ผู้จัดทำข้อตกลง

นางสาวปรญา ดวงสุวรรณ์

ตำแหน่ง  ครูผู้ช่วย     วิทยฐานะ  -

สถานศึกษา โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4 

สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2

ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด 

ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน.....25........ชั่วโมง/สัปดาห์ ดังนี้

กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชา......................ภาษาไทย....................จำนวน.....5..... ชัวโมง/สัปดาห์

กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชา.....................คณิตศาสตร์.................จำนวน.....5...... ชั่วโมง/สัปดาห์

กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชา....................วิทยาศาสตร์.................จำนวน.....1..... ชั่วโมง/สัปดาห์

กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชา......................สังคมศึกษา.................จำนวน.....2..... ชั่วโมง/สัปดาห์

กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชา.....................ประวัติศาสตร์..............จำนวน.....1..... ชั่วโมง/สัปดาห์

กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชา......................ภาษาอังกฤษ...............จำนวน.....1..... ชั่วโมง/สัปดาห์

กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชา................ภาษาอังกฤษเพิ่มเติม.........จำนวน.....4..... ชั่วโมง/สัปดาห์

กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชา......................ทัศนศิลป์......................จำนวน.....1..... ชั่วโมง/สัปดาห์

กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชา....................ดนตรี-นาฏศิลป์..............จำนวน.....1..... ชั่วโมง/สัปดาห์

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชา................ชุมนุมอนุรักษ์กัญชง............จำนวน.....1..... ชั่วโมง/สัปดาห์

กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชา...................ลูกเสือ-เนตรนารี..............จำนวน.....1.....ชั่วโมง/สัปดาห์

กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชา...................อบรมจริยธรรม................จำนวน.....1..... ชั่วโมง/สัปดาห์

กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชา................การป้องกันการทุจริต..........จำนวน.....1..... ชั่วโมง/สัปดาห์

####################################################

คำสั่งแต่งตั้งครูเข้าสอนภาคเรียนที่ 1/2566

####################################################

งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้
จำนวน  3  ชั่วโมง/สัปดาห์

- งานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน                  จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

- กิจกรรมหน้าเสาธง โฮมรูม                          จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

- เวรประจำวัน                                            จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

################################################

คำสั่งแต่งตั้งครู ภาคเรียนที่ 1/2566

################################################

งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
จำนวน 11 ชั่วโมง/สัปดาห์ 

กลุ่มงานบริหารงานทั่วไป

- หลักสูตรฐานสมรรถนะ                        จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

- หลักสูตรเตรียมบ่มเพาะผู้ประกอบการ                 จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

- คณะกรรมการดำเนินการประเมิน การอ่าน คิด จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

  วิเคราะห์ และเขียนสื่อความของสถานศึกษา                        

- คณะกรรมการฝ่ายจัดงานศิลปหัตถกรรม จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

  นักเรียนช่วงชั้นที่ 1                        

- งานส่งเสริมสุขภาพอนามัยโรงเรียน                  จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

- คณะกรรมการดำเนินการประเมิน การอ่าน คิด จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

  วิเคราะห์ และเขียนสื่อความของสถานศึกษา

- งานธนาคารโรงเรียน  จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

- กิจกรรมโครงการอาหารกลางวัน จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

- งานปฏิคม   จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

- งานวิจัยและนวัตกรรมของโรงเรียน จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

-  โครงการอ่านออกเขียนได้ อ่านคล่องเขียนคล่อง จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

####################################################
คำสั่งแต่งตั้งครู ประจําปีการศึกษา 2566

####################################################

งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่ง ครู

ด้านการจัดการเรียนรู้ 

ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ 

ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ 

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทาย

ประเด็นท้าทาย
เรื่อง การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียน โดยใช้แผนสอนคิดแบบ Diagram
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

            ในสภาวะปัจจุบันความเจริญก้าวหน้ามาก ประชาชนสามารถติดต่อกันได้ทั่วโลก เพราะระบบการคมนาคมการสื่อสาร และเทคโนโลยีนานาชนิดเจริญรุดหน้าไปไกล ภาษาจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการติดต่อสื่อสาร เพื่อให้            การติดต่อสื่อสารประสบความสำเร็จ และปัจจุบันภาษาไทยจึงเป็นภาษาที่มีความสำคัญมากภาษาหนึ่ง            สาระการเรียนรู้ภาษาไทยโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4 ได้จัดการเรียนรู้โดยคำนึงถึงพัฒนาการทางร่างกาย และสติปัญญา วิธีการเรียนรู้ ความสนใจ และความสามารถของผู้เรียน อย่างมีกระบวนการและวิธีการที่หลากหลาย   เน้นการจัดการเรียนการสอนตามสภาพจริง การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ร่วมกัน การเรียนรู้จากธรรมชาติ การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง และการเรียนรู้แบบบูรณาการซึ่งสอดคล้องตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 22 ที่กำหนดแนวทางในการจัดการศึกษาไว้ว่า การจัดการศึกษาต้องยึดหลักผู้เรียนทุกคนมีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด ดังนั้นการเรียนภาษาไทยในปัจจุบันจึงเป็นแนวการสอนเพื่อการสื่อสาร จึงต้องเน้นผู้เรียนได้ฝึกทักษะในการเรียนภาษาทั้ง 4 ด้าน คือทักษะการฟังการพูด การอ่าน และการเขียนไปพร้อม ๆ กัน (สันติ แสงสุก. 2553 : 1) ซึ่งทักษะทั้ง 4 ด้านล้วนมีความสำคัญ  เท่า ๆ กัน แต่ทักษะที่นับว่ามีปัญหามาก คือทักษะการอ่านและการเขียนเป็นทักษะที่ยากที่สุดในบรรดาทักษะทั้ง   4 ด้าน (สุไร พงษ์ทองเจริญ. 2554 : 122) ซึ่งมีนักเรียนจำนวนไม่น้อยที่สามารถฟังพูดภาษาไทยได้ แต่เขียนไม่ได้อ่านไม่ออก โดยเฉพาะทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญต่อการวางรากฐานใน    การเขียนที่สามารถนำไปใช้กับทักษะอื่น ๆ ได้ดีถ้าเขียนสะกดคำได้ถูกต้อง (สมใจ ศรีสินรุ่งเรื่อง. 2532 : 2 )

