ผู้จัดทำข้อตกลง

นายอาทิตย์ ภูมิผล

ตำแหน่ง  ครู   วิทยฐานะ  ครูชำนาญการพิเศษ

สถานศึกษา โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4  

สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตากเขต 2  

ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด 

ชั่วโมงสอนตามตารางสอน จำนวน 22 ชั่วโมง/ สัปดาห์ 

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

- รายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน 1                 จำนวน ๑๐ ชั่วโมง/สัปดาห์

- รายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน 3             จำนวน ๖ ชั่วโมง/สัปดาห์

- รายวิชาประวัติวรรณคดี                จำนวน ๖ ชั่วโมง /สัปดาห์

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

- กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนรายวิชาจริยธรรม      จำนวน ๑ ชั่วโมง/สัปดาห์

คำสั่งแต่งตั้งมอบหมายงานครูผู้สอนภาคเรียนที่ 1/256๕


งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้
จำนวน  6  ชั่วโมง/สัปดาห์

- การจัดทำแผนการเรียนรู้ การสร้างสื่อการสร้างเครื่องมือ ประเมินผล วิจัยในชั้นเรียน                              จำนวน ๓ ชั่วโมง/สัปดาห์

- การมีส่วนร่วมในชุมชนแห่งการเรียนรู้    จำนวน ๓ ชั่วโมง/สัปดาห์


คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเยี่ยมบ้าน ปีการศึกษา 256๕

คำสั่งแต่งตั้งครูที่ปรึกษา ภาคเรียนที่ ๑/256๕



งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
จำนวน  10 ชั่วโมง/สัปดาห์ 

กลุ่มงานบริหารงานทั่วไป

- หัวหน้างานฝ่ายโสตทัศนศึกษา              จำนวน 6 ชั่วโมง/สัปดาห์

- กรรมการงานห้องสมุด                     จำนวน ๔ ชั่วโมง/สัปดาห์
คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่งานตามสายงานบริหารราชการโรงเรียน ประจําปีการศึกษา 256


งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่ง ครู

ด้านการจัดการเรียนรู้ 

ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ 

ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ 

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทาย ปีการศึกษา 2564

ประเด็นท้าทาย
เรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญ โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4


1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

                    ตามที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2  ให้ครูในสังกัดได้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามเหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษาและท้องถิ่น ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ( Covid-19 ) ประจำภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564  ดังนั้น  ข้าพเจ้า นายอาทิตย์  ภูมิผล ตำแหน่ง ครู กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย รับผิดชอบเป็นครูที่ปรึกษานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/4นักเรียนทั้งหมด จำนวน 29 คน  ทำให้ไม่สามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในชั้นเรียนให้เป็นตามปกติได้  จึงทำให้ทางโรงเรียนได้เลือกรูปแบบการเรียนการสอนแบบ Online (Google Classroom และ Google Meet)

      โรงเรียนป่าไม้อุทิศ4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 สภาพชุมชน

โดยทั่วไปเป็นโรงเรียนที่มีนักเรียนเป็นชนเผ่าม้งเป็นส่วนใหญ่ ภาษาที่ใช้สื่อสารกันในชีวิตประจำวันเป็นภาษา

ม้ง ส่งผลให้การเรียนการสอนอ่านจับใจความยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรจากปัญหาดังกล่าวสามารถสรุปได้ว่า การอ่านไม่ใช่เพียงแค่นักเรียนไม่มีนิสัยรักการอ่านเท่านั้นเพราะถ้าเรามองให้ลึกลงไปในขั้นการสอนจะพบปัญหาว่า นักเรียนส่วนมาก ประสบปัญหาในการอ่านจับใจความเนื่องจากอ่านหนังสือแล้วไม่เข้าใจ ไม่สามารถสรุปหรือ จับใจความของเรื่องที่อ่านได้ แยกข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นของเรื่องไม่ได้ ไม่สามารถแยกประเด็นหลักและประเด็นรองได้ และนักเรียนขาดสมาธิในการอ่านแบบฝึกเป็นสื่อหรือนวัตกรรมการเรียนการสอนชนิดหนึ่งที่นิยมใช้ และมีบทบาทในวงการ

