3. ประเภทของบทความ

3.1 นิพนธ์ต้นฉบับ (original article) จะต้องมีจำนวนคำเฉพาะส่วนเนื้อหา 3,000 คำ ประกอบไปด้วยองค์ประกอบดังต่อไปนี้


3.1.1 บทคัดย่อ (abstract) หมายถึง เรื่องย่อของงานวิจัย เนื้อหาต้องมีความสมบูรณ์ในตัวเอง โดยเขียนให้สั้นที่สุดและได้ใจความ ไม่ใส่ตารางหรือแผนภูมิใด ๆ ไม่มีการอ้างอิงเอกสาร ไม่ใส่ตัวเลขหรือข้อความที่ไม่ปรากฏในผลการวิจัย บทคัดย่อควรจะมีจำนวนคำ 200-300 คำ ไม่เขียนอ้างอิงใดๆ ในส่วนนี้ รูปแบบการเขียนบทคัดย่อของนิพนธ์ต้นฉบับเขียนในรูปแบบ structured abstract ประกอบด้วย 4 หัวข้อหลัก คือ วัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการวิจัย ผลการวิจัย สรุป และคำสำคัญจำนวน 3-5 คำ โดยวัตถุประสงค์ควรกล่าวถึงจุดมุ่งหมายหลักที่ต้องการศึกษาหรือทฤษฎีที่ต้องการทดสอบ วิธีดําเนินการวิจัยควรรวมถึงรูปแบบการทําวิจัย สถานที่ทําการวิจัย จํานวนและลักษณะของกลุ่มตัวอย่าง วิธีการรักษาหรือทดลอง ผลการวิจัยหมายถึงผลลัพธ์ส่วนที่สําคัญที่สุดของการศึกษา และสรุปควรเน้น ถึงความสําคัญของผลการวิจัย


3.1.2 เนื้อหาหลัก ในส่วนของนิพนธ์ต้นฉบับ ควรประกอบด้วยหัวข้อหลัก ดังนี้


- บทนำ (introduction): ควรกล่าวถึงความเป็นมาของปัญหา เช่น ลักษณะและความสําคัญของปัญหาที่จะนํามาศึกษา มีการเน้นถึงความรู้เดิมของปัญหาโดยอ้างอิงจากเอกสารที่เกี่ยวข้องตามสมควรเพื่อนําผู้อ่านเข้าสู่เรื่องที่จะทําวิจัย รวมทั้งบอกวัตถุประสงค์ในการทําวิจัยอย่างชัดเจน ทั้งนี้ บทนําไม่ควรยาวเกินไป ไม่ใส่ข้อมูลผลการวิจัย ตารางหรือแผนภูมิใด ๆ และต้องไม่วิจารณ์ หรือสรุปในบทนํา ที่สำคัญข้อมูลทั้งหมดต้องได้รับการอ้างอิง


-  วิธีดำเนินการวิจัย (methods): ควรบอกว่าเป็นรูปแบบการวิจัยชนิดใด กลุ่มตัวอย่างขนาดเท่าใด โดยแสดงวิธีคํานวณขนาดตัวอย่างอย่างสั้น ๆ สุ่มตัวอย่างโดยวิธีใด บอกสถานที่ที่ทําการวิจัย ระยะเวลาที่ศึกษา เกณฑ์การคัดเข้าและเกณฑ์การคัดออก บอกรายละเอียดของการวิจัยว่าดําเนินการอย่างไร เพื่อให้ผู้อื่นสามารถนําไปศึกษาซ้ำได้ หากเป็นวิธีที่ใช้อยู่ทั่วไปอาจบอกเพียงชื่อวิธีการพร้อมเอกสารอ้างอิง แต่ถ้าเป็นวิธีใหม่ ต้องแจงรายละเอียดให้ผู้อ่านเข้าใจ รวมทั้งบอกรายละเอียดของการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ว่าใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์อะไรในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติอะไร และกําหนดระดับนัยสําคัญเท่าใด และจะต้องประกอบด้วยเลขที่ของเอกสารรับรองการวิจัยในมนุษย์หรือสัตว์ (IRB/COA) วิธีดำเนินการวิจัยนี้ให้เขียนลักษณะการอธิบายหรือบรรยาย ไม่ควรเขียนหรือแยกเป็นหัวข้อย่อย ๆ หากมีความจำเป็นควรเขียนเฉพาะหัวข้อหลักที่เป็นมาตรฐานงานวิจัย 


- ผลการวิจัย (results): ประกอบด้วยคำบรรยายรายละเอียดข้อมูลทั้งหมดที่ปรากฏในรูปภาพหรือตาราง ฉะนั้นรูปภาพหรือตารางต้องได้รับการอ้างอิงข้อมูลในส่วนนี้ คำที่มีนัยสำคัญจะต้องนำมาใช้หากผลลัพธ์มีความสำคัญทางสถิติและค่านัยสำคัญที่เกี่ยวข้องควรได้รับระบุอย่างชัดเจน


- วิจารณ์ (discussion): ให้วิจารณ์ผลการวิจัยทั้งหมดที่นำเสนอ สรุปผลการวิจัยอย่างกระชับ ผู้นิพนธ์สามารถเปรียบเทียบผลการวิจัยกับการศึกษาอื่นๆ กล่าวถึงจุดแข็งและข้อจำกัดของการทำวิจัย วิธีดำเนินการวิจัยและความน่าเชื่อถือทางสถิติ อันก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการศึกษาต่อไปในอนาคต


-  สรุป (conclusion): ส่วนที่ต่อเนื่องจากวิจารณ์ สรุปความสำคัญของผลลัพธ์งานวิจัย 


-  ผลประโยชน์ทับซ้อน (conflict of interest): ผู้นิพนธ์จะต้องชี้แจงถึงผลประโยชน์ทับซ้อนในงานวิจัย


- กิตติกรรมประกาศ (acknowledgement): แสดงความขอบคุณผู้สนับสนุนการทําวิจัย เช่น ผู้ให้การสนับสนุนทางด้านเทคนิค เครื่องมือที่ใช้ และทางการเงิน นอกจากนี้ควรขอบคุณหน่วยงานหรือผู้รับผิดชอบข้อมูล และผู้ให้คําแนะนําด้านต่าง ๆ


-  ประกาศถึงการเข้าถึงหรือความพร้อมใช้งานของข้อมูล (data availability statement): แสดงความพร้อมใช้งานของข้อมูลแก่ผู้อ่าน กล่าวคือ หากผู้อ่านมีความประสงค์ขอเข้าถึงข้อมูลที่ใช้ในงานวิจัยสามารถร้องขอได้


-  การอ้างอิง (reference) เอกสารที่ใช้อ้างอิงในบทความจะต้องจัดเรียงลำดับก่อนหลังทั้งในเนื้อหาบทความและการอ้างอิงท้ายบทความโดยกำหนดตัวเลขอารบิกเพื่อบอกลำดับและเป็นตัวเลขยกหลังเนื้อหาในบทความที่ได้รับการอ้างอิงโดยกำหนดให้ไม่มีวงเล็บ และอยู่ก่อนเครื่องหมายมหัพภาค จุลภาค ยกเว้นคำว่า et al. ให้เขียนไว้หลังเครื่องหมายมหัพภาคของคำว่า et al.1 ทั้งนี้ ให้ใช้รูปแบบการอ้างอิง Vancouver และเอกสารอ้างอิงภาษาไทย ให้เขียนเป็นภาษาอังกฤษ

ตัวอย่างรูปแบบการอ้างอิงเอกสารประเภทต่างๆ 

ชื่อผู้เขียน ให้ใช้ชื่อสกุลตามด้วย อักษรแรกของชื่อต้นและชื่อกลาง เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ ใส่ชื่อผู้เขียนทุกคนคั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค ถ้าเกิน 6 คน ใส่ชื่อ 6 คนแรก ตามด้วย et al.

