วิทยานิพนธ์ 😵‍💫

ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา

Title Alternative

Creative leadership of the school director in secondary school on municipality Chachoengsao


Abstract: การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา จำแนกตามเพศ ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอนโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา ปีการศึกษา 2558 การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Krejcie and Morgan (1970, pp. 608-610) ซึ่งได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาทั้งสิ้น จำนวน 226 คน จากการสุ่มสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) ตามขนาดของสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .35-.77 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) การทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบความแปรปวนทางเดียว (One-way ANOVA) ถ้าพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทำการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ (Sheffe’s method) ผลการวิจัย พบว่า 1. การศึกษาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2. ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา จำแนกตามเพศ โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 4. ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยรวมและรายด้าน จำแนกตามขนาดโรงเรียน พบว่า โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้น ด้านการสร้างมนุษยสัมพันธ์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Abstract: The purpose of the study was to examine the creative leadership of the school directors in secondary schools in Amphur Muang Chachoengsao province which classified from genders, working experiences and school sizes. A sample was the teachers in secondary schools in Amphur Muang Chachoengsao province in academic year 2015. Determining a sample size by using a chart to determine a sample size of Krejcie and Morgan (1970, pp. 608-610) gained a sample size. The total of a selected sample were 226 people from stratified random sampling according to the school sizes. The instrumentation was the questionnaire in 5 rating scales with the item discrimination at .35-.77 and the reliability was equal to .96. The selected statistics in this data analysis were mean ( ), standard deviation (SD), t-test and One-way analysis of variance (One-way ANOVA). If it was found that differences were statistically significant, comparing in pair average with Sheffe’s Method. The Results of the Study were as follows: 1. The study of the creative leadership of the school directors in secondary schools in Amphur Muang Chachoengsao province as a whole and each aspect were in high level. 2. The result of the comparing creative leadership of the school directors in secondary schools in Amphur Muang Chachoengsao province classified from genders as a whole and each aspect were different with no statistical signification. 3. The result of the comparing creative leadership of the school directors in secondary schools in Amphur Muang Chachoengsao province classified from working experiences as a whole and each aspect were different with no statistical signification. 4. The result of the comparing creative leadership of the school directors in secondary schools in Amphur Muang Chachoengsao province as a whole and each aspect, classified from school sizes, was found that it was different with no statistical signification except the aspect of making human relationship was different statistically significant at .05 level



อ้างอิง : อมรรัตน์ งามบ้านผือ (2560) ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อบรรยากาศของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหาร 2) บรรยากาศ ของโรงเรียน 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษากับบรรยากาศ ของโรงเรียน 4) ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อบรรยากาศของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหาร สถานศึกษาและครู จำนวน 325 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วน ประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และค่าการวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย

ผลการวิจัยพบว่า

1. ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2 มีค่าเฉลี่ยโดยรวม อยู่ในระดับมากเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไป น้อย คือ มีความยืดหยุ่น วิสัยทัศน์ และจินตนาการ

2. บรรยากาศของโรงเรียนโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับ ค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ บรรยากาศแบบควบคุม บรรยากาศแบบแจ่มใส บรรยากาศแบบอิสระ และบรรยากาศแบบสนิทสนม

3. ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์กับบรรยากาศของโรงเรียน ในทางบวกในระดับสูง


อ้างอิง : จารินี สิกุลจ้อย

 (2558) ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อบรรยากาศของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2 ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 ปี2558.



การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของครูโรงเรียนประถมศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาการพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของครูโรงเรียนประถมศึกษาและ2)ศึกษาผลการนำโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของครูโรงเรียนประถมศึกษาไปใช้การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาประกอบด้วย 2ระยะคือ ระยะที่ 1 การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของครูโรงเรียนประถมศึกษา โดยยืนยัน ความเหมาะสม ความถูกต้อง ความเป็นไปได้ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 9 คนระยะที่ 2 การศึกษาผลการนำโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของครูโรงเรียนประถมศึกษาไปใช้กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ระยะที่ 1 ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน และระยะที่ 2 ได้แก่ ครูผู้สอนโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบประเมิน แบบสอบถาม และแบบทดสอบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่าโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของครูโรงเรียนประถมศึกษา มี 5องค์ประกอบ1) หลักการของโปรแกรม2)วัตถุประสงค์ของโปรแกรม3)เนื้อหาของโปรแกรม4)วิธีดำเนินการม5)การวัดและประเมินผลและคู่มือการใช้โปรแกรมได้แก่ การประเมินผลก่อนและหลังการเข้ารับการพัฒนาการประเมินผลเพื่อติดตามผลหลังพัฒนาและการประเมินความพึงพอใจใช้เวลา 80 ชั่วโมงผลการประเมินโปรแกรมโดยผู้ทรงคุณวุฒิยืนยัน ด้านความเป็นไปได้ ความเหมาะสมด้านความถูกต้องและความเป็นประโยชน์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก และผลการนำโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของครูโรงเรียนประถมศึกษาไปใช้พบว่า ผลการประเมินตนเองของครูเกี่ยวกับภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของครูหลังการพัฒนาโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ครูโรงเรียนประถมศึกษา มีระดับภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์หลังการพัฒนาสูงขึ้นกว่าก่อนพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01และผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ทุกคน โดยรวม ระดับมากที่สุด ผลการประเมินติดตามผลจากกลุ่มผู้ประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมาก ผู้เข้ารับการพัฒนามีความพึงพอใจต่อโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

References

กิตติ์กาญจน์ ปฏิพันธ์.(2555). โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น


กิติ ตยัคคานนท์. (2543).เทคนิคการสร้างภาวะผู้นำ. กรุงเทพฯ : เปล่งอักษร


เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2550).สุดยอดภาวะผู้นำ : Super leadership. กรุงเทพฯซัคเซส มีเดีย


เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2545). ลายแทงนักคิด. กรุงเทพฯ: ซัคเซส มีเดีย


เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2555). การคิดเชิงวิพากษ์ Critical Thinking.พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: ซัคเซสมีเดีย.


กรองทิพย์ นาควิเชตร. (2552).ภาวะผู้นำสร้างสรรค์เพื่อการศึกษา. สมุทรปราการ : ธีรสาส์ พับลิวเซอร์


จอมพงศ์ มงคลวนิช. (2555). การบริหารองค์การและบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


ญดาภัค กัลปดี. (2559). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงสร้างสรรค์ของครูประถม.วิทยานิพนธ์: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม


บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สุวีริยาสาส์น


ปริญญา มีสุข. (2552). ผลการออกแบบโปรแกรมการพัฒนาทางวิชาชีพแบบมีส่วนร่วมของครู.วิทยานิพนธ์ กศ.ด.กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


พิมพ์พร พิมพ์เกาะ. (2557).การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม


วราภรณ์ บุญเจียม. (2559). การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูระดับประถมศึกษาด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณวิทยานิพนธ์: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม


วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: พลับลิเคชั่น จำกัด


สุวิทย์ ยอดสระ. (2556). การพัฒนาเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม


คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.(2553).การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาตามกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2553.กรุงเทพฯ : คุรุสภา


สุรีรัตน์ พัฒนเธียร.(2552). ตัวแบบความสามารถทางภาวะผู้นำของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น


ยอดอนงค์ จอมหงส์พิพัฒน์. (2553). การพัฒนาโปรแกรมการพัฒนาครูผู้นำการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาวิทยานิพนธ์ ค.ด. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร


อนันต์ พันนึก. (2554). การวิจัยและพัฒนาโปรแกรมพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน วิทยานิพนธ์ กศ.ด. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น


