สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า 

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า

Bachelor of Engineering Program in Electrical Engineering

เป็นสาขาที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ พัฒนา และปรับปรุงระบบที่เกี่ยวข้องกับพลังงานไฟฟ้ารวมถึงการใช้และการควบคุมพลังงานไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพสูงสุด สาขานี้มีความสำคัญอย่างยิ่งในเชิงเศรษฐกิจ
และเทคโนโลยี ซึ่งมีบทบาทที่สำคัญในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและพลังงานให้มีความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น
และมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องผู้ที่จบสาขาวิศวกรรมไฟฟ้าสามารถทำงานได้ในหลากหลายสาขา เช่น วิศวกรไฟฟ้า วิศวกรพลังงาน วิศวกรระบบควบคุม ผู้ประกอบการ Start up ฯลฯ วิศวกรไฟฟ้า จึงเป็นที่ต้องการของตลาด ซึ่งสอดรับกับการพัฒนาประเทศและภูมิภาคไปสู่ยุคเปลี่ยนผ่านที่สำคัญในอนาคต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ศูนย์หันตรา จึงได้มีการปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนผ่านดังกล่าว โดยจะมีการเรียนการสอนซึ่งประกอบด้วย

1. ด้านไฟฟ้ากำลัง

2. ด้านระบบควบคุมอัตโนมัติ

3. ด้านพลังงานทดแทน

4. ด้านอินเตอร์เน็ตทุกสรรพสิ่ง  

5. ด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร

ปริญญาที่ได้รับ :  วศ.บ. (วิศวกรรมไฟฟ้า) / B.Eng. (Electrical Engineering)

หลักสูตร : การศึกษาตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 138  หน่วยกิต 

โอกาสเข้าสู่อาชีพ : ผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า สามารถปฏิบัติงานได้ทั้งในองค์กรภาครัฐและเอกชน ผู้ช่วยนักวิจัยในหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน วิศวกรออกแบบระบบไฟฟ้าและติดตั้งระบบไฟฟ้าในอาคารและโรงงานอุตสาหกรรม ประกอบธุรกิจของตนเองเกี่ยวกับไฟฟ้า ครูหรืออาจารย์ที่ทำการสอนด้านไฟฟ้า

ค่าบำรุงการศึกษาและค่าลงทะเบียน

หมายเหตุ   1.  ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ admissions.rmutsb.ac.th หรือโทรศัพท์ 0 3570 9085, 08 1780 6996

2.  ปฏิทินการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษา ประจ าปีการศึกษา 2567 อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

การจัดการเรียนการสอน

วัน - เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน

ภาคการศึกษาที่  1   เดือนมิถุนายน – ตุลาคม

ภาคการศึกษาที่  2   เดือนพฤศจิกายน – มีนาคม

ภาคการศึกษาฤดูร้อน เดือนเมษายน – พฤษภาคม

ระบบ

การจัดการศึกษาใช้ระบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษา แบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ 1 ภาคการศึกษาปกติ มีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ และอาจจัดให้มีการจัดการศึกษาภาคฤดูร้อนก็ได้ โดยกำหนดระยะเวลา และจำนวนหน่วยกิตให้มีสัดส่วนเทียบเคียงได้กับการศึกษาภาคปกติ

การจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน

การจัดการเรียนการสอนภาคฤดูร้อน โดยมีระยะเวลาศึกษาจำนวน 8 สัปดาห์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร


วุฒิที่รับเข้าศึกษา

1.  สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประเภทช่างไฟฟ้า  หรือเทียบเท่า หรือระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) เน้นกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หรือเทียบเท่า หรือ

2.  สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ประเภทสาขาวิชาไฟฟ้า หรือเทียบเท่า ทั้งนี้โดยใช้การเทียบโอนผลการเรียน ตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญา พ.ศ. 2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม