รายการที่  4.1  การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี

รายการที่  4.1  การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี

ด้านที่ 4  ด้านการมีส่วนร่วม  

รายการที่  4.1 การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี

เป้าหมาย    มีผลการประเมินและข้อมูลการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี อยู่ในระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม

ผลสัมฤทธิ์

       เชิงปริมาณ (Output)     

                                           - ร้อยละของสาขาวิชาที่จัดการเรียนการสอนในระบบทวิภาคี คือ 100 %

       เชิงคุณภาพ (Outcome) 

                                           - ผลการประเมินครบถ้วนทั้ง 5 ขั้นตอน อยู่ในระดับคุณภาพ ยอดเยี่ยม

       ผลสะท้อน (Impact)   

                                         - สถานศึกษามีแผนงานในการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี มีการวางแผน และจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี 

และมีการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพในการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี และสรุปรายงานผลการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถานศึกษาไปยังหน่วยงานต้นสังกัด 

นอกจากนี้ในปีการศึกษา 2566 ได้ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ MOU ไว้กับสถานประกอบการ 6 แห่ง  คือ บริษัทไทยนิปปอน เซอิกิ จำกัด  

บริษัทมอนเด นิสซิน ประเทศไทย จำกัด ,  บริษัทไทยสตีล เคเบิล (ประเทศไทย) จำกัด  , บริษัทโปเตโต้ คอร์เนอร์  ,บริษัทเซ็นทรัลเรสเตอรองส์ จำกัด  , บริษัทวาลโบร (ประเทศไทย) จำกัด 



ระดับคุณภาพ

ผลการประเมิน ค่าคะแนน ระดับคุณภาพ

                  มีผลการประเมินตามข้อที่ 1,2,3,4,5       5   ยอดเยี่ยม



การติดตามและตรวจสอบ

       1. สถานศึกษาได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนระบบทวิภาคีเป็นปีที่3 โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ภาคเรียนที่ 1/2566 พร้อมกันนี้ได้มีการสำรวจความพร้อม

ของสถานประกอบการ ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2566 เพื่อจัดทำแผนการฝึกอาชีพให้กับผู้เรียนในระบบทวิภาคี และในครั้งนี้ยังได้รับความร่วมมือกับมูลนิธิเฟืองพัฒนา 

ซึ่งเป็นผู้ประสานงานหลักกับบริษัทและสถานประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี เช่นเคย และได้รับนักศึกษาเข้าฝึกอาชีพ และส่งนักศึกษาเข้าฝึกประสบการณ์วิชาชีพตามหลักสูตร จำนวนไม่น้อยกว่า 640 ชั่วโมง (1 ปีการศึกษา) โดยกระจายสถานประกอบการฝึกจำนวน 4 แห่ง คือ บริษัทมอนเด นิสซิน (ประเทศไทย) จำกัด  

, บริษัทไทยนิปปอน เซอิกิ จำกัด , บริษัทวาลโบร (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัทไทยสตีล เคเบิล (ประเทศไทย) จำกัด รวมทั้งปีนี้ได้ทำบันทึกข้อตกลงร่วมจัดทำแผนการฝึก

เพิ่มกับ 2 บริษัท คือ บริษัทเซ็นทรัลเรสเตอรองส์ จำกัด และบริษัทโปเตโต้ คอร์เนอร์ จำกัด

         2. สถานศึกษามีการบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU)  6  สถานประกอบการ



จุดเด่น

1.ได้รับความไว้วางใจจากมูลนิธิเฟืองพัฒนา นิคมอตะนคร จังหวัดชลบุรี  ซึ่งเป็นผู้ประสานงานการรับนักศึกษาเข้าฝึกประสบการณ์วิชาชีพ (ระบบทวิภาคี) 

ติดต่อกันเป็นปีที่ 3  โดยเป็นวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนอันดับแรกที่ได้รับโคว์ต้ายอดเข้าฝึก และจัดหาที่พัก สถานประกอบการที่มีคุณภาพ มีสวัสดิการ มีทุนการศึกษา 

และรับนักศึกษาในระดับ ปวส. เข้าฝึกอาชีพกับ 4 บริษัทชั้นนำในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร  จังหวัดชลบุรี ติดต่อกันเป็นปีที่ 3

2.ได้รับการพิจารณารับนักศึกษาเข้าฝึกอาชีพระบบทวิภาคี จาก CRG หรือ บริษัทเซ็นทรัลเรสเตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด และบริษัทโปเตโต้ คอร์เนอร์ จำกัด เป็นครั้งแรก

โดยให้ทุนที่พัก ทุนค่าครองชีพระหว่างการดำเนินฝึกอาชีพแก่นักศึกษา ในพื้นที่ฝึกจังหวัดกรุงเทพมหานคร และจังหวัดภูเก็ต  เป็นปีที่ 2


จุดที่ควรพัฒนา

- ระบบทวิภาคี ได้เปิดเฉพาะนักศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ยังไม่ครอบคลุมในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)


ข้อเสนอแนะ

   -  วิทยาลัยมีความต้องการพันธมิตรและความร่วมมือจากสถาบันอาชีวศึกษารัฐ ในด้านตัวเลือกสถานประกอบการที่หลากหลาย ที่ตรงกับสาขาของผู้เรียน 

และความร่วมมือในการจัดการเรียนการสอนระบบทวิภาคีทั้งในระดับ ปวช. และ ปวส.



หลักฐานและเอกสารอ้างอิง

1.หนังสือขอจัดการเรียนการสอนระบบทวิภาคี เลขที่ ทพ......../2564  ลว.25 มกราคม 2564

2.เอกสารการสำรวจสถานประกอบการด้านการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

3.มีหลักฐานการบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ MOU

4.มีหลักฐานและเอกสารประกอบการขออนุญาตจัดการเรียนการสอนระบบทวิภาคี

5.มีแผนการเรียนระบบทวิภาคี