HYPERLOOP

ไฮเปอร์ลูปมีลักษณะเป็นแคปซูลที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงภายในท่อโดยอากาศภายในท่อนี้จะถูกนำออกไปกลายเป็นท่อความดันต่ำหรือท่อสุญญากาศ เพื่อลดแรงต้านอากาศ นอกจากนี้การเคลื่อนที่โดยที่ตัวยานแคปซูลลอยอยู่ด้วยแรงแม่เหล็ก (Magnetic Levitation Technology) หรือล้อเลื่อนอากาศ ไม่สัมผัสกับท่อ ก็ยังช่วยลดแรงเสียดทานจากพื้นอีกทางหนึ่งด้วย ทำให้ไฮเปอร์ลูปสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างรวดเร็ว ด้วยความเร็วที่คาดการณ์ประมาณ 1,200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือเร็วกว่าเครื่องบินที่เราใช้ในปัจจุบันถึงสองเท่า ท่อไฮเปอร์ลูป (Hyperloop) จะมีทั้งส่วนที่อยู่เหนือพื้นดินและอยู่ใต้ดิน โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 3 เมตร ซึ่งใช้พื้นที่น้อยกว่าถนนและรถไฟแบบดั้งเดิมมาก ในช่วงแรกวิศวกรจะใช้กำลังงานจากมอเตอร์ไฟฟ้า ยกแคปซูลให้ลอยขึ้นจากพื้น และจะขับเคลื่อนด้วยความเร็วที่ค่อย ๆ เพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ ในสภาวะที่มีแรงดันต่ำ


