ด้านเกษตร 

1.ชื่อโครงการ พัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

พระราชดำริ

       สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน ร.ร.ตชด. บำรุงที่ 107 บ้านห้วยจะค่าน ต.ปิงโค้ง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ เมื่อ 6 ก.พ. 30 มีพระราชดำริให้ดำเนินการปลูกฝังการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้แก่เด็กนักเรียน และและให้ ร.ร.ปลูกสะเดา ซึ่งนอกจากจะนำมาประกอบเป็นอาหาร อาศัยเป็นร่มเงาแล้วเมล็ดสะเดายังใช้ในการป้องกันกำจัดแมลงในแมลงในผักได้ ซึ่งไม่มีสารพิษตกค้างและทำลายสภาพแวดล้อมเหมือนสารเคมีทั่วๆไป

 

สถานที่ตั้ง

 

วัตถุประสงค์ของโครงการ

       เพื่อดำเนินการปลูกฝังการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้แกเด็กนักเรียน

ผลการดำเนินงานตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน

  เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

ปีงบประมาณที่เริ่มดำเนินการ

       พ.ศ.2530

2.ชื่อโครงการ  ศูนย์ปฏิบัติการโครงการจัดพัฒนาทีดินฯ ตามพระราชประสงค์หนองพลับ-กลัดหลวง

พระราชดำริ

       พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วน

 

สถานที่ตั้ง

       ม.2 ต.หนองพลับ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์

 

วัตถุประสงค์ของโครงการ

หน่วยงานรับผิดชอบ

กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 


ผลการดำเนินงานตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน

     จัดสรรที่ดินให้สมาชิกครอบครัวละ 20-25 ไร่ รวม 778 รายและส่งเสริมการประกอบอาชีพแก่สมาชิก


 ปีงบประมาณที่เริ่มดำเนินการ


ปัญหาและอุปสรรค และข้อเสนอแนะ หรือขยายผลการดำเนินงานตาม

     ปัญหาและอุปสรรค

       แนวทางแก้ไข

3.ชื่อโครงการ ธนาคารโค-กระบือ เพื่อเกษตรกรตามพระราชดำริ

พระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

พระราชดำริ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9


สถานที่ตั้ง

       ในทุกพื้นที่ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

 

วัตถุประสงค์ของโครงการ

       เพื่อช่วยให้เกษตรกรที่ยากจนทั่วประเทศได้มีโค-กระบือไว้ใช้แรงงานและเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร เป็นการช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น


หน่วยงานรับผิดชอบ

       สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กรมปศุสัตว์

 

ผลการดำเนินงานตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน

       มีเกษตรกรยืมโค-กระบือ เพื่อการผลิต จำนวน 212 ราย (โค 202 ตัว กระบือ 10 ตัว) และจำนวนลูกเกิดทั้งสิ้น 57 ตัว (โค 55 ตัว กระบือ 2 ตัว)

                 ปี 2544 โค จำนวน - ตัว กระบือ จำนวน 2 ตัว

                 ปี 2551 โค จำนวน 3 ตัว   กระบือ จำนวน - ตัว

                        ปี 2552 โค จำนวน 195 ตัว กระบือ จำนวน  7 ตัว (ตาย 1 ตัว เหลือ 6 ตัว)

                 ปี 2553 โค จำนวน 5 ตัว   (ตาย 1 ตัว คงเหลือ 4 ตัว) กระบือ จำนวน 2 ตัว


ปีงบประมาณที่เริ่มดำเนินการ

       พ.ศ.2522

4.ชื่อโครงการ สัตวแพทย์พระราชทานพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติฯ พระบรมราชินีนาถ

สถานที่ตั้ง

สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์


วัตถุประสงค์ของโครงการ


หน่วยงานรับผิดชอบ

สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กรมปศุสัตว์


ผลการดำเนินงานตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน

ดำเนินการเมื่อวันที่ 5-6 สิงหาคม 2551 สรุปได้ดังนี้


ปีงบประมาณที่เริ่มดำเนินการ

พ.ศ.2551


งบประมาณที่ได้รับ

40,000 บาท จากกรมปศุสัตว์

5.โครงการหมู่บ้านสหกรณ์ห้วยสัตว์ใหญ่ ป่าเด็ง-ป่าละอู 

            ในปี พ.ศ. 2510 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ  ทรงรับสั่งให้ตำรวจพลร่มค่ายนเรศวรหัวหิน      ให้การช่วยเหลือแก่ชาวไทยภูเขาเผ่ากระเหรี่ยง  โดยการจัดตั้งชุดพัฒนาการขึ้น 2 ชุด  คือ  ชุดพัฒนา 712   ที่บ้านป่าละอูบน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และชุดพัฒนาการ 713 ที่บ้านป่าเด็ง อำเภอ    แก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี   โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะรวบรวมชาวไทยเผ่ากระเหรี่ยงที่กระจัดกระจายให้อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ง่ายต่อการควบคุมดูแล และเพื่อต้องการไม่ให้มีการตัดไม้ทำลายป่าอันเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร  ตลอดจนการจัดหาเครื่องอุปโภคบริโภค และส่งเสริมอาชีพการเกษตร ทั้งในด้านการผลิตและการตลาด     เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น 

       จากกระแสพระราชดำรัสดังกล่าว  กระทรวงมหาดไทยจึงได้จัดทำโครงการหมู่บ้านสหกรณ์  ห้วยสัตว์ใหญ่  ขึ้นเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา และคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ดำเนินการโครงการหมู่บ้านสหกรณ์ห้วยสัตว์ใหญ่ เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2520  โดยสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทได้เร่งดำเนินการตามโครงการฯ  เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2520 เป็นต้นมา ปัจจุบันอยู่ในการกำกับดูแลโดยกรมธนารักษ์

 

สหกรณ์ในพื้นที่โครงการหมู่บ้านสหกรณ์ห้วยสัตว์ใหญ่  ป่าเด็ง – ป่าละอู   ประกอบด้วย

สหกรณ์การเกษตรห้วยสัตว์ใหญ่  จำกัด   ได้รับการจดทะเบียน  เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2523   ปัจจุบันมีสมาชิก 970 คน ดำเนินธุรกิจจำหน่ายน้ำมันให้สินเชื่อการประกอบอาชีพโดยขอสนับสนุนเงินทุนจากเงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์   ส่งเสริมให้สมาชิกรวมกลุ่มอาชีพตามความถนัด เช่น การเลี้ยงโค , การเลี้ยงสุกร, การปลูกข้าวโพด และปลูกมันสำปะหลัง สหกรณ์ให้การส่งเสริมทางด้านข้อมูลวิชาการ และให้มีการจัดทำบัญชีฟาร์มเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการติดตามผลประเมินผลสำเร็จ และใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์สายพันธ์  อัตราการเจริญเติบโต ค่าใช้จ่ายและใช้ข้อมูลแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อจัดทำองค์ความรู้ด้านการเกษตรให้กับสมาชิกต่อไป  ด้านการตลาดสหกรณ์ได้ทำการรวบรวมผลผลิตการเกษตรและจำหน่ายให้กับเกษตรกรโดยทั่วไป  โดยเฉพาะพืชอาหารสัตว์  ซึ่งในพื้นที่มีความต้องการมาก สหกรณ์รวบรวมได้ไม่เพียงพอกับความต้องการของสมาชิก  พืชอาหารสัตว์ของสหกรณ์เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปทั้งด้านราคาและคุณภาพ ในรอบปีบัญชีสิ้นสุด 31  มีนาคม 2552  สหกรณ์มีสมาชิก 995 คน เจ้าหน้าที่ 4 คน คณะกรรมการดำเนินการ 13 คน ในรอบปีบัญชีมีมูลค่าธุรกิจทั้งสิ้น 29.49 ล้านบาท มีผลกำไร 4 แสนบาทเศษ

