ผู้จัดทำข้อตกลง


นางสาวปรีชญา มั่งคง

ตำแหน่ง  ครู     วิทยฐานะ -

สถานศึกษา โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4

สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2

ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด 



ชั่วโมงสอนตามตารางสอน จำนวน 26 ชั่วโมง /สัปดาห์    ภาคเรียนที่ 1/2566

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

1) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

รายวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/3     จำนวน 3 ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/4     จำนวน 3 ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1     จำนวน 3 ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2     จำนวน 3 ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/3     จำนวน 3 ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/4     จำนวน 3 ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชาภาษาอังกฤษรอบรู้ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3    จำนวน 5 ชั่วโมง/สัปดาห์

            

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  รวมจำนวน ๒ ชั่วโมง/สัปดาห์ดังนี้

       >> กิจกรรมลูกเสือ– เนตรนารี                   จำนวน 1  ชั่วโมง/สัปดาห์

       >> กิจกรรมอบรมคุณธรรมและจริยธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน  1  ชั่วโมง/สัปดาห์

       >> ชุมนุมรักษ์กันชง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2             จำนวน 1  ชั่วโมง/สัปดาห์

####################################################

คำสั่งแต่งตั้งครูเข้าสอนภาคเรียนที่ 1/2566

####################################################

งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้
จำนวน  6  ชั่วโมง/สัปดาห์

- การจัดทำแผนการเรียนรู้/การสร้างสื่อ/การสร้าง                                                                            
  เครื่องมือประเมินผล/วิจัยชั้นเรียน                      จำนวน 2  ชั่วโมง/สัปดาห์

- งานที่ปรึกษาและระบบช่วยเหลือดูแลนักเรียน                 จำนวน 1  ชั่วโมง/สัปดาห์

- การมีส่วนร่วมในชุมชนแห่งการเรียนรู้                จำนวน 3  ชั่วโมง/สัปดาห์

- กิจกรรมหน้าเสาธง โฮมรูม                                        จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

- เวรประจำวันพฤหัสบดี                                             จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

####################################################

คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเยี่ยมบ้าน ปีการศึกษา 2566

คำสั่งแต่งตั้งครูที่ปรึกษา ภาคเรียนที่ 1/2566

คำสั่งแต่งตั้งครูเวรประจำวัน ภาคเรียนที่ 1/2566

####################################################

งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
จำนวน  4  ชั่วโมง/สัปดาห์ 

กลุ่มงานบริหารงานบุคคล

- เจ้าหน้าที่งานบริหารงานบุคคล                       จำนวน 4 ชั่วโมง/สัปดาห์


####################################################
คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่งานตามสายงานบริหารราชการโรงเรียน ประจําปีการศึกษา 2566

####################################################

งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่ง ครู

ด้านการจัดการเรียนรู้ 

ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ 

ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ 

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทาย

ประเด็นท้าทาย

ภาคเรียนที่ 1/2566

เรื่อง  การริเริ่มพัฒนาเพื่อแก้ปัญหาผู้เรียนขาดทักษะการพูดภาษาอังกฤษ ในรายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 

โดยใช้รูปแบบ 5Fs step Model



1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

ภาคเรียนที่ 1/2566

          ในการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่าผู้เรียนที่ขาดทักษะการพูดภาษาอังกฤษในการเรียนภาษาอังกฤษพื้นฐาน ดังนั้น ครูผู้สอนจึงจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางานประเด็นท้าทาย เรื่อง การริเริ่มพัฒนาเพื่อแก้ปัญหาผู้เรียนขาดทักษะการพูดภาษาอังกฤษ ในรายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบ 5Fs step Model


2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

ภาคเรียนที่ 1/2566

          โดยใช้กระบวนการ PDCA หรือวงจรบริหารงานคุณภาพ ประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอน Plan-Do-Check-Act หรือ วางแผน-ปฏิบัติ-ตรวจสอบ-ปรับปรุง เป็นเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดทักษะสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ดังต่อไปนี้

Plan

- วิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2561)และหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4 พุทธศักราช ๒๕๖๔ ในเรื่องของมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดของเนื้อหารายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

- ออกแบบหน่วยการเรียนรู้ที่เน้นการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning โดยใช้รูปแบบ 5Fs step

Model เพื่อส่งเสริมทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Do

- เปิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โดยครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ และเข้าไปสังเกตการจัดการเรียนรู้ช่วยกันตรวจสอบความถูกต้องในเนื้อหาและแบบฝึกหัด การจัดกิจกรรม และสังเกตพฤติกรรม พร้อมทั้งเสนอแนะ และสะท้อนผลการจัดกิจกรรมเพื่อนำมาปรับปรุง แก้ไขให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐานและมีสมรรถนะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

Check

- ครูผู้สอนนำกิจกรรมมาปรับปรุง แก้ไขตามคำแนะนำของคณะครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4

- ครูผู้สอนสร้างแบบทดสอบและแบบบันทึกการปฏิบัติกิจกรรม

Act

- จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning โดยใช้รูปแบบ ใช้รูปแบบ 5Fs step Model  กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โดยปรับบริบทให้เหมาะสมกับห้องเรียนให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้นักเรียนมีทักษะการพูดภาษาอังกฤษที่ดีผ่านรูปแบบ 5Fs step Model ดังนี้

1. จัดกรรมการเรียนรู้ตามธรรมชาติของวิชา

2. จัดกิจกรรมอย่างหลากหลายและเหมาะสมกับผู้เรียน

3. ใช้สื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับเนื้อหาและผู้เรียน

4. ใช้เครื่องมือวัดผลและประเมินผลอย่างเหมาะสม

5. วิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล

โดยผู้สอนจะดำเนินตามขั้นตอนดังนี้

1. วิเคราะห์ตัวชี้วัดหลักสูตรรายชั้น และวิเคราะห์คำอธิบายรายวิชา เพื่อออกแบบหน่วยการเรียนรู้และกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับเหมาะสมกับบริบทของผู้เรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้เจตคติและเกิดทักษะตามที่หลักสูตรกำหนด

2. หลักจากนั้นก็ดำเนินการตามขั้นตอน 5Fs คือ

2.1 Feel Free เป็นการสร้างความพร้อมให้กับผู้เรียน พร้อมที่จะรับความรู้ใหม่ ในขั้นนี้เป็นขั้นของการจัดการเรียนการสอน เพื่อนำเข้าสู่บทเรียนด้วยกิจกรรมต่าง ๆ เมื่อผู้เรียนเกิดความอยากรู้อยากเรียนจึงเข้าสู่กระบวนการ Active Learning

2.2 Fun การใช้กิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกตามรูปแบบ Active Learning ด้วยกระบวนการที่หลากหลาย โดยพยายามจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ส่งเสริมให้ผู้เรียนสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ๆ และสนับสนุนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างสนุกสนานและเพลิดเพลิน

2.3 Flexible มีความยืดหยุ่นตามบริบทตามสถานการณ์และความถนัดของผู้เรียน โดยผู้สอนเป็นผู้กระตุ้นให้ผู้เรียนกล้าคิด กล้าแสดงออก ส่งเสริมให้ผู้เรียนคิดเป็นและคิดวิเคราะห์ได้เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข โดยข้อมูลที่ได้มาจากการวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล และแบบคุณลักษณะที่พึงประสงค์โดยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามธรรมชาติของวิชาทั้ง 4 ทักษะ ทั้ง ฟัง พูด อ่าน และเขียน

2.4 Friendly มีการวัดผลและประเมินผลทางการศึกษาแบบกัลยาณมิตร และนำมาสู่การวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคลโดยเสริมแรงเชิงบวกให้กับผู้เรียนอยู่เสมอ โดยให้อิสระทางความคิดแก่ผู้เรียน

2.5 Fulfill คือการซ่อมเสริมในส่วนที่เป็นจุดอ่อนเสริมสร้างส่วนที่เป็นจุดแข็งให้กับผู้เรียนให้อิสระทางด้านความคิดของผู้เรียนนำมาซึ่งการพัฒนาผู้เรียนอย่างยั่งยืน โดยใต้หลักการที่ว่า No one left behind และใช้การเน้นย้ำซ้ำทวนโดยให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองเพื่อให้เกิด Long Term Memory


3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง 

ภาคเรียนที่ 1/2566

เชิงปริมาณ 

ผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 4 ห้อง รวมจำนวนนักเรียนทั้งหมด 128 คน ได้รับการริเริ่มพัฒนาเพื่อแก้ปัญหาทักษะการพูดสื่อสารภาษาอังกฤษในรายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning โดยใช้รูปแบบ 5Fs step Model ดังนี้

1. ผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ร้อยละ 65 ที่เรียนวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐานได้รับการพัฒนาในด้านทักษะการพูดสื่อสารภาษาอังกฤษ

2. ผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ร้อยละ 80 ที่เรียนวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐานมีเจตคติต่อวิชาภาษาอังกฤษอยู่ในระดับดีขึ้นไป


เชิงคุณภาพ 

       ผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 4 ห้อง รวมจำนวนนักเรียนทั้งหมด 128 คน ได้รับการแก้ปัญหาด้านทักษะการพูดภาษาอังกฤษ ในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning โดยใช้รูปแบบ 5Fs step Model ในรายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน และในการดำเนินชีวิตประจำวันได้ และผู้เรียนยังมีการเชื่อมโยงความรู้และประสบการณ์ตาม รูปแบบ 5 Fs step Model จากการพัฒนาตนเอง และการเข้าร่วมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ของครูผู้สอน


คลิปวิดีโอการจัดการเรียนรู้ 

How often do you...?

372930417_7134212863275499_7902230336305100331_n.mp4
371362259_6814188355304435_6028361597681920425_n.mp4
373063790_9854759934598598_1062782283547850935_n.mp4
371385879_6599346850103021_5378547855416473243_n.mp4
373438604_6559072440844082_1683216183397086750_n.mp4
371362245_6731961110224751_960656315782590829_n.mp4
371326931_6654230694644140_7878268268246197215_n.mp4

Speaking Activities - Paired conversations

355154109_6134005720061452_4084940266001326733_n.mp4
354433274_6045295155593538_1963268123562684873_n.mp4
355102193_6555284071181256_2522587169733980783_n.mp4

What is your favourite spot in school?

3314887E-8348-452C-96C3-E579C2EC70EB.MOV
video_467611622249595382-3pwdC7q7.mp4
v09044g40000cj9finbc77ufgvop9l9g.mp4
591FEA68-E498-4EE6-A0FB-610851229FF9.MOV
video_467612573366223325-EMvkSqfb.mp4
video_467609841482072225-iwVni53H.mp4

ขอขอบคุณที่ปรึกษาในการพัฒนาเว็บไซต์ PA Online 

ดร.ศิรภัสสร  ชุมภูเทพ

- ตำแหน่ง    ผู้อำนวยการ

- วิทยฐานะ  ผู้อำนวยการชำนาญ 
  การพิเศษ

- ผู้อำนวยการโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4

- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม     ศึกษาตาก เขต 2

นายณฐวรรฏ  เพียงสุวรรณ์

- ตำแหน่ง    รองผู้อำนวยการ

- วิทยฐานะ  รองผู้อำนวยการ               ชำนาญการ

- รองผู้อำนวยการโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4

- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2

นางสาวสุพัฒนา  ทวีเดช

ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการ

- วิทยฐานะ  รองผู้อำนวยการ    ชำนาญการ

- รองผู้อำนวยการโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4

- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2

นางนีรชา  ทับประดิษฐ์

- ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการ

- วิทยฐานะ  รองผู้อำนวยการ    ชำนาญการ

- รองผู้อำนวยการโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4

- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2