หัวข้อวิทยานิพนธ์
คอนแชร์ติโนสําหรับมาริมบาและเครื่องกระทบตามบทโขนเรื่องรามเกียรติ์ ตอน “หนุมานจับนางสุพรรณมัจฉา”
CONCERTINO FOR MARIMBA AND PERCUSSION BASED ON RAMAYANA EPISODE "CATCH UP"
ผู้แต่ง
อาจารย์ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัญพงศ์ ทองสว่าง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อโณทัย นิติพน
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง คอนแชร์ติโนสำหรับมาริมบาและเครื่องกระทบตามบทโขนเรื่องรามเกียรติ์ ตอน “หนุมานจับนางสุพรรณมัจฉา” มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างสรรค์และแสดงบทเพลงคอนแชร์ติโนสำหรับมาริมบาและเครื่องกระทบตามบทโขนเรื่องรามเกียรติ์ ตอน “หนุมานจับนางสุพรรณมัจฉา” ในรูปแบบที่ทันสมัยกับยุคปัจจุบัน อีกทั้งยังศึกษาแนวทาง การผสมผสานระหว่างโขนและการบรรเลงเครื่องดนตรีคลาสสิกประเภทเครื่องกระทบ และศึกษาการประยุกต์เทคนิคการเล่นระนาดกับการเล่นมาริมบา และการผสมผสานเสียงเครื่องกระทบไทยและตะวันตกเพื่อประกอบการเล่นโขนในรูปแบบที่ทันสมัย โดยสัมภาษณ์ข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิด้านดนตรีไทย ด้านนาฏศิลป์ไทย (โขน) ผู้มีประสบการณ์ทางด้านการทำงานร่วมกันระหว่างโขนและดนตรีสากล และผู้มีประสบการณ์ในการสร้างสรรค์ดนตรีร่วมสมัย จำนวน 5 คน
ผลการศึกษาพบว่า การแสดงโขนฉาก “หนุมานจับนางสุพรรณมัจฉา” แบ่งออกเป็น 3 ช่วง โดยใช้เพลงเชิดนอก เตียว และเชิด ชั้นเดียว ประกอบกิริยาของตัวละครผ่านการใช้เทคนิคของดนตรีไทย เพื่อแสดงอารมณ์และท่ารำของตัวละคร การสร้างสรรค์นี้ผู้วิจัยได้นำกระบวนการสร้างอารมณ์ต่าง ๆ ของดนตรีไทยมาสร้างสรรค์บทเพลงที่ผสมผสานแนวเพลงบลูซ์ (Blues) และจังหวะ (Rhythmic) ของดนตรีตะวันตกให้สอดคล้องกับกลิ่นอายของทำนองเพลงไทย
This research project aims to create and perform concertino for Marimba and percussion based on Ramayana episode “Catch up” in a modern interpretation by studying methods of combining Khon with the medium of western percussion instruments, adapting playing techniques of Ranad (Thai xylophone) to marimba and, merging Thai and Western percussion sounds to accompany the modern style of Khon performance. By interviewing and gathering information from five experts on Thai music and Thai dance (Khon), who have great experiences and worked with Khon and classical musicians to create modern music.
The study reveals that the Khon’s episode “Hanuman chases Nang Suphanna Matcha” is divided into three parts, by using the songs Cherd Nok, Tiew, and Cherd Chan Diew to assemble the actions of the characters through the use of Thai music techniques to show the characters' emotions and dance movements. The researcher has also employed the procedure of developing diverse moods and tunes of Thai music to create a composition that merges Blues style and Rhythmic of Western music in harmony with the aura of Thai melody in this creative work.