สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
หลักสูตร วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
Bachelor of Engineering Program in Civil Engineering
เป็นศาสตร์ของสาขาหนึ่งในทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ ครอบคลุมการก่อสร้างตึก ตึกระฟ้า อาคาร สะพาน ถนน และระบบขนส่งอื่น ๆ รวมถึงระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ เช่น เขื่อน คลอง ตลอดจนการทำรังวัดในงานสำรวจและแผนที่ รวมไปถึงการวิเคราะห์ทางธรณีและชลศาสตร์ และการบริหารจัดการการก่อสร้าง งานในทางด้านวิศวกรรมจะเน้นทางด้านการใช้วัสดุและทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด การศึกษาทางด้านวิศวกรรมโยธานั้นนับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเนี่องจากการ พัฒนาทางด้านเทคโนโลยีในปัจจุบันนั้นมีความก้าวหน้าสามารถเรียกได้ว่าเป็น การพัฒนาแบบก้าวกระโดดซึ่งมีผลโดยตรงกับการศึกษาทางด้านวิศวกรรมโยธาเช่นกัน ดังนั้นสถาบันการศึกษาหลาย ๆ สถาบันจึงได้มีการปรับปรุงแผนการเรียนการสอนทาง ด้านวิศวกรรมโยธาให้มีความทันสมัยเพื่อผลิตบุคลากรทางด้านวิศวกรรมโยธา หรือที่เรียกกันว่า “วิศวกรโยธา” ที่มีคุณภาพและตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานมากขึ้น ประกอบด้วยสาขาย่อย ดังนี้
วิศวกรรมโครงสร้าง
วิศวกรรมก่อสร้างและการจัดการ
วิศวกรรมขนส่ง
วิศวกรรมเทคนิคธรณี
วิศวกรรมธรณี
วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
วิศวกรรมทรัพยากรน้ำ
วิศวกรรมสำรวจ
ปริญญาที่ได้รับ : วศ.บ. (วิศวกรรมโยธา) / B. Eng. (Civil Engineering)
หลักสูตร : การศึกษาตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 149 หน่วยกิต
โอกาสเข้าสู่อาชีพ : ผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล สามารถปฏิบัติงานวิศวกรเครื่องกลในองค์กรภาครัฐและเอกชน
ค่าบำรุงการศึกษาและค่าลงทะเบียน
หมายเหตุ 1. ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ admissions.rmutsb.ac.th หรือโทรศัพท์ 0 3570 9085, 08 1780 6996
2. ปฏิทินการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษา ประจ าปีการศึกษา 2567 อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
การจัดการเรียนการสอน
วัน - เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
ภาคการศึกษาที่ 1 เดือนมิถุนายน – ตุลาคม
ภาคการศึกษาที่ 2 เดือนพฤศจิกายน – มีนาคม
ภาคการศึกษาฤดูร้อน เดือนเมษายน – พฤษภาคม
ระบบ
การจัดการศึกษาใช้ระบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษา แบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ 1 ภาคการศึกษาปกติ มีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ และอาจจัดให้มีการจัดการศึกษาภาคฤดูร้อนก็ได้ โดยกำหนดระยะเวลา และจำนวนหน่วยกิตให้มีสัดส่วนเทียบเคียงได้กับการศึกษาภาคปกติ
การจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน
การจัดการเรียนการสอนภาคฤดูร้อน โดยมีระยะเวลาศึกษาจำนวน 8 สัปดาห์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
วุฒิที่รับเข้าศึกษา
สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาที่เกี่ยวข้องกับช่างอุตสาหกรรมทุกสาขาวิชา หรือ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ หรือเทียบเท่า หรือ
สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ประเภทวิชาสาขาวิชาเครื่องกลกำลัง ช่างยนต์ เทคนิคยานยนต์ ช่างจักรกลหนัก ช่างกลเรือ ช่างกลเกษตร
ช่างเครื่องกล ช่างเทคนิคอุตสาหกรรม ช่างเครื่องทำความเย็นและปรับอากาศ แมคคาทรอนิกส์ หรือระดับอนุปริญญาสาขาวิชา ที่ทางสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลเห็นชอบ ทั้งนี้ โดยใช้เทียบโอนผลการเรียนตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2561