กลุ่มกฎหมายและคดี

สพป.พิจิตร เขต 2



หน้าที่ความรับผิดชอบในการดำเนินการ

การดำเนินงานวินัย

1. ขอบเขตงาน

ครอบคลุมตั้งแต่การส่งเสริมวินัยให้แก่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตลอดจนรับเรื่องร้องเรียน สืบสวนข้อเท็จจริง แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างไม่ร้ายแรง การรายงานการดำเนินการทางวินัย รวมถึงการสั่งพักราชการและการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนใน การดำเนินการ จะกล่าวถึงเฉพาะในส่วนของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติมเท่านั้น ไม่ได้หมายความรวมไปถึงการดำเนินงานวินัยของพนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ และลูกจ้างชั่วคราวที่ใช้ระเบียบกฎหมายที่แยกจากกัน

2. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

2.1 การส่งเสริมวินัยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

2.1.1 ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย สาเหตุการกระทำผิดวินัย การเสริมสร้างวินัย จริยธรรมให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีวินัยและจริยธรรม

2.1.2 ให้คำปรึกษา แนะนำ เสริมสร้างและพัฒนาวินัยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

2.1.3 ส่งเสริมให้สถานศึกษามีการเสริมสร้างและพัฒนาวินัยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

2.1.4 จัดทำและสนับสนุนการจัดทำเอกสาร คู่มือ สื่อ เกี่ยวกับการรักษาวินัยและการป้องกันการกระทำผิดวินัยของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

กฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้อง

พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2551 และฉบับที่ 3 พ.ศ. 2553

2.2 การดำเนินการทางวินัยไม่ร้ายแรง

2.2.1 เสนอแต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงหรือมอบหมายบุคคลหรือให้ชี้แจงเมื่อมีการร้องเรียน หรือปรากฏเป็นข่าวในสื่อมวลชน หรือได้รับรายงานจากหน่วยอื่น หรือผู้บังคับบัญชาพบเห็นการกระทำผิด

2.2.2 ตรวจสำนวนการสืบสวนข้อเท็จจริง ถ้ากรณีไม่มีมูลก็เสนอผู้บังคับบัญชายุติเรื่องแต่ถ้ากรณีมีมูลเป็นความผิดวินัยไม่ร้ายแรง ก็เสนอผู้บังคับบัญชาแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยไม่ร้ายแรง

2.2.3 คณะกรรมการสอบสวนวินัยไม่ร้ายแรง ดำเนินการสอบสวนตามกฎ ก.ค.ศ.ว่าด้วยการสอบสวนพิจารณา พ.ศ. 2550

2.2.4 เสนอรายงานการสอบสวนตามแบบ สว.6 พร้อมสำนวนการสอบสวนให้ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนพิจารณา ถ้าไม่ผิดวินัยให้ยุติเรื่อง ถ้าผิดวินัยให้ออกคำสั่งลงโทษทางวินัยตามระเบียบ ก.ค.ศ.ว่าด้วยวิธีการออกคำสั่งเกี่ยวกับการลงโทษวินัยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2548 ประกอบกับ กฎ ก.ค.ศ.ว่าด้วยอำนาจการลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดเงินเดือน พ.ศ. 2561

2.2.5 รายงานการดำเนินการทางวินัย ตามมาตรา 104 (1) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่ม เติม ดังนี้

2.2.5.1 กรณีผู้อำนวยการสถานศึกษา ดำเนินการทางวินัยแล้วให้ตรวจเสนอรายงานผู้อำนวยการสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อพิจารณา เมื่อผู้อำนวยการสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาได้รับรายงานแล้วเห็นว่าการยุติเรื่อง การงดโทษ หรือการสั่งลงโทษไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม ก็มีอำนาจสั่งงดโทษลดโทษ เพิ่มโทษ เปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในคำสั่งเดิม หรือดำเนินการอย่างใดเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณาให้ได้ความจริงและความยุติธรรมได้ตามควรแก่กรณี และเมื่อผู้อานวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาได้พิจารณาตามอำนาจหน้าที่แล้ว ให้เสนอหรือรายงาน ก.ศ.จ. พิจารณา ถ้ามีมติเป็นประการให้ดำเนินการไปตามนั้น แล้วรายงานการดำเนินการทางวินัยพร้อมสำนวนการสอบสวนไปยังสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีความเห็นแย้งกับ มติ ก.ศ.จ. ก็ให้รายงานไปยัง ก.ค.ศ. เพื่อพิจารณาต่อไป ถ้าเห็นด้วยกับมติ ก.ศ.จ. ก็ถือว่าการรายงานการดำเนินการทางวินัยเป็นอันสิ้นสุด แต่ถ้า ก.ค.ศ. มีมติเปลี่ยนแปลงการลงโทษหรือมีความเห็นเป็นประการใดต้องดำเนินการให้เป็นไปตามมตินั้น

2.2.5.2 กรณีผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ดำเนินการทางวินัยแล้วให้รายงาน ก.ศ.จ. พิจารณา เมื่อมีมติเป็นประการใดให้ดำเนินการไปตามนั้น แล้วรายงานการดำเนินการทางวินัยพร้อมสำนวนการสอบสวนไปยังสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อพิจารณา หากมีความเห็นแย้งกับมติ ก.ศ.จ. ก็ให้รายงานไปยัง ก.ค.ศ. เพื่อพิจารณาต่อไป ถ้าเห็นด้วยกับมติ ก.ศ.จ. ก็ถือว่าการรายงานการดำเนินการทางวินัยเป็นอันสิ้นสุด ถ้า ก.ค.ศ. มีมติเปลี่ยนแปลงการลงโทษหรือมีความเห็นเป็นประการใด ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามมตินั้น

กฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้อง

1. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2551 และฉบับที่ 3 พ.ศ. 2553

2. กฎ ก.ค.ศ.ว่าด้วยกรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง พ.ศ. 2549

3. กฎ ก.ค.ศ.ว่าด้วยการสอบสวนพิจารณา พ.ศ. 2550

4. กฎ ก.ค.ศ.ว่าด้วยอำนาจการลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดเงินเดือน พ.ศ. 2561

5. ระเบียบ ก.ค.ศ.ว่าด้วยวิธีการออกคาสั่งเกี่ยวกับการลงโทษทางวินัยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2548

6. ระเบียบ ก.ค.ศ. ว่าด้วยวันออกจากราชการของข้าราชการครูและบุคลากรทางกากรศึกษา พ.ศ. 2548

7. ระเบียบ ก.ค.ศ.ว่าด้วยการรายงานเกี่ยวกับการดาเนินการทางวินัยและการออกจากราชการของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2561

8. คาสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 19/2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ

9. กฎหมาย กฎ ระเบียบ และหนังสือเวียนอื่นที่เกี่ยวข้อง

แบบฟอร์มที่ใช้

1. แบบ สว.1 (แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยไม่ร้ายแรง)

2. แบบ สว.2 (บันทึกการแจ้งและรับทราบข้อกล่าวหา ตามข้อ 23)

3. แบบ สว.3 (บันทึกการแจ้งและรับทราบข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหา ตามข้อ 24)

4. แบบ สว.4 (บันทึกถ้อยคำของผู้ถูกกล่าวหา)

5. แบบ สว.5 (บันทึกถ้อยคำพยานของฝ่ายกล่าวหา/ฝ่ายผู้ถูกกล่าวหา)

6. แบบ สว.6 (รายงานการสอบสวน)

7. แบบ คำสั่งลงโทษวินัยไม่ร้ายแรง กรณีที่ผู้บังคับบัญชาสั่งลงโทษโดยอาศัยอำนาจของตนเอง

8. แบบ คำสั่งลงโทษวินัยไม่ร้ายแรง กรณีที่ผู้บังคับบัญชาสั่งลงโทษตามมติ ก.ศ.จ. หรือ ที่ ก.ค.ศ.ตั้ง

9. แบบ คำสั่งลงโทษวินัยอย่างร้ายแรง กรณีที่ผู้บังคับบัญชาสั่งลงโทษวินัยอย่างร้ายแรงตามมติ ก.ศ.จ. และ ที่ ก.ค.ศ. ตั้ง

10. แบบฟอร์มอื่นที่เกี่ยวข้อง

2.3 การดำเนินการทางวินัยอย่างร้ายแรง

2.3.1 เสนอแต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงหรือมอบหมายบุคคลหรือให้ชี้แจง เมื่อมีการร้องเรียน หรือปรากฏเป็นข่าวในสื่อมวลชน หรือได้รับรายงานจากหน่วยอื่น หรือผู้บังคับบัญชาพบเห็นการกระทำผิด

2.3.2 ตรวจสำนวนการสืบสวนข้อเท็จจริง ถ้ากรณีไม่มีมูลเสนอผู้บังคับบัญชายุติเรื่อง แต่ถ้ากรณีมีมูลเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงเสนอผู้บังคับบัญชาแจ้งให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งตามมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง

กฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้อง

1. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2551 และฉบับที่ 3 พ.ศ. 2553

2. ระเบียบ ก.ค.ศ.ว่าด้วยการรายงานเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยและการออกจากราชการของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2561

3. คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 19/2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ

4. กฎหมาย กฎ ระเบียบ และหนังสือเวียนอื่นที่เกี่ยวข้อง

2.4 การสั่งพักราชการ

ในกรณีดังนี้ ผู้มีอำนาจตามมาตรา 53 จะออกคำสั่งพักราชการเพื่อรอฟังผลการสอบสวนก็ได้

2.4.1 เมื่อมีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง หรือถูกฟ้องคดีอาญา หรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญาในเรื่องเกี่ยวกับการทุจริตต่อหน้าที่ราชการ หรือเกี่ยวกับความประพฤติหรือพฤติการณ์อันไม่น่าไว้วางใจ และพนักงานอัยการไม่รับเป็นทนายแก้ต่างให้ และถ้าให้คงอยู่ในหน้าที่ราชการอาจเกิดความเสียหายแก่ราชการ

2.4.2 มีพฤติการณ์ที่แสดงว่าถ้าคงอยู่ในหน้าที่ราชการจะเป็นอุปสรรคต่อการสอบสวนพิจารณา หรือจะก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยขึ้น

2.4.3 อยู่ในระหว่างควบคุมหรือขังโดยเป็นผู้ถูกจับในคดีอาญา หรือต้องจำคุกโดยคำพิพากษา และได้ถูกควบคุม ขัง หรือต้องจำคุกเป็นเวลาติดต่อกันเกินสิบห้าวันแล้ว

2.4.4 ถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงและต่อมามีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นผู้กระทำความผิดอาญาในเรื่องที่สอบสวน หรือถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงภายหลังที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นผู้กระทำผิดอาญาในเรื่องนั้น และเห็นว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามคำพิพากษาถึงที่สุดได้ความประจักษ์ชัดอยู่แล้วว่าการกระทำความผิดอาญาของผู้นั้นเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง

กฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้อง

กฎ ก.ค.ศ.ว่าด้วยการสั่งพักราชการและการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน พ.ศ. 2555

แบบฟอร์มที่ใช้

1. แบบ พ.1 (ให้พักราชการ)

2. แบบ พ.3 (การสั่งกลับกรณีไม่มีความผิดวินัย)

3. แบบ พ.4 (การสั่งกลับกรณีมีความผิดวินัยไม่ร้ายแรง)

4. แบบ พ.5 (การสั่งกลับกรณีไม่เป็นผู้ถูกสั่งพักใช้/พ้นกำหนดเวลาถูกพักใช้)

2.5 การสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน

ในกรณีดังนี้ ผู้มีอำนาจตามมาตรา 53 จะสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนเพื่อรอฟังผลการสอบสวนก็ได้

