ภาษาHTML มีต้นแบบมาจากภาษาเอสจีเอ็มแอล (SGML ย่อมาจาก Standard Generalized Markup Language) ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ได้เฉพาะ กับประเภท ของคอมพิวเตอร์ สิ่งที่ HTML รับมาจาก เอสจีเอ็มแอล คือ การประกาศค่า และ การกำหนดรูปแบบเอกสาร (DTD:Document Type Definition) ในปี พ.ศ.2533 (ค.ศ.1990) นาย ทิม เบอร์เนอร์ส-ลี (Tim Berners-Lee) แห่งศูนย์ปฏิบัติการวิจัยทางอนุภาคฟิสิกส์ของยุโรป (CERN: Conseil Europeen Pour La Recherche Nucleaire) ซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ ได้กำหนดไว้ว่า เพื่อสร้างสื่อที่นักวิทยาศาสตร์สามารถจะเผยแพร่ผลงาน และใช้อ้างอิง ได้ตลอด 24 ชั่วโมง และสร้างภาษาคอมพิวเตอร์ที่รองรับภาษาท้องถิ่น ที่ไม่ขึ้นกับระบบของเครื่องคอมพิวเตอร์ (Platform) หรือระบบเครือข่ายใด ๆ จากนั้นได้แพร่ขยายออกไประบบนี้จึงได้ตั้งชื่อที่เป็นที่รู้จักกันคือ เวิลด์ไวด์เว็บจนถึงปัจจุบัน

ความหมายของ HTML

HTML หรือ HyperText Markup Language เป็นภาษาคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง ที่มีลักษณะเป็นภาษาในเชิง การบรรยายเอกสารไฮเปอร์มีเดีย (Hypermedia Document Description Language) เพื่อนำเสนอเอกสารนั้น เผยแพร่ในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต มีโครงสร้างการเขียน ที่อาศัยตัวกำกับ เรียกว่า แท็ก (Tag) ควบคุมการแสดงผลของข้อความ, รูปภาพ หรือวัตถุอื่นๆ ผ่านโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ (Web Browser)

การจัดรูปแบบเอกสารจะประกอบไปด้วยการกำหนดหัวเรื่อง, การจัดการเกี่ยวกับข้อความ, การขึ้นบรรทัดใหม่,การตัดคำ, การจัดย่อหน้า,การจัดวางตำแหน่งข้อความ,และการตีเส้น ซึ่งประกอบด้วยการแท็กคำสั่งต่างๆ

การจัดการเกี่ยวกับตัวอักษร จะกล่าวถึงเรื่องกำหนดรูปแบบตัวอักษร, การกำหนดลักษณะของแบบอักษร,การกำหนดขนาดตัวอักษร,การใช้อักขระพิเศษ, และการกำหนดสี

ารใส่รูปภาพลงในเว็บเพจ เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่จะทำให้เว็บเพจ ดูสวยงามขึ้น โดยเราสามารถนำรูปภาพที่เราถูกใจ มาใส่ลงในเว็บเพจร่วมกับข้อความได้ แต่เราจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับชนิดของรูปภาพและคำสั่งต่าง ที่ใช้ในการใส่และจัดรูปภาพนั้น ๆ

การสร้างตารางเหมาะสำหรับในกรณีที่มีข้อมูลจำนวนมากโดยที่ข้อมูลแต่ละส่วนจะมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันในลักษณะของแนวแถว(Row) และแนวคอลัมน์ (Column) การแสดงข้อมูลในรูปของตารางจะช่วยให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นอีกทั้งตารางยังนำมาใช้ในการจัดหน้าเว็บเพจเป็นระเบียบขึ้นด้วย

การเชื่อมโยงเว็บเพจ หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า การลิงค์ (Link) นั้น จะเป็นการกำหนดหัวข้อหรือรูปภาพที่เราเลือกเพื่อเชื่อมโยงไปยังเนื้อความอื่นๆ ซึ่งเนื้อความนั้นอาจจะอยู่ในเว็บเพจเดียวกัน หรือคนละเว็บเพจหรือคนละเว็บไซต์ก็ได้ การเชื่อมโยงเว็บเพจนี้ จะช่วยให้ผู้ใช้ติดตามดูข้อมูลในเว็บเพจของเราได้ อย่างสะดวกและต่อเนื่อง

ปกติเราจะแสดงเว็บเพจใน browser ได้ที่ละ 1 เว็บเพจ แต่ถ้าเราใช้ Frame เราจะสามารถแสดงเว็บเพจได้หลายๆเว็บเพจในหน้าเดียว โดยจะแบ่งหน้าของ browser ออกเป็นส่วนๆ โดยใช้ Frame