ไฮเปอร์ลูปเป็นเทคโนโลยีที่ใช้เวลาในการพัฒนาหลายปี โดยสร้างขึ้นจากแนวคิดของนายอีลอน มัสก์ ผู้ก่อตั้งบริษัทเทสลา ซึ่งในช่วงแรกกลุ่มนักวิจารณ์เปรียบแนวคิดนี้เป็นนิยายวิทยาศาสตร์ นายมัสก์ได้เสนอแนวคิดระบบขนส่งนี้ครั้งแรกเมื่อปี 2013 โดยตั้งเป้าว่าจะพัฒนาระบบนี้ให้มีความเร็วสูงสุดที่ 1,000 กม./ชม. เพื่อย่นระยะเวลาการเดินทางในอนาคต
ไฮเปอร์ลูป มีแนวคิดมาจากรถไฟแม็กเลฟ (maglev) ซึ่งเป็นรถไฟความเร็วสูงที่ใช้เทคโนโลยีพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าในการสร้างแรงยกตัวให้รถไฟวิ่งไปโดยที่ลอยอยู่เหนือรางแทนการใช้ล้อ จากนั้นใช้การเร่งความเร็วไปตามอุโมงค์สุญญากาศเพื่อทำให้ไฮเปอร์ลูปทำความเร็วได้มากขึ้น เวอร์จิน ไฮเปอร์ลูป ก่อตั้งขึ้นในปี 2014 จากนั้นกลุ่มบริษัทเวอร์จิน กรุ๊ป ได้เข้าไปลงทุนในปี 2017 โดยก่อนหน้านี้บริษัทเป็นที่รู้จักในนาม ไฮเปอร์ลูป วัน (Hyperloop One) และ เวอร์จิน ไฮเปอร์ลูป วัน (Virgin Hyperloop One) ในการให้สัมภาษณ์กับบีบีซีเมื่อปี 2018 นายร็อบ ลอยด์ ผู้บริหาร เวอร์จิน ไฮเปอร์ลูป วัน ในขณะนั้น ระบุว่า ในทางทฤษฎีเทคโนโลยีนี้จะช่วยให้ผู้คนสามารถเดินทางระหว่างสนามบินฮีทโธรว์และสนามบินแกตวิคในกรุงลอนดอน ซึ่งมีระยะทาง 72.42 กิโลเมตร (45 ไมล์) ได้ภายในเวลาเพียง 4 นาที นอกจากนี้ เวอร์จิน ไฮเปอร์ลูป ยังสำรวจความเป็นไปได้ในการใช้เทคโนโลยีนี้ในประเทศอื่น ๆ ด้วย เช่น การตั้งสมมุติฐานเรื่องการเดินทางระหว่างนครดูไบกับกรุงอาบูดาบี ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยใช้เวลาเพียง 12 นาที เมื่อเทียบกับการขนส่งมวลชนที่มีอยู่ในปัจจุบันที่ต้องใช้เวลาในการเดินทางกว่า 1 ชั่วโมง รถไฟแม็กเลฟของญี่ปุ่นได้สร้างสถิติโลก ด้วยการทำความเร็วสูงสุดราว 601 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (374 ไมล์ต่อชั่วโมง) ในการทดสอบวิ่งใกล้กับภูเขาไฟฟูจิ เมื่อปี 2015หนึ่งในเทคโนโลยีที่เป็นความหวังใหม่ของมนุษย์เราคือ ไฮเปอร์ลูป (Hyperloop) ซึ่งเป็นรูปแบบใหม่ของการขนส่งในระดับภาคพื้น พัฒนาโดยบริษัทหลายแห่ง
แม้ว่าแนวคิดของการเดินทางผ่านท่อสุญญาการจะมีมานาน แต่ว่าแนวคิดไฮเปอร์ลูปในปัจจุบันนั้นมาจาก อีลอน มัสก์ (Elon Musk) ผู้เป็นเจ้าของบริษัทเทคโนโลยีที่ทันสมัยอย่างสเปซ เอ็กซ์ (Space X) ซึ่งเป็นบริษัทที่สามารถนำจรวดขนส่งในอวกาศกลับมาลงจอดบนพื้นโลกได้สำเร็จ และนำจรวดขับดัน Space X กลับมาใช้ใหม่ในเชิงการค้าได้ เขามีส่วนร่วมเพื่อวิจัยและแสวงหาแนวคิดใหม่ ๆ อีลอนกล่าวว่า รถไฟความเร็วสูง (High-Speed Rail) นั้นมีราคาแพงและช้าเกินไป เขาจึงเสนอระบบขนส่งที่สามารถคงทนต่อสภาพอากาศ มีความเร็วเป็นสองเท่าของเครื่องบิน และใช้พลังงานน้อยมาก หลังจากนั้นเขาได้อธิบายเทคโนโลยีของเขาที่เป็นการผสมผสานระหว่างปืนแม่เหล็กไฟฟ้าแบบรางคู่ (Railgun) เครื่องบินคองคอร์ด (Concorde) และโต๊ะแอร์ฮอกกี้ (Air Hockey Table) คุณสมบัติหลักของระบบที่มีการกำหนดไว้นั้น ได้แก่ ความปลอดภัย ความรวดเร็วในการเดินทาง ต้นทุนการผลิตตํ่าผู้โดยสารใช้งานสะดวก ทนทานต่อสภาพอากาศและสามารถซับแรงจากแผ่นดินไหวได้ ซึ่งนับว่าเป็นระบบที่ตรงกับความมุ่งหวังของเมืองใหญ่ทั่ว โลกที่ต้องการพัฒนาระบบการขนส่ง สาธารณะที่รวดเร็วและราคาไม่แพง ตลอดจนมองหาทางเลือกใหม่นอกจากการขุดเจาะสร้างอุโมงค์หรือพัฒนาระบบเดิม แต่เป็นการพัฒนาการขนส่งแบบท่อขนส่งขนาดเล็กที่สามารถบริการผู้คนได้จริง ทั้งนี้มีกำหนดการเปิดใช้งานจริงของเฟสแรกในปี 2020 - 2021 ทั้งยังมีการพิจารณาเพิ่มเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างประเทศ เช่น การ์ตา ซาอุดิอาระเบีย หรือโอมานในอนาคตด้วย ยิ่งไปกว่านั้น Hyperloop One ยังเตรียมแผนงานสร้าง Pod พร้อมเส้นทางทั้งแบบขนส่งผู้คนและแบบคาร์โกส่งสินค้าในพื้นที่อื่น ๆ ทั่วโลกด้วย อาทิในสหรัฐอเมริกา ฟินแลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ และรัสเซีย โดยในแต่ละแห่งจะเป็นการลงทุนร่วมกับบริษัทในพื้นที่แต่ใช่ว่า Hyperloop จะเป็นตัวเลือกเดียวในการเดินทางสาธารณะแห่งอนาคต เพราะล่าสุดท่ามกลางกระแสความนิยมระบบท่อสุญญากาศที่กำลังแพร่ขยายไปทั่วโลก จีนก็กำลังวางแผนสร้างรถไฟ MagLev (Magnetic Levitation ระบบคมนาคมที่ใช้พลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าในการขับเคลื่อนโดยปราศจากล้อ) ที่คาดว่าจะสามารถทำความเร็วได้ถึง 2,485 ไมล์ต่อชั่วโมง (หรือราว 4,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) นั่นคือ มีความเร็วสูงกว่าความเร็วเสียงถึงประมาณ 3.26 เท่า และถูกเรียกว่า “รถไฟบิน (Flying Train)” โดยมีบริษัท China Aerospace Science and Industry Corp. (CASIC - บรรษัทการบินอวกาศและอุตสาหกรรมจีน) เทคโนโลยีการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารทางท่อด้วยความเร็วสูงในระดับเดียวกับหรือเหนือกว่าเครื่องบินพาณิชย์ ไม่เพียงแต่จะเป็นการประหยัดเวลาเดินทางเท่านั้น แต่ยังเปิดโอกาสให้ผู้คนสามารถเข้าถึงทรัพยากรและแหล่งทุนได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศต่อไป

ตอบคำถามร่วมสนุก ลุ้นรับเกียรติบัตร คลิ๊ก