ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียนบ้านดอนเขว้า

ข้อมูลทั่วไป

โรงเรียนบ้านดอนเขว้า ตั้งอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตําบลแสนตอ อําเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี มีเนื้อที่ 4 ไร่ 2 งาน 77 ตารางวา เปิดสอนระดับชั้นอนุบาล และระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 

 สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2

ประวัติโรงเรียนโดยย่อ

โรงเรียนบ้านดอนเขว้าเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก สร้างขึ้นจากความร่วมมือของประชาชนหมู่ที่ 1 (ปัจจุบันหมู่ที่ 1 ได้แยกมาเป็นหมูที่ 12 ซึ่งได้ทําการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2538) โดยมีนายสือ เซี่ยงฉิน เป็นประธานกรรมการดําเนินงาน มีนายกําจัด ธํารงสกุลศิริ ผูใหญบานหมูที่ 1 (ขณะนั้น) และนายชํานาญ วอนเพียร ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 6 เป็นกรรมการดําเนินงาน นายลวน วัดพวง บริจาคที่ดินในการก่อสร้างโรงเรียน 4 ไร่ 2 งาน 77 ตารางวา 

วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2498 เปิดรับนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เป็นปีแรกโดยมี นายสมัย สมสุข เป็นครูใหญ่คนแรกปัจจุบัน เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล 2 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยมีนางสาวบุญยืน วิฑูรย์สฤษฏ์ศิลป์ เป็นผู้อํานวยการโรงเรียน 

สัญลักษณ์ประจําโรงเรียนบ้านดอนเขว้า 

สัญลักษณ์การจับมือ หมายถึง ความร่วมมือของประชาชนและรัฐในการจัดการศึกษาให้แก่ชุมชน

วงกลมสีแดงบนแทงสีเหลือง หมายถึง ศาลเจ้าเซียนซือ ซึ่งเป็นที่เคารพของชุมชนดอนเขว้า

สีประจําโรงเรียนบ้านดอนเขว้า

“เลือดหมู – ขาว”

สีเลือดหมู หมายถึง ความมั่นคง อุดมด้วยวิชาความรู้

สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ เปี่ยมล้นด้วยคุณธรรม

ต้นไม้ประจําโรงเรียน

“ต้นเขว้า”

ดอกไม้ประจําโรงเรียน

“ดอกมะลิ”

ปรัชญาโรงเรียนบ้านดอนเขว้า

“การศึกษาเพื่อพัฒนา ประชากรวัยเรียน”

คําขวัญโรงเรียนบ้านดอนเขว้า

“กตัญญู รู้หน้าที่ มีวินัย ใฝ่ศึกษา”


ข้อมูลด้านการบริหารการศึกษา

โรงเรียนบ้านดอนเขว้า แบ่งโครงสร้างการบริหารงานเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ

ด้านบริหารทั่วไป และด้านบริหารบุคคล ผูบริหารยึดหลักการบริหารตามหลักธรรมมาภิบาล หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการพัฒนาตามกระบวนการ PDCA ส่งเสริมใหครูวิเคราะห์ผลการสอบ O-NET, NT, LAS และ RT ในรายละเอียดตามมาตรฐานการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระ เพื่อนําผลไปพัฒนาทั้งระบบ เน้นการจัดการเรียนการสอนที่พัฒนาบนฐานข้อมูลข้อบกพร่อง ในสาระที่มีปัญหา ทั้งยังให้ครูได้ฝึกใหเด็กพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ สรุปความคิดอย่างเป็นระบบให้เด็กมีโอกาสใช้เหตุผล พร้อมที่จะศึกษาต่อในระดับชั้นที่สูงขึ้น มีวุฒิภาวะทางอาชีพเหมาะสมกับช่วงวัย ใชเทคโนโลยีและการสื่อสารในการเรียนรู้และนําเสนอผลงาน ที่สําคัญคือครูทุกคนจะจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ ปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน และบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทุกสาระวิชาอย่างต่อเนื่อง