ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์แฟ้มผลงานอิเล็กทรอนิกส์ (E-Portfolio)

ข้อมูลทั่วไป

ชื่อ-สกุล นางสาวอนุธิดา สมเงิน

ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ -

กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

โรงเรียนเวียงผาวิทยา อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2

สอนรายวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ป.5 และ ศิลปะ ป.4-5

เป็นครูที่ปรึกษานักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/2

ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

ภาระงาน มีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน 15 ชั่วโมง 50 นาที/สัปดาห์ ดังนี้

1. วิชาวิทยาศาสตร์ฯ ป.5 1 ชั่วโมง 40 นาที/สัปดาห์

2. วิชาศิลปะ-ดนตรี ป.4 3 ชั่วโมง 20 นาที/สัปดาห์

3. วิชาศิลปะ-ดนตรี ป.5 1 ชั่วโมง 40 นาที/สัปดาห์

4. วิชาศิลปะ-ดนตรี ป.6 3 ชั่วโมง 20 นาที/สัปดาห์

5. วิชากาแฟ ป.6 3 ชั่วโมง 20 นาที/สัปดาห์

6.วิชาลูกเสือ เนตรนารี 50 นาที/สัปดาห์

7.ชุมนุมคณิตคิดสร้างสรรค์ 50 นาที/สัปดาห์

8.แนะแนว 50 นาที/สัปดาห์


1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 4 ชั่วโมง 10 นาที/สัปดาห์

- การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ 50 นาที/สัปดาห์

- งานวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 50 นาที/สัปดาห์

- การสร้างและพัฒนาสื่อการเรียนการสอน 50 นาที/สัปดาห์

- การมีส่วนร่วมในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ(PLC) 50 นาที/สัปดาห์

- การจัดทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียน 50 นาที/สัปดาห์


1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน 2 ชั่วโมง 30 นาที/สัปดาห์

- หัวหน้าสายชั้น 50 นาที/สัปดาห์

- เจ้าหน้าที่พัสดุ 1 ชั่วโมง 40 นาที/สัปดาห์


1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น จำนวน 3 ชั่วโมง 20 นาที/สัปดาห์

- ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ 2 ชั่วโมง 30 นาที/สัปดาห์

- กิจกรรมห้องเรียนสีขาว 50 นาที/สัปดาห์



ส่วนที่ 2 งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่งครู

ด้านที่ 1 ด้านการจัดการเรียนรู้

ด้านที่ 2 ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้

ด้านที่ 3 ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ

ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน

ประเด็นที่ท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนของผู้จัดทำข้อตกลง ซึ่งปัจจุบัน

ดำรงตำแหน่งครู (ยังไม่มีวิทยฐานะ) ต้องแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวัง คือ การปรับประยุกต์ การจัดการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนามากขึ้น

(ทั้งนี้ประเด็นท้าทายอาจจะแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังที่สูงกว่าได้)

ข้าพเจ้าได้จัดทำข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน เรื่อง การพัฒนาการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสาร โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้


1. สภาพปัญหาของผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้

การคิด เป็นเรื่องสำคัญยิ่งในการจัดการศึกษาที่ต้องพัฒนาและฝึกฝน จนเกิดเป็นทักษะการคิด และกระบวนการคิด ให้ติดตัวผู้เรียนไปตลอดชีวิต เพราะโลกปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาอย่างมากและรวดเร็วทั้งด้านเทคโนโลยี วิทยาการ ข้อมูลต่างๆ ที่จะเข้ามาสัมพันธ์กับการดำรงชีวิตมนุษย์จึงต้องมีข้อมูล หรือสิ่งเร้าที่เข้ามากระตุ้นให้คิดมากขึ้น การคิดอย่างมีจุดหมาย มีทิศทาง ทักษะกระบวนการคิดที่ดี รอบคอบจะทำให้คำตอบหรือบทสรุปมีคุณภาพ เชื่อมโยงไปสู่การกระทำ หรือการดำรงชีวิตที่เหมาะสม การพัฒนาการคิดมีการกำหนดในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แนวทางการจัดการศึกษามุ่งเน้นให้ผู้เรียนคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น และมีความสุขในการเรียน ครูจึงได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจัดการเรียนการสอนเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถในการคิด ซึ่งประเด็นท้าทายนี้ ขอเสนอการพัฒนาสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ผ่านการฝึกทักษะกระบวนการคิดทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสาร

ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเวียงผาวิทยา

2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

1) ศึกษาหลักสูตรการศึกษาการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560) เพื่อออกแบบหน่วยการเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณลักษณะและตัวชี้วัด

2) ศึกษารูปแบบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดทางวิทยาศาสตร์

3) ใช้กระบวนการ PLC เข้ามาช่วยในการแก้ไขปัญหา พัฒนาสื่อและนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพ

4) ออกแบบสื่อนวัตกรรมตามหน่วยการเรียนรู้ ในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น ใบความรู้ ใบกิจกรรม สื่อการสอนออนไลน์ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ และอื่นๆ

5) จัดทำสื่อนวัตกรรม ตามที่ได้ออกแบบไว้

6) นำสื่อไปทดลองใช้และนำผลที่ได้มาปรับปรุง พัฒนาสื่อ ให้มีความน่าสนใจ เข้าใจง่าย และนักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง

7) นำผลสะท้อนในการใช้สื่อ บันทึกข้อมูลในระบบสารสนเทศผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพื่อประเมินการเรียนรู้ นำข้อมูลที่ได้พัฒนาผลการเรียนรู้ให้ผู้เรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง

3.1 เชิงปริมาณ

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเวียงผาวิทยา มีผลการสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสูงขึ้น โดยได้ผลการเรียนระดับ 2.0 ขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 70

3.2 เชิงคุณภาพ

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเวียงผาวิทยา สามารถพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีการคิดรวบยอด การคิดเชิงเหตุผล การตัดสินใจและการแก้ปัญหา มีความคิดสร้างสรรค์ เจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการแสวงหาความรู้ ตรงตามมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ และตัวชี้วัดในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560)


การจัดการเรียนการสอนโดยชุดกิจกรรมการเรียนรู้

เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสาร


การจัดการเรียนการสอนโดยชุดกิจกรรมการเรียนรู้

เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสาร