ครูรุ่งฤดี อุทุม

ภาคเรียนที่ 1 / 2564

วิชาที่ 1 สังคมศึกษา (ส31101)

วิชา ที่ 2 หน้าที่พลเมือง (ส30231)

ครูรุ่งฤดี อุทุม

สอนรายวิชาสังคมศึกษา ระดัยชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

เบอร์โทร 0843231854

facebook : https://www.facebook.com/rungruedee11/

line ID : krurung29

e-mail : Rungrudee@nrpsc.ac.th


ห้องเรียนรายวิชา สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม (ส31101)


ชั่วโมงที่ 2 แผนที่.pdf



https://meet.google.com/agy-ybdc-jvz กดลิ้งค์เข้าห้องเรียน

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1

เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศศาสตร์

จุดประสงค์การเรียนรู้

  1. ใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ในการรวบรวม วิเคราะห์ และนำเสนอข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ

แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 1

เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศศาสตร์

คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว

1. เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ข้อใดทำหน้าที่เป็นสื่อเก็บรวบรวมข้อมูลทางภูมิศาสตร์

ก. แผนที่ ข. ลูกโลกจำลอง

ค. จีพีเอส (GPS) ง. รูปถ่ายทางอากาศ

2. ผู้ใช้แผนที่ควรมีความรู้พื้นฐานในข้อใดมากที่สุดจึงจะสามารถอ่านแผนที่ได้ถูกต้องรวดเร็ว

ก. องค์ประกอบของแผนที่

ข. ความหมายของแผนที่

ค. ภูมิประเทศในแผนที่

ง. ประเภทของแผนที่

3. เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ในข้อใด ทำให้รู้ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้ได้ชัดเจนมากที่สุด

ก. แผนที่

ข. ภาพจากดาวเทียม

ค. ภาพถ่ายทางอากาศ

ง. เว็บไซต์ทางภูมิศาสตร์

4. ข้อใดอธิบายความหมายของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือ GIS ได้ชัดเจน

ก. ระบบสำรองเก็บข้อมูลบนพื้นผิวโลกด้วยเครื่องรับรู้

ข. การบันทึกข้อมูลการทำงานของดาวเทียมอย่างมีระบบ

ค. เทคโนโลยีที่นำเอาคอมพิวเตอร์มาเป็นหลักการทำงาน

ง. ระบบข้อมูลที่เชื่อมโยงกับค่าพิกัดภูมิศาสตร์ และรายละเอียดของวัตถุบนพื้นโลกโดยใช้

คอมพิวเตอร์

5. การบันทึกข้อมูลหรือรูปภาพของพื้นที่จากเครื่องบิน มีข้อจำกัดอย่างไร

ก. ข้อมูลจากภาพไม่ชัดเจน

ข. บันทึกข้อมูลได้ดีเฉพาะช่วงฤดูแล้ง

ค. ความสั่นสะเทือนของเครื่องบินทำให้ภาพคลาดเคลื่อน

ง. นักบินจะต้องมีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษจึงจะได้ภาพที่ถูกต้อง

6. การใช้เครื่องบินสำรวจด้านธรณีวิทยาและธรณีสัณฐานวิทยา มีผลดีในข้อใดมากที่สุด

ก. การสำรวจและขุดเจาะ เพื่อหาทรัพยากรใต้ดินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ข. กำหนดตำแหน่ง เพื่อการพัฒนาสภาพแวดล้อม