ศึกษาอย่างมาก เป็นสื่อการเรียนรู้สำหรับการแก้ปัญหาในการเรียนรู้ของนักเรียน เป็นสื่อการเรียนรู้เพื่อ

พัฒนาการเรียนรู้ให้กับนักเรียน พัฒนาความรู้ ทักษะและเจตคติด้านต่างๆ ของผู้เรียน แบบฝึกจะช่วยให้

ผู้เรียนได้ฝึกทักษะทันทีหลังจากที่นักเรียนได้เรียนรู้เรื่องนั้นๆ ผู้เรียนได้ฝึกซ้ำหลายๆ ครั้งทำให้เข้าใจบทเรียน

ดีขึ้น นักเรียนจะมีความเชื่อมั่นและสามารถประเมินผลของตนเองได้ เป็นการฝึกให้ผู้เรียนทำงานตามลำพังโดยมีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายจากเหตุผลดังกล่าว ข้าพเจ้าจึงสร้างแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้กระบวนการสร้างความคิดรวบยอด โดยมีส่วนประกอบคือ ใบความรู้ แบบฝึกและแบบทดสอบก่อนและหลังเรียน เรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญ เน้นจัดกิจกรรมให้มีความรู้ตามใบความรู้เรื่อง การจับใจความสำคัญ จนเกิดทักษะความชำนาญ เพื่อเป็นการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนด้านการอ่านจับใจความสำคัญ เป็นพื้นฐานในการเรียนระดับสูงต่อไปเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองตลอดจนตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล นักเรียนได้เรียนรู้เต็มศักยภาพ สอดคล้องกับแนวทางการ

จัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

        1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ เรื่องการอ่านจับใจความสำคัญ ตามเกณฑ์

       2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการอ่านจับใจความสำคัญ ของนักเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกการอ่านจับใจความสำคัญ 


3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง 

เชิงปริมาณ 

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4  ร้อยละ 60  มีความรู้และทักษะการอ่านออกเสียงได้ถูกต้อง  ตามตัวชี้วัดในสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาภาษาไทยที่สูงขึ้น


เชิงคุณภาพ 

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2  ปีงบประมาณ 2565 ( 1 ตุลาคม 2564 – 30  กันยายน 2565 ) ต้องมีทักษะการอ่านออกเสียงได้ถูกต้อง  และมีความรู้ตามตัวชี้วัดในสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องการอ่านออกเสียง (ตรงตามหลักสูตรแกนกลางต้องรู้และควรรู้) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2561 มีสมรรถนะหลักของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พร้อมทั้งเกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุขและสามารถใช้ชีวิตอยู่ในสงคมได้อย่างมีความสุข


ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทาย ปีการศึกษา 2565

ประเด็นท้าทาย
เรื่อง พัฒนาชุดกิจกรรมเสริมทักษะ เพื่อแก้ปัญหาการอ่าน การเขียนภาษาไทย ตามแนวคิด คอนสตรัคติวิสต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 

1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

                    ตามที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2  ให้ครูในสังกัดได้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามเหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษาและท้องถิ่น ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ( Covid-19 ) ประจำภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564  ดังนั้น  ข้าพเจ้า นายอาทิตย์ ภูมิผล ตำแหน่ง ครู กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย รับผิดชอบเป็นครูที่ปรึกษานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/4นักเรียนทั้งหมด จำนวน 29 คน  ทำให้ไม่สามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในชั้นเรียนให้เป็นตามปกติได้  จึงทำให้ทางโรงเรียนได้เลือกรูปแบบการเรียนการสอนแบบ Online (Google Classroom และ Google Meet)จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนป่าไม้อุทิศ4  พบว่านักเรียนมีปัญหาเรื่องการอ่าน การเขียน คือ อ่านแล้วไม่เข้าใจเรื่องที่อ่าน ตอบคำถามไม่ได้ จับใจความสำคัญจากเรื่องที่อ่านไม่ได้ส่วนในด้านการเขียน พบว่า นักเรียนขาดทักษะการเขียนสื่อความ การเรียบเรียงประโยค การลำดับเหตุการณ์ไม่ต่อเนื่อง การเชื่อมประโยคไม่สละสลวยเลือกใช้ถ้อยคำภาษาไม่เหมาะสมกับงานเขียน ส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่าน การเขียนไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่โรงเรียนกำหนด ครูจึงพัฒนาชุดกิจกรรมเสริมทักษะการอ่าน การเขียนภาษาไทยตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivist) เพื่อแก้ปัญหาการอ่าน การเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4


