ภาควิชาจุลชีววิทยา

ประวัติความเป็นมา

ภาควิชาจุลชีววิทยา ได้ก่อตั้งขึ้นพร้อมกับ วิทยาลับแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า เมื่อ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2518 โดย มีสำนักงานอยู่ที่ชั้น 3 ของสถาบันพยาธิวิิทยา และได้เปิดสอนเป็นครั้งแรกสำหรับนักเรียนแพทย์ทหารรุ่นที่ 1 จำนวน 32 นาย ต่อมาในปี พ.ศ. 2528 ภาควิชาฯ ได้ย้ายที่ทำการมายังอาคารเรียนซึ่งเป็นอาคารสร้างใหม่ ในพื้นที่ของวิทยาลัยฯ โดยมีสำนักงานอยู่ที่ชั้น 4 ของอาารมาจนกระทั่งปัจจุบัน มีผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาฯ ดังรายนามต่อไปนี้


วิสัยทัศน์

ร่วมผลิตแพทย์ให้มีความรู้ทางด้านจุลชีววิทยาและเป็นที่ยอมรับในสังคม


พันธกิจ

จัดการเรียนการสอนรายวิชาที่ภาควิชารับผิดชอบ ผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ บริการวิชาการสู่สังคม ทำนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรม ศาสนา และสิ่งแวดล้อม พัฒนาคุณภาพการศึกษาและบริหาจัดการศึกษาและบริหารจัดการ


การเรียนการสอน

ภาควิชารับผิดชอบการจัดการเรียนการสอน 3 รายวิชา สำหรับ นพท./นศพ.ชั้นปีที่ 3 โดยแบ่งออกเป็นรายวิชาบังคับ 2 รายวิชา และรายวิชาเลือก 2 รายวิชา

          • รายวิชาบังคับ 1. วพม.จช. 301 จุลชีววิทยาทางการแพทย์ 1 (2 หน่วยกิต)

2. วพม.จช. 302 จุลชีววิทยาทางการแพทย์ 2 (4 หน่วยกิต)


          • รายวิชาเลือกเสรี

1. วพม.จช. 303 เทคนิคเชิงปฏิบัติการจุลชีววิทยาคลินิก (2 หน่วยกิต)


งานวิจัย

งานวิจัยทางจุลชีววิทยาทางการแพทย์เกี่ยวกับการศึกษาเชื้อจุลชีพดื้อยาในด้านระบาดวิทยาและศึกษาเชิงลึกในระดับชีววิทยาโมเลกุลรวมทั้งศึกษาฤทธิ์ของสมุนไพรในการต้านจุลชีพ นอกจากนี้มีงานวิจัยทางด้านแพทยศาสตร์ศึกษาเกี่ยวกับการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์สนับสนุนการเรียนการสอนในโรงเรียนแพทย์ทหาร และให้สนับสนุนงานวิจัยของนักศึกษาแพทย์ แพทย์ประจำบ้าน และนักศึกษาจากสถาบันอื่นๆ

          • ขอบเขตงานวิจัยของภาควิชา
            1. ระบาดวิทยาและชีววิทยาโมเลกุลของเชื้อจุลชีพดื้อยาในโรงพยาบาล ได้แก่ methicillin-resistant Staphylococcus aureus (MRSA), carbapenem-resistant Enterobacteriaceae (CRE), multi-drug resistant Acinetobacter baumannii, ESBL-producing Escherichia coli, ESBL-producing Klebsiella pneumoniae, Neisseria gonorrhoeae, macroride-resistant Mycoplasma pneumoniae, Pseudomonas aeruginosa และ Candida sp.
            2. ทดสอบฤทธิ์ของยาปฏิชีวนะและสารสกัดจากพืชสมุนไพรในการฆ่าและยับยั้งการเจริญของเชื้อแบ็คทีเรีย
            3. งานวิจัยทางดานแพทยศาสตร์ศึกษา เช่น ประเมินการใช้สื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์ช่วยในการสอน