- ข้อมูลสนับสนุนงานวิจัยสามารถส่งร่วมกับบทความ โดยข้อมูลนั้นๆ จะได้รับการประเมินไปพร้อมๆ กับบทความ ขนาดไฟล์น้อยกว่า 10 MB ผู้นิพนธ์จะต้องระบุชื่อไฟล์ โดยมีตัวอักษร S และตามด้วยตัวเลขเรียงตามลำดับก่อน หลัง ของข้อมูล เช่น “Appendix S2,” “Table S1,” และ “Table S2” ทั้งนี้ ให้ใส่คำบรรยายของข้อมูลสนับสนุนนี้ไว้ในส่วนท้ายของบทความ หลังเอกสารอ้างอิง (Reference)

- การใช้คำย่อควรกล่าวคำนิยามในครั้งแรกและใส่คำย่อไว้ภายในเครื่องหมาย นขลิขิตหรือวงเล็บ หลังจากนั้นจึงใช้คำย่อต่อไปโดยไม่ต้องกล่าวคำนิยาม ทั้งนี้บทคัดย่อและเนื้อหาถือว่าคนละส่วนกัน จึงให้กล่าวถึงในคำนิยามในครั้งแรกทั้งสองส่วน

-  รูปภาพและตาราง: รูปภาพใช้ไฟล์สกุล TIFF, JPEG, PNG ความคมชัด 300-600 dpi ขนาดไฟล์น้อยกว่า 10 MB โดยกำหนดคำว่า Figure และตามด้วยเลขอารบิก เรียงตามลำดับรูปภาพก่อนหลัง คำบรรยายใต้รูปภาพและแยกไฟล์รูปจากไฟล์เนื้อหา ที่สำคัญรูปประกอบควรเป็นรูปที่จัดทําขึ้นเอง ถ้าเป็นรูปจากแหล่งอื่นจะต้องระบุที่มา รวมทั้งเอกสารสําเนาลิขสิทธิ์จากสํานักพิมพ์ต้นฉบับด้วย สําหรับรูปผู้ป่วยจะต้องไม่ให้ทราบว่า เป็นบุคคลใดโดยได้รับการปกปิดส่วนที่สามารถระบุถึงบุคคลได้ และอาจจะต้องมีคํายินยอมจากผู้ป่วยด้วย 

ในส่วนตารางให้เขียนชื่อตารางไว้ด้านบนตาราง ส่วนคำบรรยาย คำบรรยายอักษรย่อให้เขียนไว้ใต้ตาราง

3.1   บทความปริทรรศน์ (review article) จะต้องมีจำนวนคำเฉพาะส่วนเนื้อหา 3,500 คำ ประกอบไปด้วยองค์ประกอบ คือ บทคัดย่อจำนวนคำไม่เกิน 250 คำ เขียนรูปแบบหนึ่งย่อหน้าโดยไม่มีหัวข้อย่อย และมีคำสำคัญจำนวน 3-5 คำ บทนำ เนื้อหา สรุป และกิตติกรรมประกาศ

3.2         รายงานผู้ป่วย (case report) จะต้องมีจำนวนคำเฉพาะส่วนเนื้อหา 2,500 คำ ประกอบไปด้วยองค์ประกอบ คือ บทคัดย่อจำนวนคำไม่เกิน 250 คำ เขียนรูปแบบหนึ่งย่อหน้าโดยไม่มีหัวข้อย่อย และมีคำสำคัญจำนวน 3-5 คำ บทนำ รายงานผู้ป่วย วิจารณ์ สรุป และกิตติกรรมประกาศ

ข้อมูลเพิ่มเติม หลักเกณฑ์ทั่วไปในการเตรียมและส่งต้นฉบับ (Guide for Authors): https://he02.tci-thaijo.org/index.php/VMED/GuideforAuthors


อาจารย์เลือกเส้นทางย้อนกลับแล้วคลิ๊กปุ่มด้านล่างเลย