พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้รับยอกย่องในพระราชสมัญญานามว่า "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย" เพราะทรงพระปรีชาสามารถ ทรงศึกษาเชี่ยวชาญภาษาต่างประเทศหลายภาษา เช่น บาลี อังกฤษ ละตินเป็นพิเศษ สำหรับพระปรีชาสามารถและอัจฉริยะทางดาราศาสตร์ ทรงศึกษาโดยพระองค์เองจากตำราไทยและมอญ ซึ่งแปลจากตำราโบราณของฮินดู และทรงศึกษาตำราดาราศาสตร์และคณิตศาสตร์จากยุโรปจนสามารถคำนวณได้ล่วงหน้าถึง 2 ปี ว่าจะเกิดสุริยุปราคาเต็ม ดวงในวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 และเห็นได้อย่างชัดเจนในประเทศไทยที่บ้านคลองลึก ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

พระอัจฉริยภาพทางด้านวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์

...............รัชสมัยของพระองค์ได้ปรากฏดาวหางดวงใหญ่ 3 ดวง คือดาวหางฟลูเกอร์กูส์ ในปี พ.ศ. 2353 ดาวหางโดนาติ (Donati) ในปี พ.ศ.2401 และดาวหางเทบบุท (Tebbutt) ในปี พ.ศ. 2404 ทำให้ชาวบ้านต่างหวาดกลัวเพราะเชื่อว่าเป็นลางร้าย พระองค์ทรงออกประกาศเตือนล่วงหน้า และทรงอธิบายอย่างมีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ ว่าดาวหางเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ มีผู้คนเห็นกันทั่วโลกไม่เฉพาะประเทศไทยเท่านั้น

...............จากเหตุการณ์สำคัญที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชดำเนินทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวง ทำให้ประชาชนชาวไทยและทั่วโลกได้ทราบถึงพระอัจฉริยภาพด้านวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2525 เนื่องในโอกาสฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบรอบ 200 ปี คณะนักวิทยาศาสตร์ไทยและสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย มีมติให้

วันที่ 18 สิงหาคม เป็นวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

ถวายพระราชสมัญญานามแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย"

ต่อมาได้มีการสร้างอุทยานวิทยาศาสตร์ที่บ้านหว้ากอ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่ออุทยานนี้ว่า "อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์" เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ.2533 และได้รับพระบรมราชานุญาตให้จัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้า

อยู่หัวพระบรมรูปหล่อประทับนั่งบนพระเก้าอี้ฉลองพระองค์เครื่องแบบทหารเรือชุดเดียวกับวันที่พระองค์ท่านเสด็จพระราชดำเนินมาบ้านหว้ากอ หันพระพักตร์ออกทะเลด้านทิศตะวันออก

ตอบคำถามร่วมสนุก ลุ้นรับเกียรติบัตร คลิ๊ก