Danner, S.E.(2008). Creative Leadership in Art Education: Perspectives of an ArtEducator.Doctor’s Thesis, Ohio : Art Education (Fine Arts), OhioUniversity,


Coste, T. G. (2011). Creative Leadership and Wom<http://www.pptsearch.net/details-creative-leadership-amp-women-349420.html> 9 September


Stoll, L. and J. (2009).Temperley“Creative leadership teams,”in Journal of Management in Education, 23(1) : 12-18


Guntern, G.(1997). The Challenge of Creative Leadership.University of California : Shepherd-Walwyn


Uranna, K. J.(2000). The nature of teacher leadership: A case study of elementary school teachers from a five-year teacher education program.Doctoral dissertation, University of Connecticut, Storrs


อ้างอิง : พุทธชาติ ภูจอมจิต 

 (2563) การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของครูโรงเรียนประถมศึกษา ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม .ฉบับที่ 1 ปี2563. 

Program development for leaders in the post-truth era: Arts-based creative leadership communication program

Abstract

Developments in media and communication technologies welcomed a new era, defined as post-truth, implying a general distancing from truth, where fake or speculative messages can be instantly shared by a vast audience. In this era, we need leaders with strong emotional and social skills to create a positive and ethical impact in society. In this study, due to the requirements of the Post-Truth Era which necessitates a new approach to leadership development, an arts-based learning intervention entitled Arts-Based Creative Leadership Communication Program is designed for leaders with three main objectives to increase, firstly, their creative communication skills; secondly, healing effect of arts for their resilience; and, thirdly, their social sensitivity through arts. After the design and implementation of this program, its targeted effects on the participants were analyzed. Results indicated that all of the expected outcomes were achieved successfully. The highest development was seen in the healing effect, while change in social sensitivity appeared as the lowest. Emotional skills as non-verbal communication element was developed more than social skills. Meanwhile, the emergence of the pandemic with its digital transformation process increased the effects of the program. To sum up, the program was found successful for the leaders in the Post-Truth Era.

ครูที่มีคุณลักษณะเป็นผู้นำที่สร้างสรรค์ใช้แนวทางที่นอกเหนือไปจากการศึกษาแบบเดิมๆ และตอบสนองความต้องการของทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 การทำเช่นนี้จะส่งผลเชิงบวกต่อแรงจูงใจของบุคคลที่มีส่วนสนับสนุนอนาคตที่จินตนาการไว้ โดยนำความกล้าหาญ การทำงานร่วมกัน และความคิดสร้างสรรค์ออกมา เพื่อให้สอดคล้องกับสิ่งนี้ ข้อมูลของการศึกษานี้ซึ่งตรวจสอบผลกระทบของคุณลักษณะความเป็นผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของครูก่อนวัยเรียนที่มีต่อแรงจูงใจของเด็กโดยใช้แบบจำลองการสำรวจความสัมพันธ์ ได้รับการรวบรวมโดยการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองก่อนวัยเรียน 382 คน โดยมีช่วงความเชื่อมั่น 95% ผลการวิจัยระบุว่าครูที่มีคุณสมบัติเป็นผู้นำที่สร้างสรรค์มีผลกระทบเชิงบวกต่อแรงจูงใจของเด็กในระดับปานกลาง นอกจากนี้ จากผลการศึกษาพบว่าการเป็นผู้นำที่มีความคิดสร้างสรรค์เป็นตัวทำนายตัวแปรแรงจูงใจที่สำคัญ ซึ่งบ่งบอกถึงความสัมพันธ์ที่มีความหมายระหว่างตัวแปรเหล่านี้ จากผลการวิเคราะห์การถดถอย สมการถดถอยในการทำนายแรงจูงใจมีดังนี้ แรงจูงใจ = 0.498 ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์

อ้างอิง :  Dr. Burcu Erturk Kilic(2023)

Program development for leaders in the post-truth era: Arts-based creative leadership communication program

Bogazici University Career Center, Albert Long Hall, South Campus, 34342 Bebek, Istanbul, Turkey (2023)