หัวข้อวิทยานิพนธ์
การสร้างความตระหนักถึงทักษะนักดนตรีในศตวรรษที่ 21 ผ่านเกมกระดาน
RAISING AWARENESS OF 21ST CENTURY MUSICIAN SKILLS THROUGH BOARD GAME
ผู้แต่ง
อาจารย์ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อโณทัย นิติพน
บทคัดย่อ
สถานการณ์การว่างงานหรือไม่ได้ประกอบอาชีพในสายงานดนตรีของบัณฑิตด้านดนตรีคลาสสิกของไทยในปัจจุบัน เป็นผลจากการแข่งขันที่สูงขึ้นด้วยหลายปัจจัย ทั้งในด้านความไม่มั่นคงในการประกอบอาชีพ ด้านระบบการทำงานและวัฒนธรรมองค์กรที่ไม่มีการกระจายตำแหน่งงาน อีกทั้งความนิยมดนตรีคลาสสิกในประเทศไทยไม่แพร่หลาย จึงเกิดความไม่สมดุลของผู้ให้บริการและผู้บริโภค ทำให้นักดนตรีจำเป็นต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับบริบททางสังคมดนตรีในประเทศไทยเพื่อความอยู่รอด ในขณะเดียวกันการปรับตัวของสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาทางด้านดนตรีอาจไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยหลักสูตรส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาทักษะในด้านการปฏิบัติดนตรี และมีรายวิชาที่ส่งเสริมการบูรณาการความรู้ในศาสตร์ต่าง ๆ รวมถึงรายวิชาที่ส่งเสริมความตระหนักต่ออาชีพหลังสำเร็จการศึกษาเพียงไม่กี่รายวิชา
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 ทำให้เกิดผลกระทบอย่างมากต่อวงการดนตรีคลาสสิกทั่วโลก นักดนตรีอาชีพ อาจารย์ รวมถึงนักเรียนนักศึกษาต่างก็ต้องปรับตัวเพื่อจัดแสดงออนไลน์ สอน หรือเรียนผ่านการสอนทางไกล เป็นต้น ส่งผลให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในวงการดนตรีของประเทศไทยเริ่มต้องตระหนักถึงการเสริมสร้างทักษะอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากทักษะการแสดงดนตรีเพิ่มมากขึ้น ผู้วิจัยจึงศึกษาค้นคว้า และวิเคราะห์ตัวอย่างแนวคิดเรื่องทักษะศตวรรษที่ 21 ที่สำคัญ รวมถึงทักษะศตวรรษที่ 21 สำหรับนักดนตรี จากตัวอย่างทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อสร้างแนวทางในการประยุกต์ และออกแบบเป็นเกมกระดานเพื่อสร้างความตระหนักด้านทักษะศตวรรษที่ 21 ให้กับนักศึกษา รวมทั้งวางแผนการจัดกิจกรรมเสวนาและการแข่งขันเกมกระดาน MASTER OF MUSIC สำหรับนักเรียนนักศึกษาทางด้านดนตรีที่สนใจ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสร้างความตระหนักด้านทักษะศตวรรษที่ 21 ในกลุ่มนักเรียนนักศึกษาดนตรี และสร้างเป็นแนวทางไปสู่การพัฒนาวงการดนตรีคลาสสิกในประเทศไทยได้อย่างยั่งยืน
Not only that the majority of music graduates are not working in the music industry, but some of them are also unemployed due to the competitive nature within the industry. Factors such as job security, work culture and overall disequilibrium in Thailand’s classical music industry are accountable for said problem. Thus, Thai musicians then need to adapt in order to thrive in their careers. In addition, educational institutions may not be able to rival the fast-moving world. Most of the courses offered only focus on developing one’s musical skills, but not much of the integration courses and career guides for working within the field.
COVID-19 has greatly affected the classical music industry, professional musicians, teachers, and music students included. Online platforms are being applied heavily in music industry; such as, online teaching, asynchronous learning and live concert streaming. Thus, stakeholders within the industry are obliged to enhance other skills necessary, apart from performing, to strive in the changing world. As a researcher, I had studied and analyzed the 21st century skills necessary for classical musicians in order to establish guidelines and engage more awareness in music students. Moreover, I had designed a board game based on the idea of the 21st century skills necessary for music students. It includes a board game tournament and a seminar on said topic. All in all, this thesis’ main aim is to raise awareness about the 21st century skills in music students and to better Thailand’s classical music industry in the long term.