ปีการศึกษา 2568
ปัจจุบันวิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก จัดการเรียนการสอน 3 ระดับ ดังนี้
1. ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) รับผู้จบการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น(ม.3) หรือเทียบเท่า แบ่งเป็น 8 ประเภทวิชา คือ ประเภทบริหารธุรกิจ ประเภทวิชาคหกรรม ประเภทวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ประเภทวิชาอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ ประเภทวิชาอุตสาหกรรมอาหาร ประเภทวิชาศิลปกรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ประเภทวิชาอุตสาหกรรมแฟชั่นและสิ่งทอ และประเภทวิชาอุตสาหกรรมดิจิทัลและเทคโนโลยีสารสนเทศ
2. ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) รับผู้จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) หรือมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า แบ่งเป็น 9 ประเภทวิชา คือ ประเภทบริหารธุรกิจ ประเภทวิชาคหกรรม ประเภทวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ประเภทวิชาอุตสาหกรรมสุขภาพและความงาม ประเภทวิชาอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ ประเภทวิชาอุตสาหกรรมอาหาร ประเภทวิชาศิลปกรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ประเภทวิชาอุตสาหกรรมแฟชั่นและสิ่งทอ และประเภทวิชาอุตสาหกรรมดิจิทัลและเทคโนโลยีสารสนเทศ
3. ระดับปริญญาตรีเทคโนโลยีบัณฑิต(สายปฏิบัติการ) รับผู้จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) (ต่อเนื่อง) แบ่งเป็น 3 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิชาดิจิทัลกราฟิก และสาขาวิชาการบัญชี
ประเภทวิชาที่เปิดสอนในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) ได้แก่
1. ประเภทบริหารธุรกิจ
กลุ่มอาชีพการเงินและบัญชี
- สาขาวิชาการบัญชี
กลุ่มอาชีพการตลาด
- สาขาวิชาการตลาด
- สาขาวิชาธุรกิจค้าปลีก
กลุ่มอาชีพการจัดการ
- สาขาวิชาการจัดการสำนักงานดิจิทัล
2. ประเภทวิชาคหกรรม
กลุ่มอาชีพการประดิษฐ์
- สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์
3. ประเภทวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
กลุ่มอาชีพการโรงแรม
- สาขาวิชาการโรงแรม
4. ประเภทวิชาอุตสาหกรรมโลจิสติกส์
กลุ่มอาชีพโลจิสติกส์
- สาขาวิชาโลจิสติกส์
5. ประเภทวิชาอุตสาหกรรมอาหาร
กลุ่มอาชีพการประกอบและบริการอาหาร
- สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ
6. ประเภทวิชาศิลปกรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์
กลุ่มอาชีพศิลปะและการออกแบบ
- สาขาวิชาดิจิทัลกราฟิก
7. ประเภทวิชาอุตสาหกรรมแฟชั่นและสิ่งทอ
กลุ่มอาชีพแฟชั่น
- สาขาวิชาแฟชั่นและสิ่งทอ
8. ประเภทวิชาอุตสาหกรรมดิจิทัลและเทคโนโลยีสารสนเทศ
กลุ่มอาชีพซอฟต์แวร์และการประยุกต์
- สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
กลุ่มอาชีพธุรกิจดิจิทัลและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
- สาขาวิชาเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล
ประเภทวิชาที่เปิดสอนในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) ได้แก่
1. ประเภทบริหารธุรกิจ
กลุ่มอาชีพการเงินและบัญชี
- สาขาวิชาการบัญชี
กลุ่มอาชีพการตลาด
- สาขาวิชาการตลาด
- สาขาวิชาธุรกิจค้าปลีก
กลุ่มอาชีพการจัดการ
- สาขาวิชาการจัดการสำนักงานดิจิทัล
2. ประเภทวิชาคหกรรม
กลุ่มอาชีพการประดิษฐ์
- สาขาวิชาการบริหารงานคหกรรมศาสตร์
3. ประเภทวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
กลุ่มอาชีพการโรงแรม
- สาขาวิชาการโรงแรม
4. ประเภทวิชาอุตสาหกรรมสุขภาพและความงาม
กลุ่มอาชีพบริการและเสริมสร้างสุขภาพ
- สาขาวิชาการจัดการดูแลผู้สูงอายุ
5. ประเภทวิชาอุตสาหกรรมโลจิสติกส์
กลุ่มอาชีพโลจิสติกส์
- สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน
6. ประเภทวิชาอุตสาหกรรมอาหาร
กลุ่มอาชีพการประกอบและบริการอาหาร
- สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ
7. ประเภทวิชาศิลปกรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์
กลุ่มอาชีพศิลปะและการออกแบบ
- สาขาวิชาดิจิทัลกราฟิก
8. ประเภทวิชาอุตสาหกรรมแฟชั่นและสิ่งทอ
กลุ่มอาชีพสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
- สาขาวิชาเทคโนโลยีแฟชั่นและเครื่องแต่งกาย
9. ประเภทวิชาอุตสาหกรรมดิจิทัลและเทคโนโลยีสารสนเทศ
กลุ่มอาชีพซอฟต์แวร์และการประยุกต์
- สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
กลุ่มอาชีพธุรกิจดิจิทัลและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
- สาขาวิชาเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล
สาขาวิชาที่เปิดสอนในระดับปริญญาตรีเทคโนโลยีบัณฑิต(สายปฏิบัติการ) ได้แก่
- สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
- สาขาวิชาดิจิทัลกราฟิก
- สาขาวิชาการบัญชี