1. ภาระงานตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน

1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้

1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา

1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น

ลักษณะงานที่ปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่ง 3 ด้าน 15 ตัวชี้วัด

รายงานข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทาย

ในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน

ประเด็นที่ท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนของผู้จัดทำข้อตกลง ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ ต้องแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังของวิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ คือ การริเริ่ม พัฒนา การจัดการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เขียน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนามากขึ้น (ทั้งนี้ ประเด็นท้าทายอาจจะแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังในวิทยฐานะที่สูงกว่าได้)

ประเด็นท้าทาย

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทาง active learning

เน้นให้นักเรียนเรียนรู้โดยการปฏิบัติจริงจากการสาธิตและสถานการณ์ที่กำหนดขึ้น

ในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ประกอบกับการใช้สื่อที่หลากหลายเรื่อง การประดิษฐ์งานเอกลักษณ์ไทย

การฝึกปฏิบัติการทำบายศรี อย่างน้อย ๑ ชิ้นงาน

ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ รหัสวิชา ง ๓๑๑๐๑ ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๕


๑. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

ปัจจุบันมีการกล่าวถึงการศึกษาในบริบทต่าง ๆ เป็นอย่างมาก เนื่องจากคุณภาพการศึกษาเป็นตัวสะท้อนคุณภาพประชากรและการพัฒนาประเทศ อย่างหนึ่ง อนึ่งการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันมีความก้าวหน้าและแตกต่างไปจากเดิมเป็นอย่างมาก จากการพัฒนาอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ทำให้การศึกษาต้องปรับตัวและเปลี่ยนแปลงให้ก้าวทันกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว การเรียนการสอนเป็นส่วน หนึ่งของการศึกษาที่สำคัญเพราะกิจกรรมที่จัดสำหรับผู้เรียนนั้นเป็นตัวขับเคลื่อนและเปลี่ยนแปลงพัฒนา ผู้เรียนให้ไปถึงเป้าหมายที่การศึกษาวางไว้ การเรียนการสอนแบบดั้งเดิมจึงถูกวิพากษ์มากขึ้น โดยเฉพาะ

การเรียนการสอนแบบบรรยายซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นผู้รับความรู้เป็นหลักที่ไม่สามารถตอบสนองการ เปลี่ยนแปลงของสังคมได้ (สุรไกร นันทบุรมย์, ๒๕๖๐) ผู้จัดทำข้อตกลงได้รับผิดชอบการจัดการเรียนการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของทักษะในการจัดการเรียนรู้ที่ผ่านมา นักเรียนมีปัญหาในการฝึกปฏิบัติการประดิษฐ์ งานเอกลักษณ์ไทย ตามความถนัด อย่างน้อย ๑ ชิ้นงาน โดยผู้เรียนบางส่วนสามารถปฏิบัติได้บ้างเล็กน้อย หรือบ้างก็ปฏิบัติไม่ได้ อีกทั้งยังไม่สามารถลงมือปฏิบัติงาน ผลงานที่ออกมาส่งผลให้การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายหน่วย อยู่ในระดับพอใช้ และอีกทั้งปัญหาในการจัดการเรียนรู้คือ ผู้เรียนไม่มีทักษะพื้นฐานในการปฏิบัติการประดิษฐ์งานที่เป็นเอกลักษณ์ไทย เช่น การร้อยมาลัย การทำพานบายศรี การร้อยตาข่ายหน้าช้าง ฯลฯ มาก่อนจึงต้องใช้ระยะเวลาในการฝึกฝนค่อนข้างนานและระยะเวลาในการเรียนรู้มีผลต่อความสามารถในการปฏิบัติงานประดิษฐ์ที่เป็นเอกลักษณ์ไทยของผู้เรียน ดังนั้นผู้สอนจึงได้นำวิธีการสอนแบบเชิงรุก ที่เรียกว่า Active Learning ซึ่งเป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสร้างสรรค์ทางปัญญา (Constructivism) ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้มากกว่าเนื้อหาวิชา เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ หรือสร้างความรู้ให้เกิดขึ้นในตนเอง ด้วยการลงมือปฏิบัติจริงผ่านสื่อหรือกิจกรรมการเรียนรู้ ที่มีครูผู้สอนเป็นผู้แนะนำ กระตุ้น หรืออำนวยความสะดวก ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ขึ้น โดยกระบวนการคิดขั้นสูง กล่าวคือ ผู้เรียนมีการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการประเมินค่าจากสิ่งที่ได้รับจากกิจกรรมการเรียนรู้ ทำให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างมีความหมายและนำไปใช้ในสถานการณ์อื่นๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ (สถาพร พฤฑฒิกุล, ๒๕๕๘) และเพื่อเป็นการแก้ปัญหาดังกล่าว ผู้สอนจึงมีแนวคิดที่จะนำเทคโนโลยี, คลิปวิดีโอ, YouTube, การสอนในห้องเรียนออนไลน์ มาพัฒนาทักษะการฝึกปฏิบัติของผู้เรียน และออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้น

ดังนั้นจึงจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทาง active learning เน้นให้นักเรียนเรียนรู้โดยการปฏิบัติจริงจากการสาธิตและสถานการณ์ที่กำหนดขึ้นในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ประกอบกับการใช้สื่อที่หลากหลายเรื่อง การประดิษฐ์งานเอกลักษณ์ไทย การฝึกปฏิบัติการทำบายศรี อย่างน้อย ๑ ชิ้นงาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ รหัสวิชา ง ๓๑๑๐๑ ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๕

๒. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง

๒.๑ เชิงปริมาณ

๒.๑.๑ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔/๖ ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๕ ได้รับการพัฒนาทักษะปฏิบัติอาชีพ เรื่อง การฝึกปฏิบัติการประดิษฐ์งานเอกลักษณ์ไทย การฝึกปฏิบัติการทำบายศรี โดยมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นเกินเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนกำหนดที่ร้อยละ ๗๕

๒.๑.๒ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔/๖ ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๕ มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทาง active learning เน้นให้นักเรียนเรียนรู้โดยการปฏิบัติจริงจากการสาธิตและสถานการณ์ที่กำหนดขึ้นในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ประกอบกับการใช้สื่อที่หลากหลายเรื่อง

การประดิษฐ์งานเอกลักษณ์ไทย การฝึกปฏิบัติการทำบายศรี อย่างน้อย ๑ ชิ้นงาน มีค่าเฉลี่ยอยู่ใน ระดับมากขึ้นไป

๒.๒ เชิงคุณภาพ

๒.๒.๑ มีการปรับประยุกต์/เทคนิค/สื่อการเรียนการสอน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔/๖ ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๕ เพื่อพัฒนาทักษะการฝึกปฏิบัติการประดิษฐ์งานเอกลักษณ์ไทย โดยการฝึกปฏิบัติการทำบายศรี มา ๑ รายการ

๒.๒.๒ มีการประเมินชิ้นงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔/๖ ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๕ จากการฝึกปฏิบัติการทำพานบายศรี โดยมาตรฐานของชิ้นงาน ผู้สอนจะเป็นผู้กำหนด โดยมีคะแนนของชิ้นงาน

ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดอยู่ที่ร้อยละ ๕๐ ขึ้นไป

๓. วิธีการดำเนินงานให้บรรลุ

ออกแบบและสร้างนวัตกรรมที่ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัติโดยใช้เทคโนโลยี, คลิปวิดีโอ, YouTube, การสอนในห้องเรียนออนไลน์ เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทาง active learning เน้นให้นักเรียนเรียนรู้โดยการปฏิบัติจริงจากสถานการณ์ที่กำหนดขึ้นในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ประกอบกับการใช้สื่อที่หลากหลาย

๓.๑ ศึกษาและวิเคราะห์หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานแกนกลาง และหลักสูตรวิชาการงานอาชีพ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔/๖ เพื่อออกแบบหน่วยการจัดการเรียนรู้ตามตัวชี้วัด วิเคราะห์องค์ประกอบของรายวิชา วิเคราะห์กิจกรรม วิเคราะห์สาระการเรียนรู้ วิเคราะห์ตัวชี้วัด

๓.๒ ศึกษา ค้นคว้า นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับการฝึกปฏิบัติเรื่อง การประดิษฐ์งานเอกลักษณ์ไทย การฝึกปฏิบัติการทำบายศรี อย่างน้อย ๑ ชิ้นงาน ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔/๖

รหัสวิชา ง ๓๑๑๐๑ ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๕

๓.๓ ใช้กระบวนการ PLC เข้ามาช่วยในการแก้ไขปัญหาร่วมกับคณะครู พัฒนาสื่อและนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพ

๓.๔ จัดทำหน่วยการเรียนรู้รายวิชาการงานอาชีพ และคัดเลือกหน่วยการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับเรื่องการประดิษฐ์งานเอกลักษณ์ไทย การฝึกปฏิบัติการทำบายศรี

๓.๕ จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การฝึกปฏิบัติการประดิษฐ์งานเอกลักษณ์ไทย การฝึกปฏิบัติการทำบายศรี อย่างน้อย ๑ ชิ้นงาน

๓.๖ จัดทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการฝึกปฏิบัติการประดิษฐ์งานเอกลักษณ์ไทย การฝึกปฏิบัติการทำบายศรี โดยใช้ Google Form

๓.๗ จัดทำแบบประเมินชิ้นงานจากการประดิษฐ์พานบายศรี โดยมีมาตรฐานตามที่ผู้สอนกำหนด

๓.๘ จัดทำแบบสอบถามความพึงพอใจ/เจตคติของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้