4. Revision (การแก้ไขบทความ)

การแก้ไขบทความแบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ major revision (ระยะเวลา 4 สัปดาห์ สำหรับการแก้ไข) หรือ การแก้ไขหลัก และ minor revision หรือ การแก้ไขรอง (ระยะเวลา 3 สัปดาห์ สำหรับการแก้ไข) รูปแบบการแก้ไขขึ้นอยู่กับผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้พิจารณากำหนดผ่านระบบ ThaiJo กรณีผู้นิพนธ์ได้รับ major revision หรือ การแก้ไขหลัก หลังการแก้ไขครั้งที่ 1 โดยผู้นิพนธ์แล้ว บทความแก้ไขจะถูกนำส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิ พิจารณาเป็นครั้งที่ 2  

            ในขั้นตอนนี้ผู้นิพนธ์จะได้รับไฟล์ผลประเมินบทความของผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ประเมินบทความนั้นๆ ทั้งหมดทุกท่านอย่างน้อย 2-3 ท่านในเวลาเดียวกัน ผู้ช่วยบรรณาธิการจะไม่ดำเนินการส่งผลประเมินบทความของผู้ทรงคุณวุฒิให้ทีละท่าน เนื่องจากเกรงว่าผลประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิแต่ละท่านอาจจะย้อนแย้งกัน ส่งผลให้ผู้นิพนธ์จะต้องแก้ซ้ำไปมา  ทั้งนี้ ในระบบจะมีกำหนดวันที่ผู้นิพนธ์จะต้องส่งผลการแก้ไขกลับเข้าสู่ระบบ

ผู้นิพนธ์ดำเนินการแก้ไขบทความตามผลประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิในทุกๆ ประเด็น พร้อมทั้งเขียนหนังสือชี้แจงถึงบรรณาธิการโดยกล่าวถึงการแก้ไขที่สามารถดำเนินการแก้ไขได้ และไม่สามารถดำเนินการแก้ไขได้โดยเขียนแยกเป็นประเด็นๆ เมื่อแก้ไขเสร็จสิ้นแล้วให้แนบไฟล์ที่แก้ไขและหนังสือชี้แจงกลับในช่อง revision เท่านั้น 

ผู้ช่วยบรรณาธิการเสนอบทความที่แก้ไขเรียบร้อยและผ่านการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิในทุกรอบของการประเมินแล้ว ให้กับบรรณาธิการเฉพาะสาขาและบรรณาธิการตามลำดับ เพื่อตอบรับ (accept) หรือปฏิเสธ (decline) บทความ



อาจารย์เลือกเส้นทางย้อนกลับแล้วคลิ๊กปุ่มด้านล่างเลย