ข้อมูลผู้ประเมิน


ข้าพเจ้าขอแสดงเจตจำนงในการจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางานตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ ซึ่งเป็นตำแหน่งและวิทยฐานะที่ดำรงอยู่ในปัจจุบันกับผู้อำนวยการสถานศึกษา ไว้ดังต่อไปนี้

ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

1. ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน 18 ชั่วโมง/สัปดาห์ ดังนี้

     รายวิชานาฏศิลป์3  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 7 ชั่วโมง/สัปดาห์

     รายวิชาศิลปะ5 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 7 ชั่วโมง/สัปดาห์

     รายวิชานาฏศิลป์ไทย1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

     รายวิชานาฏศิลปไทย์3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

     รายวิชานาฏศิลปไทย์5 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

     กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ยุวกาชาด จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

     กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ชุมนุมศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน(กันตรึมภัทร) จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 5 ชั่วโมง/สัปดาห์

     การจัดทำแผนการเรียนการสอน จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

     การจัดทำสื่อนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

     การจัดทำสารสนเทศในชั้นเรียน จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

     การมีส่วนรวมในชุมชนการเรียนรู้  จำนวน 1   ชั่วโมง/สัปดาห์

1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน 3 ชั่วโมง/สัปดาห์

      ปฏิบัติหน้าที่กลุ่มงานบริหารทั่วไป จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

      

1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

       กิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้   จำนวน  1   ชั่วโมง/สัปดาห์

       โครงการ No Child Left Behind จำนวน  1   ชั่วโมง/สัปดาห์

2. งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่งครู

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน 

ประเด็นที่ท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนของผู้จัดทำข้อตกลง ซึ่งปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ ต้องแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังของวิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ คือ การริเริ่ม พัฒนา การจัดการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนามากขึ้น (ทั้งนี้ ประเด็นท้าทายอาจจะแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังในวิทยฐานะที่สูงกว่าได้)

 ประเด็นท้าทาย 

เรื่อง   การพัฒนาแบบฝึกทักษะการปฏิบัติท่ารำพื้นฐานนาฏศิลป์  เรื่องนาฏยศัพท์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3


1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

     นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ส่วนมากไม่มีพื้นฐานทักษะนาฏศิลป์ไทยอาจเนื่องมาจากการจัดการเรียนการสอนนาฏศิลป์ในระดับชั้นประถมศึกษา ยังขาดบุคลากรในการสอนและที่สำคัญนาฏศิลป์ไทยสำหรับเด็ก ๆ อาจเป็นเรื่องเข้าใจยาก การที่จะให้นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์จินตนาการในการแสดงจึงต้องพัฒนาทักษะให้มีความถูกต้องและชำนาญก่อน จึงจะสามารถในการสร้างสรรค์จินตนาการหรือแนวคิดใหม่ๆ ในรูปแบบต่างๆ จินตนาการ เป็นการพัฒนาสมองซีกขวา คนที่มีพลังในการจินตนาการจะเป็นผู้สามารถสร้างสรรค์งานใหม่ สิ่งใหม่ ๆ ได้อย่างดี โดย CQ จะสัมพันธ์กับเรื่องการเล่น การเรียนนาฏศิลป์ช่วยให้ผู้เรียนได้สร้างสรรค์จินตนาการประกอบการร่ายรำในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ ท่ารำโบราณคดี เช่น ระบำทวาราวดี สุโขทัย ลพบุรี ศรีวิชัย เชียงแสน ผู้เรียนจะได้จินตนาการถึงประวัติ ความเป็นมา วิถีชีวิตของอาณาจักรโบราณคดีในสมัยต่างๆ ส่วนท่ารำที่แสดงกิจกรรมและวิธีการทำงาน เช่น ฟ้อนสาวไหม เต้นกำรำเคียวร่อนแร่และเซิ้งแหย่ไข่มดแดง ผู้เรียนจะได้จินตนาการถึงวัฒนธรรม ประเพณีและวิธีการทำงานในท้องถิ่น และท่ารำที่เลียนแบบสัตว์ชนิดต่างๆ เช่น ระบำนกยูง ระบำไก่ ผู้เรียนจะได้จินตนาการถึงลักษณะของสัตว์ต่าง ๆ เป็นต้น คนที่มีพลังในการจิตนาการจะเป็นผู้กล้าลองผิด ลองถูก และพร้อมจะเผชิญปัญหา การพัฒนาให้นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์จะทำให้นักเรียนมีโอกาสประสบความสำเร็จในชีวิตมากขึ้น


2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

  วิเคราะห์หลักสูตรมาตรฐานการเรียนรู้และผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ตามหลักสูตรสถานศึกษาและหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2561) นำมาพัฒนา พัฒนาชุดการเรียนรู้ที่ประกอบด้วย แบบฝึกทักษะ เพื่อการตรวจสอบความรู้ เรื่องนาฏยศัพท์ นำชุดการเรียนรู้ไปให้คุณครูในสาขานาฏศิลป์ไทยพิจารณาความเหมาะสม แล้วนำไปใช้ในการจัดการเรีนรู้ให้แก่ผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่รับผิดชอบ


3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง

   3.1 เชิงปริมาณ ผู้เรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ เรื่อง นาฏยศัพท์ ด้วยชุดการเรียนรู้ที่ครูพัฒนาขึ้น มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 และผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ เรื่อง นาฏยศัพท์ ด้วยชุดการเรียนรู้ที่ครูพัฒนาขึ้น ในระดับ มาก ขึ้นไป

   3.2 เชิงคุณภาพ ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่อง นาฏยศัพท์ และสามารถนำความรู้เกี่ยวกับทักษะนาฏศิลป์ไทย ประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวัน เพื่ออยู่ร่วมในสังคมได้อย่างมีความสุข


 

เอกสารบันทึกข้อตกลงในการพัฒนางาน และคลิปการจัดการเรียนรู้

แบบ-PA1กรรณิกา-66.pdf
แบบรายงาน-PA-ส่งกรรมการครั้งที่-1-ครูกรรณิกา.pdf

(นางกรรณิกา แต้มฤทธิ์)
ตำแหน่ง ครู  ชำนาญการพิเศษ
ผู้จัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน
..........1......./.....ต.ค. .../..2565....