สหกรณ์โคนมไทย-เดนมาร์คห้วยสัตว์ใหญ่ จำกัด  สหกรณ์ได้รับการจดทะเบียนเป็นประเภทสหกรณ์การเกษตรชื่อ สหกรณ์โคนมห้วยสัตว์ใหญ่ จำกัด  เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2534  ต่อมาได้ขอจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อเป็นสหกรณ์โคนมไทย-เดนมาร์คห้วยสัตว์ใหญ่ จำกัด  เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2539  ปัจจุบันมีสมาชิก 363 คน  ดำเนินธุรกิจรวบรวมน้ำนมดิบ  สามารถรวบรวมน้ำนมดิบได้ประมาณ  30 ตัน จากโคนมของสมาชิกทั้งหมดรวม ประมาณ 7,000 ตัว  และมีโรงงานแปรรูปนมเป็นนมผงชนิดเต็มมันเนย กำลังการผลิต 3 ตัน น้ำนมดิบ/วัน  ได้นมผง ประมาณ 300 กิโลกรัม/วัน สหกรณ์ยังได้ดำเนินธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย และมีมินิมาร์ทจำหน่ายสินค้าทั่วไป ในรอบปีบัญชีสิ้นสุด 31 ธันวาคม 2551สหกรณ์มีมูลค่าธุรกิจทั้งสิ้น 273.79 ล้านบาท มีผลกำไร 6.1 ล้านบาทเศษ

พื้นที่โครงการหมู่บ้านสหกรณ์ห้วยสัตว์ใหญ่  ป่าเด็ง-ป่าละอู อยู่ทางทิศตะวันตกของอำเภอหัวหิน  ห่างจากอำเภอหัวหิน ประมาณ 54  กิโลเมตร  เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของโขงช้างป่าประมาณ 40 ตัว หากจะมาท่องเที่ยวและเยี่ยมชมโครงการ ออกเดินทางจากอำเภอหัวหินประมาณ กิโลเมตรที่ 14 แวะนมัสการหลวงพ่อทวดองค์ใหญ่ที่สุดในโลก ณ วัดห้วยมงคล ถึง กม.ที่ 27 เป็นโครงการจัดและพัฒนาที่ดินตามพระราชประสงค์ หนองพลับ  ซึ่งเป็นโครงการในการกำกับดูแลโดยกรมพัฒนาที่ดินจากหนองพลับเดินทางผ่านไร่อ้อย ไร่สับปะรด และเส้นทางป่าเขาธรรมชาติ ระหว่างทางท่านอาจพบกับฝูงลิงเสนและช้างป่า ถึงโครงการหมู่บ้านสหกรณ์ห้วยสัตว์ใหญ่ แวะเยี่ยมชมสหกรณ์ จากนั้นเลยไปน้ำตกป่าละอู ประมาณ 8  กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาด 15 ชั้น ที่สวยงาม  มีน้ำไหลตลอดทั้งปี  มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาตินิยมมาเที่ยวชมถึง 160,000 คนต่อปี น้ำตกป่าละอู มีธรรมชาติที่ยังสมบูรณ์   มีน้ำใสสะอาด  มีปลามากมาย มีกบภูเขา มีต้นไม้ที่หาชมได้ยากเช่น ต้นชิด ต้นหวายโปร่ง ต้นผึ้ง มีสัตว์ป่า เช่น ค่าง เสน  นก  ช้างป่าจะพบก่อนถึงน้ำตก และสิ่งที่น่าสนใจมากที่สุดก็คือ  ความมหัศจรรย์ที่ธรรมชาติได้สรรค์สร้างให้กับน้ำตกป่าละอูในแต่ละชั้นจากชั้นที่ 1 ถึงชั้นที่ 15 ขากลับแวะซื้อผลิตผลการเกษตร เช่น  กล้วยหอมกะเหรี่ยง, มะละกอ,  ขนุน,  มะม่วง โดยเฉพาะเดือนพฤษภาคม  จะมีทุเรียนห้วยสัตว์ใหญ่  ที่มีรสชาติหอมอร่อยเป็นที่ขึ้นชื่อติดมือเป็นของฝาก   หากมาพักผ่อนในพื้นที่โครงการ  สามารถพักค้างแรมที่บ้านพักของอุทยานหรือกางเต็นท์นอนก็ได้  ทั้งยังมีบ้านพักรีสอร์ท อีก  4-5 แห่ง  และมีร้านอาหารรสชาติดีไว้บริการ  อากาศเย็นสบายโดยเฉพาะหน้าหนาวจะมีหมอกลงจัด


