แบบประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส  สำหรับบุคคลภายนอกของโรงเรียน

ารประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติ(สำนักงาน ป.ป.ช.) ได้พัฒนา เครื่องมือการประเมินเชิงบวกเพื่อเป็นมาตรการ ป้องกันการทุจริต และเป็นกลไกในการสร้าง ความตระหนักให้หน่วยงานภาครัฐมีการดำเนินงาน อย่างโปร่งใส และมีคุณธรรม โดยใช้ชื่อ ว่า “การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการ ดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA)” การประ เมิน ITA ได้ เริ่มดำเนินการใน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน มีการขยายขอบเขตและพัฒนาให้มีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้นตามลำดับ ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2561 เห็นชอบให้หน่วยงาน ภาครัฐทุกหน่วยงานให้ความร่วมมือและเข้าร่วม การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการ ดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 – 2564 โดยใช้แนวทางและเครื่องมือ การประเมินตามที่สำนักงาน ป.ป.ช. กำหนด แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติประเด็น ที่ 21 การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ (พ.ศ. 2561 – 2580) ได้นำผลการประเมิน ITA ไปกำหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายของแผนแม่บทฯ โดยในระยะแรก (พ.ศ. 2561 – 2565) กำหนดค่าเป้าหมายให้หน่วยงานภาครัฐที่มีผลการประเมิน ผ่านเกณฑ์(85 คะแนนขึ้นไป) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 สำหรับการประเมิน ITA 2563 ยังคงใช้กรอบ แนวทางการประเมินเช่นเดียวกับการประเมิน ITA 2562 ที่ผ่านมา เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐที่เข้ารับ การประเมินได้มีการปรับปรุงพัฒนาอย่างเชื่อมโยง และต่อเนื่อง และทำให้เห็นพัฒนาการในด้าน คุณธรรมและความโปร่งใสของหน่วยงานภาครัฐ ได้อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม การประเมิน ITA 2563 มีการปรับปรุงในรายละเอียดของระเบียบวิธีการ ประเมินและประเด็นการประเมินเล็กน้อย เพื่อแก้ไข ปรับปรุงข้อจำกัดของการประเมินให้มีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการ ประเมินมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้การประเมิน ITA เป็นเครื่องมือให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการ ปรับปรุงแก้ไขระบบการบริหารราชการของหน่วยงาน ภาครัฐ และมีผลการประเมินที่มาจากมุมมองของ ประชาชนอย่างรอบด้านทั้งด้านการรับรู้และ ความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลสาธารณะได้อย่าง ชัดเจนมากยิ่งขึ้น


แบบตรวจการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ (Open Data Integrity and Transparency Assessment: OIT)

การเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ (Open Data Integrity and Transparency Assessment: OIT) มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมิน การเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นปัจจุบันบนเว็บไซต์ของ หน่วยงาน เพื่อเปิดเผยข้อมูลต่าง ๆ ของหน่วยงาน ให้สาธารณชนได้รับทราบ ใน 5 ประเด็น คือ (1) ข้อมูลพื้นฐาน ได้แก่ ข้อมูลพื้นฐาน ข่าว ป ระ ช า สัมพันธ์ แ ละ ก า ร ปฏิสัมพันธ์ ข้อมูล (2) การบริหารงาน ได้แก่ แผนดำเนินงาน การปฏิบัติงาน และการให้บริการ (3) การบริหาร เงินงบประมาณ ได้แก่ แผนการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีและการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุ (4) การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล ได้แก่ นโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล การดำเนิน การตามนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล และ หลักเกณฑ์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล และ (5) การส่งเสริมความโปร่งใสในหน่วยงาน ได้แก่ การจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริตและ ประพฤติมิชอบ และการเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม ซึ่งการเผยแพร่ข้อมูลในประเด็นข้างต้นแสดงถึง ความโปร่งใสในการบริหารงานและการดำเนินงาน ของหน่วยงาน