ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง 

ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด 

ชั่วโมงสอนตามตารางสอน จำนวน 18 คาบ/สัปดาห์                  

- รายวิชาการงานอาชีพ 3  จำนวน   16    คาบ/สัปดาห์

- ชุมนุม นานาอาชีพ จำนวน 1  คาบ/สัปดาห์  

- ยุวกาชาด  จำนวน 1  คาบ/สัปดาห์                            


- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - 


คำสั่งแต่งตั้งครูเข้าสอนภาคเรียนที่ 1/2565

งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้

จำนวน  6  ชั่วโมง/สัปดาห์

        - งานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน                  จำนวน 5 ชั่วโมง/สัปดาห์

        - กิจกรรมหน้าเสาธง โฮมรูม                          จำนวน 5 ชั่วโมง/สัปดาห์

        - เวรประจำวัน                                            จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

###################################################

คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเยี่ยมบ้าน ปีการศึกษา 2565

คำสั่งแต่งตั้งครูที่ปรึกษา ม.5 ภาคเรียนที่ 1/2565 (หน้า 6)

คำสั่งแต่งตั้งครูเวรประจำวัน ภาคเรียนที่ 1/2565

###################################################

งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน  10 ชั่วโมง/สัปดาห์

กลุ่มงานบริหารงานทั่วไป

- งานหลักสูตรโรงเรียน                      จำนวน 6 ชั่วโมง/สัปดาห์

#########################################

คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่งานตามสายงานบริหารราชการโรงเรียน ประจําปีการศึกษา 2565

#########################################

งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่ง ครู

ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้

ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทาย 

ประเด็นท้าทาย

เรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเชื่อมโยงความรู้และแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อเสริมสร้างทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 


1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19 ทำให้ทั่วโลกต่างเฟ้นหามาตรการรับมือที่ดีที่สุดก่อนมาลงเองด้วย

มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมหรือ Social Distancing จนนำไปสู่การปิดเมือง ปิดเศรษฐกิจและปิดสถาบันการศึกษาในเวลาต่อมา เป็นสาเหตุให้นักเรียนจำนวนกว่า 1.5 พันล้านคน หรือมากกว่า 90% ของนักเรียนทั้งหมดในโลกได้รับผลกระทบ ถูกปั่นป่วนกระบวนการเรียนรู้ และบางส่วนยังประสบปัญหาเรื่องการเข้าถึงเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทในโลกการศึกษาแบบปัจจุบันทันด่วน ชี้ให้เห็นถึงประเด็นด้านความเหลื่อมล้ำที่อาจรุนแรงสาหัสมากขึ้นเป็นทวีคูณ การมาเยือนของวิกฤตโรคระบาดทำให้เกิดคำถามเกี่ยวกับระบบการศึกษาหลากหลายด้าน เป็นต้นว่า เราจะออกแบบการเรียนรู้ในยุคโควิด-19 ให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร ทักษะและหลักสูตรโลกการศึกษารูปแบบใหม่หลังจากนี้ควรมีหน้าตาแบบไหน เทคโนโลยีจะเข้ามามีบทบาทด้านการเรียนรู้หรือทำให้ความเหลื่อมล้ำย่ำแย่กว่าเดิม

                จากสถานการณ์ดังกล่าว รวมถึงการปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนใหม่ ของกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ

ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2564) ของโรงเรียนทำให้เวลาในการเรียนการสอนจากเดิม 2 คาบ/สัปดาห์ ลดลงเหลือ 1 คาบ/สัปดาห์ ครูผู้สอนจึงต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอน เพื่อมุ่งให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญ 5 ประการ คือ ความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการคิด  ความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต และ ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี 

              ดังนั้นจึงพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเชื่อมโยงความรู้และแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อเสริมสร้างทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

ในรายวิชา  การงานอาชีพ 4 (งานไม้)


2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเชื่อมโยงความรู้และแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน

เพื่อเสริมสร้างทักษะด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี (Preliminary investigation, Theoretical embedding) ดังนี้

          1. การศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เพื่อกำหนดกรอบของรูปแบบการเรียนการสอนฯ ที่พัฒนาขึ้นและจัดทำรายละเอียด
ของรูปแบบการเรียนการสอนฯ ฉบับร่าง

              2. การสัมภาษณ์ (Interview) ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ อาจารย์ในระดับอุดมศึกษา และผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ทฤษฎีการเชื่อมโยงความรู้ (Connectivism) และแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน (Flipped classroom) จำนวน 5 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เพื่อนำข้อมูลมาจัดทำร่างต้นแบบการเรียนการสอน

                   3. การสร้างรูปแบบการเรียนการสอนและเครื่องมือประเมินผู้เรียน ผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้การศึกษาบริบท ข้อมูลเบื้องต้น การศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ดังนี้

                  3.1 นำมาสร้างรูปแบบการเรียนการสอน โดยนำอาหลักการและองค์ประกอบของรูปแบบการเรียนการสอน ในส่วนของสาระสำคัญที่ได้จากแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องมาทำการวิเคราะห์ สังเคราะห์เป็นองค์ประกอบของรูปแบบการเรียนการสอน

3.2 สรุปต้นแบบรูปแบบการเรียนการสอน ซึ่งประกอบด้วย หลักการและเหตุผล ทฤษฎีและแนวคิดพื้นฐาน

หลักการของรูปแบบ จุดมุ่งหมายของรูปแบบ การจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ กระบวนการตามรูปแบบ ประกอบด้วย การจัดการเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้ วัสดุสนับสนุนการเรียนรู้ ความร่วมมือบนเว็บไซต์สังคมเครือข่าย บทบาทผู้สอน บทบาทผู้เรียน และการประเมิน
ตามรูปแบบ

                        3.3 สร้างรูปการเรียนการสอนตามองค์ประกอบของรูปแบบ โดยนำร่างรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นไป ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความถูกต้องและความเหมาะสมของรูปแบบ โดยใช้แบบประเมินรูปแบบ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบการเรียนการสอน จำนวน 2 ท่าน และผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 3 ท่าน ซึ่งผู้เชี่ยวชาญมีวุฒิการศึกษาและระดับปริญญาเอก สาขาวิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา ปริญญาเอกสาขาวิชาหลักสูตรและการสอนหรือมีวุฒิปริญญาเอกทางด้านจิตวิทยา สาขาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา และมีประสบการณ์การสอนในสาขาวิชาที่เชี่ยวชาญไม่น้อยกว่า
5 ปี

                4. การตรวจสอบรูปแบบการเรียนการสอน ดังนี้

                    นำรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความถูกต้องและความเหมาะสมของรูปแบบ
โดยใช้แบบประเมินรูปแบบ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบการเรียนการสอน จำนวน 2 ท่าน และ
ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 3 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญมีวุฒิการศึกษาและระดับปริญญาเอก สาขาวิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา ปริญญาเอกสาขาวิชาหลักสูตรและการสอนหรือมีวุฒิปริญญาเอกทางด้านจิตวิทยา สาขา ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
ในระดับมัธยมศึกษา และมีประสบการณ์การสอนในสาขาวิชาที่เชี่ยวชาญไม่น้อยกว่า 5 ปี

          ระยะที่ 2 การศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเชื่อมโยงความรู้และแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อเสริมสร้างทักษะด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี มีขอบเขตของการศึกษา ดังนี้

               1. การทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอน

                    2. การสรุปผลและการวิเคราะห์ข้อมูล


3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง

                3.1 เชิงปริมาณ

                 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสตรีราชินูทิศ ร้อยละ 80 ที่เรียนใน รายวิชา การงานอาชีพ(งานไม้) มีผลการพัฒนาทักษะด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี และมีผลสัมฤทธิ์สูงขึ้น

                3.2 เชิงคุณภาพ

                 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสตรีราชินูทิศ มีการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยี (ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี)