ส่วนที่ 1

ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

ตารางสอน

ชั่วโมงปฏิบัติงาน

กำหนดชั่วโมงปฏิบัติงาน.pdf

1. ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

ปฏิบัติงาน เต็มเวลา

โดยภาระงานด้านการบริหารวิชาการและความเป็นผู้นำทางวิชาการจะมีการปฏิบัติการสอน จำนวน 8 ชั่วโมง/สัปดาห์ (ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา ไม่ต่ำกว่า 5 ชั่วโมง/สัปดาห์ และรองผู้อำนวยการสถานศึกษา ไม่ต่ำกว่า 10 ชั่วโมง/สัปดาห์) โดยมีการปฏิบัติการสอน/การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในสถานศึกษาอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ดังนี้

  1. ปฏิบัติการสอนประจำวิชา(กิจกรรมแนะแนว)ระดับชั้น ม.3/1 จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

  2. ปฏิบัติการสอนประจำวิชา(กิจกรรมแนะแนว)ระดับชั้น ม.6/1 จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

  3. ปฏิบัติการสอนร่วมกับครูประจำชั้น/ประจำวิชา(กิจกรรมแนะแนว) ระดับชั้น ม.3/2 – ม.3/3 จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

  4. ปฏิบัติการสอนประจำวิชา(กิจกรรมแนะแนว) ระดับชั้น ม.6/2 - ม.6/6 จำนวน 10 ชั่วโมง/สัปดาห์

  5. สังเกตการณ์สอนและสะท้อนผลการสอนร่วมกับครูในกิจกรรมเปิดชั้นเรียน จำนว 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

  6. เป็นผู้นำกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ของโรงเรียน จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

  7. นิเทศการสอนเพื่อเป็นพี่เลี้ยงการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับครู จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

  8. จัดกิจกรรมเสริมสร้างการเรียนรู้และอบรมบ่มนิสัยผู้เรียน จำนว 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

รวมชั่วโมงปฏิบัติการสอน/การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 20 ชั่วโมง/สัปดาห์

(อ้างอิงตารางสอน ,ประกาศโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4 เรื่องการกำหนดชั่วโมงปฏิบัติงานสำหรับข้าราชการครูฯ)


งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา

ส่วนที่ 2

ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทาย

ประเด็นที่ท้าทายในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ครู และสถานศึกษาของผูจัดทําข้อตกลงซึ่ง ปัจจุบันดํารงตําแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา วิทยฐานะผู้อำนวยการ ชํานาญการพิเศษ ต้องแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่ คาดหวังของวิทยฐานะผู้อำนวยการชํานาญการพิเศษ คือการ การริเริ่ม พัฒนา การพัฒนาการบริหารจัดการสถานศึกษาและคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นหรือมีพัฒนาการมากขึ้น (ทั้งนี้ ประเด็น ท้าทายอาจจะแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวัง ในวิทยฐานะที่สูงกว่าได้)





เรื่อง "การพัฒนาครูในการสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning)

โดยใช้กระบวนการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC)"

1. สภาพปัญหาการบริหารจัดการสถานศึกษาและคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา

ปัจจุบันเป็นยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรมในโลกอย่างรวดเร็วอันสืบเนื่องมาจากการใช้เทคโนโลยีเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ ของทุกภูมิภาคของโลกเข้าด้วยกัน การปรับเปลี่ยนทางสังคมที่เกิดขึ้นเป็นสังคมที่ก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ที่เรียกว่าศตวรรษที่ 21 ส่งผลกระทบต่อวิถีการดํารงชีวิตของมนุษย์ในสังคมอย่างทั่วถึง มนุษย์จึงต้องมีความตื่นตัวและเตรียมพร้อมในการเรียนรู้ให้มีทักษะสําหรับการออกไปดํารงชีวิตในโลกแห่งศตวรรษใหม่ โดยทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ที่สําคัญที่สุดคือทักษะการเรียนรู้ (Learning Skill)

(สุพรรณา เพ็ชรรักษา และคณะ, 2559) แต่ผู้เรียนต้องฝึกการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติและการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง (Active Learning) โดยมีครูเป็น “โค้ช” ที่คอยออกแบบการเรียนรู้เพื่อช่วยผู้เรียนให้บรรลุผลได้ ประการสําคัญ คือครูในศตวรรษที่ 21 จะต้องไม่ตั้งตนเป็น “ผู้รู้” แต่ต้องแสวงหาความรู้ไปพร้อมๆ กันกับผู้เรียน

ในขณะเดียวกัน (สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2560) การเปลี่ยนเช่นนี้เป็นสัญญาณเตือนว่า การทํางานและการเรียนรู้ของวิชาชีพครูไม่สามารถทําอย่างโดดเดี่ยว แบ่งแยกกันทําตามสายงานหรือทํางานภายในกรอบแนวคิดเดิมที่มุ่งเน้นเนื้อหาเพื่อสอนมากกว่าการเรียนรู้ (Ministry of Education, 2010)

กระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีนโยบายและจุดเน้นปีงบประมาณ พ.ศ.2565 ในประเด็นการพัฒนาการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดนโยบายด้านการพัฒนาและสร้างเสริมศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ ปีงบประมาณ พ.ศ.2563 มีแนวทางการพัฒนาศักยภาพและคุณภาพผู้เรียนระดับประถมศึกษา ดังนี้

1) จัดการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านกิจกรรมการปฏิบัติจริง (Active Learning)

2) จัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบมุ่งเน้นการใช้ฐานความรู้และระบบความคิดในลักษณะสหวิทยาการ (STEAM Education)

3) จัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนมีทักษะพื้นฐานในการดำรงชีวิตมีสุขภาวะที่ดีสามารถดำรงชีวิตอย่างมีความสุข

4) จัดการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มทักษะการคิดแบบมีเหตุผลและเป็นขั้นตอน (Coding) (กระทรวงศึกษาธิการ, 2563)

จากรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ระดับการศึกษาปฐมวัยและการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2564 พบว่า

ระดับการศึกษาปฐมวัย

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก ระดับคุณภาพ : ดี

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ ระดับคุณภาพ : ดีเลิศ

มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ระดับคุณภาพ : ดีเลิศ

ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน ระดับคุณภาพ : ดี

มาตรฐานที่ 2 กระบวน การบริหารและการจัดการ ระดับคุณภาพ : ดี

มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ระดับคุณภาพ : ดี

ซึ่งผลการพัฒนายังไม่บรรลุเป้าหมายในระดับดีเยี่ยมและทิศทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษา สถานศึกษามีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาผู้เรียนเป็นรายบุคคลที่เพิ่มมากยิ่งขึ้น โดยส่งเสริมให้ครูเห็นความสำคัญของการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การจัดทำการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สามารถเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ ร่วมทั้งมีการพัฒนาบุคลากรโดยส่งเข้ารับการอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในงานที่ได้รับมอบหมาย ติดตามผลการนำไปใช้และผลที่เกิดกับผู้เรียนอย่างต่อเนื่องและพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ของชุมชน (โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4, 2564)

จากสภาพการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4 พบว่าครูผู้สอนบางส่วนใช้การสอนแบบบรรยายหรือบอกความรู้กับผู้เรียนเป็นหลัก เน้นให้ผู้เรียนฟัง จดจำ และท่องในสิ่งที่ครูสอนส่งผลให้การดําเนินงานการจัดการศึกษาของโรงเรียนไม่บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ สมรรถนะสำคัญของนักเรียนด้านความสามารถในการคิด ซึ่งต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไขอย่างเร่งด่วน จากการประชุมคณะครูโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4 ได้ร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาและหาแนวทางแก้ไข สรุปได้ว่า การพัฒนาครูในด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เป็นเรื่องที่จำเป็น ต้องพัฒนาให้เกิดขึ้นในโรงเรียน โดยมุ่งเน้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงคุณภาพในระดับปฏิบัติ คือ "ห้องเรียน" ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน

เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนทั้งระบบโรงเรียนจึงจําเป็นต้องสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่สอดคล้องกับธรรมชาติทางวิชาชีพร่วมในโรงเรียนย่อมมีความเป็นชุมชนที่สัมพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้น (Senge, 1990) จึงไม่อาจปฏิเสธได้ว่า ครูจึงต้องร่วมกันสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ จึงเป็นกระบวนการสร้างการเปลี่ยนแปลงโดยเรียนรู้จากการปฏิบัติงานของกลุ่มบุคคลที่มารวมตัวกันเพื่อทํางานร่วมกันและสนับสนุนซึ่งกันและกัน (สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2560) ดังนั้นคุณลักษณะสําคัญที่ทําให้เกิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โรงเรียนใดมีชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ นอกจากจะต้องประกอบด้วยสมาชิกซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลดังที่กล่าวไปแล้วนั้น การรวมตัวกันของสมาชิกชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพยังต้องประกอบด้วยคุณลักษณะสําคัญ โดยมีการกล่าวถึง คุณลักษณะสําคัญที่จะทําให้เกิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพไว้อย่างหลากหลาย อย่างไรก็ตามสามารถสรุปคุณลักษณะสําคัญที่ทําให้เกิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพได้ 5 ประการ คือ 1) การมีบรรทัดฐานและค่านิยมร่วมกัน (Shared values and vision) 2) การร่วมกันรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของนักเรียน (Collective responsibility for students learning) 3) การสืบสอบเพื่อสะท้อนผลเชิงวิชาชีพ (Reflective professional inquiry) 4) การร่วมมือรวมพลัง (Collaboration) และ 5) การสนับสนุนการจัดลําดับโครงสร้างและความสัมพันธ์ของบุคลากร (Supportive conditions structural arrangements and collegial relationships) (Hord, Roussin & Sommers, 2009)

