สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม
สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม
(Electronics and Telecommunications Engineering)
สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม (Electronics and Telecommunications Engineering) เป็นศาสตร์สาขาหนึ่ง ที่ครอบคลุมเรื่องระบบไฟฟ้า การสื่อสารและอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ดูแลระบบเครือข่ายสื่อสารไร้สาย โดยสาขานี้มุ่งเน้นการออกแบบ การพัฒนา และการดูแลระบบที่เกี่ยวข้องกับการส่งสัญญาณ การรับสัญญาณ และการโต้ตอบระหว่างอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกันผ่านระบบการสื่อสาร ประกอบด้วยวิศวกรรมไฟฟ้าเน้นการศึกษาและประยุกต์ใช้ความรู้ทางไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ ด้วยขอบเขตที่กว้างขวาง วิศวกรรมสื่อสารเกี่ยวข้องกับการส่งและรับข้อมูลผ่านช่องสื่อสารต่างๆ การออกแบบและปรับปรุงระบบที่ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล การส่งเสียง และการสื่อสารได้ วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะเกี่ยวข้องกับการพัฒนาและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะในระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยรวมถึงการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ปัญญาประดิษฐ์ การเรียนรู้เชิงลึก การสื่อสารเครือข่าย และระบบความรู้ เพื่อสร้างระบบอัตโนมัติและอิเล็กทรอนิกส์ที่มีความสามารถในการวิเคราะห์ คำนวณ และการตัดสินใจเพื่อช่วยให้ระบบทำงานอย่างสมบูรณ์แบบและอัจฉริยะ นักศึกษาจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นพื้นฐานในการสร้างระบบที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสาร, การควบคุม และอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังมีการศึกษาเกี่ยวกับระบบโทรคมนาคมและการสื่อสารที่เป็นประโยชน์ในการเชื่อมต่อคนและอุปกรณ์ที่อยู่ห่างไกลในโลกที่ความเร็วของข้อมูลมีความสำคัญอย่างมาก สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม เปิดการเรียนการสอนจำนวน 2 หลักสูตร ดังนี้
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร
และอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสารและอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ เป็นศาสตร์สาขาหนึ่ง ที่ครอบคลุมเรื่องระบบไฟฟ้า การสื่อสารและอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ดูแลระบบเครือข่ายสื่อสารไร้สาย ออกแบบระบบอิเล็กทรอนิกส์และการสื่อสารโทรคมนาคม สามารถเป็นผู้ประกอบการด้านวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสารและอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ วิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสารและอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ
ปริญญาที่ได้รับ : วศ.บ. (วิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสารและอิเล็กทรอนิกสอัจฉริยะ) / B.Eng. (Electrical Communication and Smart Electronics Engineering)
หลักสูตร : การศึกษาตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 132 หน่วยกิต
โอกาสเข้าสู่อาชีพ : ผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสารและอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ สามารถปฏิบัติงานได้ทั้งในองค์กรภาครัฐและเอกชน วิศวกรไฟฟ้าสื่อสารและอิเล็กทรอนิกสอัจฉริยะ วิศวกรดูแลระบบเครือข่ายสื่อสารไร้สาย วิศวกรออกแบบระบบอิเล็กทรอนิกสและการสื่อสารโทรคมนาคม และเป็นผู้ประกอบการด้านวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสารและอิเล็กทรอนิกสอัจฉริยะ
วุฒิที่รับเข้าศึกษา :
1. สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประเภทวิชาช่างไฟฟ้าสาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์สาขาวิชาช่างโทรคมนาคม สาขาวิชาแมคคาทรอนิกส์สาขาวิชาช่างเทคนิคคอมพิวเตอร์หรือระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย(ม.6) ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ หรือ
2. สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ประเภทสาขาวิชาไฟฟ้าสาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์สาขาวิชาเทคโนโลยีโทรคมนาคม สาขาวิชาเครื่องมือวัดและควบคุม สาขาวิชาช่างอากาศยาน สาขาวิชาแมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์หรือเทียบเท่า ทั้งนี้โดยใช้การเทียบโอนผลการเรียน ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2561
1. สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประเภทวิชาช่างไฟฟ้าสาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์สาขาวิชาช่างโทรคมนาคม สาขาวิชาแมคคาทรอนิกส์สาขาวิชาช่างเทคนิคคอมพิวเตอร์หรือระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย(ม.6) ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ หรือ
2. สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ประเภทสาขาวิชาไฟฟ้าสาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์สาขาวิชาเทคโนโลยีโทรคมนาคม สาขาวิชาเครื่องมือวัดและควบคุม สาขาวิชาช่างอากาศยาน สาขาวิชาแมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์หรือเทียบเท่า ทั้งนี้โดยใช้การเทียบโอนผลการเรียน ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2561
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะและเทคโนโลยีสมัยใหม่
สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะและเทคโนโลยีสมัยใหม่ เป็นสาขาวิชาทางวิศวกรรมที่เน้นการศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ในรูปแบบที่อัจฉริยะและนวัตกรรม ศาสตร์นี้มุ่งเน้นการวิเคราะห์และออกแบบระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูง เพื่อแก้ไขปัญหาและที่ยิ่งกว่านั้นยังมุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ และการนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ในแวดวงต่างๆ เช่น ระบบอัตโนมัติ การสื่อสารไร้สาย ระบบควบคุมอัจฉริยะ หุ่นยนต์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต (IoT) และการพัฒนาแพลตฟอร์มเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น 5G และการประมวลผลข้อมูลในระดับสมัยใหม่ด้วยเทคโนโลยีเชิงระบบ
ปริญญาที่ได้รับ : วศ.บ. (วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกสอัจฉริยะและเทคโนโลยีสมัยใหม่) / B.Eng. (Smart Electronics and Modern Technology Engineering)
หลักสูตร : การศึกษาตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 137 หน่วยกิต
โอกาสเข้าสู่อาชีพ : ผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะและเทคโนโลยีสมัยใหม่ สามารถปฏิบัติงานได้ทั้งในองค์กรภาครัฐและเอกชน วิศวกรอิเล็กทรอนิกสอัจฉริยะและเทคโนโลยีสมัยใหม่ ประกอบธุรกิจของตนเองด้านวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกสอัจฉริยะและเทคโนโลยีสมัยใหม่ ผู้ช่วยนักวิจัยในหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน นักฝึกอบรม วิทยากร ในสาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมอุตสาหการ และสาขาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
วุฒิที่รับเข้าศึกษา :
1. สําเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการหรือระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ทุกสาขาวิชาหรือเทียบเท่า
2. สําเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ประเภทช่างอุตสาหกรรมทุกสาขาวิชาหรือเทียบเท่า(ตามความเห็นชอบของกรรมการสอบ) ทั้งนี้โดยใชการเทียบโอนผลการเรียน ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2561
1. สําเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการหรือระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ทุกสาขาวิชาหรือเทียบเท่า
2. สําเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ประเภทช่างอุตสาหกรรมทุกสาขาวิชาหรือเทียบเท่า(ตามความเห็นชอบของกรรมการสอบ) ทั้งนี้โดยใชการเทียบโอนผลการเรียน ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2561
ค่าบำรุงการศึกษาและค่าลงทะเบียน
หมายเหตุ 1. ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ admissions.rmutsb.ac.th หรือโทรศัพท์ 0 3570 9085, 08 1780 6996
2. ปฏิทินการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษา ประจ าปีการศึกษา 2567 อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
การจัดการเรียนการสอน
วัน - เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
ภาคการศึกษาที่ 1 เดือนมิถุนายน – ตุลาคม
ภาคการศึกษาที่ 2 เดือนพฤศจิกายน – มีนาคม
ภาคการศึกษาฤดูร้อน เดือนเมษายน – พฤษภาคม
ระบบ
การจัดการศึกษาใช้ระบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษา แบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ 1 ภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ และอาจจัดให้มีการจัดการศึกษาภาคฤดูร้อนก็ได้ โดยกำหนดระยะเวลาและจำนวนหน่วยกิตให้มีสัดส่วนเทียบเคียงได้กับการศึกษาภาคปกติ
การจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน
การจัดการเรียนการสอนภาคฤดูร้อนโดยมีระยะเวลาศึกษาจำนวน 9 สัปดาห์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร