ประวัติ

เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์จัดตั้งขึ้น ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดมหาสารคาม พ.ศ. 2480 เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2480 ซึ่งเป็นการยกฐานะบางส่วนของตำบลเหนือ และตำบลหลุบ อำเภอหลุบ จังหวัดมหาสารคาม ขึ้นเป็นเทศบาลเมือง เรียกว่า “เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดมหาสารคาม” มีพื้นที่ 4.04 ตารางกิโลเมตร[2]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2524 ได้ขอขยายเขตเทศบาลออกเป็น 16.96 ตารางกิโลเมตร ซึ่งได้มีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ เมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2525 จากอดีตถึงปัจจุบันรวม 70 ปี มีนายกเทศมนตรี 23 คน โดยมีพระอรรถเปศลสุรวดี เป็นนายกเทศมนตรีคนแรก และในปัจจุบันมีนายจารุวัฒน์ บุญเพิ่ม เป็นนายกเทศมนตรีเมืองกาฬสินธุ์

เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลเมือง ตั้งอยู่ที่อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ มีพื้นที่ครอบคลุมตำบลกาฬสินธุ์ทั้งตำบล ภายในเขตเทศบาลเป็นที่ตั้งของหน่วยงานการบริหาร สถานศึกษา สถานพยาบาลและสาธารณสุข ตลอดจนเป็นศูนย์กลางการคมนาคมของจังหวัดกาฬสินธุ์ มีระยะทางห่างจากกรุงเทพมหานคร 513 กิโลเมตร

ตำบลกาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลข้างเคียง เรียงจากทิศเหนือตามเข็มนาฬิกา ได้แก่ ตำบลโพนทอง ตำบลหลุบ ตำบลเหนือ และตำบลลำพาน


กศน.ตำบลกาฬสินธุ์ ตั้งอยู่ในบริเวณภายในเนื้อที่ของสำนักงาน กศน.จังหวัดกาฬสินธุ์ เลขที่ ๓๗ ถนนสนามบิน ตำบลกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยมีนายปุณณรัตน์ ศรีทาพุฒ ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ เป็นผู้บริหารสถานศึกษา และนางเบญจมาศ เนียมบุญ เป็นหัวหน้า กศน.ตำบล ครูอาสาสมัครฯ คือนางรัตติยา หน่อสีดา นางวชิราภรณ์ อันเสน นายยุทธศักดิ์ ไถวสินธุ์ นางสาวจีรกาญ สรรพเลิศ โดยได้ใช้อาคารพบกลุ่มเป็นที่ทำการชั่วคราว ได้รับผิดชอบจัดการเรียนการสอนให้แก่ประชาชนทั้งหมด ๓๘ ชุมชน ตั้งอยู่ห่างจากอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ ประมาณ ๓ กิโลเมตร เส้นทางถนนทางหลวงสายกาฬสินธุ์ – ร้อยเอ็ด

กศน.ตำบลกาฬสินธุ์ เป็นหน่วยจัดกิจกรรมการเรียนรู้การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย หรือห้องเรียนของ กศน.อำเภอ ซึ่งตั้งอยู่ในระดับตำบลเป็นแหล่งเรียนรู้ของประชาชนในชุมชน และพัฒนา กศน.ตำบล เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตของชุมชนได้อย่างทั่วถึงและครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ กศน.ตำบล

๑. ด้านกายภาพมีสถานที่เป็นสัดส่วน เหมาะสมและมีบรรยากาศเอื้อต่อการจัดกิจกรรม กศน.

๑. สภาพอาคารอยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรงและปลอดภัย

๒. สถานที่เป็นเอกเทศ

๓. สถานที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ประชาชนสามารถมาใช้บริการได้สะดวก

๔. มีการจัดสภาพแวดล้อมมีความสะอาด ร่มรื่น สวยงามทั้งภายในและภายนอกอาคาร

๕. มีพื้นที่การใช้สอยในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เพียงพอ

๖. มีการเปิดบริการ ๕ วัน/ สัปดาห์

๗. มีระบบสาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้า ประปา อินเตอร์เน็ต

ปรัชญา

ยกระดับการศึกษา พัฒนาความรู้ สู่ชุมชน

วิสัยทัศน์

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองกาฬสินธุ์จัดการศึกษาตลอดชีวิตและการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพที่มีคุณภาพให้กับประชาชนทั่วไป อย่างเท่าเทียมกันเพื่อให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้

พันธกิจ

1. จัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้มีคุณภาพออย่างทั่วถึงและเท่าเทียม

และเป็นธรรม

2. จัดและส่งเสริมการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำเพื่อพัฒนาสมรรถนะของประชาชนและชุมชนให้สามารถสร้างสรรค์และแข่งขันด้านอาชีพได้อย่างยั่งยืน

3. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศในการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตและการศึกษาเพื่อการมีงานทำ

4. พัฒนาและส่งเสริมการนำวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาและเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพต่อการจัดการศึกษาตลอดชีวิตและการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ

5. พัฒนาบุคลากรและระบบการบริหารจัดการให้สามารถดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตและการศึกษาเพื่อการมีงานทำของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ



สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ มอบเกียรติบัตร กศน.ตำบลต้นแบบ ๕ ดี พรีเมี่ยม ระดับอำเภอ/เขต ประจำปีพุทธศักราช๒๕๖๕ แก่ กศน.ตำบลกาฬสินธุ์