            จากการเปิดสอนหลักสูตรภาษาไทยในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/3 ที่ผ่านมา พบว่านักเรียนสามารถเข้าใจฟังและพูดภาษาไทยได้บ้างแต่ปัญหาที่พบคือการอ่านและการเขียน นักเรียนไม่สามารถอ่านและเขียนคำ    ที่ใช้ บัน บรร รร ได้ จึงสนใจศึกษาวิธีการแก้ปัญหาดังกล่าว โดยการใช้แผนสอนคิดแบบ Diagram เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 

2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

                    1. ศึกษาและวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4 พุทธศักราช 2561 เกี่ยวกับมาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัดที่จะนำมาพัฒนาทักษะการอ่าน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
=> เอกสารข้อ 1 เพิ่มเติม

                    2. ศึกษาหลักการ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนคำที่ใช้บัน บรร และเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
=> เอกสารข้อ 2 เพิ่มเติม

                    3. วิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคลเพื่อจัดการเรียนรู้ตามความแตกต่างของผู้เรียน
=> เอกสารข้อ 3 เพิ่มเติม

                    3. จัดทำหน่วยการจัดการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้ สื่อการสอน และแบบทดสอบทักษะ   การอ่านคำที่ใช้บัน บรร
=> เอกสารข้อ 4 เพิ่มเติม

                    5. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามเทคนิคการสอนแบบแผนสอนคิด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีขั้นตอน ดังนี้

                  5.1 ทดสอบทักษะการอ่านคำที่ใช้บัน บรร ก่อนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนสอนคิด                แบบ Diagram
=> เอกสารข้อ 5.1 เพิ่มเติม

                  5.2 จัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน

                            Do now (ขั้นนำ)

ครูติดแผนภูมิบทร้อยกรองบนกระดาน และอ่านให้นักเรียนฟัง

Purpose (เป้าหมาย)

นักเรียนสามารถบอกลักษณะและอ่านคำที่ใช้  บัน   บรร   รร ได้อย่างถูกต้อง

Work mode (ขั้นสอน)

1.นักเรียนสังเกตคำจากบทร้อยกรอง  โดยครูใช้คำถาม

2. นักเรียนอ่านออกเสียงคำที่ใช้ บัน  บรร และ  รร อีกครั้งหนึ่งและคัดบทร้อยกรอง

3. นักเรียนทำกิจกรรมเสริมทักษะการเรียนรู้ โดยการทำ Diagram ที่ใช้ บัน บรร รร

4. ครูและนักเรียนช่วยกันตรวจคำตอบพร้อม ๆ กัน

5. ครูติดบัตรคำบนกระดานให้นักเรียนเติมตัวอักษรที่หายไป

Reflective Thinking (ขั้นสรุป)

นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็น โดยครูใช้คำถามท้าทาย ดังนี้

   ๏  คำที่ใช้ บัน   บรร   รร ต่างกันอย่างไร
=> เอกสารข้อ 5.2 เพิ่มเติม

                  5.3 ทดสอบทักษะการอ่านคำที่ใช้บัน บรร หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนสอนคิด                 แบบ Diagram
=> เอกสารข้อ 5.3 เพิ่มเติม

                    6. ให้ผู้เรียนทำแบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการเรียนวิชาเทคโนโลยี ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน
=> เอกสารข้อ 6 เพิ่มเติม

                    7. รวบรวมข้อมูลของแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ เพื่อนำมา วิเคราะห์และปรับปรุงแก้ไขในประเด็นต่าง ๆ
=> เอกสารข้อ 7 เพิ่มเติม

                    8. นำผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ เข้าร่วมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของกลุ่มสาระฯ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและหาแนวทางการพัฒนา
=> เอกสารข้อ 8 เพิ่มเติม

3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง 

เชิงปริมาณ 

ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนการอ่านและการเขียนคำที่ใช้ บัน บรร รร นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3             ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้แผนสอนคิดแบบ Diagram มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 

ตัวชี้วัด (Indicators)

นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการอ่านและการเขียนคำที่ใช้ บัน บรร รร               

มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80

คลิปวิดีโอการจัดการเรียนรู้

Teaching.mp4
ผลงานการเขียน Diagram.mp4

ขอขอบคุณที่ปรึกษาในการพัฒนาเว็บไซต์ PA Online

ดร.ศิรภัสสร ชุมภูเทพ 

- ตำแหน่ง    ผู้อำนวยการ
- ผู้อำนวยการโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก  เขต 2

นายณฐวรรฎ

เพียงสุวรรณ์

- ตำแหน่ง  รองผู้อำนวยการ
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก  เขต 2

นางนีรชา ทับประดิษฐ์ 

- ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการ
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก  เขต 2

นางสาวสุพัฒนา 

ทวีเดช 

- ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการ
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก  เขต 2