สาขาวิชาสถาปัตยกรรม

สาขาวิชาสถาปัตยกรรม
(Bachelor of Architecture Program )

สาขาวิชาสถาปัตยกรรม เปิดการเรียนการสอนจำนวน 2 หลักสูตร ดังนี้

หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม (5 ปี)
(Bachelor of Architecture Program in Architecture)

  หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Architecture Program) เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นการสร้างสถาปนิกและนักออกแบบรุ่นใหม่ที่เต็มเปี่ยมด้วยความสามารถและความคิดสร้างสรรค์ ทั้งด้านแนวความคิดและทักษะทางการออกแบบ ผ่านการเรียนการสอนที่ประยุกต์ศาสตร์และศิลป์เข้าไว้ด้วยกัน ด้วยการเรียนรู้องค์ความรู้ทางศิลปะผ่านการออกแบบสถาปัตยกรรมร่วมสมัย ผสานกับศาสตร์ความรู้ในการบริหารจัดการงานออกแบบในทุกขั้นตอน พร้อมการค้นคว้าและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบ เพื่อเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาก้าวสู่วิชาชีพทางสถาปัตยกรรมในระดับสากล สามารถปรับตัวให้เข้ากับทิศทางการออกแบบในอนาคตและเรียนรู้ที่จะตอบโจทย์การทำงานในระดับต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นระดับองค์กรวิชาชีพหรือสังคมได้อย่างมืออาชีพ 

ปริญญาที่ได้รับ :  สถ.บ. (สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต) /  B.Arch. (Bachelor of Architecture) 
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร : ไม่น้อยกว่า 178  หน่วยกิต 

โอกาสเข้าสู่อาชีพ : ผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม สามารถปฏิบัติงานสถาปนิกในหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชน สถาปนิกผู้ควบคุมงานการก่อสร้าง และการดัดแปลงอาคาร สถาปนิกผู้ตรวจสอบอาคาร การวิเคราะห์และตรวจสอบด้านพลังงานที่เกี่ยวข้องกับสถาปัตยกรรม สถาปนิกอิสระ และประกอบธุรกิจของตนเองด้านสถาปัตยกรรม

วุฒิที่รับเข้าศึกษา :
1.  สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ทุกประเภทวิชาหรือ ระดับมัธยมศึกษา     ตอนปลาย (ม.6) ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ หรือเทียบเท่า และมีคุณสมบัติอื่น ๆ ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญา พ.ศ. 2550
2. สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาช่างเทคนิคสถาปัตยกรรม หรือระดับอนุปริญญาสถาปัตยกรรม ทั้งนี้ โดยใช้การเทียบโอนผลการเรียนตามระเบียบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ว่าด้วยการเทียบโอนผลการศึกษา พ.ศ. 2552 และประกาศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ เรื่อง แนวปฏิบัติในการดำเนินการการเทียบโอนผลการศึกษาจากการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2555 

หลักสูตรภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภูมิสถาปัตยกรรม  (5 ปี)

(Bachelor of Landscape Architecture Program in Landscape Architecture )

     ภูมิสถาปัตยกรรม (Landscape) ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการวางแผน ออกแบบ บริหารจัดการ และดูแลอนุรักษ์พื้นที่บริเวณสิ่งปลูกสร้างและพื้นที่ธรรมชาติ เน้นการออกแบบพื้นที่ภายนอก อย่างเช่น การออกแบบสวน สวนสาธารณะ สนามกอล์ฟ พื้นที่บริเวณที่อยู่อาศัย สถานศึกษา โรงแรม ห้าง อาคารต่างๆ ตลอดไปจนพื้นที่บริเวณถนน และพื้นที่ในธรรมชาติ โดยลักษณะการสอนในหลักสูตรเน้นการสอน เข้าใจในพื้นฐานหลักการออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมและปฏิบัติการเขียนแบบภูมิสถาปัตยกรรมที่สามารถนำความรู้ไปใช้ในการประกอบวิชาภูมิสถาปัตยกรรม

ปริญญาที่ได้รับ : ภ.สถ.บ. (ภูมิสถาปตยกรรม) / B.L.A. (Landscape Architecture) 

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร : ไม่น้อยกว่า 170  หน่วยกิต 

โอกาสเข้าสู่อาชีพ : ผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สามารถปฏิบัติงานในหนวยงานภาครัฐ และภาคเอกชน ผู้บริหารจัดการก่อสร้าง ผู้ควบคุมเกี่ยวกับการก่อสร้างทางภูมิสถาปัตยกรรม ผู้ประสานงานโครงการทางภูมิสถาปัตยกรรม นักวางผังโครงการในโครงการทางภูมิสถาปัตยกรรม นักเขียนก่อสร้างและนําเสนอแบบทางภูมิสถาปัตยกรรม ผู้ดูแลบํารุงรักษาด้านภูมิทัศน์ และผู้ประกอบธุรกิจของตนเองด้านภูมิสถาปัตยกรรม

วุฒิที่รับเข้าศึกษา :
1.  สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ หรือเทียบเท่า หรือ
2. สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางภูมิสถาปัตยกรรม เทคนิคสถาปัตยกรรม เทคโนโลยีภูมิทัศน์ พืชสวน หรือเทียบเทา ทั้งนี้ โดยใช้การเทียบโอนผลการเรียนตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรีพ.ศ. 2561
3. สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม สาขาเทคโนโลยีภูมิทัศน์
สาขาพืชสวน หรือเทียบเท่าทางด้านสถาปัตยกรรม และสาขาที่คณะกรรมการเห็นสมควรเข้าศึกษา
ในระดับ ปริญญาตรีที่ 2 ทั้งนี้ โดยใชการเทียบโอนผลการเรียนตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2561

ค่าบำรุงการศึกษาและค่าลงทะเบียน

หมายเหตุ   1.  ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ admissions.rmutsb.ac.th หรือโทรศัพท์ 0 3570 9085, 08 1780 6996

2.  ปฏิทินการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษา ประจ าปีการศึกษา 2567 อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

การจัดการเรียนการสอน

วัน - เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน

ภาคการศึกษาที่  1   เดือนมิถุนายน – ตุลาคม

ภาคการศึกษาที่  2   เดือนพฤศจิกายน – มีนาคม

ภาคการศึกษาฤดูร้อน เดือนเมษายน – พฤษภาคม

ระบบ

การจัดการศึกษาใช้ระบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษา แบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ 1 ภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ และอาจจัดให้มีการจัดการศึกษาภาคฤดูร้อนก็ได้ โดยกำหนดระยะเวลาและจำนวนหน่วยกิตให้มีสัดส่วนเทียบเคียงได้กับการศึกษาภาคปกติ

การจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน

การจัดการเรียนการสอนภาคฤดูร้อนโดยมีระยะเวลาศึกษาจำนวน 8 สัปดาห์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร