๑. กลุ่มบริหารงานอัตรากำลัง
ภารกิจงานคือ การวางแผนอัตรากำลัง มีหน้าที่วางแผนจัดทำข้อมูลอัตรากำลังล่วงหน้า ๑๐ ปี งานทะเบียนประวัติข้อมูลบุคลากรสถานศึกษา งานสรรหา คัดเลือก บรรจุแต่งตั้ง มีหน้าที่ดำเนินการสรรหาและจัดจ้างบุคลากร เพื่อปฏิบัติงานในตำแหน่งอัตราชั่วคราวตามความจำเป็นของโรงเรียนตามระเบียบและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง งานการลา มาสาย การย้ายโอน ลาออกจากราชการ มีหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับ การลา การย้ายโอน และการออกจากราชการของบุคลากรในโรงเรียนและการเกษียณ
๑.๑ งานทะเบียนประวัติและข้อมูล
โรงเรียนอนุบาลอุตรดิตถ์ มีบุคลากรประกอบด้วย ข้าราชการครู ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราว ซึ่งมีจำนวนมากจึงต้องมีการจัดทำทะเบียนประวัติ การจัดเก็บข้อมูลของบุคลากรครู อย่างเป็นระบบ เพื่อความสะดวกในการติดตามงาน กลุ่มบริหารสิทธิประโยชน์ จึงได้จัดทำทะเบียนประวัติและข้อมูลของบุคลากรในโรงเรียน ดังนี้
๑. ประวัติข้าราชการครู (กพ.๗) โดยสำเนามาจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุตรดิตถ์ เขต ๑
๒. แบบเก็บข้อมูลข้าราชการครู ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราวโรงเรียนอนุบาลอุตรดิตถ์
๑.๒ การสรรหาบรรจุแต่งตั้งลูกจ้างชั่วคราว
โรงเรียนอนุบาลอุตรดิตถ์ เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ มีภาระงานมากข้าราชการครู ลูกจ้างประจำมีจำนวนไม่เพียงพอต่อปฏิบัติงานตามภารกิจต่าง ๆ จึงจำเป็นต้องมีการสรรหา และบรรจุแต่งตั้งลูกจ้างชั่วคราว ประเภทต่างๆ ดังนี้
๑. ครูอัตราจ้าง
๒. ครูต่างชาติ
๓. พี่เลี้ยงเด็ก
๔. คนงาน ภารโรง
๕. พนักงานขับรถยนต์
วิธีการสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง
๑. กลุ่มบริหารงานต่างๆ เสนอความต้องการลูกจ้างชั่วคราวตามความจำเป็น
๒. ประกาศรับสมัคร และกำหนดคุณสมบัติตามภาระงาน
๓. รับสมัคร พร้อมกรอกใบสมัครพร้อมเอกสารประกอบดังนี้ สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประชาชน รูปถ่าย ๑-๒ นิ้ว ๑ รูป สำเนาวุฒิการศึกษา ความรู้ความสามารถพิเศษ (ถ้ามี)
๔. แต่งตั้งคณะกรรมการสรรหา โดยการสัมภาษณ์และทดสอบความรู้ความสามารถตามสายงาน
๕. ประกาศผล
๖. รายงานตัวตามตำแหน่ง
๗. การทำสัญญา ครูอัตราจ้างและลูกจ้างชั่วคราวปฏิบัติดังนี้
ครูอัตราจ้าง เอกสารใบสมัคร แบบรับรองการสมัคร บันทึกตกลงจ้าง สัญญาค้ำประกัน
ลูกจ้างชั่วคราว เอกสารใบสมัคร แบบรับรองการสมัคร บันทึกตกลงจ้าง สัญญาค้ำประกัน
๘. ทดลองงาน ๓ เดือน
๙. ประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปี เพื่อต่อสัญญาเป็นปี
๑.๓ งานย้ายข้าราชการครู
บทบาทและหน้าที่ของโรงเรียนอนุบาลอุตรดิตถ์ ดังนี้
๑. รับเรื่องขอย้ายของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
๒. เสนอขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนอนุบาลอุตรดิตถ์
๓. เสนอความประสงค์และเหตุผลความจำเป็นในการขอย้ายของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต่อสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาต้นสังกัด
๔. วิธีการขอย้าย
๔.๑ ประเภทของการย้าย
๔.๑.๑ การย้ายปกติ ยื่นขอย้ายได้ปีละ ๒ ครั้ง
ครั้งที่ ๑ วันที่ ๑ – ๑๕ กุมภาพันธ์
ครั้งที่ ๒ วันที่ ๑ – ๑๕ สิงหาคม ของทุกปี
๔.๑.๒ การย้ายกรณีพิเศษ ยื่นขอย้ายได้ตลอดปี ตามกรณี ดังนี้ ถูกปองร้าย เจ็บป่วย ดูแลบิดา มารดา ติดตามคู่สมรส
๔.๑.๓ การย้ายสับเปลี่ยน ต้องมีบันทึกยินยอมขอย้ายสับเปลี่ยนทั้งสองฝ่าย
๕. เอกสารประกอบการยื่นขอย้าย เพื่อประกอบการพิจารณา
- สำเนา กพ.๗
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- สำเนาใบสำคัญสมรส
- ใบรับรองแพทย์
- บันทึกประจำวัน ตำรวจ ฝ่ายปกครอง
- ส่งรายงานผลการปฏิบัติงาน ตามแบบที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำหนด
๖. เสนอขอความเห็นชอบจากผู้บริหารสถานศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนอนุบาลอุตรดิตถ์
๗. นำส่งเขตพื้นที่การศึกษา
๑.๔ งานทำเนียบครู
โรงเรียนอนุบาลอุตรดิตถ์ มีข้าราชการครูและบุคลากรจำวนมากการจัดทำทำเนียบครู จึงเป็นการประชาสัมพันธ์ให้ผู้ปกครอง นักเรียน ครูและบุคลากรทราบ
การดำเนินการ
๑. จัดทำรายชื่อข้าราชการตามสายชั้น
๒. กำหนดรูปแบบและถ่ายภาพของบุคลากร
๓. ติดต่อประสานงานร้านถ่ายภาพ
๔. จัดทำเนียบให้เป็นปัจจุบัน
๒. กลุ่มบริหารงานพัฒนาบุคลากร
โรงเรียนอนุบาลอุตรดิตถ์ ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา เพราะการพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถเต็มตามศักยภาพนั้น ครูและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนจะต้องเข้าใจบทบาทหน้าที่จองตนเอง โดยทบทวนบทบาทของตนเองว่า การจัดทักษะกระบวนการเรียนรู้ที่ได้ดำเนินอยู่นั้นมีคุณภาพ สามารถพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นสถานศึกษาจึงต้องส่งเสริมสนับสนุนให้ครูและบุคคลากร มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยการได้เข้าร่วมอบรม ประชุมสัมมนา การศึกษาดูงาน การศึกษาต่อให้ระดับสูงขึ้น รวมทั้งการนำผลงานทางวิชาการ เพื่อเลื่อนวิทยฐานะ
วัตถุประสงค์
1. บุคลากรได้พัฒนาตนเองเป็นรายบุคคล สายชั้นการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ หรือกลุ่มบริหารงาน
2. บุคลากรได้พัฒนาความรู้ความสามารถ และนำประสบการณ์ไปจัดทักษะกระบวนการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับโครงสร้างของหลักสูตร เพื่อพัฒนาและส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถเต็มตามศักยภาพ
3. บุคลากรได้พัฒนาตนเองในการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา ศึกษาดูงาน ศึกษาต่อ แล้วนำความรู้และนวัตกรรมใหม่มาจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียน
4.
บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจในการบวนการจัดทำผลงาน เพื่อรองรับการประเมิน รอการปรับปรุงตำแหน่งเพื่อเลื่อนวิทยฐานะให้สูงขึ้น
ภารกิจ
1. โลกกว้างแห่งการเรียนรู้
๒. การพัฒนาบุคลากร มุ่งคุณธรรม นำความรู้ สู่ World Class
๓. ครูดีเชิดชูเกียรติ และเสริมความเป็นเลิศสู่วิทยฐานะ
๔. งานเสริมสร้างจรรยาบรรณ และคุณธรรมจริยธรรม
๕. โครงการเล่าประสบการณ์ส่งผ่านสู่ความสำเร็จ Successes Story Sharing SSS
6. งานบริการเพื่อส่งเสริมการพัฒนาบุคลากร
- งานสารพัฒนาครู
- งานสมุดบันทึกการประชุม
- งานรายงานผลการปฏิบัติงาน
- งานทดสอบพัฒนาความรู้
- งานรายงานการประชุม/อบรม/สัมมนา/ศึกษาดูงาน
- การศึกษาต่อ
2.1 โลกกว้างแห่งการเรียนรู้
โรงเรียนอนุบาลอุตรดิตถ์ ดำเนินการจัดการเรียนรู้ในระดับปฐมวัย ช่วงชั้นที่ ๑ – ๓ มีบุคลากรเป็นจำนวนมาก บุคลากรครูเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาผู้เรียนในทุกระดับให้เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถทัดเทียมกับสถาบันการศึกษาอื่น ดังนั้นโรงเรียนจึงตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาบุคลากรทุกคน ให้เข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ที่สำคัญของตนเอง การพัฒนาครูเพื่อพัฒนาองค์กร ให้บุคลากรตระหนักว่าการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจะต้องเป็นการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดการปรับปรุงประสิทธิผลขององค์กร หรือสถาบัน ให้เป็นไปในทางที่องค์กรหรือสถาบันตั้งเป้าหมายไว้
วัตถุประสงค์
๑. บุคลากรทุกคนได้รับการพัฒนาตนเองเป็นรายบุคคลและกลุ่มงาน
๒. บุคลากรยอมรับการเปลี่ยนแปลงและร่วมมือกันพัฒนาองค์กรให้สอดคล้องกับสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคม
๓. บุคลากรสามารถวิเคราะห์ปัญหาขององค์กรและร่วมมือกันพัฒนาเพื่อให้ปัญหาหมดไป
๔. บุคลากรครูมีความรู้ความเข้าใจ ในกระบวนการจัดทำผลงานเพื่อรองรับ การประเมินขอปรับปรุงกำหนดตำแหน่งเลื่อนวิทยฐานะให้สูงขึ้น
วิธีการดำเนินงาน
๑. ประชุมวางแผนดำเนินการ เพื่อจัดกิจกรรมในโครงการ
๒. การประชุม สัมมนา อบรมทางวิชาการให้กับบุคลากรของโรงเรียน ตามที่ผู้บริหารได้กำหนดไว้
๓. บุคลากรเข้าร่วมการประชุม สัมมนา อบรมทางวิชาการ ร่วมกับหน่วยงานทางการศึกษา และหน่วยงานอื่นๆ ตามที่ได้รับเชิญมา หรือ ผู้บริหารแต่ละกลุ่มงานเห็นเหมาะสม
๔. ศึกษาดูงาน ประชุมเชิงปฏิบัติการ
๕. สรุปผลการดำเนินงาน
รายละเอียดการดำเนินงาน
๑. ประชุมวางแผนดำเนินการ เพื่อจัดกิจกรรมไว้ในโครงการ
๑.๑ รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานบุคคล และหัวหน้ากลุ่มบริหารงานบุคคลทั้ง ๔ งานร่วมปรับปรุงวางแผน กำหนดเรื่อง วัน เวลา และสถานที่ของการดำเนินการ โดยกำหนดไว้เป็นแนวทาง เพื่อนำเสนอผู้บริหารให้ความเห็นชอบ
๑.๒ ผู้บริหารเห็นชอบให้ดำเนินการได้ จึงเขียนโครงการ พร้อมทั้งเสนอโครงการ ผู้รับผิดชอบจัดกิจกรรมในโครงการกำหนดระยะเวลาและงบประมาณในการดำเนินงาน
๒. ประชุม สัมมนา อบรมทางวิชาการให้กับบุคลากรของโรงเรียน
๒.๑ ผู้อำนวยการ และรองผู้อำนวยการโรงเรียน กำหนดเรื่อง การจัดประชุม ตามวาระ และการอบรมสัมมนา เรื่องที่มีความสำคัญที่ต้องการพัฒนาบุคลากรครู เพื่อนำมาพัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้ทันต่อเหตุการณ์และการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา
๒.๒ หัวหน้างานที่รับผิดชอบ บันทึกกิจกรรม เรื่องการประชุม อบรมหรือสัมมนา เสนอผู้บริหาร ให้เห็นชอบและอนุมัติเรื่องของ วัน เวลา สถานที่ งบประมาณ และวิธีการดำเนินงาน
๒.๓ ติดต่อประสานงานกับกลุ่มบริหารงาน อีก ๔ กลุ่ม บริหารงานดังนี้
กลุ่มบริหารวิชาการ เรื่อง ความรู้ทางด้านวิชาการ เอกสารประกอบการ
ประชุม
กลุ่มบริหารงบประมาณ เรื่อง การเบิกจ่ายค่าใช้จ่าย ในการดำเนินงาน
กลุ่มบริหารทั่วไป เรื่อง จัดสถานที่ และการประชาสัมพันธ์
และแจ้งบุคลากรทุกคน
กลุ่มบริหารงานบุคคล เรื่อง ประสานงานกับฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้อง แต่งตั้ง
คณะกรรมการดำเนินงาน และดูแลดำเนินงาน
จนสิ้นสุด การประชุมอบรมสัมมนา
๒.๔ สรุปผลการดำเนินงาน เสนอผู้อำนวยการโรงเรียน
๓. บุคลากรเข้าร่วมอบรม ประชุมสัมมนาทางวิชาการ ร่วมกับหน่วยงานทางการศึกษาและหน่วยงานอื่น
๓.๑ เมื่อมีหนังสือเชิญการเข้าร่วมอบรมฯ จากหน่วยงานต่างๆ กลุ่มบริหารงานบุคคล บันทึกเรื่องเสนอผู้บริหารเพื่อพิจารณาหรืออนุญาต การเข้าร่วมประชุม อบรมสัมมนานั้น
๓.๒ หากการเข้าร่วมอบรมฯ ต้องใช้เงินงบประมาณในการเข้าร่วมอบรมฯ เป็นค่าเดินทาง ที่พัก เบี้ยเลี้ยง ผู้เข้ารับการอบรมฯ ทำหนังสือขออนุมัติเงินงบประมาณ และ ขออนุญาตเข้าร่วมการอบรมฯ
๓.๓ เมื่อสิ้นสุดการอบรม ผู้เข้าร่วมอบรมฯ ทำบันทึก รายงานการเข้าร่วม การอบรมต่อผู้บริหาร และเผยแพร่ความรู้จากการอบรบแก่คณะครู
๓.๔ การอบรมที่ต้องเบิกจ่ายเงินงบประมาณ ให้ประสานจัดทำหลักฐาน การเบิกจ่ายจากกลุ่มบริหารงบประมาณ
๒.๒ การพัฒนาบุคลากร มุ่งคุณธรรม นำความรู้ สู่ World Class
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๔๒ มาตรา ๒๔ ได้ให้ความสำคัญกับการวิจัย โดยกำหนดให้สานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ คือส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม และสื่อการเรียนการสอน นวัตกรรมการเรียนการสอนให้เอื้ออำนวยต่อการจัดการเรียนรู้ ครูจำเป็นต้องมีศักยภาพในการจัดกระบวนการเรียนรู้ ที่หลากหลาย ต้องคิดต้นหาเทคนิควิธีการและทดลองการวัดผลประเมินผลอย่างหลากหลาย ซึ่งครูสามารถนำกระบวนการวิจัยในชั้นเรียนมาใช้พัฒนาการเรียนการสอนให้มีคุณภาพได้
สำหรับการทำให้ผู้มีอาชีพครู เป็นผู้ประกอบวิชาชีพครู และเป็นวิชาชีพชั้นสูงนั้น ครูจะต้องมีกระบวนการพัฒนาอาชีพตนเอง อย่างมีระบบ รอบคอบรัดกุม ละเอียดถี่ถ้วน อาศัยการเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างถูกต้องครบถ้วน อาศัยหลักวิชาการในการศึกษาค้นคว้าอย่างกว้างขวางรอบด้าน ให้ได้ความรู้ใหม่ในการบรรยายสถานการณ์ต่างๆ หรือนวัตกรรมใหม่เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาในการพัฒนางานในหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
โรงเรียนอนุบาลอุตรดิตถ์เล็งเห็นความสำคัญของ “การพัฒนาครู” เป็นอย่างยิ่ง โดยมุ่งหวังให้คณะครูได้มุ่งพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาพฤติกรรมของผู้เรียนให้มีคุณภาพตามกำหนดไว้ในหลักสูตร เรื่องที่สังคมคาดหวัง ซึ่งอาจจะดำเนินการโดยครูหรือคณะครู หรือดำเนินการร่วมกับผู้เรียนก็ได้
วัตถุประสงค์
๑. คณะครูได้รับประสบการณ์ตรงจากการศึกษาดูงาน แล้วนำความรู้ที่ได้รับมาพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพ
๒. เพื่อสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ
การดำเนินงาน
๔.๑ คณะผู้บริหารเห็นชอบ กำหนดการเรื่องและสถานที่เพื่อให้บุคลากรศึกษาดูงาน
๔.๒ กลุ่มบริหารงานบุคคล มอบหมายผู้รับผิดชอบโครงการดำเนินการเสนอกิจกรรมศึกษาดูงานต่อผู้บริหาร เพื่อขออนุญาตดำเนินการต่อไป
๔.๓ ประเมินค่าใช้จ่ายในการศึกษาดูงาน เสนอผู้บริหาร
๔.๔ ผู้รับผิดชอบกิจกรรมศึกษาดูงาน ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาดูงาน
๔.๕ ผู้บริหารอนุมัติให้ดำเนินการได้ กลุ่มบริหารงานบุคคลประชุมบุคลากร ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานตามคำสั่ง เพื่อทำความเข้าใจและปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
๔.๖ ดำเนินงานตามกำหนดการ
๔.๗ สรุปผลการดำเนินงานเมื่อสิ้นสุดการศึกษาดูงาน
๒.๓ ครูดีเชิดชูเกียรติและเสริมความเป็นเลิศสู่วิทยฐานะ
โรงเรียนอนุบาลอุตรดิตถ์ ข้าราชการครูได้ปฏิบัติงานตามกลุ่มบริหารอย่างเต็มความสามารถ ต้องเพิ่มพูนศักยภาพของตนเอง เพื่อนำไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ พัฒนาผู้เรียนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ การรวบรวมผลงานอย่างเป็นระบบตลอดปี จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ครูได้รับตำแหน่งเลื่อนวิทยฐานะให้สูงขึ้น การจัดทำผลงานทางวิชาการเพื่อปรับปรุงตำแหน่งเลื่อนวิทยฐานะให้สูงขึ้นนั้นครูทุกคนต้องมีความพร้อมในการจัดแสดงผลการปฏิบัติงานของตนเอง ทั้งในส่วนที่พัฒนาตนเอง และการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนที่พัฒนาผู้เรียนให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ดังนั้นการรวบรวมหลักฐานผลการปฏิบัติงานต่าง ๆ อย่างเป็นระบบตลอดปี จึงส่งผลให้บุคลากรของโรงเรียนอนุบาลอุตรดิตถ์ มีความพร้อมมีกระบวนการทำงานอย่างมีขั้นตอน ปฏิบัติงานอย่างมั่นใจ และประสบผลสำเร็จมีคุณภาพ การส่งเสริมและยกย่องเชิดชูเกียรติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อสร้างขวัญกำลังใจ และเพื่อเป็นการพัฒนางานของตนเอง
วัตถุประสงค์
1. ส่งเสริมการพัฒนาตนเองของข้าราชการครูและบุคลากรในการปฏิบัติหน้าที่ให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ เพื่อนำไปสู่การพัฒนามาตรฐานวิชาชีพ และคุณภาพทางการศึกษา
2. เพื่อคัดเลือกข้าราชการครูที่มีผลงานดีเด่นในโรงเรียน เป็นการยกย่องเชิดชูเกียรติตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนด เพื่อนำเสนอให้ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติในโอกาสต่อไป
3. เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจแก่ข้าราชการครู โดยการยกย่องเชิดชูเกียรติผู้มีผลงานดีเด่น และมีคุณงามความดีคามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดหรือกรณีตามความเหมาะสม
โรงเรียนอนุบาลอุตรดิตถ์ได้จัดให้มีโครงการต่อไปนี้
1. โครงการครูดีศรีอนุบาล
2. การส่งครูดีเด่นสาระต่าง ๆ คุรุสดุดี ครูผู้มีจรรยาดีเด่น ฯลฯ หรือตามที่กระทรวง ทบวง กรม มีโครงการนำเสนอ
มีนาคม ประชาสัมพันธ์ในที่ประชุมเกี่ยวกับการส่งผลงานครูดีเด่น
ต่าง ๆเพื่อให้คณะครูรวบรวมผลงาน
เมษายน-มิถุนายน แต่ละสายชั้นพิจารณาส่งครูผู้มีผลงานดีเด่นด้านต่าง ๆ เพื่อ
ส่งผลงานเข้ารับการพิจารณาตัดสินจากโรงเรียน หน่วยงาน
ตามหนังสือราชการที่แจ้ง
ตุลาคม – ธันวาคม ประกาศผล จัดพิธีมอบรางวัลเพื่อเป็นตัวอย่างที่ดี
แก่นักเรียน
การดำเนินงาน
๑. ประชุมวางแผน ประชาสัมพันธ์คณะครูสายอนุบาลชั้นปีที่ ๑ – มัธยมศึกษาปีที่ ๓
๒. ผู้ประสานงานสายชั้นปรึกษาหารือในสายชั้นเพื่อคัดเลือกครูดีเด่นในสายชั้นด้านต่าง ๆ
๓. ผู้ประสานงานสายชั้นเก็บรวบรวมผลงาน เพื่อนำเสนอในที่ประชุม
๔. คณะกรรมการตามคำสั่งประชุมเพื่อพิจารณาผลงาน หรือนำส่งผลงานเพื่อเข้าประกวดหน่วยงานต่าง ๆ
๗. กลุ่มบริหารงานบุคคลรายงานผล เสนอผู้บริหารรับทราบ
๘. ผู้อำนวยการ รับรองงานและให้ข้อเสนอแนะ นำส่งผลงาน
๒. ๔ การเสนอขอให้ข้าราชการครูมีวิทยฐานะ
ก.ค.ศ. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูมีและเลื่อนวิทยฐานะ โดยยึดหลัก ๕ ประการ เป็นแนวทางในการปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการ คือ
๑. หลักความรู้ความสามารถและสมรรถนะในการปฏิบัติงาน
๒. หลักคุณธรรม
๓. หลักผลการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อผู้เรียน ต่อคุณภาพการศึกษาวงวิชาการ วิชาชีพและต่อชุมชน และสังคม
๔. หลักการทำงานแบบมืออาชีพ การบริหารงานโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ การจัดการความรู้และการสร้างสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้
๕. หลักการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานไปพร้อมกับคุณภาพชีวิตการทำงาน
ข้าราชการครูมีสิทธิ์เสนอขอวิทยฐานะ ชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ เชี่ยวชาญมีขั้นตอนดังนี้
๑. ตรวจสอบคุณสมบัติของตนเอง ตามหลักเกณฑ์และวิชาการของสำนักงาน ก.ค.ศ.
๒. ยื่นแบบขอรับการประเมิน (วฐ. ) โดยสามารถยื่นคำร้องได้ตลอดปี
๓. ผู้อำนวยการสถานศึกษาตรวจสอบคุณสมบัติ และรับรองการผ่านการประเมิน ๓ ด้านดังนี้
- ด้านความประพฤติ
- ด้านวินัยคุณธรรมและจริยธรรม
- ด้านจรรยาบรรณวิชาชีพ
๔. ผู้ขอรับการประเมินส่งเอกสาร ดังนี้
๔.๑ด้านคุณภาพและการพัฒนาผู้เรียน
๔.๑.๑ ประจักษ์พยานการสอนอย่างน้อย ๑ กลุ่มสาระการเรียนรู้ หรือรายวิชาที่สอน
๔.๑.๒ รายงานการประเมินตนเองด้านการสอนและการพัฒนาผู้เรียน รวมทั้งการปฏิบัติหน้าที่อื่นที่ได้รับมอบหมายอย่างน้อย ๑ ปีการศึกษา
๔.๒ เอกสารด้านผลการสอนและการพัฒนาผู้เรียน
๔.๒.๑เอกสารผลการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษาผลการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษา คะแนนผลการทดสอบระดับชาติ ( O-net . A-net , NT ) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนเป็นรายบุคคลในชั้นที่สอน อย่างน้อย ๒ ปีการศึกษา
๔.๓ ส่งเอกสารรายงานการศึกษาค้นคว้าวิจัย ในการพัฒนาการเรียนการสอน อย่างน้อย ๑ ชิ้น
๔.๔ ผลงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ( ถ้ามี )
๔.๕ สำเนาทะเบียนประวัติข้าราชการ (ก.พ.๗)
๕. ส่งเอกสารทั้งหมดให้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตรวจสอบตามข้อ ๑ แล้วส่งให้คณะกรรมการประเมิน
๒.๕ งานเสริมสร้างจรรยาบรรณ คุณธรรม และจริยธรรม
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษานับเป็นทรัพยากรมนุษย์อันมีค่ายิ่งซึ่งมีบทบาทและหน้าที่ในการพัฒนาเยาวชน ให้เป็นกำลังในการพัฒนาเยาวชน ให้เป็นกำลังสำคัญของชาติบ้านเมือง ดังนั้นในการปฏิบัติราชการ ให้มีประสิทธิภาพ นอกจากข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาจะต้องตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ราชการ ด้วยความเสียสละ และมีความวิริยะอุสาหะ ยังต้องคำนึงถึงกฎหมาย กฎ ระเบียบ และแบบธรรมเนียมของทางราชการที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนต้องดำรงตนให้เหมาะสมกับบทบาทและหน้าที่ของตน ซึ่งรวมถึงการรักษาวินัยและจรรยาบรรณในวิชาชีพ ของตน เพื่อให้การปฏิบัติราชการเป็นไปด้วยดี ไม่ผิดพลาดหรือบกพร่องจนเกิดความเสียหายแก่ทางราชการ โรงเรียนอนุบาลอุตรดิตถ์จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น
วัตถุประสงค์
1. ข้าราชการครูและบุคลากรในโรงเรียนอนุบาลอุตรดิตถ์มีความรู้เรื่องกฎหมายและวินัยที่เกี่ยวข้อง
2.
ข้าราชการครูบุคลากรในโรงเรียนอนุบาลอุตรดิตถ์มีส่วนร่วมในโครงการทุกคน
วิธีดำเนินงาน
1. คณะกรรมการด้านวินัยและนิติการประชุมวิเคราะห์สภาพการดำเนินงาน
2. คณะกรรมการฝ่ายวินัยจัดทำรายละเอียดกิจกรรมเสนอเพื่อขออนุมัติโครงการ
3. ดำเนินการ งานฝ่ายช่วยเหลือติดตาม งานทำแบบประเมินโครงการและแบบสอบถาม ประสานงานวิทยากร จัดทำแผ่นพับ เอกสารให้ความรู้ เก็บรวบรวมภาพถ่าย
4. กำกับและติดตาม
5. สรุปการดำเนินงาน
๒.๖ โครงการเล่าประสบการณ์สู่ผ่านความสำเร็จ (Success Story Sharing : SSS )
วัตถุประสงค์
1. เพื่อพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
2. เพื่อสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ
3.
เป็นประโยชน์ต่อการบูรณาการการทำงานร่วมกัน
วิธีดำเนินงาน
1. ประชุมวางแผนและคัดสรรคณะครู ผู้ปกครอง ชุมชนที่เป็นแบบอย่างที่ดี
2. ผู้ประสานงานนำรูปแบบ วิธีการเก็บรวบรวมงาน ปรึกษาหารือร่วมกับครูในฝ่าย
3. ผู้ประสานงานมีหนังสือเชิญวิทยากรและเชิญบุคลากรเข้ารับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
4. กลุ่มบริหารงานบุคคลรายงานผลตามโครงการ เสนอผู้บริหารรับทราบ
5. ผู้บริหารกลุ่มบริหารงานบุคคลรับรองงานและให้ความคิดเห็น
6. ผู้อำนวยการรับรองงานและให้ข้อเสนอแนะ
๒.๗ งานบริการเพื่อส่งเสริมการพัฒนาบุคลากร
โรงเรียนอนุบาลอุตรดิตถ์ เป็นสถานศึกษาที่จัดการศึกษาตั้งแต่ระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ช่วงชั้นที่ ๑-๓ มีบุคลากรจำนวนมาก ข้าราชการครูเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการดำเนินงานด้านการจัดการเรียนรู้ และเป็นผู้นำการพัฒนาด้านต่างๆของโรงเรียน กลุ่มบริหารงานบุคคล จึงต้องจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการบันทึกการปฏิบัติงาน ให้บุลากรมีความคล่องตัว มีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน
วัตถุประสงค์
๑. บุคลากรได้รับการสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินงาน
๒. บุคลากรได้รับการพัฒนาให้มีความรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง และพัฒนาองค์ความรู้ของตนเอง
๓.
บุคลากรได้มีการจัดเก็บผลการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ
การดำเนินงาน
๑. ประชุมวางแผนดำเนินการ
๒. จัดทำบันทึกเสนอของบประมาณในการดำเนินงาน
๓. แจ้งรายละเอียดของงานบริการ
๔. ประชุมหัวหน้าสายชั้นเพื่อให้เป็นตัวแทนในการให้การบริการและสร้างความเข้าใจในการปฏิบัติงานให้เป็นไปในแนวทางเดียวกับครูประจำชั้น
๕. กำหนดการส่งงานให้ผู้บริหารรับรองทุกเดือน
๖.
สรุปผลการดำเนินงาน
๒.๗.๑ งานวารสารพัฒนาบุคลากร
โรงเรียนอนุบาลอุตรดิตถ์ ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาบุคลากร ให้มีความรู้ความสามารถทุกคน จึงดำเนินการดังนี้
๑. ส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรครู เข้าร่วมอบรมประชุม สัมมนาศึกษาดูงานเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถ ทันสมัย มีวิสัยทัศน์ กว้างไกล
๒.
บุคลากรสรุปความรู้ที่ได้รับจากการอบรมประชุมสัมมนาศึกษาดูงานเสนอผู้บริหาร และนำความรู้มาเผยแพร่ให้กับบุคลากรครูในโรงเรียน โดยการจัดทำเป็นแผ่นพับสารพัฒนาการครู
๒.๗.๒ งานสมุดบันทึกการประชุม
1. บุคลากรครูได้รับสมุดบันทึกการประชุมพร้อมปกคนละ ๑ แผ่น
2. บุคลากรครูบันทึกการประชุมทุกเรื่อง เช่น ประชุมสายชั้น ประชุมกลุ่มสาระการเรียนรู้ ประชุมการปฏิบัติกิจกรรมตามโครงการ ประชุมพิเศษ ประชุมประจำเดือน
3.
ส่งสมุดบันทึกการประชุม ให้รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานบุคคลรับรองทุกเดือน
๒.๗.๓ งานแบบบันทึกผลการปฏิบัติงาน
๑. กลุ่มบริหารงานบุคคล จัดทำแบบบันทึกผลการปฏิบัติงานให้บุคลากรครู
ทุกคน
๒. บุคลากรครูบันทึกผลการปฏิบัติงานในแต่ละเดือนส่งรองผู้อำนวยการ บริหารงานบุคคล และผู้อำนวยการโรงเรียนรับรองทุกเดือน
๒.๗.๔ งานทดสอบพัฒนาความรู้
๑. ผู้อำนวยการมอบหมายให้รองผู้อำนวยการบริหารทุกกลุ่ม ออกแบบทดสอบเพื่อส่งเสริมพัฒนาความรู้ หรือทบทวนระเบียบราชการต่าง ๆ ครั้งละ ๑๐-๒๐ ข้อ
๒. บุคลากรครูทำแบบทดสอบก่อนการประชุมประจำเดือนทุกเดือน
๓. ผู้อำนวยการเป็นผู้เฉลยคำตอบและให้ความรู้เพิ่มเติม
๔. ตรวจแบบทดสอบและให้กลุ่มบริหารงานบุคคลเก็บรวบรวมไว้
๒.๗.๕ งานรายงานการไปร่วมประชุม อบรม สัมมนา ศึกษาดูงาน
๑. บุคลากรครูที่รับมอบหมายหรือมีคำสั่งให้เข้าร่วมอบรมประชุมสัมนาจะต้องรายงานผลการเข้าร่วมอบรมต่อผู้บริหารตามแบบที่กำหนด
๒. นำความรู้เผยแพร่เป็นสารพัฒนาครู
๒.๘ การขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา
วิชาชีพครูเป็นวิชาชีพทางการศึกษาเป็นวิชาชีพควบคุม หมายถึง
๑.ทำหน้าที่ด้านการเรียนการสอน
๒.ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน
๓. การบริหารสถานศึกษาปฐมวัย ขั้นพื้นฐาน และอุดมศึกษาที่ต่ำกว่าปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน
วิชาชีพทางการศึกษาประกอบด้วย
๑.วิชาชีพครู
๒. วิชาชีพผู้บริหารการศึกษา
๓. วิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา
๔. วิชาชีพบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งตามที่กำหนดในกฎหมาย
ผู้ประกอบวิชาชีพดังกล่าว ต้องได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจากคุรุสภา จึงจะสามารถจะประกอบวิชาชีพได้รวมทั้งต้องปฏิบัติงานและประพฤติตนตามมาตรฐานวิชาชีพ และจรรยาบรรณวิชาชีพ เพื่อให้การประกอบวิชาชีพควบคุมเป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพ ที่กำหนด
วิชาชีพทางการศึกษามีบทบาทสำคัญต่อสังคมและความเจริญก้าวหน้าของประเทศ คือ
1. สร้างพลเมืองดีของประเทศ
2. พัฒนาทรัพยากรมนุษย์
3. สืบทอดวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของชาติ
การเข้าสู่วิชาชีพ
เมื่อพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๔๖ ทำให้ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา คือ ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งตามที่กำหนดในกระทรวงจะต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ คุรุสภาได้ออกข้อบังคับ คุรุสภาว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๔๑ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๔๗
การขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษามีขั้นตอน ดังนี้
๑.รับแบบคำขอ ( แบบ คส.๐๑ ) ที่ฝ่ายบุคลากรของโรงเรียนอนุบาลอุตรดิตถ์
๒.กรอกข้อมูลตามแบบคำขอให้ครบและถูกต้อง
๓.ยื่นแบบคำขอ (ค.ศ.๑๐) ที่ฝ่ายบริหารบุคลากร เพื่อตรวจสอบความถูกต้องพร้อมแนบเอกสารหลักฐานดังนี้
๓.๑ สำเนาทะเบียนบ้าน / สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน / บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ
๓.๒ สำเนาหลักฐานแสดงวุฒิการศึกษา
๓.๓ รูปถ่ายหน้าตรงครึ่งตัว ไม่สวมแว่นตา ขนาด ๑ นิ้ว จำนวน ๒ รูป
๓.๔ หลักฐานการชำระเงินค่าธรรมเนียม ( ๕๐๐ บาท )
๔. ทางฝ่ายบุคลากรรวบรวมเอกสารหลักฐานของผู้ยื่นคำขอแยกชุดเป็นรายบุคคล โดยเรียงลำดับเอกสารหลักฐานแต่ละชุดดังนี้
๔.๑ ใบเสร็จรับเงิน / หลักฐานการชำระเงิน
๔.๒ แบบคำขอ
๔.๓ เอกสารหลักฐานประกอบแบบคำขอรวบรวมเอกสารหลักฐานแต่ละชุดใส่ซองเดียวกัน
๔.๔ แบบสรุปข้อมูลผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ( งบหน้า )
๔.๕ บัญชีรายชื่อผู้ขอรับใบอนุญาต ประกอบวิชาชีพ
๔.๖ บัญชีหนังสือรับรองสิทธิ ( อยู่ในภาคผนวก )
๕.ส่งแบบคำขอไปยังสำนักงานเลขานุการคุรุสภา ( คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์ขอ ขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาต ประกอบวิชาชีพ ทางการศึกษา หน้า ๔๗-๘๐ ) หนังสือคู่มือการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
๓. กลุ่มบริหารสวัสดิการและสิทธิประโยชน์
โรงเรียนอนุบาลอุตรดิตถ์ จัดกิจกรรมสวัสดิการตามวิธีการและโครงการที่ร่วมกันกำหนด เพื่อสร้างขวัญ และกำลังใจให้ข้าราชการครูและบุคลากร ปฏิบัติหน้าที่เต็มความรู้ความสามารถเกิดผลดีต่อสถานศึกษา ครู และนักเรียน ตามมาตรฐานการศึกษา ด้านผู้บริหาร ครู และนักเรียน โรงเรียนอนุบาลอุตรดิตถ์ จึงได้จัดการบริการสวัสดิการ ออกเป็น ๘ งาน คือ
๓.๑ งานโครงการสวัสดิการโรงเรียน/สวัสดิการลูกจ้าง
๓.๒ งานสร้างขวัญและกำลังใจ
๓.๓ งานประกันชีวิตบุคลากร
๓.๔ งานประกันสังคมลูกจ้างชั่วคราว
๓.๕ งานมุทิตาจิต
๓.๖ งานตรวจสุภาพประจำปี
๓.๗ งานส่งเสริมสุขภาพบุคลากร
๓.๑ งานโครงการสวัสดิการโรงเรียน/สวัสดิการลูกจ้าง
โรงเรียนอนุบาลอุตรดิตถ์ ได้จัดให้มีโครงการสวัสดิการการเงินครู ลูกจ้างประจำ และลูกจ้างชั่วคราว เพื่อเป็นการส่งเสริมการออมทรัพย์และเป็นการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนทางการเงิน ซึ่งกันและกัน เป็นการสร้างขวัญและกำลังใจ ในการปฏิบัติหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ขั้นตอนการดำเนินการ
๑. ข้าราชการครู คนงานภารโรง พี่เลี้ยงเด็ก ลูกจ้างชั่วคราว สมัครเป็นสมาชิกสวัสดิการการเงิน
๒. สมาชิกต้องส่งเงินหุ้นเป็นรายเดือน ครบจำนวน ๑๐,๐๐๐ บาท
๓. สมาชิกทุกคนมีสิทธิในการกู้เงินสวัสดิการกำหนดจำนวนเงินดังนี้
ข้าราชการครูกู้ได้คนละ ๓๐,๐๐๐ บาท
ลูกจ้างประจำ ๑๕,๐๐๐ บาท
ลูกจ้างชั่วคราว ๑๐,๐๐๐ บาท
๔. สมาชิกที่กู้ยืมเงินต้องเขียนคำขอกู้เงินสวัสดิการและสัญญาค้ำประกัน ๑ คน ตามแบบที่กำหนด
๕. จำนวนระยะเวลาที่จะต้องส่งเงินต้นคืนไม่เกิน ๒๐ งวด ของจำนวนเงินกู้พร้อมดอกเบี้ย
๖. การส่งเงินกู้จะต้องส่งไม่เกินวันที่ ๓ ของทุกเดือน
๗. ดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ ๙ บาท /ปี ปันผลร้อยละ ๔.๕/ ปี เงินรางวัลคณะกรรมการร้อยละ ๑๐ ของกำไรสุทธิ ดอกเบี้ยที่เหลือจากการจ่ายปันผลสะสม เป็นเงินกองทุนสวัสดิการของโรงเรียน
๘. สรุปผลดำเนินการจัดทำปีละ ๑ ครั้ง ม .ค. – ธ.ค. ของทุกปี
๙. จัดทำบัญชีมีรายละเอียดดังนี้
- จำนวนสมาชิก
- ค่าธรรมเนียมสมาชิกแรกเข้า
- การรับ – จ่ายเงินค่าหุ้น การชำระหนี้รายเดือน
- จัดทำบัญชีหุ้นสมาชิก
๑๐.การจ่ายปันผลให้สมาชิก กำหนดไม่เกินวันที่ ๓๑ มีนาคม ของทุกปี
๑๑.เดือนเมษายน – พฤษภาคม คณะกรรมการชุดเดิมต้องส่งมอบงานให้ คณะกรรมการชุดใหม่
๑๒.คณะกรรมการที่จัดทำโครงการ
- คัดเลือกคณะกรรมการในสายชั้น สายชั้นละ ๑ คน รวมทั้งคณะกรรมการ ที่เป็นคนงานหญิง ๑ คน คณะกรรมการ คนงานชาย ๑ คน
- คณะกรรมการประจำสายชั้นเลือกประธานกรรมการ รองประธานคณะกรรมการ
เลขาคณะกรรมการ อย่างละ ๑ คน ที่เหลือร่วมเป็นคณะกรรมการดำเนินงาน
- ระยะเวลาการปฏิบัติงาน ๑ ปีการศึกษา
๑๓.ประธานกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการมีหน้าที่
- จัดทำสรุปการรับ – จ่ายเงินสวัสดิการของสมาชิกทุกคน
- ประชุมคณะกรรมการขอความเห็นชอบอนุมัติเงินกู้แก่สมาชิกที่ขอกู้เงิน ประมาณวันที่ ๒๖ ของทุกเดือน
- สรุปรายงานผลประจำเดือน
- รับเงินสมาชิกและเงินกู้ส่งคืนจากคณะกรรมการประจำสายชั้น
- จ่ายเงินกู้ให้แก่สมาชิกที่กู้เงิน ภายในวันที่ ๕ ของทุกเดือน
- บันทึกการประชุม
๑๔. คณะกรรมการมีหน้าที่
- จัดทำบัญชีลูกนี้รายต่อของสมาชิกสายชั้น
- รับเงินจากสมาชิกที่ส่งค่าหุ้นและจ่ายคืนเงินกู้ภายในสายชั้น และจัดส่งประธานกรรมการภายในวันที่ ๓ ของทุกเดือน
๑๕. เงินกองทุนสวัสดิการ นำไปใช้ในกิจกรรมของโรงเรียน
- งานมุทิตาจิต
- กิจกรรมของโรงเรียนที่ขอความร่วมมือ
- ค่าวัสดุดำเนินการ
๓.๒ งานสร้างขวัญและกำลังใจ
งานสร้างขวัญและกำลังใจ เป็นงานสวัสดิการที่จัดขึ้นเพื่อ เป็นการสร้างขวัญและกำลังใจ ให้กับบุคลากรทุกคนในโรงเรียน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยดูแลช่วยเหลือบุคลากรทุกคน
วิธีการดำเนินงาน
๓.๓.๑ เยี่ยมบุคลากรในกรณีเจ็บป่วยทุกราย โดยเจ็บป่วยตั้งแต่ ๓ วันขึ้นไปหรือ เข้าโรงพยาบาล
๓.๓.๒ เยี่ยมบุคลากรที่คลอดบุตรทุกราย
๓.๓.๓ แสดงความยินดีครูต้อนรับที่ย้ายเข้ามาใหม่ทุกราย
๓.๓.๔ แสดงความยินดีครูที่จบการศึกษาในระดับสูงขึ้นทุกราย
๓.๓.๕ แสดงความยินดีครูที่ได้รับการเลื่อนวิทยฐานะสูงขึ้นให้ทุกราย
๓.๓.๖ แสดงความเสียใจ ร่วมเป็นเจ้าภาพงานศพของ บิดา มารดา บุตร และตนเองทุกราย
๓.๓.๗ สรุปการดำเนินการ
๓.๓ งานประกันชีวิตบุคลากร
งานประกันชีวิตบุคลากร ได้จัดให้มีสวัสดิการ ในการประกันชีวิตหมู่ให้บุคลากร ทุกคน โดยมีขั้นตอนดำเนินงานดังนี้
๓.๔.๑ ศึกษาหาข้อมูลของบริษัท
๓.๔.๒ เลือกบริษัทที่จะทำประกันชีวิต
๓.๔.๓ ดำเนินการ ประกันชีวิตให้กับบุคลากรทุกคน
๓.๔.๔ ทำการต่อกรมธรรม์ เป็นประจำทุกปี
๓.๔ งานประกันสังคมลูกจ้างชั่วคราว
โรงเรียนอนุบาลอุตรดิตถ์ ได้ดำเนินการจัดสวัสดิการให้กับลูกจ้างชั่วคราว โดยขึ้นทะเบียนเป็นสถานประกอบการ และขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน ให้กับลูกจ้างชั่วคราวทุกคน เพื่อให้ได้รับสวัสดิการต่างๆ ตามที่กฎหมายกำหนด โดยมีขั้นตอนการดำเนินการดังนี้
๓.๕.๑ ขึ้นทะเบียนเป็นสถานประกอบการ
๓.๕.๒ ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนให้กับลูกจ้างชั่วคราวทุกคน
๓.๕.๓ นำส่งเงินประกันทุกเดือน
๓.๕.๔ สรุปผลการดำเนินงานทุกปี
๓.๕ งานมุฑิตาจิต
โรงเรียนอนุบาลอุตรดิตถ์ มีบุคลากรเป็นจำนวนมาก ดังนั้นในทุกปี จะมีผู้เกษียณราชการ ทั้งผู้บริหาร ข้าราชการครู ลูกจ้างประจำ และลูกจ้างชั่วคราว ดังนั้นเพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจ จึงได้จัดให้มีงานมุทิตาจิตทุกปีที่มีผู้เกษียณอายุราชการ หรือผู้เข้าโครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนด โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้
๓.๖.๑ สำรวจผู้เกษียณราชการหรือผู้เข้าโครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนด
๓.๖.๒ เสนอกิจกรรมเพื่อดำเนินการ
๓.๖.๓ กำหนดรูปแบบของงาน
๓.๖.๔ แต่งตั้งคณะกรรมการ
๓.๖.๕ ดำเนินการ
๓.๖.๖ สรุปผลและประเมินผลการดำเนินงาน
๓.๖ งานตรวจสุขภาพประจำปี
โรงเรียนอนุบาลอุตรดิตถ์ เห็นความสำคัญของการตรวจสุขภาพประจำปีให้กับคณะครู จึงได้กำหนดให้มีการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นการบริการ และอำนวยความสะดวกให้กับ คณะครูซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินการดังนี้
๓.๗.๑ สำรวจผู้ที่ต้องการตรวจสุขภาพประจำปี
๓.๗.๒ กำหนดวันและสถานที่เข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี
๓.๗.๔ ติดต่อประสานงานกับโรงพยาบาลอุตรดิตถ์
๓.๗.๕ เข้ารับการตรวจสุขภาพตามวันเวลาที่กำหนด
๓.๗.๖ รับรายงานการตรวจสุขภาพประจำปี
๓.๗ งานส่งเสริมสุขภาพบุคลากร
โรงเรียนอนุบาลอุตรดิตถ์ ได้จัดให้มีกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพบุคลากรอย่างหลากหลาย เช่น การอบรมการฝึกโยคะ การเต้นแอโรบิก และอื่นๆ โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้
๓.๘.๑ แต่งตั้งคณะทำงาน
๓.๘.๒ กำหนดวิธีการรูปแบบและกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพบุคลากร
๓.๘.๓ ดำเนินการตามขั้นตอน
๓.๘.๔ สรุปผลและประเมินผลการดำเนินงาน
กลุ่มบริหารงานธำรงรักษาบุคลากร
กลุ่มบริหารงานธำรงรักษาบุคลากร
ขอบข่ายการทำงาน
รองผู้อำนวยการฝ่ายบุคคล
คณะกรรมการครูกลุ่มบริหารงานธำรงรักษาบุคลากร
- งานเลื่อนขั้นเงินเดือนครูและลูกจ้างประจำ
- การดำเนินการทางวินัยและการลงโทษ
- งานเกษียณอายุและลาออกจากราชการ
- การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
หัวหน้ากลุ่มบริหารงานธำรงรักษาบุคลากร
๔. กลุ่มบริหารงานธำรงรักษาบุคลากร
๔.๑ งานเลื่อนขั้นเงินเดือนของข้าราชการครูและลูกจ้างประจำ
วิธีดำเนินการในการเลื่อนขั้นเงินเดือนของข้าราชการครู และลูกจ้างประจำโรงเรียนอนุบาลอุตรดิตถ์
๑. ประกาศเกณฑ์การประเมิน และแนวปฏิบัติในพิจารณาความดี ความชอบ ให้แก่ข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาทราบ
การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน
ครั้งที่ ๑ ผลการปฏิบัติงาน ตั้งแต่วันที่ ๑ ต.ค. ถึง ๓๑ มีนาคม
ครั้งที่ ๒ ผลการปฏิบัติงาน ตั้งแต่วันที่ ๑ เม.ย. ถึง ๓๐ กันยายน
๒. ตรวจสอบรายละเอียด ชื่อ – ชื่อสกุล ตำแหน่ง วิทยฐานะ อัตราเงินเดือนของข้าราชการครูที่ครองอัตราอยู่จริง
๓. ตรวจสอบจำนวน และคำนวณผู้ได้เลื่อนขั้น ๑ ขั้น ไม่เกินร้อยละ ๑๕ จากจำนวนข้าราชการที่มีอยู่จริง
๔. ตรวจสอบข้าราชการในสังกัด ที่ไปช่วยราชการที่อื่น และข้าราชการต่างสังกัด ที่มาช่วยราชการ มีจำนวนครบถ้วนถูกต้อง
๕. แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
๖. รวบรวมจัดทำบัญชีรายละเอียดการได้รับเลื่อนขั้นเงินเดือน และค่าตอบแทนพิเศษ
๗. เสนอผลการพิจารณาให้ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาเพื่อให้ความเห็นชอบ
๘. แจ้งคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือน ให้กับข้าราชการทราบ
๙. บันทึกการเลื่อนขั้นเงินเดือนลงสมุดประวัติ
๔.๒ การดำเนินการทางวินัยและการลงโทษ
วินัยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา หมายถึง ข้อบัญญัติที่กำหนดเป็น ข้อห้ามและข้อปฏิบัติ ตามหมวด ๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๘๒ – ๙๗
ความผิดทางวินัย มี ๕ สถาน
ก. วินัยไม่ร้ายแรง ๑. ภาคทัณฑ์
๒. ตัดเงินเดือน
๓. ลดขั้นเงินเดือน
ข. วินัยร้ายแรง ๔. ปลดออก
๕. ไล่ออก
การดำเนินการทางวินัย
การดำเนินการทางวินัย หมายถึง กระบวนการและขั้นตอนการดำเนินการในการออกคำสั่งลงโทษ ตามลำดับ ดังนี้
๑. การตั้งเรื่องกล่าวหา
๒. การสืบสวน สอบสวน
๓. การพิจารณาความผิด
๔. การกำหนดโทษ
๕. การสั่งลงโทษ
การสืบสวนเป็นการดำเนินการทางวินัย กรณีที่เป็นความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง
หลักการดำเนินการทางวินัยเบื้องต้น
๑. กรณีที่ผู้บังคับบัญชาพบว่าผู้ใต้บังคับบัญชากระทำผิดวินัยโดยมีพยานหลักฐานในเบื้องต้นอยู่แล้ว
๒. กรณีที่มีการร้องเรียนด้วยวาจา
๓. กรณีที่มีการร้องเรียนเป็นหนังสือ
ขั้นตอนการดำเนินการทางวินัย
๑. การตั้งเรื่องกล่าวหา
๒. การแจ้งข้อกล่าวหา
๓. การสอบสวน รวบรวมพยานหลักฐาน
ลำดับขั้นตอนการสอบสวน
๑) คณะกรรมการรับทราบคำสั่ง
๒) ประชุมคณะกรรมการเพื่อวางแนวทางการสอบสวน
๓) แจ้งและอธิบาย ข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ
๔) รวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับข้อกล่าวหา
๕) แจ้งข้อกล่าวหาที่ปรากฏตามพยานหลักฐานให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ
๖) สอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐานฝ่ายผู้ถูกกล่าวหา
๗) ประชุมพิจารณาพยานหลักฐานทั้งหมดเพื่อลงมติ
๘) ทำบันทึกรายงานการสอบสวน
๙) เสนอสำเนาการสอบสวนต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
การลงโทษ
การลงโทษ เป็นมาตรการในการรักษาวินัย เพื่อป้องปรามมิให้มีการกระทำความผิดวินัย และเพื่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการไทยมีจุดมุ่งหมาย ดังนี้
๑. เพื่อรักษาความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายหรือระเบียบแบบแผน
๒. เพื่อรักษามาตรฐานความประพฤติ ขวัญ กำลังใจและประสิทธิภาพของข้าราชการ เสริมสร้างและพัฒนาให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชามีวินัย
๓. เพื่อจูงใจให้ข้าราชการปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้น
๔. เพื่อรักษาชื่อเสียง ของทางราชการและความเชื่อมั่นของประชาชนต่อทางราชการ
การอุทธรณ์
การอุทธรณ์ หมายถึง การที่ผู้ถูกกระทบสิทธิจากคำสั่งของฝ่ายปกครองใช้สิทธิโต้แย้งขอให้เพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขคำสั่ง
การอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัย มีหลักเกณฑ์และวิธีการดังนี้
๑. เงื่อนไขในการอุทธรณ์ ต้องอุทธรณ์เพื่อตนเองเท่านั้น
๒. อุทธรณ์ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง , คำสั่งลงโทษ
๓. ทำเป็นหนังสือ ถึงประธาน ก.ค.ศ. หรือ ประธาน อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา
การร้องทุกข์
การร้องทุกข์ หมายถึง ผู้ถูกกระทบสิทธิหรือไม่ได้รับความเป็นธรรม ใช้สิทธิ์ร้องทุกข์ต่อ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา ภายใน ๓๐ วัน
วิธีการร้องทุกข์
๑. ผู้มีสิทธิ์ร้องทุกข์ ได้แก่ ครู และบุคลากรทางการศึกษา
๒. เหตุที่จะร้องทุกข์
- ถูกสั่งให้ออกจากราชการ
- การสั่งพักราชการ
- ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน
- ไม่ได้รับความเป็นธรรม
- ถูกต้องกรรมการสอบสวน
๓. วิธีการร้องทุกข์ ร้องทุกข์สำหรับตนเองเท่านั้น ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อพร้อมที่อยู่ ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ทราบ
๔.๓ งานเกษียณอายุและลาออกจากราชการ
เมื่อข้าราชการครูบุคลากรทางการศึกษาลูกจ้างประจำครบกำหนดเกษียณอายุราชการ โรงเรียนดำเนินการ
๑. สำรวจข้อมูลการเกษียณอายุราชการ
๒. รายงานข้อมูลการเกษียณอายุราชการ
๓. ผู้เกษียณอายุราชการเตรียมเอกสารหลักฐานขอเกษียณอายุราชการ
๔.๔ การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
ตระกูลเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่พระราชทานในราชการ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบแก่ข้าราชการพลเรือนข้าราชการครู ฯลฯ รวมทั้งพระราชทานแก่ผู้กระทำความดีความชอบอันเป็นประโยชน์แก่ประเทศ ศาสนา และประชาชน ในที่นี้จะกล่าวถึง ๓ ตระกูลดังนี้
๑. เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ( ตระกูลช้างเผือก ) มีชื่อเรียกว่า “เครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้างเผือก” มีอักษรย่อตามชั้นตรา แยกเป็นตรา ๖ ชั้น เหรียญ ๒ ชั้น คือ
ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
ชั้นที่ ๑ ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
ชั้นที่ ๒ ทวิติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)
ชั้นที่ ๓ ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)
ชั้นที่ ๔ จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.)
ชั้นที่ ๕ เบญจมาภรณ์ช้างเผือก (บ.ช.)
ชั้นที่ ๖ เหรียญทองช้างเผือก (ร.ท.ช.)
ชั้นที่ ๗ เหรียญเงินช้างเผือก (ร.ง.ช.)
๒. เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศมงกุฎไทย (ตระกูลมงกุฎ) มีชื่อเรียกว่า “เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยิ่งมงกุฎไทย” มีอักษรย่อตามชั้นตรา ๘ ชั้นตรา แยกเป็นตรา ๖ ชั้น เหรียญ ๒ ชั้น คือ
ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
ชั้นที่ ๑ ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)
ชั้นที่ ๒ ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)
ชั้นที่ ๓ ตติยาภรณ์มงกุฎ (ต.ม.)
ชั้นที่ ๔ จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย (จ.ม.)
ชั้นที่ ๕ เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.)
ชั้นที่ ๖ เหรียญทองมงกุฎไทย (ร.ท.ม.)
ชั้นที่ ๗ เหรียญเงินมงกุฎไทย (ร.ง.ม.)
๓. เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ( ตระกูลดิเรก) มีอักษรย่อตามลำดับชั้นตรา ดังนี้
๑) ปฐมดิเรกคุณาภรณ์ (ป.ภ.)
๒) ทุติยดิเรกคุณาภรณ์ (ท.ภ.)
๓) ตติยดิเรกคุณาภรณ์ (ต.ภ.)
๔) จัตุรถาดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)
๕) เบญจมดิเรกคุณาภรณ์ (บ.ภ.)
๖) เหรียญทองดิเรกคุณาภรณ์ (ร.ท.ภ.)
๗) เหรียญเงินดิเรกคุณาภรณ์ (ร.ง.ภ.)
ข้าราชการ สามารถดำเนินการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ มีรายละเอียดดังนี้
คุณสมบัติของผู้เสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
ต้องมีระยะเวลารับราชการติดต่อกันมาไม่น้อยกว่า ๕ ปีบริบูรณ์ นับตั้งแต่วันเริ่มเป็นข้าราชการ ถึงวันก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ของปีที่จะเสนอขอพระราชทานไม่น้อยกว่า ๖๐ วัน ( บรรจุรับข้าราชการภายใน ๖ ตุลาคม ของปีที่เสนอขอ )
- ถ้าเป็นกรณีการนับเวลาการดำรงตำแหน่งในระดับ ๓ หรือ ๕ หรือ ๗ ครบ ๕ ปีบริบูรณ์ ข้าราชการดังกล่าวจะต้องเลื่อนระดับ ภายในวันที่ ๖ ตุลาคม ของปีที่พระราชทาน
- เป็นผู้ประพฤติดี และปฏิบัติงานราชการ หรืองานที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน ด้วยความอุตสาหะ ซื่อสัตย์ และเอาใจใส่ต่อหน้าที่อย่างดียิ่ง
- เป็นผู้ไม่เคยมีพระบรมราชานุญาตให้เรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หรือต้องรับโทษจำคุก เว้นแต่โทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
หลักเกณฑ์การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต้องไม่ขอพระราชทานปีติดกัน เว้นแต่ขอพระราชทานตามข้อ ๑๑ (๑) (๒) และ(๓) ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันมีเกียรติยิ่งมงกุฎไทย พ.ศ. ๒๕๓๖
กรณีผู้เสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ถูกลงโทษทางวินัยในปีใด ให้เพิ่มกำหนดระยะเวลาการขอพระราชทานอีก ๑ ปี ยกเว้นโทษ ภาคทัณฑ์
สำหรับชั้นตราที่เสนอขอพระราชทาน ให้เป็นไปตามบัญชี ๗ แห่งระเบียบ สำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขอพระราชเครื่องราชฯ พ.ศ. ๒๕๓๖ ยกเว้นที่ปรากฏในบัญชีอื่น ดังตารางต่อไปนี้
หลักเกณฑ์การขอพระราชทาน
ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย
ชั้นตรา
ตำแหน่ง
ระดับ
เงื่อนไขระยะเวลาการขอ
หมายเหตุ
ร.ง.ม.
ร.ท.ช.
๑
๑
* ขอพระราชทานได้เฉพาะกรณีพิเศษเท่านั้น
๑) ระยะเวลารับราชการติดต่อกันมาแล้ว หรือระยะเวลาการ
ดำรงตำแหน่งในระดับนั้น
มาน้อยกว่า ๕ ปีบริบูรณ์
ให้นับตั้งแต่ วันเริ่มเข้ารับราชการ หรือวันดำรงตำแหน่ง ในระดับนั้นจนถึงวัน ก่อนวันพระราชพิธี
เฉลิมพระชนมพรรษา ของปีที่
จะขอพระราชทาน ไม่น้อยกว่า
๖๐ วัน
๒) เสนอขอปีต่อกันมิได้
เว้นแต่เป็นกรณีตามข้อ ๑๑ (๑-๓) ของระเบียบ
บ.ม.
บ.ช.
๒
๒
* เริ่มขอพระราชทาน บ.ม.
* ดำรงตำแหน่งระดับ ๒ มาแล้ว ๕ ปีบริบูรณ์
จ.ม.
จช.
๓ หรือ ๔
๓ หรือ ๔
* เลื่อนระดับ ๓ ในปีขอพระราชทาน
* ดำรงตำแหน่งระดับ ๓ หรือ ๔ หรือ รวมกัน มาแล้วไม่น้อยกว่า ๕ ปีบริบูรณ์
ต.ม
ต.ช.
๕ หรือ ๖
๕ หรือ ๖
* เลื่อนระดับ ๕ ในปีขอพระราชทาน
* ดำรงตำแหน่งระดับ ๕ หรือ ๖ หรือ รวมกันมาแล้วไม่น้อยกว่า ๕ ปีบริบูรณ์
ท.ม.
ท.ช.
๗ หรือ ๘
๗ หรือ๘
* เลื่อนระดับ ๗ ในปีขอพระราชทาน
* ดำรงตำแหน่งระดับ ๗ หรือ ๘ หรือ รวมกันมาแล้วไม่น้อยกว่า ๕ ปีบริบูรณ์