เรื่องเครื่องดนตรีไทย

หน่วยที่ 1

หน่วยที่ 2

หน่วยที่ 3

หน่วยที่ 4

จะเข้

ซอด้วง

ระนาดเอก

ขลุ่ยเพียงออ

แบบทดสอบก่อนเรียน

ศ20207 ดนตรี-ขับร้องไทย 1

แบบทดสอบหลังเรียน

ศ20207 ดนตรี-ขับร้องไทย 1

ประเภทของเพลงไทยเดิม
                เพลงไทยเดิมหมายถึงเพลงที่มีทำนองเป็นเอกลักษณ์แบบไทยการบรรเลงการขับร้องที่เป็นแบบไทยและประพันธ์ตามหลักของดนตรีไทย เพลงไทยที่ได้ยินกันอยู่มีทั้งเพลงที่มีผู้ขับร้องพร้อมกับบรรเลง และบรรเลงอย่างเดี่ยว ลักษณะเพลงทำนองมีความช้าความเร็วแตกต่างกันไป 

เพลงไทยเดิมที่ใช้บรรเลง จำแนกได้ ๒ ประเภท คือ

๑.ประเภทเพลงบรรเลงล้วน คือ เพลงที่ใช้ดนตรีบรรเลงล้วน ๆ จะเป็นวงดนตรีชนิดใดก็ตามเพลงประเภทนี้ ได้แก่ เพลงโหมโรง เพลงหน้าพาทย์ เพลงเรื่อง  เพลงหางเครื่อง (ท้ายเครื่อง) เพลงลูกบท และเพลงภาษา

๒.ประเภทที่มีการขับร้องประกอบการบรรเลง คือ เพลงที่มีการขับร้องและมีดนตรีบรรเลงประกอบไปด้วยในภาษานักดนตรีเรียกเพลงขับร้องว่า "เพลงรับร้อง" เพราะใช้ดนตรีรับการขับร้อง หรือ "การร้องส่ง" ก็เรียกกัน เพราะร้องแล้วส่งให้ดนตรีรับ เพลงประเภทนี้ ได้แก่ เพลงเถา เพลงตับ เพลงเกร็ด และเพลงเบ็ดเตล็ด

การตีระนาด

ระนาดเอกเป็นเครื่องตีชนิดหนึ่ง ที่วิวัฒนาการมาจากกรับ แต่เดิมคงใช้กรับสองอันตีเป็นจังหวะ ต่อมาก็เกิดความคิดว่า ถ้าเอากรับหลาย ๆ อันวางเรียงราดลงไป แล้วแก้ไขประดิษฐ์ให้มีขนาดลดหลั่นกัน แล้วทำรางรองอุ้มเสียง และใช้เชือกร้อยไม้กรับขนาดต่าง ๆ กันนั้นให้ติดกัน และขึงไว้บนรางใช้ไม้ตีให้เกิดเสียง นำตะกั่วผสมกับขี้ผึ้งมาถ่วงเสียงโดยนำมาติดด้านล่างของไม้กรับทั้งสองฝั่งนั้น ให้เกิดเสียงไพเราะยิ่งขึ้น เรียกไม้กรับที่ประดิษฐ์เป็นขนาดต่างๆกันนั้นว่า ลูกระนาด เรียกลูกระนาดที่ผูกติดกันเป็นแผ่นเดียวกันว่า ผืน บรรเลงในวงปี่พาทย์และวงมโหรี โดยระนาดเอกนี้ทำหน้าที่เป็นเครื่องนำในวงนั้นๆ