สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
Bachelor of Engineering Program in Industrial Engineering
เป็นการศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่มีความเกี่ยวข้องกับการออกแบบ พัฒนา วางแผน ควบคุม ขั้นตอน
การดำเนินงาน การจัดการและประเมินผล ระบบต่างๆ โดยจะครอบคลุมทุกด้านทั้งบุคคล สารสนเทศ อุปกรณ์ พลังงาน วัสดุ สถานที่ เวลาและการเงิน โดยจะอาศัยหลักการและวิธีการทางด้านการวิเคราะห์และสังเคราะห์ด้านวิศวกรรมเข้ามาช่วยทำให้การทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังรวมถึงความรู้
ด้านคณิตศาสตร์ สถิติ ฟิสิกส์ การตลาดการบริหารจัดการ สารสนเทศเศรษฐศาสตร์สังคมศาสตร์และจิตวิทยาเข้ามาประยุกต์ใช้ร่วมกันด้วยเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพให้ตรงต่อความต้องการของลูกค้ามากที่สุดงานของวิศวกรอุตสาหการ จะเกี่ยวข้องกับการลดเวลาการปฏิบัติงาน ค่าใช้จ่าย วัสดุ พลังงาน และทรัพยากรอื่น ๆ รวมไปถึงงานการควบคุมคุณภาพของการผลิตหรือการดำเนินงาน เพื่อให้อยู่ในระดับที่ต้องการโดยหากลวิธีต่างๆ ในการพัฒนา ปรับปรุง แก้ไขเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้คุ้มค่าที่สุด
ปริญญาที่ได้รับ : วศ.บ. (วิศวกรรมอุตสาหการ) / B. Eng. (Industrial Engineering)
หลักสูตร : การศึกษาตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 140 หน่วยกิต
โอกาสเข้าสู่อาชีพ : ผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ สามารถปฏิบัติงานในภาครัฐและเอกชน ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ วิศวกรควบคุมคุณภาพ วิศวกรควบคุมกระบวนการผลิต ประกอบธุรกิจของตนเองที่เกี่ยวข้องทางด้านวิศวกรรมอุตสาหการ วิศวกรประเมินโครงการสินเชื่อธนาคาร
ค่าบำรุงการศึกษาและค่าลงทะเบียน
หมายเหตุ 1. ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ admissions.rmutsb.ac.th หรือโทรศัพท์ 0 3570 9085, 08 1780 6996
2. ปฏิทินการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษา ประจ าปีการศึกษา 2567 อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
การจัดการเรียนการสอน
วัน - เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
ภาคการศึกษาที่ 1 เดือนมิถุนายน – ตุลาคม
ภาคการศึกษาที่ 2 เดือนพฤศจิกายน – มีนาคม
ภาคการศึกษาฤดูร้อน เดือนเมษายน – พฤษภาคม
ระบบ
การจัดการศึกษาใช้ระบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษา แบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ 1 ภาคการศึกษาปกติ มีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ และอาจจัดให้มีการจัดการศึกษาภาคฤดูร้อนก็ได้ โดยกำหนดระยะเวลา และจำนวนหน่วยกิตให้มีสัดส่วนเทียบเคียงได้กับการศึกษาภาคปกติ
การจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน
การจัดการเรียนการสอนภาคฤดูร้อน โดยมีระยะเวลาศึกษาจำนวน 9 สัปดาห์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
วุฒิที่รับเข้าศึกษา
สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาที่เกี่ยวข้องกับช่างอุตสาหกรรมทุกสาขาวิชา หรือ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ หรือเทียบเท่า หรือ
สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาที่เกี่ยวข้องกับช่างอุตสาหกรรมทุกสาขาวิชา ทั้งนี้ โดยใช้เทียบโอนผลการเรียนตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2561