ดังนั้น ข้าพเจ้านางศิรภัสสร ชุมภูเทพ ผู้อำนวยการโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4 เห็นว่า ครู คือบุคคลสำคัญที่สุดและเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้บรรลุเป้าหมาย จึงได้ดำเนินการพัฒนาครูให้มีความรู้ความสามารถในการสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) อย่างต่อเนื่องเป็นระบบ โดยนำเอาแนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ซึ่งเป็นกระบวนการที่ครูรวมตัวกันเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แบ่งปันประสบการณ์จากการจัดการเรียนรู้มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาครูสู่การพัฒนาผู้เรียน โดยการพัฒนาครูในการสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning)โดยใช้กระบวนการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC) ขึ้น


2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

จากประเด็นท้าทาย เรื่อง “การพัฒนาครูในการสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) โดยใช้กระบวนการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC)” มีวิธีการดำเนินการให้บรรลุผล ดังนี้

วิธีดำเนินการ

1. ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา แนวทางการพัฒนาครูในการสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) โดยใช้กระบวนการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC)

2.สร้างแนวทางการพัฒนาครูในการสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning)โดยใช้กระบวนการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC)

3. นำแนวทางการพัฒนาครูในการสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยใช้กระบวนการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC) ไปทดลองใช้กับครูโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4

โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฎิบัติการ (PAOR)

3.1 การเตรียมการ( Plan)

1) แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)

2) จัดทำบันทึกข้อตกลง (MOU) การปฏิบัติงาน

3) ประชุมจัดทำแผนงานการใช้แนวทางฯ

3.2 การดำเนินการ(Action)

1) ประชุมอบรมเชิงปฏิบัติการเพิ่มความรู้ความเข้าใจให้กับครู

2) สร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) พัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน

3) วิเคราะห์ปัญหาและเลือกบทเรียนที่ต้องการพัฒนา

4) ออกแบบและจัดทําแผนการจัดการเรียนรู้ ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)

5) จัดการเรียนรูตามแผน/สังเกตการณ์สอนปรับปรุงแก้ไขแผนการจัดการเรียนรู้

6) สะท้อนผลการจัดการเรียนรู้

3.3 สังเกต นิเทศ ติดตาม (Observe)

1) นิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผล

2) จัดสัมมนาทางวิชาการ ผลงานนักเรียน Open house

3.4 สะท้อนผลย้อนกลับ (Reflect)

1) ประชุมถอดบทเรียน

2) พัฒนา ปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)

4. ประเมินผลการใช้แนวทางการพัฒนาครูในการสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning)โดยใช้กระบวนการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC)

ระยะเวลา

ตุลาคม 2564



ตุลาคม 2564



ตุลาคม 2564 - กันยายน 2565



















2 ระยะ มีนาคม 2565 และกันยายน 2565

3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง

เชิงปริมาณ

1) นักเรียนร้อยละ 80 มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21

2) นักเรียนร้อยละ 80 มีสมรรถนะตามหลักสูตรสถานศึกษา

3) นักเรียนร้อยละ 80 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ ตามที่สถานศึกษากำหนด

4) ครูทุกคน มีความรู้ ความสามารถด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)

5) ครูทุกคนมีนวัตกรรมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)

6) โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4 มีผลการประเมินมาตรฐานบรรลุ

เป้าหมายทั้ง 3 มาตรฐาน

เชิงคุณภาพ

1) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ ตามที่สถานศึกษากำหนด

2) ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) อย่างมีประสิทธิภาพ

3) โรงเรียน มีผลการประเมินมาตรฐานการศึกษาภายในระดับดีเลิศหรือยอดเยี่ยม



กระบวนการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC)

การพัฒนาครูในการสร้างนวัตกรรม

การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning)

ผลลัพธ์จากการริเริ่ม พัฒนา