ศูนย์เรียนรู้ภูภัทร เศรษฐกิจพอเพียง
อำเภอพนา

ศูนย์เรียนรู้ภูภัทร เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนบ้านจิก อำเภอพนา เริ่มก่อตั้ง เมื่อ ปี 2551 ตั้งอยู่ที่ ม 9 บ้านจิก ตำบลไม้กลอน อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ มีพื้นที่นา ทังหมด 25 ไร่ เป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนโดยนายสังคม มูลชาติ เป็นประธาน เดิมก่อนนั้นการทำนาอย่างเดียวทำให้ได้ผลไม่ได้เต็มที่ ลงทุนมาก ได้กำไรน้อย เมื่อได้มีโอกาสเข้ารับการอบรมในเรื่อง หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เรื่องการทำการเกษตรผสมผสาน การจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จากหน่วยงานราชการต่าง ๆ เช่น สำนักงานเกษตรอำเภอ สำนักงานเกษตร จังหวัดอำนาจเจริญ พัฒนาชุมชนอำเภอพนา กศน.อำเภอพนา ฯลฯ จึงมีแนวความคิดแบ่งพื้นที่ ทำการเกษตร ประมาณ 5 ไร่ ทำการเกษตร ผสมผสาน โดยมีแนวคิดเพื่อปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกจากการทำนา มาเพิ่มมูลค่าโดยมีการ ทำนาเกษตรอินทรีย์ /การปลูกพืช /ผักปลอดสารพิษ โดยยึดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และได้เชิญชวนประชาชนในหมู่บ้านจิกและบ้านใกล้เคียง มาร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจ เพื่อให้สมาชิก ได้มีอาชีพ มีรายได้เพิ่ม และคนในชุมชนท้องถิ่น รับประทาน ข้าว พืชผักที่ปลอดสารพิษ เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย

นายสังคม มูลชาติ หลังจากเกษียณราชการแล้วเมื่อปี 2558 ได้เป็นแกนนำเครือข่าย ศูนย์เรียนรู้ ขยายผล ด้านเศรษฐกิจพอเพียง และเป็นวิทยากร จัดกระบวนการเรียนรู้และเผยแพร่ความรู้ให้แก่เกษตรกร ทั้งในหน่วยงานต่าง ต่าง ๆที่เชิญไป และเป็นวิทยากรและสถานที่ ที่ศูนย์เรียนรู้เอง เมื่อมีกลุ่มเป้าหมายจากหน่วยงาน หรือเครือข่ายที่เข้ามาเรียนรู้ในศูนย์เรียนรู้แห่งนี้ ทำให้เป็นที่ศึกษาเรียนรู้ และคนทั่วไปได้รู้มากขึ้นจากคำบอกเล่าของเกษตรกรที่ได้เข้ามาเรียนรู้ และการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ในหน้าเฟสบุ๊คของศูนย์เรียนรู้ภูภัทร

การอบรม เผยแพร่ให้ความรู้แก่เกษตรกร และกลุ่มเป้าหมายทั่วไปที่มาศึกษาเรียนรู้

ทางกลุ่มมีการ นำผลผลิตที่ได้จากสวน เช่น พืชผัก ผลไม้ และการเพาะชำขยายพันธ์พืชที่หลากหลายจัดจำหน่ายที่ปลูกตามฤดูกาล ตลอดจนการแปรรูปอาหาร นำไปขายในตลาด และขายผ่านสือ ออนไลน์ในเฟสบุ๊ค ถ้าเกษตรกรมีสินค้าอะไรก็ประกาศขายในเฟสทำให้ลูกค้ามาซื้อถึงสวนและนำผลผลิตไปขายในตลาด มีการออกตลาดนัดสีเขียว ตามโครงการ ในอำเภอทุกสัปดาห์ และจังหวัดตามหน่วยงานราชการ ต่าง ๆ คุณภาพราคาย่อมเยา สามารถนำผลิตภัณฑ์ไปประยุกต์ใช้ หรือแปรรูปอาหารอื่น ที่ เหมาะสมได้ ทำให้สมาชิกในกลุ่มมี อาชีพ รายได้เพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่อง

การนำผลผลิตออกจำหน่ายตามโครงการ ตลาดนัดสีเขียว

แปลงปลูกข้าวไรซ์เบอรี่ และการแปรรูป เพื่อการตลาด

ข้อมูลเนื้อหา เรื่องราว เขียนโดย นางวราภรณ์ บรรลือ

ภาพถ่าย ภาพประกอบ โดย นางวราภรณ์ บรรลือ

อ้างอิงข้อมูลจาก : https://www.facebook.com/Phuphad