สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
ศูนย์พระนครศรีอยุธยา หันตรา

สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
(Mechanical Engineering)

วิศวกรรมเครื่องกล (Mechanical Engineering) เป็นสาขาวิชาเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้คณิตศาสตร์และกฏทางฟิสิกส์ เพื่อนำความรู้มาทำการประดิษฐ์ ทำการผลิต และดูแลรักษาระบบเชิงกล
การศึกษาด้านวิศวกรรมเครื่องกล จำเป็นที่จะต้องมีความเข้าใจในหลักการขั้นพื้นฐานของหลักกลศาสตร์ พลศาสตร์ อุณหพลศาสตร์ กลศาสตร์ของไหล จลนศาสตร์ และพลังงานเป็นอย่างดี เพราะวิศวกรเครื่องกลจะต้องใช้ความรู้เหล่านี้มาใช้ทำงานจริงทั้งในภาคสนาม เพื่อการออกแบบและการวิเคราะห์
ยานยนต์  อากาศยาน ระบบทำความร้อนและความเย็น เรือ ระบบการผลิต จักรกลและอุปกรณ์อุตสาหกรรม หุ่นยนต์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ เป็นต้น 

ปริญญาที่ได้รับ : วศ.บ. (วิศวกรรมเครื่องกล) / B.Eng. (Mechanical Engineering) 

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร: การศึกษาตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 133  หน่วยกิต 

โอกาสเข้าสู่อาชีพ : ผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล สามารถปฏิบัติงานวิศวกรเครื่องกลในหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ธุรกิจส่วนตัวด้านวิศวกรรมเครื่องกล หรือด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง นักวิเคราะห์และออกแบบระบบงานด้านวิศวกรรมเครื่องกล นักวิชาการหรือผู้ช่วยนักวิจัย ด้านวิศวกรรมเครื่องกล หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง

ค่าบำรุงการศึกษาและค่าลงทะเบียน

หมายเหตุ   1.  ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ admissions.rmutsb.ac.th หรือโทรศัพท์ 0 3570 9085, 08 1780 6996

2.  ปฏิทินการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษา ประจ าปีการศึกษา 2567 อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

การจัดการเรียนการสอน

วัน - เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน :

ภาคการศึกษาที่  1   เดือนมิถุนายน – ตุลาคม

ภาคการศึกษาที่  2   เดือนพฤศจิกายน – มีนาคม

ภาคการศึกษาฤดูร้อน เดือนเมษายน – พฤษภาคม


สถานที่จัดการเรียนการสอน :

คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์พระนครศรีอยุธยา หันตรา

ระบบ :

การจัดการศึกษาใช้ระบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษา แบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ 1 ภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ และอาจจัดให้มีการจัดการศึกษาภาคฤดูร้อนก็ได้ โดยกำหนดระยะเวลาและจำนวนหน่วยกิตให้มีสัดส่วนเทียบเคียงได้กับการศึกษาภาคปกติ

การจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน :

การจัดการเรียนการสอนภาคฤดูร้อนโดยมีระยะเวลาศึกษาจำนวน 9 สัปดาห์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร