วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก เดิมชื่อ “โรงเรียนช่างเย็บเสื้อผ้า″ จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2481 ณ บริเวณโรงเรียนจ่าการบุญ ต่อมาย้ายมาตั้ง ณ ที่อยู่ปัจจุบันเลขที่ 60 ถนนวังจันทน์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลกโดยมีเนื้อที่ 18 ไร่ 2 งาน 20 ตารางวา และเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนเย็บเสื้อผ้าและการช่างสตรีจังหวัดพิษณุโลก ในปี พ.ศ. 2518 ได้เปลี่ยนเป็น โรงเรียนอาชีวศึกษาพิษณุโลก และ พ.ศ. 2519 ยกฐานะเป็นวิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก
พ.ศ 2518 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนอาชีวศึกษาพิษณุโลก
พ.ศ 2519 กระทรวงศึกษาธิการ มีคำสั่งให้รวม โรงเรียนอาชีวศึกษาพิษณุโลก
โรงเรียนการช่างพิษณุโลกและวิทยาลัยเทคนิคพิษณุโลกเข้าด้วยกัน
และยกฐานะเป็นวิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลกมี 3 วิทยาเขต
วิทยาลัยเทคนิคพิษณุโลก เป็น วิทยาเขต 1
โรงเรียนการช่างพิษณุโลก เป็น วิทยาเขต 2
โรงเรียนอาชีวศึกษาพิษณุโลก เป็น วิทยาเขต 3
พ.ศ 2520 เปิดทำการสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิชา พณิชยการ ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารปฏิบัติการวิชาชีพคหกรรมทั่วไป เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น งบประมาณ 1,000,000 บาท
พ.ศ 2521 กระทรวงศึกษาธิการ มีคำสั่งให้แยกวิทยาเขต 2 เป็นวิทยาลัยเทคนิคพิษณุโลก
พ.ศ 2522 เปิดทำการสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) มี 2 แผนกวิชา คือ
แผนกวิชาผ้าและเครื่องแต่งกาย
แผนกวิชาอาหารและโภชนาการ
พ.ศ 2523 กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศแยกวิทยาเขต ในวิทยาลัยต่าง ๆ และจัดตั้งวิทยาลัยใหม่ และเปลี่ยนชื่อวิทยาลัยใหม่ คือ
วิทยาเขต 1 จัดตั้งเป็นวิทยาลัยพิษณุโลก
วิทยาเขต 3 จัดตั้งเป็นวิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก
พ.ศ 2524 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน เป็นอาคารคอนกรีต เสริมเหล็ก 3 ชั้น กว้าง 10 เมตร ยาว 63 เมตร 1 หลัง งบประมาณ 5,000,000 บาท
พ.ศ 2525 เปิดทำการสอนหลักสูตร ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) 2 แผนกวิชาคือ แผนกวิชาการบัญชี และ แผนกวิชาการเลขานุการ
พ.ศ 2527 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนและปฏิบัติการ 3 ชั้น รูปตัวยู งบประมาณ 4,900,000 บาท
พ.ศ 2528 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนและปฏิบัติการ 3 ชั้น กว้าง 9 เมตร ยาว 63 เมตร งบประมาณ 4,384,000 บาท
พ.ศ 2531 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนและปฏิบัติการ 1 หลัง งบประมาณ 4,155,000 บาท
พ.ศ 2534 เปิดทำการสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) แผนกวิชาการตลาด
พ.ศ 2537 เปิดทำการสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
พ.ศ 2538 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารผลิตผล พื้นที่ใช้สอย 576 ตารางเมตร งบประมาณ 3,456,000 บาท
พ.ศ 2539 ได้รับงบประมาณก่อสร้างโรงอาหาร หอประชุม งบประมาณ 17,080,000 บาท
พ.ศ 2540 เปิดทำการสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สำหรับผู้จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม.6) หรือต่างสาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาการตลาด สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
พ.ศ 2542 เปิดทำการสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาการเงินการธนาคาร
พ.ศ 2546 เปิดทำการสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
พ.ศ 2549 เปิดทำการสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก และ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ(เน้นการเขียนโปรแกรม)
พ.ศ 2553 เปิดทำการสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก
พ.ศ 2556 เปิดทำการสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)วิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและการโรงแรม สาขางานบริการอาหารและเครื่องดื่ม
พ.ศ 2557 เปิดทำการสอนหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยสารสนเทศ(ต่อเนื่อง)
พ.ศ.2559 เปิดทำการสอนหลักสูตรทวิศึกษา
พ.ศ.2560 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) พุทธศักราช 2556 (ทวิศึกษา) สาขาวิชา อาหารและโภชนาการ กับ โรงเรียนประชาสงเคราะห์วิทยา
พ.ศ.2561 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารปฏิบัติการและหอพักพร้อมครุภัณฑ์และลิฟท์ ปีงบประมาณ 2562
พ.ศ.2562 เปิดทำการสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.)สาขางานการโรงแรม และทำการสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.)สาขาการดูแลผู้สูงอายุ
พ.ศ.2563 เปิดทำการสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.)ดังนี้
- สาขาวิชาการบัญชี
- สาขาวิชาการตลาด
- สาขาวิชาการเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล
- สาขาวิชาการการจัดการธุรกิจค้าปลีก
- สาชาวิชาการการจัดการสำนักงาน
- สาขาวิชาดิจิทัลกราฟิก
- สาขาวิชาเทคโนโลยีแฟชั่นและเครื่องแต่งกาย
- สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ
- สาขาวิชาการบริหารงานคหกรรม
- สาขาวิชาการจัดการดูแลผู้สูงอายุ
- สาขาวิชาการโรงแรม
- สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
พ.ศ.2564 เปิดทำการสอนหลักสูตร
- สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน