่มใจ ฯลฯ ก็มีสติรู้กำหนดรู้ชัดว่า กำลังรู้สึกเช่นนั้นอยู่

ค. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน

การใช้สติกำหนดรู้อาการที่ปรากฏทางวิญญาณขันธ์ ซึ่งเรียกว่า จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐาน คือการกำหนดรู้ว่าจิตมีอารมณ์อย่างไร เช่น เมื่อจิตมีราคะ โทสะ โมหะ ความหดหู่ ความฟุ้งซ่าน ความสงบ ความไม่สงบ ฯลฯ ก็รู้ชัดว่าจิตมีอารมณ์อย่างนั้น ๆ ตามความเป็นจริง

ง. ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ได้แก่การใช้สติกำหนดรู้อาการที่ปรากฏทางสังขารขันธ์ คือความคิดนึกและสัญญาขันธ์ คือความจำได้หมายรู้ กล่าวคือเมื่อเราคิดอะไรอยู่ก็ต้องกำหนดว่าคิดอะไรอยู่ หรือเมื่อเกิดความพอใจรักใคร่ ความพยาบาท ความหดหู่ท้อถอย ความฟุ้งซ่าน รำคาญใจ หรือความลังเลสงสัย ซึ่งเรียกว่า นิวรณ์ ก็ต้องกำหนดรู้ ได้ลิ้มรสหรือได้ถูกต้องสิ่งของ ก็ต้องกำหนดรู้ทันที หรือเมื่อเกิดความไม่พอใจ ความละอาย ความเมตตา ความคิด ความเห็น ความโลภ ความโกรธ ความริษยา ฯลฯ ก็กำหนดรู้เช่นเดียวกันตามความเป็นจริง

นอกจากนี้ท่านยังให้กำหนดรู้เห็นเบญจขันธ์ คือรู้ว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เป็นอย่างนี้ เหตุให้เกิดเบญจขันธ์เป็นอย่างนี้ และความสลายของเบญจขันธ์เป็นอย่างนี้ และให้ติดตามกำหนดรู้อาการที่รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์มากระทบตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ตามลำดับ ตลอดจนผลที่เกิดจากอาการกระทบนั้นว่า มีความรู้สึกนึกคิดอย่างไรเกิดขึ้นมา

เมื่อจะกล่าวโดยสรุปแล้ว สติปัฏฐานนี้มิใช่อะไรอื่นนอกจากการใช้สติกำหนดรู้อยู่ทุกขณะว่า ในขณะหนึ่งๆ นั้น เรากำลังมีความรู้สึกนึกคิดอย่างไรหรือกำลังทำอะไรอยู่ ทั้งนี้ กำหนดกันเฉพาะในปัจจุบันเท่านั้น ไม่พิจารณาย้อนไปถึงการกระทำหรืออิริยาบถ หรือความรู้สึกนึกคิด ในอดีตที่ล่วงไปแล้ว ไม่ว่าจะช้านานหรือเร็วเพียงใด แม้ในวินาทีที่ล่วงไปแล้วก็ไม่ให้คำนึงถึง และไม่ให้พิจารณาล่วงหน้าถึงการกระทำ หรืออิริยาบถ หรือความรู้สึกนึกคิดในอนาคตที่ยังมาไม่ถึง ตามปกติมนุษย์เราไม่เคยได้ใช้สติกำหนดถึงสิ่งที่กำลังเกิดอยู่ในปัจจุบันมาก่อน แต่ชอบกำหนดสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วหรือที่อาจจะเกิดขึ้น คือพิจารณาแต่อดีตและอนาคต แต่ในการชำระใจให้บริสุทธิ์นี้พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ใช้สติกำหนดถึงสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบันเท่านั้น เพราะฉะนั้น ทฤษฎีนี้จึงได้ชื่อว่า ปัจจุบันธรรม

การกำหนดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต และสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทำให้เราลืมนึกถึงว่า เรากำลังรู้สึกนึกคิดอะไรอยู่ หรือกำลังทำอะไรอยู่ และทำให้ใจเลื่อนลอยไปตามอารมณ์ที่คิด เช่นเมื่อเห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ความคิดของเราไม่ได้หยุดอยู่ตรงที่เห็นนั้น แต่เราจะคิดต่อไปว่า สวยหรือไม่สวย เมื่อเห็นว่าสวยก็เกิดความชอบใจขึ้น แล้วก็ทำให้อยากได้ และคิดวิธีที่จะให้ได้มาซึ่งสิ่งนั้น ถ้าไม่ได้ก็เกิดทุกข์ ถ้าเห็นว่าไม่สวยก็เกิดอารมณ์ไม่ชอบใจขึ้น ทำให้เป็นทุกข์เช่นเดียวกัน เพราะเหตุนี้พระพุทธเจ้าจึงทรงสอนให้ตั้งมั่นอยู่ในปัจจุบันธรรมคือเมื่อเห็นก็หยุดอยู่เพียงนี้ คือ เพียง สักแต่ว่าเห็น ไม่ให้พิจารณาต่อไปว่า สวยหรือไม่สวย ดีหรือไม่ดี จิตจึงจะไม่เลื่อนลอยไปตามอารมณ์ มีความแน่วแน่ ไม่หวั่นไหวซึ่งจะทำให้จิตมีสมาธิเข้มแข็งแรงกล้าขึ้นเป็นลำดับ การที่มีจิตแน่วแน่เช่นนี้เรียกว่า ได้ถึงซึ่งจิตตวิสุทธิ คือมีจิตหมดจดโดยลำดับ

วิธีปฏิบัติกัมมัฏฐานในมหาสติปัฏฐานสูตร

เนื่องจากในมหาสติปัฏฐานสูตร มีกัมมัฏฐาน ๒๑ วิธี สำหรับให้ผู้ปฏิบัติได้กำหนด มีอารมณ์ทั้งที่เป็นสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน จุดมุ่งหมายของการเจริญสติปัฏฐาน ก็เพื่อบรรลุถึงจุดหมายสูงสุดในทางพุทธศาสนา คือนิพพาน

สติปัฏฐาน มีวิธีปฏิบัติอยู่ ๒ วิธี ดังนี้

- กำหนดอานาปานสติ ๑ วิธี

- กำหนดอิริยาบถ ๑ วิธี

กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ๑๒ วิธีดังนี้

- กำหนดสัมปชัญญะ ๑ วิธี

- กำหนดอาการสามสิบสอง ๑ วิธี

- กำหนดธาตุสี่ ๑ วิธี

- กำหนดป่าช้า ๙ วิธี

เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ๑ วิธีดังนี้

- กำหนดภาวะจิตเสวยอารมณ์สุข ทุกข์ ไม่สุข ไม่ทุกข์ ๑ วิธี

จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ๓ วิธีดังนี้

- กำหนดจิต และสิ่งที่ปรุงแต่งจิต ๑ วิธี

- กำหนดนิวรณ์ ๑ วิธี

- กำหนดเบญจขันธ์ ๑ วิธี

ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ๓ วิธีดังนี้

- กำหนดอายตนะ ๑ วิธี

- กำหนดโพชฌงค์ ๑ วิธี

- กำหนดอริยสัจ ๑ วิธี

รวม๒๑ วิธี

ในบรรดาแนววิธีปฏิบัติ ๒๑ วิธี การกำหนดลมหายใจเข้าออก (อานาปาน-บรรพ) การกำหนดอาการสามสิบสอง เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ว่าเป็นของน่าเกลียด เป็นทั้งอารมณ์สมถะและวิปัสสนา ทำให้สมาบัติเกิดขึ้นได้ ส่วนกัมมัฏฐานอีก ๑๙ วิธี ก่อให้เกิดอุปจารสมาธิ (สมาธิจวนแน่วแน่) หรืออุปจารกัมมัฏฐาน ได้แก่ สมาธิที่เข้าเฉียดใกล้ฌาน คำว่า อุปจารกัมมัฏฐาน หมายถึง วิปัสสนา กัมมัฏฐาน ส่วนข้อกำหนด ป่าช้า ๙ อย่าง (นวสีวถิกาบรรพ) เป็นสมถกัมมัฏฐานล้วน ๆ ส่วนอิริยาบถ ๔ สัมปชัญญะ ๔ และการกำหนดธาตุ ๔ จัดเป็นวิปัสสนาล้วน ๆ