ค. มีข้อมูลที่เป็นตัวเลขตามหลักสถิติ

ง. รู้ตำแหน่งเมืองสำคัญทั่วโลก

7. ข้อใด ไม่จัดว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

ก. ข้อมูล ข. ซอฟต์แวร์

ค. ฮาร์ดแวร์ ง. ห้องเครื่อง

8. ระบบการทำงานของการถ่ายรูปทางอากาศที่สำคัญที่สุด คือข้อใด

ก. การใช้เครื่องมือถ่ายภาพ

ข. การแปลความหมายจากภาพถ่าย

ค. การกำหนดบุคลากรที่มีความชำนาญในการบิน

ง. การวางแผนการบินและมาตราส่วนของแผนที่ล่วงหน้า

9. การบันทึกข้อมูลของดาวเทียมพาสซีพ (Passive) คืออะไร

ก. ระบบที่บันทึกข้อมูลจากการสะท้อนคลื่นแสงในเวลากลางวัน และคลื่นความร้อนจาก

ดวงอาทิตย์ในเวลากลางคืน

ข. ระบบที่ดาวเทียมผลิตพลังงานเองและส่งสัญญาณไปยังพื้นโลก แล้วรับสัญญาณสะท้อนกลับ

ไปยังเครื่องรับ

ค. ระบบการผลิตพลังงานของดาวเทียมสะท้อนไปยังข้อมูลที่ต้องการบันทึกภาพถ่าย

ง. ระบบการรับข้อมูลจากแสงอาทิตย์ที่มีคลื่นความร้อนส่งไปยังดาวเทียม

10. การวิเคราะห์ข้อมูลจากดาวเทียมมีองค์ประกอบหลักในการวิเคราะห์หลายประการ ยกเว้นข้อใด

ก. เนื้อภาพ สี ข. ความสูง เงา

ค. ตัวเลข น้ำหนัก ง. รูปแบบ ขนาด









ใบงานที่ 1.1

เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์

คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้


1. แผนที่โดยทั่วไปแบ่งออกเป็นกี่ชนิด อะไรบ้าง

2. องค์ประกอบที่สำคัญของแผนที่ ได้แก่อะไรบ้าง

3. ลูกโลกจำลองแสดงข้อมูลของโลกอย่างไรบ้าง

4. รูปถ่ายทางอากาศแบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง

5. รูปถ่ายทางอากาศมีประโยชน์อย่างไรบ้าง

6. ดาวเทียมแบ่งออกเป็นกี่ชนิด อะไรบ้าง

7. ดาวเทียมมีประโยชน์อย่างไรบ้าง

8. แผนที่เฉพาะเรื่องที่สำคัญ ได้แก่อะไรบ้าง จงยกตัวอย่าง



ใบงานที่ 1.2

เรื่อง การใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์สืบค้นข้อมูลภูมิอากาศ

คำชี้แจง ให้นักเรียนใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับภูมิอากาศในประเทศไทย หรือภูมิภาค

ต่างๆ ในโลก ตามหัวข้อที่กำหนด

1. ข้อมูลที่ได้จากการสืบค้น มีสาระสำคัญอะไรบ้าง

2. เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่ใช้สืบค้น คืออะไร มีวิธีการดำเนินการอย่างไร

3. เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่ใช้ประกอบการนำเสนอข้อมูล คืออะไรบ้าง



หน่วยการเรียนรู้ที่ 2

เรื่อง ปรากฏการณ์การทางภูมิศาสตร์

จุดประสงค์การเรียนรู้

2. วิเคราะห์สถานการณ์และวิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยและของโลก



หน่วยการเรียนรู้ที่ 3

เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติในโลก

จุดประสงค์การเรียนรู้

3. วิเคราะห์สถานการณ์และวิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยและของโลก

4. วิเคราะห์อิทธิพลของสภาพภูมิศาสตร์ซึ่งทำให้เกิดปัญหาทางกายภาพหรือภัยพิบัติทางธรรมชาติในประเทศไทยและภูมิภาคต่าง ๆของโลก

5. สามารถประเมินการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติในโลกว่าเป็นผลมาจากการกระทำของมนุษย์หรือธรรมชาติ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4

เรื่อง การจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

จุดประสงค์การเรียนรู้

6. ระบุมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหา บทบาทขององค์การและการประสานความร่วมมือทั้งในประเทศและ นอกประเทศเกี่ยวกับกฎหมายสิ่งแวดล้อม การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

7. ระบุแนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคต่าง ๆของโลก


หน่วยการเรียนรู้ที่ 5

เรื่อง การใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

จุดประสงค์การเรียนรู้

8. อธิบายการใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมในการสร้างสรรค์วัฒนธรรม อันเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นทั้งใน

ประเทศและโลก

9. มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาและการดำเนินชีวิตตามแนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมเพื่อ

การพัฒนาที่ยั่งยืน