 วัตถุประสงค์

1. เพื่อจัดสรรที่ดินทำกินให้แก่ราษฎรที่ยากจนในรูปการจัดหมู่บ้านสหกรณ์

2. เพื่อป้องกันการตัดไม้ทำลายป่า

3. เพื่อสนับสนุนการรักษาความปลอดภัยของชาติ บริเวณชายแดน

 

สหกรณ์ในพื้นที่โครงการหมู่บ้านสหกรณ์ห้วยสัตว์ใหญ่

  1. สหกรณ์การเกษตรห้วยสัตว์ใหญ่ จำกัด

       2. สหกรณ์การเกษตรหนองพลับรุ่งเรือง จำกัด

       3. สหกรณ์โคนมไทย-เดนมาร์คห้วยสัตว์ใหญ่ จำกัด

 

ผลความก้าวหน้าของการดำเนินงาน

โครงการหมู่บ้านสหกรณ์ห้วยสัตว์ใหญ่ หนองพลับ กลัดหลวง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ปี พ.ศ. 2548-2549

 

คณะทำงานด้านการส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์

(1) สหกรณ์การเกษตรห้วยสัตว์ใหญ่ จำกัด

           ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ.2523 ประเภทสหกรณ์การเกษตรตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลห้วยสัตว์ใหญ่ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ปีทางบัญชีสิ้นสุด ณ วันที่ 31 มีนาคม    ของทุกปี  สมาชิกแรกตั้ง จำนวน 479 คน  สมาชิกส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม การปลูกพืช  เช่น  สับปะรด มะนาว มะม่วง ฯลฯ  ด้านการเลี้ยงสัตว์ เช่น โคนม สุกร โคขุน ฯลฯ ผลการดำเนินงาน (ตั้งแต่เดือนเมษายน 2548-ธันวาคม 2548)

                                               ยกมา           ผลการดำเนินงาน         ปัจจุบัน

1. จำนวนสมาชิก                639                120                759   คน

2. ทุนเรือนหุ้น               419,010     386,030       805,040   บาท

3. รับเงินฝากจากสมาชิก       305,532     342,133       647,665   บาท

4. การติดตามเร่งรัดหนี้ค้างชำระ 

       ต้นเงิน                3,607,277     126,197         3,481,080   บาท

           ดอกเบี้ย                  1,399,733               3,928         1,395,805   บาท

ธุรกิจการจัดหาสินค้ามาจำหน่าย

                 ขายน้ำมัน (ดีเซล เบนซิน)                 5,206,708     บาท

                 ขายเปลือกสับปะรด                       76,863     บาท

ธุรกิจรวบรวม

                 ซื้อมะนาวจากสมาชิก       19,550     บาท

                 ขายให้พ่อค้า                 20,240     บาท

                 ซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากสมาชิก          38,353     บาท