2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

                   2.1 ศึกษาและวิเคราะห์หลักสูตร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สาระที่ 1 การอ่าน สาระที่ 2 การเขียน ในเรื่องของมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด

       2.2 ศึกษารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivist) จัดทำหน่วยการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาการอ่าน การเขียนภาษาไทย และจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivist)

       2.3 จัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivist) ซึ่งเป็นทฤษฎีที่ว่าด้วยการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยครูเป็นผู้ออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยเริ่มจาก 1) ทบทวนบทเรียนเก่าที่ได้เคยเรียนในชั่วโมงที่แล้ว 2) กระตุ้นเชิญชวนให้ผู้เรียนเกิดข้อสงสัยในเรื่องใหม่ที่กำลังจะเรียนรู้ ให้เกิดความอยากรู้คำตอบ 3) ลงมือปฏิบัติการค้นคว้าหาคำตอบร่วมกับกลุ่มเพื่อน 4) นำเสนอ สิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน ตามแนวคิดของผู้เรียน

      2.4 จัดทำชุดกิจกรรมเสริมทักษะเพื่อแก้ปัญหาการอ่าน การเขียนภาษาไทย จำนวน 6 ชุด ประกอบด้วย

        - อ่านเขียน เรียนรู้คำ

        - เน้นย้ำ สื่อความหมาย

        - ขยายคำ นำมาเขียน

        - เปลี่ยนร่าง สร้างความใหม่

        - จับใจความสำคัญ

        - สร้างสรรค์ งานเขียนสื่อสาร

     2.5 วัดและประเมินผลโดยการทดสอบความสามารถในการอ่าน การเขียนภาษาไทย การทำกิจกรรมเพื่อตรวจสอบการอ่าน การเขียนภาษาไทยระหว่างเรียน

     2.6 วิเคราะห์ผู้เรียนด้านการอ่าน การเขียนภาษาไทย เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาผู้เรียน

     2.7 จัดบรรยากาศการจัดการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการพัฒนาผู้เรียนด้านการอ่าน การเขียนภาษาไทย

     2.8 ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของผู้เรียนโดยการบูรณาการในการจัดการเรียนรู้


3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง 

เชิงปริมาณ 

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4  ร้อยละ 60  มีความรู้และทักษะการอ่านออกเสียงได้ถูกต้อง  ตามตัวชี้วัดในสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาภาษาไทยที่สูงขึ้น


เชิงคุณภาพ 

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2  ปีงบประมาณ 2565 ( 1 ตุลาคม 2564 – 30  กันยายน 2565 ) ต้องมีทักษะการอ่านออกเสียงได้ถูกต้อง  และมีความรู้ตามตัวชี้วัดในสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องการอ่านออกเสียง (ตรงตามหลักสูตรแกนกลางต้องรู้และควรรู้) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2561 มีสมรรถนะหลักของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พร้อมทั้งเกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุขและสามารถใช้ชีวิตอยู่ในสงคมได้อย่างมีความสุข


ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทาย ปีการศึกษา 2566

ประเด็นท้าทาย
เรื่อง ประเด็นท้าทาย เรื่อง การพัฒนาทักษะการอ่านการเขียนด้วยชุดพัฒนาความสามารถการอ่าน การเขียนวิชาภาษาไทย เพื่อพัฒนาความสามารถการอ่าน การเขียนภาษาไทยควบคู่กับการฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

 

