สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

ลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

Bachelor of Engineering Program in Environmental Engineering

     วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (Environmental Engineering) เป็นหนึ่งในเจ็ดของสาขาวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม วิศวกรรมสิ่งแวดล้อมเป็นสาขาวิศวกรรมที่ประยุกต์ใช้ความรู้ ฟิสิกส์ ชีววิทยา และเคมี
เพื่อออกแบบทางวิศวกรรมและควบคุมระบบ ควบคุม บำบัด และกำจัดมลพิษ ที่อยู่รอบตัวของเรา
โดยประเภทของงานวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ระบบน้ำประปา ระบบน้ำสะอาด ระบบน้ำเสีย ระบบนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ ระบบระบายน้ำ ระบบควบคุมมลพิษอากาศ ระบบจัดการมลภาวะทางเสียง หรือความสั่นสะเทือน ระบบการฟื้นฟูสภาพดินและน้ำที่มีการปนเปื้อน ระบบการจัดการขยะมูลฝอย ระบบการจัดการกากอุตสาหกรรม ระบบดับเพลิงหรือป้องกันอัคคีภัย ระบบน้ำบาดาลหรือเติมน้ำลงในชั้นน้ำบาดาล การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม 

ปริญญาที่ได้รับ : วศ.บ. (วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม) / B.Eng. (Environmental Engineering) 

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร : ไม่น้อยกว่า 146  หน่วยกิต 

โอกาสเข้าสู่อาชีพ : ผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม สามารถปฏิบัติงานวิศวกรสิ่งแวดล้อมในองค์กรภาครัฐและเอกชน นักวิชาการ/นักวิจัยด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม และวิศวกรที่ปรึกษา

ค่าบำรุงการศึกษาและค่าลงทะเบียน

หมายเหตุ   1.  ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ admissions.rmutsb.ac.th หรือโทรศัพท์ 0 3570 9085, 08 1780 6996

2.  ปฏิทินการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษา ประจ าปีการศึกษา 2567 อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

การจัดการเรียนการสอน

วัน - เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน

ภาคการศึกษาที่  1   เดือนมิถุนายน – ตุลาคม

ภาคการศึกษาที่  2   เดือนพฤศจิกายน – มีนาคม

ภาคการศึกษาฤดูร้อน เดือนเมษายน – พฤษภาคม

ระบบ

การจัดการศึกษาใช้ระบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษา แบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ 1 ภาคการศึกษาปกติ มีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ และอาจจัดให้มีการจัดการศึกษาภาคฤดูร้อนก็ได้ โดยกำหนดระยะเวลา และจำนวนหน่วยกิตให้มีสัดส่วนเทียบเคียงได้กับการศึกษาภาคปกติ

การจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน

การจัดการเรียนการสอนภาคฤดูร้อน โดยมีระยะเวลาศึกษาจำนวน 9 สัปดาห์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

วุฒิที่รับเข้าศึกษา
      1. สำเร็จการศึกษาหรือระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ หรือเทียบเท่า หรือสำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรมทุกสาขา หรือเทียบเท่าทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
        2. สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาช่างก่อสร้าง สาขาวิชาโยธา สาขาวิชาสำรวจ ช่างอุตสาหกรรม ช่างเกษตรกรรมและเทคโนโลยี หรือเทียบเท่าทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทั้งนี้ โดยใช้การเทียบโอนผลการเรียนตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2561