อย่างไรก็ตาม ตามหลักการปฏิบัติกัมมัฏฐานทั้งสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนา กัมมัฏฐานที่กล่าวมา จะต้องปฏิบัติสมถกัมมัฏฐานก่อน เพราะสมถกัมมัฏฐานเป็นกัมมัฏฐานพื้นฐานที่จะทำให้จิตเป็นสมาธิ อันจะเป็นพื้นฐานในการพัฒนาปัญญา โดยเลือกจากวิธีปฏิบัติกัมมัฏฐาน ๔๐ (กัมมัฏฐาน ๔๐ ประการ คือ กสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐ อนุสสติ ๑๐ อัปปมัญญา (พรหมวิหาร) ๔ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ จตุธาตุววัตถาน ๑) วิธีใดวิธีหนึ่งที่เหมาะกับจริตของตน มาเป็นข้อวัตรในการปฏิบัติจนจิตเป็นสมาธิ แล้วนำสมาธินั้นมาเป็นบาทฐานในการพัฒนาปัญญาต่อไปในเวลาปฏิบัติจริง สำหรับผู้ที่ต้องการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน แม้จะไม่เคยนำกัมมัฏฐาน ๔๐ วิธีมาเป็นข้อวัตรในการปฏิบัติ แต่ก็สามารถปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานได้ โดยไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับสมถกัมมัฏฐานเลย จิตมีสมาธิตามหลักสมถกัมมัฏฐานที่ผู้ปฏิบัติคาดหวังที่จะได้ ก็จะเกิดขึ้นมาเองในเวลาเจริญวิปัสสนา- กัมมัฏฐานแนวสติปัฏฐาน อีกทั้งผู้เจริญวิปัสสนาไม่ควรคำนึงว่า ตนเองมีจริตที่เหมาะกับวิปัสสนากัมมัฏฐานหรือไม่ เพราะผู้ปฏิบัติจะมีจริตชนิดใดก็ตาม ก็สามารถปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานได้ ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า

อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ สราคํ วา จิตฺตนฺติ ปชานาติ ฯลฯ วีตโมหํ วา จิตฺตํ วีตโมหํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ........(ที.ม. ๑๐/๓๘๑/๓๓๐)

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จิตที่มีราคะว่าเป็นจิตมีราคะ ฯลฯ ย่อมรู้จิตที่ไร้โมหะว่า เป็นจิตที่ไร้โมหะ เป็นต้น

โสฬสญาณ

โสฬสญาณ (ญาณ ๑๖) ถือว่าเป็นผลจากการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน ปัญหาที่คนปัจจุบันสนใจ คือ โสฬสญาณมีอยู่ในพระไตรปิฎกหรือไม่ หากเราศึกษาพระไตรปิฎก เราจะพบว่าโสฬสญาณ หรือญาณ ๑๖ นั้น มีเนื้อความปรากฏในขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค ตอนว่าด้วยญาณ ๗๓ ซึ่งท่านพระสารีบุตรได้อธิบายสาระสำคัญของโสฬสญาณไว้อย่างครบถ้วน เพียงแต่ไม่ระบุชื่อญาณเหมือนญาณที่ปรากฏในคัมภีร์วิสุทธิมรรคเท่านั้น แต่ความหมายตรงกันทั้งในคัมภีร์ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค และคัมภีร์วิสุทธิมรรค ญาณ ๑๖ ประการมีปรากฏดังนี้

(๑) นามรูปปริจเฉทญาณ ญาณที่สามารถแยกรูปนามได้ เมื่อว่าตามชื่อ ญาณนี้ปรากฏแต่ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคเท่านั้น แต่ถ้าเราศึกษาขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค อันแสดงถึงวัตถุนานัตตญาณ (๑๕) โคจรนานัตตญาณ (๑๖) จริยานานัตตญาณ (๑๗) ภูมินานานัตตญาณ (๑๘) และธัมมานัตตญาณ (๑๙) ๑เราจะพบว่า ได้แก่นามรูปปริเฉทญาณนั่นเอง เมื่อกล่าวโดยเนื้อหาสาระแล้วย่อมมีความเหมือนกันกับการอธิบายในคัมภีร์วิสุทธิมรรค กล่าวคืออัตตาตัวตนที่แท้จริงไม่มีเลย เมื่อว่าโดยปรมัตถธรรม (ความจริงแท้) มีแต่เพียงรูปนามเท่านั้น ผู้เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานถึงญาณนี้ก็จะเข้าใจแจ่มแจ้งด้วยตนเองว่า อัตตาตัวตนเป็นเพียงสภาวธรรม ไม่ยึดมั่นว่า มีอัตตาตัวตน (เป็นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา) ตามหลักพระพุทธศาสนา ความเห็นเช่นนี้ถือว่า เป็นทิฏฐิวิสุทธิ คือ มีความเห็นที่บริสุทธิ์

