โครงการสถาปัตยกรรมเพื่อสังคม

ศูนย์พักคนไร้บ้าน รังสิต

โดยคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

ความเป็นมาของโครงการ

สถาปัตยกรรมศาสตร์ เป็นศิลป์และศาสตร์แขนงหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อมนุษย์และสภาพแวดล้อม การคำนึงถึงปัญหาทางสังคมและสภาพแวดล้อมในมิติต่างๆ ทำให้เกิดการสรรสร้างงานสถาปัตยกรรมที่เป็นประโยชน์และมีคุณค่าต่อส่วนรวม กระบวนการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงร่วมกับกลุ่มคนและหน่วยงานต่างๆ จากหลายแหล่งที่มา จะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความคิด และมุมมองร่วมกัน จึงมีความสำคัญยิ่งต่อการทำให้นักศึกษาได้พัฒนาความคิดและจินตนาการไปพร้อมกับการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

ทั้งนี้ได้มีการบันทึกความตกลง Memorandum of Understanding (MOU) ทางด้านวิชาการ วิชาชีพร่วมกันระหว่างคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) เพื่อการทำกิจกรรมและปฏิบัติการแก้ปัญหาพัฒนาที่อยู่อาศัยและเมืองทุกมิติผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม รวมทั้งการบูรณาการการทำงานที่ครอบคลุมในทุกมิติ อันมีความถูกต้องและทันต่อความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ซึ่งกิจกรรมและการปฏิบัติการดังกล่าวนับว่าสนับสนุนให้นักศึกษาและอาจารย์สร้างแรงขับเคลื่อนทางวิชาการและงานวิจัยนอกชั้นเรียน อันเป็นประโยชน์ต่อการกำหนดความคิดในการสร้างสรรค์ผลงานออกแบบที่มีคุณภาพเพื่อสังคมและสภาพแวดล้อมได้ต่อไปในอนาคต

กระบวนการของโครงการสถาปัตยกรรมเพื่อสังคม ศูนย์พักคนไร้บ้าน รังสิต

ประชุมทีมงาน

ประชุมสรุปกับทีมงานเพื่อทำความเข้าใจก่อนดำเนินโครงการ อ่านต่อ

กิจกรรมลงพื้นที่ครั้งที่ 1

ครั้งแรกกับการลงพื้นที่เพื่อศึกษาทำความรู้จักคนไร้บ้าน สอบถามความต้องการสำหรับนำมาออกแบบศูนย์พักคนไร้บ้าน รังสิต อ่านต่อ

ทัศนศึกษาดูงานศูนย์คนไร้บ้านบางกอกน้อย

กระบวนการเรียนรู้ของอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และ นักศึกษา ผ่านสถานที่และความเป็นอยู่ของคนไร้บ้าน อ่านต่อ

กระบวนการพัฒนาแบบขั้นต้น

กระบวนการพัฒนาแบบทางสถาปัตยกรรมเพื่อสังคม (ขั้นต้น) ร่วมระหว่างอาจารย์ นักศึกษา อ่านต่อ

กิจกรรมลงพื้นที่ครั้งที่ 2

กระบวนการนำแบบร่างทางสถาปัตยกรรม เพื่อพูดคุยกับกลุ่มคนไร้บ้าน อ่านต่อ

ภาพถ่ายเล่าเรื่อง

การบูรณาการระหว่างการออกแบบทางสถาปัตยกรรมกับวิชาถ่ายภาพ เพื่อใช้ภาพเป็นสื่อกลางในการเข้าถึงคนไร้บ้าน อ่านต่อ

กระบวนการพัฒนาแบบช่วงที่ 2

กระบวนการพัฒนาแบบทางสถาปัตยกรรมเพื่อสังคม (ช่วงที่ 2) ร่วมระหว่างอาจารย์ นักศึกษา อ่านต่อ

กิจกรรมลงพื้นที่ครั้งที่ 3

กระบวนการนำแบบร่างทางสถาปัตยกรรม เพื่อพูดคุยกับกลุ่มคนไร้บ้าน อ่านต่อ

ภาพถ่ายเล่าเรื่อง


ทีมงาน

ดร.ศศิกาญจน์ ศรีโสภณ (หัวหน้าโครงการ) อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

"เป็นการทำงานที่สร้างประโยชน์ให้แก่สังคมและคนด้อยโอกาส ซึ่งสิ่งที่สร้างออกมาจะเป็นมากกว่างานสถาปัตยกรรม และสิ่งนั้นจะนำมาซึ่งความภาคภูมิใจและคุณค่าในวิชาชีพของเราโดยไม่ต้องแข่งขันกับใครเลย "

อามาล ภ. ฉิมวิไลทรัพย์ รองคณบดี ฝ่ายบริหาร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต


มนต์ชัย บุญยะวิภากุล รองคณบดี ฝ่ายวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

"เป็นโครงการที่ทำให้เห็นอีกแง่มุมของสังคม ได้เห็นได้รู้จักคนที่มีพื้นที่อยู่อาศัยแค่ 2x2 เมตร เขาก็มีความสุขได้ในแบบของเขา"

ปาริษา มูสิกะคามะ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

"จะมีสถาปนิกสักกี่คนที่ได้โอกาสได้ทำงานเพื่อเปิดโอกาสให้เพื่อนในสังคม เราทำงาน เรามีความสุข เพื่อนที่ได้โอกาสก็มีความสุข"

ปรเมศวร์ พลรัฐธนาสิทธิ์ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

"สิ่งที่สร้างความอบอุ่นใจให้กันวันที่อ่อนล้า ก็คือการยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ รับฟัง และเข้าใจจากคนในสังคมด้วยกันเองนี่แหละ .... เธอช่วยฉัน ฉันช่วยเธอ "