ผู้จัดทำข้อตกลง

       นางสาวจุฑามาศ  ศรีปัญญา 

 ตำแหน่ง  ครู     

สถานศึกษา โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4  

 สังกัด สำนกงานเขตพื้นที่การศึกษา

ประถมศึกษาตากเขต 2

ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

                            ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด 

                 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน จำนวน 15 ชั่วโมง/สัปดาห์ 

         กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ      20 นาที/วัน    จำนวน 1 ชั่วโมง 40 นาที/สัปดาห์

         กิจกรรมเสริมประสบการณ์           20 นาที/วัน    จำนวน 1 ชั่วโมง 40 นาที/สัปดาห์              

         กิจกรรมสร้างสรรค์              40 นาที/วัน     จำนวน 3 ชั่วโมง 20 นาที/สัปดาห์  

         กิจกรรมเล่นตามมุม              40 นาที/วัน     จำนวน 3 ชั่วโมง 20 นาที/สัปดาห์

         กิจกรรมกลางแจ้ง               40 นาที/วัน     จำนวน 3 ชั่วโมง 20 นาที/สัปดาห์                  

         กิจกรรมเกมการศึกษา               2 0 นาที/วัน     จำนวน 1 ชั่วโมง 40 นาที/สัปดาห์



        

      งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้
      จำนวน  6  ชั่วโมง/สัปดาห์

    - การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้                 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

   - การวัดและประเมินผลการเรียนรู้                1 ชั่วโมง/สัปดาห์

   - การประเมินพัฒนาการเด็ก                       2 ชั่วโมง/สัปดาห์

   - การสร้างและพัฒนาสื่อการเรียนการสอน        1 ชั่วโมง/สัปดาห

   - การมีส่วนร่วมในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ   1 ชั่วโมง/สัปดาห์


งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
จำนวน  10 ชั่วโมง/สัปดาห์ 

 - งานวิจัยชั้นเรียน                                        1 ชั่วโมง/สัปดาห์                   - งานตรวจการบ้านนักเรียน                              2 ชั่วโมง/สัปดาห์

- งานครูที่ปรึกษาประจำชั้น/งานดูแลนักเรียน    1 ชั่วโมง/สัปดาห์    

  - ครูเวรประจำวัน                                           1 ชั่วโมง/สัปดาห์

- งานฝ่ายงบประมาณ                              4 ชั่วโมง/สัปดาห์

- กรรมการแต่ละงานตามโครงสร้างการบริหาร   4 ชั่วโมง/สัปดาห์

  งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น จำนวน             1ชั่วโมง/สัปดาห์

- โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย               1 ชั่วโมง/สัปดาห์

      งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่ง ครู

    ด้านการจัดการเรียนรู้ 

ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ 

                  ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ 

                               ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทาย

ประเด็นท้าทาย
                    เรื่อง การพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน                          (Project-Based Learning: PBL)

                       1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

                1.  สภาพปัญหาของผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้

  เนื่องด้วยผู้จัดทำข้อตกลงได้รับผิดชอบการจัดการเรียนการสอนในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 ได้เห็นถึงบริบทสถานศึกษา ซึ่งเป็นพื้นที่ชุมชนชาติพันธ์ มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม มีแหล่งการเรียนรู้ที่สามารถช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฎิบัติจริง (Active Learning) ประกอบกับการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย ควรยึดพัฒนาการและการพัฒนาเด็กโดยองค์รวม เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา  ผู้จัดทำข้อตกลงจึงได้เล็งเห็นว่าการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning: PBL) เป็นการส่งเสริมให้การเรียนรู้ตลอดชีวิต สอดคล้องกับทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน และการเรียนรู้แบบร่วมมือ ซึ่งมีขั้นตอนการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับการแสวงหาความรู้การใช้กระบวนคิด และทักษะในการแก้ปัญหา ผู้เรียนจะเรียนรู้โดยสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองโดยใช้โครงงานเป็นฐาน ซึ่งการจัดการเรียนรู้ลักษณะนี้ ผู้เรียนต้องศึกษาค้นคว้า ทดลอง ปฏิบัติและแก้ปัญหา เพื่อสร้างผลงานหรือชิ้นงาน เป็นการฝึกให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการกระทำเพื่อสร้างองค์ความรู้ที่ถาวรด้วยตัวผู้เรียนเอง ทั้งนี้ผู้เรียนอาจทำเป็นกลุ่มเล็กหรือเป็นกลุ่มใหญ่ก็ได้ ซึ่งจะเป็นการฝึกให้ผู้เรียนเกิดทักษะการทำงาน เป็นทีม ได้ร่วมมือร่วมใจในการทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของกลุ่มและเกิดผลสำเร็จร่วมกัน

  


                       2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

                    1)  ศึกษาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560 เพื่อออกแบบหน่วยการเรียนรู้ตามมาตรฐาน คุณลักษณะและตัวบ่งชี้

2) ศึกษาการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดประสบการณ์การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาล 2

3) ใช้กระบวนการ PLC เข้ามาช่วยในการแก้ไขปัญหา พัฒนาสื่อและนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพ

4) ออกแบบการจัดประสบการณ์การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน ออกแบบกิจกรรมวิเคราะห์ตามมาตรฐานคุณลักษณะและตัวบ่งชี้

5) จัดประสบการณ์การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานตามที่ได้ออกแบบไว้

6) ประเมินผลการจัดประสบการณ์และนำผลที่ได้มาปรับปรุง ให้มีความน่าสนใจ เข้าใจง่าย และนักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง

7) นำผลสะท้อนในการจัดประสบการณ์การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานบันทึกข้อมูลในระบบสารสนเทศผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพื่อประเมินการเรียนรู้  นำข้อมูลที่ได้พัฒนาผลการเรียนรู้ให้ผู้เรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้


                   3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง 

                                เชิงปริมาณ 

    นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/3โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4 ร้อยละ 85.84  มีผลการพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน สูงขึ้น


เชิงคุณภาพ 

นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/3โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4 มีทักษะกระบวนการ การทำงานเป็นทีม และมีพัฒนาด้านการใช้ภาษา    การคิดรวบยอด การคิดเชิงเหตุผล การตัดสินใจและการแก้ปัญหา จิตนาการและความคิดสร้างสรรค์ เจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้และการแสวงหาความรู้ ตรงตามมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์      และตัวบ่งชี้ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560

 


คลิปวิดีโอการจัดการเรียนรู้

ขอขอบคุณที่ปรึกษาในการพัฒนาเว็บไซต์ PA Online

นางศิรภัสสร ชุมภูเทพ

- ตำแหน่ง    ผู้อำนวยการ
- วิทยฐานะ  ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
- ผู้อำนวยการโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตากเขต 2

นางสาวสุพัฒนา ทวีเดช

- ตำแหน่ง    รองผู้อำนวยการ
- วิทยฐานะ  รองผู้อำนวยการชำนาญการ
-  รองผู้อำนวยการโรงเรียนป่าไม้อุทิศ4
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตากเขต 2

นางนีรชา ทับประดิษฐ์

- ตำแหน่ง    รองผู้อำนวยการ
- วิทยฐานะ  รองผู้อำนวยการชำนาญการ
-  รองผู้อำนวยการโรงเรียนป่าไม้อุทิศ4
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตากเขต 2