(๒) ปัจจยปริคคหญาณ ญาณที่สามารถรู้เหตุปัจจัยของรูปนาม เมื่อว่าตามชื่อ ญาณนี้ปรากฏแต่ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค แต่ถ้าเราศึกษาคัมภีร์ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เราก็จะพบว่า เนื้อหาสาระของญาณนี้ตรงกับธัมมัฏฐิตญาณ (ญาณในการกำหนดที่ตั้งแห่งธรรม) (ญาณที่ ๔) กล่าวคือ ท่านพระสารีบุตรได้นำปฏิจจสมุปบาทมาจำแนกไว้ ผู้ปฏิบัติตามถึงญาณนี้จะทราบถึงสรรพสิ่งล้วนเกิดมาตามเหตุปัจจัยตามหลักปฏิจจสมุปบาท สำหรับผู้ปฏิบัติที่เคยนับถือในพระผู้สร้างโลก (God) เมื่อปฏิบัติมาถึงญาณนี้ ก็จะปฏิเสธเรื่องนี้โดยสิ้นเชิง

(๓) สัมมสนญาณ ญาณที่เห็นแจ้งไตรลักษณ์ เมื่อว่าตามชื่อ ญาณนี้ ปรากฏทั้งในพระไตรปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค (ญาณที่ ๕) และคัมภีร์วิสุทธิมรรค สาระสำคัญของญาณนี้ก็คือ ผู้ปฏิบัติรู้ว่ารูปนามดับไปและเห็นรูปนามใหม่เกิดขึ้นสืบต่อกันไป แต่สันตติยังไม่ขาด เพราะเป็นเพียงความรู้ด้วยจินตาญาณ๑หลักฐานในคัมภีร์สัทธัมมปกาสินี : อิทานิ ยสฺมา เหฏฺฐา สรูเปน นามรูปววตฺถานญาณํ น วุตฺตํ, ตสฺมา ปญฺจธา นามรูปปฺเภทํ ทสฺเสตุ อชฺฌตฺตววตฺถาเน ปญฺญาวตฺถุนานตฺเต ญาณนฺติอาทีนิ ปญฺจ ญาณานิ อุทฺทิฏฺฐานิ (ขุ.ป.อ. ๑/๓๖ มจร.)