2.5.1 มีเหตุที่อาจถูกสั่งพักราชการ และเห็นว่าการสอบสวนพิจารณา หรือการพิจารณาคดีที่เป็นเหตุที่อาจถูกสั่งพักราชการนั้นจะไม่แล้วเสร็จโดยเร็ว

2.5.2 มีเหตุที่อาจถูกสั่งพักราชการกรณีถูกพักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเป็นเวลาเกิน หนึ่งปี

2.5.3 เมื่อได้สั่งพักราชการไว้แล้ว หากเห็นว่าการสอบสวนพิจารณา หรือการพิจารณาคดีที่เป็นเหตุที่อาจถูกสั่งพักราชการนั้นจะไม่แล้วเสร็จโดยเร็ว หรือถูกสั่งพักราชการกรณีถูกพักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพแล้วเห็นว่าอาจถูกพักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเป็นเวลาเกินหนึ่งปี

กฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้อง

กฎ ก.ค.ศ.ว่าด้วยการสั่งพักราชการและการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน พ.ศ. 2555

แบบฟอร์มที่ใช้

1. แบบ พ.2 (ให้ออกจากราชการไว้ก่อน)

2. แบบ พ.3 (การสั่งกลับกรณีไม่มีความผิดวินัย)

3. แบบ พ.4 (การสั่งกลับกรณีมีความผิดวินัยไม่ร้ายแรง)

4. แบบ พ.5 (การสั่งกลับกรณีไม่เป็นผู้ถูกสั่งพักใช้/พ้นกำหนดเวลาถูกพักใช้)


การอุทธรณ์และการร้องทุกข์

1. ขอบเขตงาน

ครอบคลุมตั้งแต่การรับเรื่องอุทธรณ์และร้องทุกข์ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตลอดจนการดำเนินการแจ้งผลให้ทราบการอุทธรณ์และการร้องทุกข์ กล่าวถึงเฉพาะในส่วนของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติมเท่านั้น ไม่ได้หมายความรวมไปถึงการอุทธรณ์และการร้องทุกข์ของพนักงานราชการ ลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราวที่ใช้ระเบียบกฎหมายแยกต่างหากจากกัน

2. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

2.1 การอุทธรณ์

2.1.1 รับเรื่องอุทธรณ์คำสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือน

2.1.2 ตรวจพิจารณาหนังสืออุทธรณ์ ว่าเข้าข่ายที่จะรับเรื่องไว้พิจารณาตามกฎ ก.ค.ศ.ว่าด้วย การอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ พ.ศ. 2550 ดังนี้

2.1.2.1 อุทธรณ์คาสั่งลงโทษภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง

2.1.2.2 อุทธรณ์คำสั่งเพื่อตนเอง

2.1.2.3 ทำเป็นหนังสือแสดงข้อเท็จจริงและเหตุผลในการอุทธรณ์ว่าตนถูกลงโทษโดยไม่ถูกต้องไม่เหมาะสม หรือไม่เป็นธรรมอย่างไร และลงลายมือชื่อและที่อยู่ของผู้อุทธรณ์

2.1.3 ส่งเรื่องอุทธรณ์ให้สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดดำเนินการ เพื่อให้ ก.ศ.จ.พิจารณา

2.2 การร้องทุกข์

2.2.1 รับเรื่องร้องทุกข์ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่เห็นว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือมีความคับข้องใจเนื่องจากการกระทำของผู้บังคับบัญชา หรือถูกแต่งตั้งคณะกรรมการ สอบสวนทางวินัย

2.2.2 ตรวจพิจารณาหนังสือร้องทุกข์ว่าเข้าข่ายที่จะรับเรื่องไว้พิจารณาตามกฎ ก.ค.ศ.ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาร้องทุกข์ พ.ศ. 2551 ดังนี้

2.1.2.1 ร้องทุกข์ภายใน 30 วันนับแต่วันทราบเรื่องอันเป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์

2.1.2.2 ร้องทุกข์เพื่อตนเอง

2.1.2.3 ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อ ที่อยู่ และตำแหน่งของผู้ร้องทุกข์ และสาระสำคัญที่แสดงข้อเท็จจริงและเหตุผลว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือมีความคับข้องใจเนื่องจากการกระทำของผู้บังคับบัญชา หรือการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยอย่างใด และความประสงค์ของการร้องทุกข์ พร้อมสำเนารับรองถูกต้องหนึ่งฉบับ

2.1.2.4 การร้องทุกข์คำสั่งให้ออกจากราชการ ให้ร้องทุกข์ต่อ ก.ค.ศ. ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง

2.2.3 ส่งเรื่องร้องทุกข์ให้สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดดำเนิน เพื่อให้ ก.ศ.จ.พิจารณา


การดำเนินคดีของรัฐ

1.ขอบเขตงาน

ครอบคลุมตั้งแต่การดำเนินคดีแพ่ง คดีอาญา คดีล้มละลาย และคดีปกครอง จนกระทั่งคดีถึงที่สุด และการบังคับคดีหรือการใช้มาตรการบังคับทางปกครอง อีกทั้งการพิจารณาเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ และการดำเนินการหาตัวผู้ต้องรับผิดทางละเมิดและค่าสินไหมทดแทน

2. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

2.1 ให้คำแนะนำปรึกษาเกี่ยวกับระเบียบกฎหมายแก่หน่วยงานและสถานศึกษา รวมถึงข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสังกัด ตลอดจนผู้มาขอรับบริการอื่นด้วย

2.2 รับเรื่องจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียน และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวกับคดีแพ่งคดีอาญา คดีล้มละลาย และคดีปกครอง (ที่ขอความช่วยเหลือ)

2.3 เสนอเรื่องให้ผู้บังคับบัญชาทราบเพื่อพิจารณาสั่งการ

2.4 รวบรวมพยานหลักฐาน ประสานงาน และมีหนังสือขอความอนุเคราะห์ไปยังสานักงานอัยการเพื่อให้ว่าต่างหรือแก้ต่างในคดีแพ่ง คดีอาญา และคดีล้มละลาย ที่หน่วยงานราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐฟ้องคดีหรือถูกฟ้องคดี (คดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องคดีนั้น ไม่อาจขอความช่วยเหลือให้แก้ต่างคดีได้) รวมทั้งดำเนินการอื่นตามกระบวนวิธีพิจารณาคดีจนกระทั่งศาลมีคำสั่งหรือคำพิพากษาและรวมไปถึงการอุทธรณ์และฎีกาคำสั่งหรือคาพิพากษาจนกระทั่งคดีถึงที่สุดด้วย

2.5 รวบรวมพยานหลักฐานและจัดทำคำฟ้องในฐานะผู้ฟ้องคดีหรือคำให้การในฐานะผู้ถูกฟ้องคดีให้กับหน่วยงานราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อส่งศาลปกครอง และดำเนินการอื่นตามกระบวนวิธีพิจารณาคดีจนกระทั่งศาลปกครองมีคำสั่งหรือคำพิพากษาถึงที่สุด

2.6 การบังคับคดีและการใช้มาตรการบังคับทางปกครอง รวมถึงการสืบหาทรัพย์สินหรือหลักทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเพื่อการบังคับคดีให้กับหน่วยงานด้วย

2.7 แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อดำเนินการหาตัวผู้ต้องรับผิดทางละเมิดรวมทั้งชดใช้ค่าสินไหมทดแทน กรณีเกิดความเสียหายแก่ทางราชการ ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 รวมทั้งการใช้มาตรการบังคับทางปกครองตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539

2.8 การพิจารณาเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ รวมถึงการเข้าตรวจดูและคัดสำเนาเอกสาร

ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540

กฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้อง

1. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ / ประมวลกฎหมายอาญา

2. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง / ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

3. พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542

4. พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539

5. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540

6. พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539

7. ระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539

8. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546

9. กฎหมาย กฎ ระเบียบ และหนังสือเวียนอื่นที่เกี่ยวข้อง