ยกระดับเครือข่ายชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียน

สู่ระดับประเทศและระดับนานาชาติ

►ที่มาและความสำคัญ

การวิจัยและพัฒนาหลักสูตรอิงอัตลักษณ์นักเรียนของโรงเรียนราชินีบนดำเนินการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องมาจนถึงแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนราชินีบน ฉบับที่ ๗ (ปีการศึกษา ๒๕๖๒ – ๒๕๖๔) ดังรายละเอียดในยุทธศาสตร์ที่ ๓ โดยในขั้นตอนของการนำหลักสูตรไปใช้ (curriculum implementation) โรงเรียนให้ความสำคัญกับวงจรพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ (instructional development cycle) ประกอบด้วยการปฏิบัติงานครู ๓ งาน ได้แก่

(๑) การจัดการเรียนรู้ (instruction) หรือการสอน (teaching)

(๒) การพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (lesson study through professional learning community)

(๓) การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน (classroom action research)

กิจกรรมทั้งหมดเป็นงานที่ครูฝ่ายการสอนทุกคนปฏิบัติด้วยความตระหนักรู้ มุ่งมั่น และสะท้อนความคิดอยู่เสมอจนเกิดการเรียนรู้และเจริญงอกงามในวิชาชีพไปพร้อมกับพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน กิจกรรมเหล่านี้จึงเป็นหัวใจ ของการพัฒนาวิชาชีพครู (teacher professional development) ของโรงเรียนราชินีบน จนเกิดการยอมรับ ทั้งในระดับกลุ่มโรงเรียนและระดับประเทศว่าเป็นการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (best practice) ดังรางวัลเหรียญทอง ระดับประเทศ หนึ่งโรงเรียนหนึ่งนวัตกรรม โดยคุรุสภา ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๑ ด้วยเหตุนี้ ฝ่ายวิชาการ จึงกำหนดยุทธศาสตร์นี้ขึ้น เพื่อยกระดับเครือข่ายชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียนไปสู่เครือข่ายระดับประเทศและเครือข่ายระดับนานาชาติขึ้น เพื่อให้เกิดความร่วมมือรวมพลัง แลกเปลี่ยนเรียนรู้และแรงบันดาลใจในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนต่อไป

โครงการที่ ๓.๑ การพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

หน่วยงานที่รับผิดชอบ ฝ่ายวิชาการ

ลักษณะของโครงการ ต่อเนื่อง ๓ ปี (๒๕๖๒ - ๒๕๖๔)

โครงการที่ ๓.๒ การสร้างเครือข่ายชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในระดับประเทศและระดับนานาชาติ

หน่วยงานที่รับผิดชอบ ฝ่ายวิชาการ

ลักษณะของโครงการ ต่อเนื่อง ๓ ปี (๒๕๖๒ - ๒๕๖๔)

โครงการที่ ๓.๓ การสานสัมพันธ์และให้บริการวิชาการสู่สาธารณชน

หน่วยงานที่รับผิดชอบ วิชาการ : กลุ่มสาระ ฯ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ครูการสอนวิทยาการคำนวณ

ลักษณะของโครงการ ต่อเนื่อง ๓ ปีการศึกษา (๒๕๖๒ – ๒๕๖๔)