รายละเอียดการประกวด

มหาวิทยาลัยรังสิตได้จัดให้มีการประกวดผลงานด้านการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนการสอน ภายในงานรังสิตวิชาการ ประจำปีการศึกษา 2566 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา ได้มีโอกาสนำเสนอผลงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารการศึกษาและการจัดการเรียนการสอน อันจะเป็นการสร้างและพัฒนาครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาให้มีศักยภาพซึ่งจะส่งผลที่ดีกับนักเรียนที่เป็นอนาคตของชาติต่อไป 

ข้อกำหนดและการเสนอผลงานด้านการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนการสอน 

ประเภทของผลงาน

ผลงานด้านการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนการสอน แบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้

1.ผลงานในการขอวิทยฐานะ แบ่งตามผลงานที่ใช้ขอวิทยฐานะ

1.1 ครูชำนาญการ

1.2 ครูชำนาญการพิเศษ

1.3 ครูเชี่ยวชาญ

1.4 ครูเชี่ยวชาญพิเศษ

โดยส่งผลงานในรูปแบบของคลิปวิดีโอที่ท่านเคยใช้ในการขอวิทยฐานะ จำนวน 2 คลิป โดย คลิปที่ 1) ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้และจัดการชั้นเรียนของคุณครู และ 2)  ด้านผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน


2.ผลงานแนวปฏิบัติที่ดีในการบริหารการศึกษา โดยเลือกประเด็นหลักเพียง 1 ประเด็น ดังนี้

2.1 การบริหารวิชาการ

2.2 การบริหารงบประมาณ

2.3 การบริหารงานบุคคล

2.4 การบริหารทั่วไป

 โดยส่งผลงานในรูปแบบของคลิปวิดีโอ โดยกำหนดประเด็นนำเสนอในคลิปวิดีโอ อย่างน้อย 3ประเด็น ได้แก่

1. เหตุใดจึงเลือกดำเนินการในเรื่องนี้ และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการเป็นอย่างไร

2. วิธีการดำเนินการที่ใช้ในการบริหารการศึกษาในประเด็นที่นำเสนอ

3. สิ่งที่สำคัญและเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดผลสำเร็จของการดำเนินการ


3.ผลงานนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ เครื่องมือ ที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน

โดยส่งผลงานในรูปแบบของคลิปวิดีโอ โดยกำหนดประเด็นนำเสนอในคลิปวิดีโอ อย่างน้อย 3ประเด็น ได้แก่

3.1 เหตุใดจึงเลือกทำผลงานนี้ และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากนำผลงานนี้ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน

      เป็นอย่างไร

3.2 วิธีการนำผลงานมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน

3.3 สิ่งที่สำคัญและเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดผลสำเร็จทั้งในมุมของการพัฒนาผลงานและการนำไปใช้ในการ

      จัดการเรียนการสอน


สิ้นสุดการส่งผลงานในวันที่ 25 กันยายน 2566

การให้รางวัล

1.ผลงานในการขอวิทยฐานะ รวม 5 รางวัล 

แบ่งตามผลงานที่ใช้ขอวิทยะฐานะ ดังนี้


1.ครูชำนาญการ จำนวน 2 รางวัล

2.ครูชำนาญการพิเศษ จำนวน 1 รางวัล

3.ครูเชี่ยวชาญ จำนวน 1 รางวัล

4.ครูเชี่ยวชาญพิเศษ จำนวน 1 รางวัล


โดยส่งผลงานในรูปแบบของคลิปวิดีโอที่ท่านเคยใช้ในการขอวิทยฐานะ จำนวน 2 คลิป โดย 

คลิปที่ 1 ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้และจัดการชั้นเรียน  

             ของคุณครู 

คลิปที่ 2 ด้านผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน


2.ผลงานแนวปฏิบัติที่ดีในการบริหารการศึกษา รวม 5 รางวัล 

แบ่งตามประเด็นการบริหาร ดังนี้


1.การบริหารวิชาการ จำนวน 2 รางวัล

2.การบริหารงบประมาณ จำนวน 1 รางวัล

3.การบริหารงานบุคคล จำนวน 1 รางวัล

4.การบริหารทั่วไป จำนวน 1 รางวัล


โดยส่งผลงานในรูปแบบของคลิปวิดีโอ โดยกำหนดประเด็นนำเสนอในคลิปวิดีโอ อย่างน้อย 3ประเด็น ได้แก่

ประเด็นที่ 1 เหตุใดจึงเลือกดำเนินการในเรื่องนี้ และผลลัพธ์

             ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการเป็นอย่างไร

ประเด็นที่ 2 วิธีการดำเนินการที่ใช้ในการบริหารการศึกษา

             ในประเด็นที่นำเสนอ

ประเด็นที่ 3 สิ่งที่สำคัญและเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดผลสำเร็จ

             ของการดำเนินการ


3.ผลงานนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ เครื่องมือ ที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน จำนวน 5 รางวัล 


โดยส่งผลงานในรูปแบบของคลิปวิดีโอ โดยกำหนดประเด็นนำเสนอในคลิปวิดีโอ อย่างน้อย 3 ประเด็น ได้แก่

ประเด็นที่ 1 เหตุใดจึงเลือกทำผลงานนี้ และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากนำผลงานนี้ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนเป็นอย่างไร

ประเด็นที่ 2 วิธีการนำผลงานมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน

ประเด็นที่ 3 สิ่งที่สำคัญและเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดผลสำเร็จทั้งในมุมของการพัฒนาผลงานและการนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน


ผู้ที่ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดและผู้ที่ได้รับรางวัล จะได้รับเงินรางวัลและเกียรติบัตร ดังนี้


1.ผู้ที่ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดจะได้รับเกียรติบัตรรับรองการส่งผลงานด้านการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนการ    

   สอนเข้าร่วมประกวดในงานรังสิตวิชาการ 

2.ผู้ที่ได้รับรางวัลจะได้รับโล่รางวัลพร้อมเกียรติบัตรรางวัลผลงานดีเด่นด้านการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนการสอน

   ในงานรังสิตวิชาการ รวมถึงเงินรางวัลจำนวน 3,000 บาท โดยผู้ได้รับรางวัลผลงานดีเด่นทุกรางวัลจะต้องร่วมนำ

   เสนอผลงานในงานรังสิตวิชาการ วันที่ 16 พฤศจิกายน 2566

สำหรับผู้ที่เข้าร่วมงานในวันรังสิตวิชาการในส่วนของ “Academic Conference” ทุกท่านจะได้รับเกียรติบัตรการเข้าร่วมงานประชุมวิชาการด้านการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนการสอน

การพิจารณาและตัดสิน

ขั้นตอนการพิจารณาและตัดสินให้รางวัล มีดังนี้


   1.รอบคัดเลือก พิจารณาจากคลิปวิดีโอ โดยคณะกรรมการ

   2.ประกาศผลรางวัลดีเด่นในวันที่ 16 ตุลาคม 2566

   3.มอบรางวัลและเกียรติบัตรในวันรังสิตวิชาการในส่วนของ “Academic Conference” วันที่ 16 พฤศจิกายน 2566 

      ณ มหาวิทยาลัยรังสิต เมืองเอก ปทุมธานี

คุณสมบัติ

คุณสมบัติของผู้ส่งผลงาน


1.ต้องเป็นครูและบุคลากรทางการศึกษาระดับใดก็ได้ของสถาบันการศึกษาในประเทศไทย ณ วันที่ส่งผลงาน

   เข้าร่วมประกวด โดยจํากัดการส่งผลงานประเภทละ 1 ผลงานเท่านั้น

2.ผลงานด้านการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนการสอนที่ส่งเข้าร่วมประกวดจะต้องสอดคล้องกับประเภทของผลงาน

   ที่กำหนดและเป็นผลงานที่ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว

3.ผลงานด้านการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนการสอนที่ส่งเข้าร่วมประกวด หากเคยได้รับรางวัลมาก่อนแล้ว ให้แจ้ง

   ข้อมูลเพิ่มเติมในขั้นตอนการส่งผลงานด้วย 

4.ผลงานด้านการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนการสอนที่ส่งเข้าร่วมประกวด ต้องไม่เป็นผลงานที่ลอกเลียนแบบมาจาก 

   ผู้อื่นทั้งนี้ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งผลงาน

สำหรับผู้ที่เข้าร่วมงานในวันรังสิตวิชาการในส่วนของ “Academic Conference” ทุกท่านจะได้รับเกียรติบัตรการเข้าร่วมงานประชุมวิชาการด้านการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนการสอน

สามารถส่งผลงานได้ที่ <<คลิก>> โดยกรอกรายละเอียดให้ครบถ้วนและแนบผลงาน

ในรูปแบบของวิดีโอตามข้อแนะนำในแบบฟอร์มการส่งผลงาน

มหาวิทยาลัยรังสิตเป็นผู้คัดเลือกตัดสินด้านการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนการสอนที่สมควรได้รับรางวัล ซึ่งดําเนินงานโดยคณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยรังสิต ทั้งนี้ ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สุด จะอุทธรณ์มิได้ และหากพบหลักฐานในภายหลัง ว่าผลงานที่ได้รับรางวัลหรือผู้ส่งผลงานขาดคุณสมบัติในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง คณะกรรมการจะพิจารณาเพิกถอนผลการตัดสินและเรียกคืนรางวัลที่รับไปแล้วทั้งหมดได้

🎉 🎉 ผลการตัดสินการประกวดผลงานด้านการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนการสอน

งานรังสิตวิชาการ ประจำปีการศึกษา 2566 

ด้านที่ 1 ผลงานในการขอวิทยฐานะ แบ่งระดับการปฏิบัติงานที่คาดหวังตามวิทยะฐานะ ดังนี้ 

1.  ครูชำนาญการ จำนวน 2 รางวัล ดังนี้

    ผลงาน Looks


    ผลงาน การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐาน (Activity-based Learning)


2.  ครูชำนาญการพิเศษ จำนวน 1 รางวัล ดังนี้

     ผลงาน การศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended learning) และการอภิปรายโดยการโต้วาที เรื่อง “การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดีเอ็นเอ” สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4


3.  ครูเชี่ยวชาญพิเศษ จำนวน 1 รางวัล ดังนี้

    ผลงาน การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ เรื่อง การรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล เพื่อส่งเสริมทักษะด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (SEASES Model)

ด้านที่ 2 ผลงานแนวปฏิบัติที่ดีในการบริหารการศึกษา ดังนี้ 

1.  ด้านการบริหารวิชาการ จำนวน 2 รางวัล ดังนี้

    ผลงาน PLC พัฒนาพลเมืองดี ที่มีทักษะในศตวรรษที่ 21


    ผลงาน งานวิชาการ



2.  ด้านการบริหารงานบุคคล จำนวน 1 รางวัล ดังนี้

    ผลงาน กระบวนการ SIRIN : SAFTY สถานศึกษาปลอดภัย



3.  ด้านการบริหารทั่วไป จำนวน 1 รางวัล ดังนี้

    ผลงาน การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานโรงเรียนปลอดภัยโดยใช้ 3-9S Model

ด้านที่ 3 ผลงานนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ เครื่องมือ ที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน จำนวน 5 รางวัล ดังนี้

ผลงาน แปลงห้องเรียนให้เป็นกองถ่าย เพื่อพัฒนานักเรียนให้ SMART ฉลาดใช้ DIGITAL ด้วยกระบวนการ Co-5Steps


ผลงาน เกมทบทวน cellular respiration


ผลงาน ผลการใช้สื่อนวัตกรรมเว็บไซต์ 21st  Century English Classroom เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนลำปางกัลยาณี 


ผลงาน การดำเนินงานพัฒนาทักษะจิตอาสา สร้างวินัยดี รู้รักสามัคคี ทำความดีเพื่อแผ่นดินด้วยหัวใจ โดยใช้รูปแบบการดำเนินงานด้วย PANUPONG Model ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 


ผลงาน ชุดการเรียนรู้กิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างทักษะทางสังคม การจัดการอารมณ์และความเครียด