(๔) อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ญาณที่หยั่งรู้ความเกิดดับของรูปนาม เมื่อว่าตามชื่อ ญาณนี้ปรากฏทั้งในคัมภีร์ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค (ญาณที่ ๖) และคัมภีร์วิสุทธิมรรค สาระสำคัญของญาณนี้ก็คือ ญาณนี้แบ่งออกเป็น ๒ ช่วง ญาณช่วงที่ ๑ เป็นญาณระดับอ่อน (ตรุณะ) ช่วงที่ ๒ เป็นญาณระดับแก่ (พลวะ) ในระดับอ่อนผู้ปฏิบัติกำหนดรู้สภาวะต่าง ๆ ของรูปนามแล้วเห็นชัดว่าสภาวะดับหายไปเร็วขึ้นกว่าเดิม แม้แต่เวทนาที่เกิดขึ้น เมื่อกำหนดไปก็หายเร็วขึ้น สภาวะจิตก็เป็นสมาธิที่ดี ในญาณระดับนี้ ผู้ปฏิบัติมักจะเห็นสภาวะที่แปลก ๆ มีภาพปรากฏให้เห็น มีแสงสว่างเข้ามาปรากฏอยู่บ่อย ๆ (โอภาส) เนื่องจากผู้ปฏิบัติไม่เคยเห็นแสงสว่างเช่นนี้มาก่อน ก็อาจจะเอาใจใส่ดู หรืออาจจะเข้าใจผิดว่า ตนเองได้บรรลุมรรค ผล นิพพาน ก็เป็นได้ ภาวะเช่นนี้ เรียกว่า วิปัสสนูปกิเลส ซึ่งเป็นเหตุให้วิปัสสนาเศร้าหมอง วิปัสสนูปกิเลส มี ๑๐ อย่างคือ แสงสว่าง (โอภาส) ความรู้ (ญาณ) ความเอิบอิ่มใจ (ปีติ) ความสงบ (ปัสสัทธิ) ความสุข (สุข) ความน้อมใจเชื่อ (อธิโมกข์) ความเพียร (ปัคคาหะ) การตั้งสติไว้ (อุปัฏฐานะ) ความวางเฉย (อุเบกขา) และความใคร่ (นิกันติ) กระนั้นก็ตาม ผู้ปฏิบัติก็ยังกำหนดได้ดีกว่าระดับขั้นที่ผ่านมา ในญาณระดับนี้ การมีกัลยาณมิตรที่ดีเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ปฏิบัติ ถ้าผู้ปฏิบัติเข้าใจผิดพลาดเพราะขาดกัลยาณมิตรคิดว่าตนเองได้บรรลุ มรรค ผล นิพพาน ก็จะพลาดโอกาสที่จะได้ผลการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานในระดับสูงต่อไป การปฏิบัติในขั้นนี้ จะเป็นเครื่องทดสอบว่าผู้ปฏิบัติได้ปฏิบัติถูกหรือไม่ ในความเป็นจริง ผู้ปฏิบัติในขั้นนี้ยังไม่สามารถกำหนดให้เห็นไตรลักษณ์ได้แจ่มแจ้ง เพราะจิตมักจะถูกวิปัสสนูปกิเลสเข้าครอบงำอยู่เสมอ เมื่อผู้ปฏิบัติได้กัลยาณมิตรก็จะสามารถฟันฝ่าเอาชนะวิปัสสนูปกิเลสได้ ทำให้การปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานดำเนินต่อไป ครั้นปฏิบัติมาถึงญาณระดับอุทยัพพยญาณอย่างแก่ (พลวะ) ผู้ปฏิบัติจึงจะสามารถกำหนดรูปนามเห็นไตรลักษณ์ตามความเป็นจริง

(๕) ภังคานุปัสสนาญาณ ญาณที่หยั่งรู้ความดับไปของรูปนาม เมื่อว่าตามชื่อ ญาณนี้ปรากฏทั้งในคัมภีร์ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค (ญาณที่ ๗) และคัมภีร์วิสุทธิมรรค สาระสำคัญของญาณนี้ก็คืออารมณ์ที่เป็นบัญญัติหายไป จะทำให้ผู้ปฏิบัติ เห็นอารมณ์ที่เป็นปรมัตถ์ชัดเจนขึ้น

(๖) ภยตูปัฏฐานญาณ ญาณที่หยั่งรู้นามว่า เป็นของน่ากลัว เมื่อว่าตามชื่อ ญาณนี้ปรากฏทั้งในคัมภีร์ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค (ญาณที่ ๘) และคัมภีร์วิสุทธิมรรค สาระสำคัญของญาณนี้ก็คือ ผู้ปฏิบัติมักเห็นสภาพของร่างกายที่มีแต่เพียงกระดูกขาวโพลน กระบอกตากลวงโบ๋ น่าเกลียดน่ากลัวยิ่งนักจนเกิดความรู้สึกว่า ไม่อยากได้รูปนามอีกต่อไป เพราะถ้าได้มาอีก รูปนามก็จะตกอยู่ในสภาพเช่นนี้อีกต่อไป

(๗) อาทีนวานุปัสสนาญาณ ญาณที่หยั่งรู้รูปนามว่าเป็นของมีแต่โทษ เมื่อว่าตามชื่อ ญาณนี้ปรากฏทั้งในคัมภีร์ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค (ญาณที่ ๘) และคัมภีร์วิสุทธิมรรค สาระสำคัญของญาณนี้ก็คือ ผู้ปฏิบัติจะเห็นร่างกายที่ค่อย ๆ พองขึ้นอืดที่บริเวณท้อง ลำตัว แขน หลังมือ หลังเท้า เป็นต้นสักระยะหนึ่งอาการพองอืดก็จะค่อย ๆ ยุบลงตามปกติ

(๘) นิพพิทานุปัสสนาญาณ ญาณที่หยั่งรู้รูปนามว่า เป็นสิ่งที่น่าเบื่อหน่าย เมื่อว่าตามชื่อ ญาณนี้ปรากฏทั้งในคัมภีร์ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค (ญาณที่ ๘) และคัมภีร์วิสุทธิมรรค สาระสำคัญของญาณนี้ก็คือ ผู้ปฏิบัติจะรู้สึกเบื่อหน่ายต่อรูปนาม เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน ล้วน ๆ มิใช่เกิดขึ้นเพราะนึกคิดเอาเอง

(๙) มุญจิตุกัมยตาญาณ ญาณที่ทำให้ผู้ปฏิบัติอยากหลุดพ้นจากรูปนาม เมื่อว่าตามชื่อ ญาณนี้ปรากฏทั้งในคัมภีร์ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค (ญาณที่ ๙) และคัมภีร์วิสุทธิมรรค สาระสำคัญของญาณนี้ก็คือ ผู้ปฏิบัติอยากหลุดพ้นจากรูปนาม บางครั้ง ผู้ปฏิบัติเกิดอาการคันอย่างรุนแรง บางครั้งก็เกิดทุกขเวทนาอย่างแรงกล้า จนอยากหนีไปให้พ้นจากรูปนาม แต่ก็ไม่ได้หนีไปไหน ยังคงเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานต่อไปอีก

(๑๐) ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ญาณที่หยั่งรู้คอยทบทวนรูปนามว่าตกอยู่ในอำนาจของไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เมื่อว่าตามชื่อ ญาณนี้ปรากฏทั้งในขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค (ญาณที่ ๙) และคัมภีร์วิสุทธิมรรค สาระสำคัญของญาณนี้ก็คือ ผู้ปฏิบัติได้เห็นไตรลักษณ์ชัดเจนที่สุดกว่าทุกญาณที่ผ่านมา การหยั่งรู้ไตรลักษณ์ มีประโยชน์มาก เพื่อจะได้ยกจิตขึ้นสู่ไตรลักษณ์ต่อไป

(๑๑) สังขารุเปกขญาณ ญาณที่หยั่งรู้ความวางเฉยในรูปนาม เมื่อว่าตามชื่อ ญาณนี้ปรากฏทั้งในคัมภีร์ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค (ญาณที่ ๙) และคัมภีร์วิสุทธิมรรค สาระสำคัญของญาณนี้ก็คือ ผู้ปฏิบัติจะมีจิตใจสงบวางเฉยไม่มีทุกขเวทนารบกวน และสามารถกำหนด สภาวะต่าง ๆ ได้ดียิ่ง ผู้ปฏิบัติได้เห็นคุณค่าของการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานเป็นอย่างมาก

(๑๒) สัจจานุโลมิกญาณ ญาณที่พิจารณารูปนามว่า เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เมื่อว่าตามชื่อ ญาณนี้ปรากฏทั้งในคัมภีร์ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทา-มรรค (ญาณที่ ๔๑) และคัมภีร์วิสุทธิมรรค สาระสำคัญของญาณนี้ก็คือ ผู้ปฏิบัติจะพิจารณารูปนามว่า เป็นไตรลักษณ์ ตั้งแต่อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ (ญาณที่ ๔) ถึงสังขารุเปกขญาณ (ญาณที่ ๔๑) เหมือนพระมหากษัตริย์ ทรงสดับการวินิจฉัยคดีของตุลาการ ๘ ท่านแล้ว มีพระราชวินิจฉัยอนุโลมตามคำวินิจฉัยของตุลาการทั้ง ๘ ท่านนั้น

ดังนั้น สัจจานุโลมิกญาณ จึงตรงกับขันติญาณ (ญาณที่ ๔๑) ในขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค ดังที่ท่านพระสารีบุตรนำธรรม ๒๐๑ ประการ มาจำแนกเป็นขันติญาณเช่น รูปที่รู้ชัดโดยความไม่เที่ยง รูปที่รู้ชัดโดยความเป็นทุกข์ รูปที่รู้ชัดโดยความเป็นอนัตตา รูปใด ๆ ที่พระโยคาวจรรู้ชัดแล้ว รูปนั้น ๆ พระโยคาวจรย่อมพอใจ เพราะฉะนั้นปัญญาที่รู้ชัด จึงชื่อว่า ขันติญาณ (ญาณในความพอใจ)

(๑๓) โคตรภูญาณ ญาณที่ข้ามเขตปุถุชน เข้าสู่เขตอริยชน เมื่อว่าโดยชื่อญาณนี้ปรากฏทั้งในคัมภีร์ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค (ญาณที่ ๑๐) และในคัมภีร์วิสุทธิมรรค สาระสำคัญของญาณนี้ก็คือ สภาวะจิตของผู้ปฏิบัติได้มีนิพพานเป็นอารมณ์ ข้ามพ้นโคตรปุถุชน บรรลุถึงอริยชน โดยไม่หวนกลับมาอีก ความจริงญาณนี้ แม้มีนิพพานเป็นอารมณ์ แต่ก็ไม่สามารถที่จะทำลายกิเลสได้หมด เปรียบเหมือนบุรุษที่มาเข้าเฝ้าพระราชา ได้เห็นพระราชาแล้วแต่ที่ไกล เมื่อมีคนมาถามว่า คุณได้เห็นพระราชาหรือยัง เขาก็ตอบว่า ยัง เพราะเขายังไม่ได้เข้าเฝ้า และทำกิจในราชสำนักได้เสร็จสิ้นฉันใดก็ฉันนั้น

(๑๔) มัคคญาณ ญาณที่ทำลายกิเลส เมื่อว่าตามชื่อ ญาณนี้ปรากฏทั้งในคัมภีร์ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค (ญาณที่ ๑๖) และคัมภีร์วิสุทธิมรรค สาระสำคัญของญาณนี้ก็คือ ผู้ปฏิบัติได้เสวยนิพพานเป็นอารมณ์เป็นครั้งแรก เห็นแจ้งนิโรธสัจด้วยปัญญาของตนเอง รูปนามดับไปในญาณนี้ หมดความสงสัยในพระรัตน-ตรัยโดยสิ้นเชิง มีศีล ๕ มั่นคงเป็นนิจ กิเลสดับไปในญาณนี้ แม้มีโลภะ โทสะ โมหะ อยู่ แต่จางหายไปได้เร็วพลัน สามารถปิดอบายภูมิได้อย่างเด็ดขาด

(๑๕) ผลญาณ ญาณที่เกิดถัดจากมัคคญาณ เมื่อว่าตามชื่อ ญาณนี้ปรากฏทั้งในคัมภีร์ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค (ญาณที่ ๑๒) และคัมภีร์วิสุทธิมรรค สาระสำคัญของญาณนี้ก็คือ ผู้ปฏิบัติถึงญาณนี้แม้กิเลสจะถูกประหาณไปได้อย่างเด็ดขาดด้วยมัคคญาณ แต่อำนาจของกิเลสก็ยังเหลืออยู่ เช่นเดียวกับที่เอาน้ำไปรดไอร้อนที่เหลืออยู่ในพื้นที่ไฟไหม้ แต่ไฟนั้นดับแล้ว การประหาณกิเลสด้วยผลญาณก็มีนัยเช่นนี้

(๑๖) ปัจจเวกขณญาณ ญาณที่ย้อนกลับไปทบทวนมรรคผลนิพพานที่ตนได้บรรลุมา เมื่อว่าโดยชื่อ ญาณนี้ปรากฏในคัมภีร์ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค (ญาณที่ ๑๔) และในคัมภีร์วิสุทธิมรรค สาระสำคัญของญาณนี้ก็คือ ผู้ปฏิบัติได้พิจารณากิเลสที่ตนละได้และที่ตนยังละไม่ได้ สำหรับกิเลสที่ยังละไม่ได้ ผู้ปฏิบัติก็จะมุ่งหน้าเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานเพื่อที่จะได้บรรลุคุณธรรมที่สูงขึ้นไป จนกว่าจะสำเร็จเป็นพระอรหันต์

สรุปความว่า โสฬสญาณ - ญาณ ๑๖ ประการนี้ได้ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกและอรรถกถา แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ใด้ตรัสสอนลำดับญาณดังที่ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวไว้ แต่ท่านพระสารีบุตรก็เป็ผู้รู้พระพุทธประสงค์จึงได้ตั้งชื่อญาณต่างๆดังที่กล่าวแล้ว แต่กระนั้นก็มีเนื้อหาในพระสูตรบางแห่งที่สื่อให้เห็น สภาวะ ของญาณในระดับต่าง ๆ เช่น ในอนัตตลักขณสูตรว่า เอวํ ปสฺสํ ภิกฺขเว อริยสาวโก รูปสมีปํ นิพฺพินฺทติ (วิ.ม. ๔/๒๓/๑๙) ภิกษุทั้งหลาย พระอริย-สาวกเมื่อเห็นอยู่อย่างนั้น ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป. คำว่า นิพฺพินฺทติ (ย่อมเบื่อหน่าย) ในคัมภีร์อรรถกถาท่านหมายเอา ภยตูปัฏฐานญาณ (ญาณที่ ๖) อาทีนวญาณ (ญาณที่ ๗) นิพพิทาญาณ (ญาณที่ ๘) มุญจิตุกัมยตาญาณ (ญาณที่ ๙) ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ (ญาณที่ ๑๐) สังขารุเปกขาญาณ (ญาณที่ ๑๑) และอนุโลมญาณ (ญาณที่ ๑๒)

คำว่า เอวํ ปสฺสํ (เมื่อพิจารณาเห็นอยู่อย่างนี้) ในคัมภีร์อรรถกถาท่านกำหนดเป็น ๓ ญาณ คือ สัมมสนญาณ(ญาณที่ ๓) อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ (ญาณที่ ๔) และภังคานุปัสสนาญาณ (ญาณที่ ๕) แม้แต่พระดำรัสว่า วิสชฺชติ (ย่อมคลายกำหนัด) ท่านหมายเอา มัคคญาณ (ญาณที่ ๑๔) วิราคา วิมุจฺจติ เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น ท่านหมายเอา ผลญาณ (ญาณที่ ๑๕) วิมุตฺตสฺมึ วิมุตฺตมิติ ญาณํ โหติ (เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีความรู้ (ญาณ)ว่า หลุดพ้นแล้ว) ท่านหมายเอา ปัจเวกขณญาณ (ญาณที่ ๑๖)

การอรรถาธิบายอย่างนี้เป็นไปตามแนวสังยุตตนิกายอรรถกถา ฉบับมหาจุฬาลงกรณวิทยาลัย (๒/๖๐-๖๒) อย่างไรก็ตาม การเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน สามารถที่จะสำรวจผลของการปฏิบัติได้จากโสฬสญาณ (ญาณ ๑๖) ซึ่งเป็นเครื่องวัดถึงความเจริญก้าวหน้าของการปฏิบัติ ดังนั้น การบรรลุ มรรค ผล นิพพาน นั้นจึงเป็นพระปัญญาตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยแท้จริง.

******************************************************************************************************

สมาบัติ แปลว่า การเข้าถึงฌาน, การบรรลุฌาน, ธรรมที่พึงเข้าถึงฌาน

สมาบัติ โดยทั่วไปหมายถึง ทั้งฌานและการเข้าฌาน ที่กล่าวว่า เข้าสมาบัติ ก็คือ เข้าฌาน นั่นเอง

สมาบัติ มี 8 อย่าง เรียกว่า สมาบัติ ๘ ได้แก่ รูปฌาน 4, อรูปฌาน 4, เรียกแยกว่า รูปสมาบัติ อรูปสมาบัติ เรียกรวมว่า ฌานสมาบัติ

สมาบัติ อีกอย่างหนึ่งคือ นิโรธสมาบัติ หรือ สัญญาเวทยิตนิโรธ ซึ่งละเอียดสุขุมกว่า อรูปฌาน เมื่อรวมกับสมาบัติ 8 ข้างต้นก็เป็น 9 มีคำเรียกต่างหากว่า อนุปุพพวิหารสมาบัติ

******************************************************************************************************

ฟห่ฟดหกา่ยนฟ่ยเีเีนีนเย่นย่เนยียนเีนย