แข่งขันอย่างไร (รูปแบบการแข่งขัน)

“การออกแบบอนาคต” เป็นการเสนอแนวคิดการแก้ปัญหาแบบองค์รวม (Holistic Solution) ครอบคลุมสี่เสาหลักของการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน (4 Pillars) ได้แก่ สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และการบริหารจัดการ 

ผู้เข้าร่วมแข่งขัน 1 กลุ่ม เลือกทิศทางในการออกแบบอนาคตด้านใดด้านหนึ่งจากทั้ง 6 กลุ่ม เพื่อเป็นแนวทางตั้งต้นสำหรับมองหาประเด็นสำคัญ (Pain Point) จากภาพใหญ่ นำมาใช้เป็นหัวข้อในการออกแบบ สำหรับการวิเคราะห์ สังเคราะห์ ต้องสะท้อนแนวทางการแก้ปัญหาแบบองค์รวม (Holistic Solution) ครอบคลุมภาพใหญ่ให้มากที่สุด 

เวทีการแข่งขัน “รังสิตวิชาการ”  ได้กำหนดแนวทางการแข่งขันให้สอดคล้องกับทิศทางการศึกษา โดยแบ่งทิศทางการแข่งขันออกเป็น 6 กลุ่ม (6 Cluster) หลักๆ ด้วยกันดังนี้


ทำไมต้องออกแบบอนาคต? ….Why do we Design the Future?


“อนาคต” เป็นสิ่งที่ออกแบบได้หากมนุษย์ใช้ปัญญาเพื่อหาแนวทางมุ่งสู่ “วันพรุ่งนี้ที่ดีกว่า” 

การพัฒนาประเทศตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ให้มีประสิทธิภาพยั่งยืนและเป็นธรรม เป็นเรื่องที่พึงปรารถนาของประชาชนในประเทศ ภายใต้สภาพปัญหาและความท้าทายที่ซับซ้อน เป้าหมายของการออกแบบอนาคตจะต้องอยู่ที่ การพัฒนาระดับกำลังมันสมอง (Brainpower) ของประเทศที่สอดคล้องยุทธศาสตร์ชาติ ทั้งด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน การพัฒนาเศรษฐกิจ การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์

ประเทศที่มี “วิสัยทัศน์” มีการกำหนดเป้าหมายอนาคตของชาติอย่างชัดเจน สะท้อน “ยุทธศาสตร์” สามารถดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามาส่วนร่วมเช่นกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ล้วนแล้วแต่มีผลลัพธ์ในการพัฒนาประเทศได้อย่างรวดเร็ว ต่อเนื่อง และยั่งยืน โดยการให้ความสำคัญกับการพัฒนาระดับกำลังมันสมอง (Brainpower) ของประเทศ

“นักออกแบบอนาคต”เป็นกลุ่มคนที่มีความเชื่อว่าอนาคตเป็นกระบวนการออกแบบอย่างมีส่วนร่วมเพื่อแสวงหาความจริงใหม่ที่มี “ผลลัพธ์ที่ดีกว่า” ครอบคลุมสี่เสาหลักด้านสังคม เศรษฐกิจ สภาพแวดล้อม และการบริหารจัดการ โดยใช้หลักการว่าทุกคนมีอนาคตร่วมกัน มีความรับผิดชอบ และสิทธิประโยชน์โดยเท่าเทียมกัน 

“การออกแบบอนาคต” ในที่นี้คือ 

ทั้งนี้ การออกแบบอนาคตเป็นไปได้หลายทางเลือก โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือ การสร้างอนาคตที่ดีกว่า ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศอย่างองค์รวม ครอบคลุมในทุกมิติ

ตัดสินอย่างไร? (หลักเกณฑ์การตัดสิน)

ตัดสินโดยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ โดยมีเกณฑ์การให้คะแนน ประกอบไปด้วย

หมายเหตุ

รายละเอียดเป็นอย่างไร? (กำหนดการกิจกรรม)