1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

                    ตามที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 ได้ดำเนินงานโครงการการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนภาษาไทยอย่างต่อเนื่อง มีการพัฒนานักเรียน พัฒนาครู โดยใช้สื่อที่หลากหลาย เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2  คือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาทุกคนต้องอ่านคล่อง เขียนคล่อง และมีผลสัมฤทธิ์การเรียนภาษาไทยสูงขึ้นจากฐานเดิม ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ครูผู้สอนจึงได้ใช้วิธีการพัฒนาความสามารถการอ่านการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ขึ้นด้วยชุดพัฒนาความสามารถการอ่าน การเขียนวิชาภาษาไทย เพื่อพัฒนาความสามารถการอ่าน การเขียนภาษาไทยควบคู่กับการฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และเพิ่มผลสัมฤทธิ์ในวิชาภาษาไทยให้สูงขึ้น

2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

                    1) ศึกษาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานแกนกลาง และหลักสูตรนักเรียนต้องรู้ กลุ่มสาระการ

เรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เพื่อออกแบบหน่วยตามตัวชี้วัด

  2) ศึกษาการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อพัฒนาทักษะการอ่านการเขียนด้วยชุดพัฒนาความสามารถการอ่าน การเขียนวิชาภาษาไทย เพื่อพัฒนาความสามารถการอ่าน การเขียนภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

    3) ใช้กระบวนการ PLC เข้ามาช่วยในการแก้ไขปัญหา พัฒนาสื่อและนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพ

  4) ออกแบบสื่อ  พัฒนาทักษะการอ่านการเขียนด้วยชุดพัฒนาความสามารถการอ่าน การเขียนวิชาภาษาไทย เพื่อพัฒนาความสามารถการอ่าน การเขียนภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4             

  5) จัดทำสื่อการเรียนรู้ พัฒนาทักษะการอ่านการเขียนด้วยชุดพัฒนาความสามารถการอ่าน การเขียนวิชาภาษาไทย เพื่อพัฒนาความสามารถการอ่าน การเขียนภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ตามที่ได้ออกแบบไว้

  6) นำสื่อไปทดลองใช้และนำผลที่ได้มาปรับปรุง พัฒนาสื่อการสอน ชุดพัฒนาความสามารถการอ่าน การเขียนวิชาภาษาไทย ให้มีความน่าสนใจ เข้าใจง่าย และนักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง

  7) นำผลสะท้อนในการใช้ชุดพัฒนาความสามารถการอ่าน การเขียนวิชาภาษาไทยพัฒนาการอ่าน บันทึกข้อมูลคะแนนในระบบสารสนเทศผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพื่อประเมินการเรียนรู้ นำข้อมูลที่ได้พัฒนาผลการเรียนรู้ให้ผู้เรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้



3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง 

เชิงปริมาณ 

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4  ร้อยละ 70  ที่เรียนในรายวิชาภาษาไทย มีผลการพัฒนาทักษะการอ่านการเขียน ตามตัวชี้วัดที่ต้องรู้และตัวชี้วัดที่ควรรู้ และมีผลสัมฤทธิ์สูงขึ้น



เชิงคุณภาพ 

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4 สามารถอ่านออกเขียนได้ แก้ปัญหาได้ มีกระบวนการคิด ตรงตามสมรรถนะของผู้เรียนในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551

 



คลิปวิดีโอการจัดการเรียนรู้

แรงบันดาลใจ.mp4

คลิปแรงบันดาลใจ

ขอขอบคุณที่ปรึกษาในการพัฒนาเว็บไซต์ PA Online


นางศิรภัสสร ชุมภูเทพ

- ตำแหน่ง    ผู้อำนวยการ
- วิทยฐานะ  ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
- ผู้อำนวยการโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 

นายณฐวรรฏ เพียงสุวรรณ์

- ตำแหน่ง      รองผู้อำนวยการ
- วิทยฐานะ  รองผู้อำนวยการชำนาญการ
- รองผู้อำนวยการโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 

นางสาวสุพัฒนา  ทวีเดช

- ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการ
- วิทยฐานะ  รองผู้อำนวยการชำนาญการ
- รองผู้อำนวยการโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 

นางนีรา  ทับประดิษฐ์

- ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการ
- วิทยฐานะ   รองผู้อำนวยการชำนาญการ
- รองผู้อำนวยการโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2