วิชาเอกพืชศาสตร์
คณะทรัพยากรธรรมชาติ ม.สงขลานครินทร์

แนะนำวิชาเอกพืชศาสตร์

วิชาเอกพืชศาสตร์จัดการเรียนการสอนในด้านการจัดการทรัพยากรพืช โดยเฉพาะพืชที่ปลูกที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจและสังคมของภาคใต้ เช่น ไม้ผล ยางพารา ป่ล์มน้ำมัน พืชผัก ไม้ดอก-ไม้ประดับ พืชอาหารสัตว์ ธัญพืช ฯลฯ โดยเน้นวิทยาการด้านเทคโนโลยีและระบบการผลิต สรีรวิทยา นิเวศวิทยา วัชพืช เมล็ดพันธ์ การปรับปรุงพันธ์ วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว และเทคโนโลยีชีวภาพของพืชปลูก ทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก การจัดการเรียนการสอนมุ่งเน้น การใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ในการศึกษาเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้ ความคิด อย่างมีเหตุผลและมีคุณธรรม ตลอดจนการสนับสนุนให้นักศึกษาไปประกอบกิจกรรมชมรม เพื่อเสริมสร้างทักษะทางวิชาการด้านพืชศาสตร์และฝึกการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข นอกเหนือจากนี้ภาควิชาฯ ยังมีภาระกิจในการเป็นแหล่งความรู้ทางวิชาการแก่ชุมชน ด้วยภาระงานด้านการบริการวิชาการต่าง ๆ ทางด้านพืชศาสตร์ เช่น การอบรม การจัดประชุม การเป็นที่ปรึกษา การให้คำแนะนำ โดยสรุปภาควิชาพืชศาสตร์ได้ดำเนินภาระกิจหลักทั้ง 4 ด้าน ของมหาวิทยาลัย คือ ภาระด้านการเรียนการสอน ภาระด้านการวิจัย ภาระด้านบริการวิชาการ และภาระด้านการบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยมีเป้าหมายของการทำงานดังนี้

  • เพื่อผลิตบัณฑิตสาขาวิชาพืชศาสตร์ที่มีความรู้ความสามารถในด้านวิชาการและการวิจัยทางด้านพืชศาสตร์

  • เพื่อส่งเสริมการค้นคว้าวิจัย และพัฒนาวิชาการทางด้านพืชศาสตร์ ให้มีความก้าวหน้าทันสมัย

  • เพื่อเป็นแกนนำและประสานงานการพัฒนาวิชาการทางด้านพืชศาสตร์ในภาคใต้ของประเทศไทย

ปรัชญาการจัดการศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก่อตั้งขึ้นตามนโยบายการพัฒนาภาคใต้ โดยมีเจตนารมณ์ตั้งแต่แรกเริ่มที่จะให้เป็นมหาวิทยาลัยหลักของภาคใต้ ท าหน้าที่ผลิตบัณฑิต วิจัย บริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นที่การพัฒนาคนเพื่อให้เป็นก าลังหลักของสังคม และยึดตามแนวทางการจัดการศึกษาของชาติที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

ปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงเป็นการจัดการศึกษาตามแนวทางพิพัฒนาการนิยม(Progressivism)คือการพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน เพื่อให้พร้อมที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และปรับตัวได้ดีตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาผู้เรียนโดยใหผู้้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ และพัฒนาจากความต้องการของผู้เรียนผ่านกระบวนการแก้ ปัญหาและค้นคว้าด้วยตนเอง กระบวนการที่ต้องลงมือปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียนซึ่งจะน าไปสู่การเรียนรู้ที่ยั่งยืน และจากแนวคิดที่ว่าการพัฒนาคือการเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้จึงไม่ได้หยุดอยู่เพียงภายในมหาวิทยาลัยแต่จะด าเนินไปตลอดชีวิต การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วย