งานประกันคุณภาพภายใน

สถานศึกษา

ระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

เป็นระบบที่สถานศึกษาร่วมกับชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภายใต้การกำกับดูแลและสนับสนุนส่งเสริมของหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อสร้างความมั่นใจที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักวิชา ข้อมูลหลักฐานที่ตรวจสอบได้ และการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องว่า ผู้เรียนทุกคนจะได้รับบริการด้านการศึกษาที่มีคุณภาพจากสถานศึกษา เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามที่กำหนดในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดฯ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) และตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการประกันคุณภาพการศึกษา 2561

001กฏกระทรวงว่าด้วยระบบประกัน.pdf

กฎกระทรวงว่าด้วยการประกันคุณภาพการศึกษา 2561

ให้สถานศึกษาแต่ละแห่งจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โดยการกําหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาแต่ละระดับและประเภทการศึกษาที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการประกาศกําหนด พร้อมทั้งจัดทําแผนพัฒนา การจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาและดําเนินการตามแผนที่กําหนดไว้จัดให้มีการประเมินผลและตรวจสอคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาติดตามผลการดําเนินการเพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา และจัดส่งรายงานผลการประเมินตนเองให้แก่หน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่กํากับดูแลสถานศึกษาเป็นประจําทุกปีเพื่อให้การดําเนินการประกันคุณภาพการศึกษาตามวรรคหนึ่งเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพให้หน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงนที่กํากับดูแลสถานศึกษามีหน้าที่ในการให้คําปรึกษาช่วยเหลือและแนะนําสถานศึกษา เพื่อให้การประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

002PPTประกันฯ (สพป.อยุธยา 25 มี.ค.62)ดร.วิษณุ_removed.pdf

“การประกันคุณภาพการศึกษา” หมายความว่า การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาแต่ละระดับและประเภทการศึกษา โดยมีกลไกในการควบคุมตรวจสอบระบบการบริหารคุณภาพการศึกษาที่สถานศึกษาจัดขึ้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและสาธารณชนว่าสถานศึกษานั้นสามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ ตามมาตรฐานการศึกษา และบรรลุเป้าประสงค์ของหน่วยงาน ต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่กํากับดูแล

003.pdf

การดำเนินการตามระบบการประกันคุณภาพการศึกษา

ในการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในให้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารและการทำงานนั้น ผู้บริหารจะต้องมีการทำงานเป็นทีม โดยบุคลากรทุกคนในสถานศึกษาต้องได้รับการเตรียมความพร้อมให้มองเห็นคุณค่า และมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา และดำเนินการอย่างต่อเนื่องร่วมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษาโดยมีการติดตามและกำกับดูแลการดำเนินการประกันคุณภาพภายในอย่างเป็นระบบ

004การจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ดังนี้.pdf

การดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษากับวงจรคุณภาพ(PDCA)

การดำเนินการประกันคุณภาพภายในควรมีการเตรียมการเพื่อสร้างความพร้อมให้แก่บุคลากรและจัดให้มีกลไกในการดำเนินงานในเรื่องนี้ หลังจากนั้นบุคลากรทุกคนในสถานศึกษาและผู้เกี่ยวข้องจึงร่วมกันวางแผน ร่วมกันปฏิบัติ ร่วมกันตรวจสอบและร่วมกันปรับปรุง ขั้นตอนการดำเนินงานทั้งหมดและมีแนวทางการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอน

005รวมเล่มแนวทางเขียน SAR63 (2).pdf

การรายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาประจำปี (SAR)

จัดทำรายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาประจำปี (SAR) ตามกรอบ “มาตรฐาน การศึกษาของสถานศึกษา” หลังสิ้นปีการศึกษาโดยสรุปผลการประเมินและเขียนรายงานผลการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาเพื่อนำไปวางแผนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาต่อไป

006แนวทางพัฒนางานประกันจากผล 17 โรง(170963).pdf

บทเรียนเพื่อการเรียนรู้

การประกันคุณภาพการศึกษาภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง(PDCA) โดยมีการควบคุมดูแลปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพ มีการวางแผน ตรวจสอบ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานเพื่อนำไปสู่การพัฒนาปรับปรุงคุณภาพอย่างสม่ำเสมอ ด้วยเหตุนี้ระบบประกันคุณภาพภายในจึงต้องดูแลทั้งปัจจัยนำเข้า (input) กระบวนการ (process) และผลผลิตหรือผลลัพธ์ (output/outcome) ส่วนการประเมินคุณภาพภายนอเน้นการประเมินผลการจัดการศึกษา ดังนั้นสถานศึกษาจะต้องมีกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต่อเนื่อง สร้างระบบการประกันคุณภาพภายในให้เข้มแข็งเพื่อพร้อมรับการประเมินผลการจัดการศึกษาจากหน่วยงานายนอก

007ประเมินภายนอกแนวใหม่.pdf

จุดเปลี่ยนการประเมินคุณภาพภายนอก

การประเมินคุณภาพภายนอกแนวใหม่ ไม่มีการ “รับรอง” หรือ “ไม่รับรอง” สถานศึกษา แต่เป็นการประเมินเพื่อพัฒนา

ลดภาระเอกสาร /เพิ่มเทคโนโลยี /เชื่อมโยง สอดคล้องประกันคุณภาพภายใน /การประเมินเชิงคุณภาพ /EXPERT JUDGEMENT/ HOLISTIC APPROACH

008 คู่มือแนวทางการประเมิน COVID-19 ปฐมวัยและขั้นพื้นฐาน.pdf

แนวทางการประเมินคุณภาพภายนอกภายใต้สถานการณ์ COVID-19

011_แนวทางการประเมินคุณภาพตามาตรฐานฯ ปี 61 (1) (1).pdf

แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา

การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้เกิด ความมั่นใจแก่ทุกฝ่ายว่าการจัดการศึกษาทุกระดับมีคุณภาพและจะคงรักษาไว้ซึ่งมาตรฐาน กระทรวงศึกษาธิการจึงให้มีการปฏิรูประบบการประเมินและการประกันคุณภาพการศึกษา โดยมีนโยบายปรับปรุงมาตรฐานและตัวชี้วัดให้มีจํานวนน้อยลง กระชับและสะท้อนถึงคุณภาพอย่างแท้จริงเน้นการประเมินตามสภาพจริงไม่ยุ่งยากสร้างมาตรฐานระบบการประเมิน เพื่อลดภาระการจัดเก็บข้อมูล ลดการจัดทําเอกสารที่ใช้ในการประเมิน รวมทั้งพัฒนาผู้ประเมินภายในให้มีมาตรฐานมีความน่าเชื่อถือ สามารถให้คําชี้แนะและ ให้คําปรึกษาแก่สถานศึกษาได้

009แนวทางการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพ 14 10 63.pdf

แนวทางการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา

การที่จะดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายตามจุดมุ่งหมายการประกันคุณภาพภายในต้องทำให้การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารจัดการและการทำงานของบุคลากร ทุกคนในสถานศึกษาไม่เป็นกระบวนการที่แยกส่วนมาจากการดำเนินงานตามปกติของสถานศึกษา โดยสถานศึกษาจะต้องวางแผนพัฒนาและแผนปฏิบัติการที่มีเป้าหมายชัดเจน ทำตามแผนตรวจสอบประเมินผลและพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เป็นระบบที่มีความโปร่งใสและมีจิตสำนึก ในการพัฒนาคุณภาพการทำงาน

010เล่ม 2 การกำหนด มาตรฐานการศึกษา ของสถานศึกษ.pdf

การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของ สถานศึกษา

ให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาปฐมวัยและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยให้สถานศึกษาและผู้เกี่ยวข้องดำเนินการและถือเป็นความรับผิดชอบร่วมกัน ทั้งนี้ สถานศึกษาอาจกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาเพิ่มเติม นอกเหนือจากที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศใช้ได้ เพื่อให้มาตรฐานการศึกษาของ สถานศึกษานำสู่การปฏิบัติได้อย่างแท้จริงและได้รับความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย สถานศึกษาควรดำเนินการที่เน้นการมีส่วนร่วม โดยเชิญคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้แทนครู ผู้แทนผู้ปกครอง ชุมชน สถานประกอบการ องค์กรที่สนับสนุนสถานศึกษา ตามความเหมาะสมร่วมดำเนินการ

012เล่ม 3 การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษา ของส.pdf

การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษา

ของสถานศึกษา

การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการจำเป็นของสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ โดยสะท้อนคุณภาพความสำเร็จอย่างชัดเจนตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษามุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษานั้น สถานศึกษาและผู้เกี่ยวข้องจะต้องร่วมมือกันดำเนินงาน โดยสถานศึกษาสามารถนำแนวคิดการบริหารเชิงกลยุทธ์มาใช้ในการจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษา ด้วยการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อนของปัจจัยภายในสถานศึกษาวิเคราะห์โอกาส และอุปสรรคของปัจจัยภายนอกสถานศึกษา ประเมินสถานภาพของสถานศึกษา กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ กำหนดกรอบกลยุทธ์/กลยุทธ์การพัฒนา กำหนดแผนงาน โครงการ กิจกรรมรองรับพร้อมประมาณการงบประมาณ ทรัพยากรที่ใช้สนับสนุนการดำเนินงานของสถานศึกษา

013เล่ม 5 การเตรียมความพร้อมของสถานศึกษา เพื่.pdf

การเตรียมความพร้อมของสถานศึกษาเพื่อรับการประเมินคุณภาพภายนอก

การทำให้เกิดวัฒนธรรมคุณภาพของสถานศึกษาที่สะท้อนการพัฒนาที่ยั่งยืน การสร้างวัฒนธรรมการทํางานที่ทําให้คุณภาพของสถานศึกษามีการพัฒนาอย่างยั่งยืนแม้เวลา ผ่านไป แม้มีการเปลี่ยนบุคลากรรับผิดชอบ มีความสําคัญเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากรทางการศึกษาจึงควรมีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักในคุณค่าของระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โดยผู้บริหารสถานศึกษาแสดง ภาวะผู้นํา และเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมขับเคลื่อนคุณภาพสถานศึกษา โดยจัดโครงสร้าง กําหนดบทบาทหน้าที่ ผู้รับผิดชอบ จัดทําคู่มือและแนวปฏิบัติตามระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในอนาคต สร้างเครือข่ายร่วมพัฒนาคุณภาพ การศึกษา พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อให้มีสารสนเทศที่ถูกต้อง ครบถ้วน ครอบคลุมเป็นปัจจุบัน และเพียงพอต่อการตัดสินใจ ส่งเสริมให้ครูพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านกระบวนการ PLC และสร้างนวัตกรรม การจัดการเรียนรู้ ให้เหมาะสมกับผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมายและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ส่งเสริมการประกันคุณภาพ ทั้งระดับห้องเรียน และระดับสถานศึกษา เพื่อสะท้อนการเกิดวัฒนธรรมคุณภาพอย่างต่อเนื่องทั้งในส่วนของคณะครู และองค์กรในภาพรวม

https://forms.gle/8iN57eFzpMRX7jPK6

แบบทดสอบงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

(คุณต้องทำแบบทดสอบให้ผ่านเกณฑ์75% จึงจะได้รับเกียรติบัตรส่งไปทางอีเมล์)