                 ขายให้พ่อค้า                 43,725     บาท

โครงการการให้สินเชื่อตามโครงการส่งเสริมอาชีพ

                 การเลี้ยงโคขุน 1    ราย     จำนวนเงิน   30,000 บาท

                 การเลี้ยงสุกรขุน  3    ราย     จำนวนเงิน   61,000    บาท

สถานะทางการเงินของสหกรณ์ในปัจจุบัน

                 สินทรัพย์                     1,642,866.90      บาท

             หนี้สิน                         2,909,742.21      บาท

                 ทุน                            (1,266,875.31)    บาท

 

ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายสิงห์ทอง  ชินวรรังสี) จัดให้มีการประชุมหน่วยงานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ร่วมกับคณะกรรมการสหกรณ์การเกษตรห้วยสัตว์ใหญ่ จำกัด วันที่ 20 มกราคม 2549 เพื่อร่วมกันพิจารณาจัดทำแผนยุทธศาสตร์ฟื้นฟูสหกรณ์การเกษตร    ห้วยสัตว์ใหญ่ จำกัด  ซึ่งได้ข้อสรุปและจัดทำแผนยุทธศาสตร์ฯ  ดังนี้

        

ผลความก้าวหน้าของการดำเนินงาน

โครงการหมู่บ้านสหกรณ์ห้วยสัตว์ใหญ่ หนองพลับ กลัดหลวง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ปี พ.ศ. 2552

 

 หน่วยงานรับผิดชอบ    

สำนักงานสหกรณ์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

       1. ประสานงานโครงการพระราชดำริที่รับผิดชอบร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพิเศษ และหน่วยงาน   ที่เกี่ยวข้อง เป้าหมาย 12 ครั้ง งบประมาณ 56,700 บาท ผลการดำเนินงานคิดเป็น 100%

       2. สัมมนาและประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับผู้แทนสหกรณ์และเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง     เพื่อร่วมกันหาแนวทางในการแก้ไข/ปรับปรุงการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ จำนวน 150 คน (3 สหกรณ์)   งบประมาณ 48,900 บาท ผลการดำเนินงานคิดเป็น 100%

       3. กำกับ แนะนำ ติดตามและประเมินผลการส่งเสริมสหกรณ์ตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ   ให้เป็นไปตามตัวชี้วัดที่กำหนด งบประมาณปกติ ผลการดำเนินงานคิดเป็น 100%

       4. ตรวจเยี่ยม  แนะนำส่งเสริม  เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับอุดมการณ์  หลักการ  วิธีการสหกรณ์  กฎหมาย การบริหารจัดการ  การจัดทำบัญชีสหกรณ์  การพัฒนาธุรกิจ  และแก้ไขข้อบกพร่องของสหกรณ์ตามโครงการฯ  ให้ครบทุก 3 เดือน งบประมาณ 31,600 บาท ผลการดำเนินงานคิดเป็น 100%

       5. ตรวจการสหกรณ์ในโครงการฯ จำนวน 4 สหกรณ์ งบประมาณ 5,600 บาท ผลการดำเนินงาน 100%


6.โครงการโรงสีข้าวพระราชทานอ่าวน้อย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ 

ประวัติ

       พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานเครื่องสีข้าวที่ได้รับน้อมเกล้าถวายจากห้างยนต์อีสาน   มิลเลอร์ จังหวัดนครราชสีมา เป็นเครื่องสีข้าวขนาด 45 แรงม้า  อัตราการสีข้าว 16 เกวียน/24 ชั่วโมง มูลค่า 750,000 บาท  โดยมีสมาชิกนิคมสร้างตนเองจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้ร่วมกันบริจาคเงินจัดสร้างโรงคลุมและลานเก็บข้าว  ซึ่งสามารถเก็บข้าวเปลือกได้ประมาณ 300 เกวียน มูลค่ารวม 800,000 บาท บนที่ดินเนื้อที่ 3  ไร่ ที่นางเจียรนัย  โพธิ์เสือ น้อมเกล้าถวาย  โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ  พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  ได้เสด็จพระราชดำเนิน ในพิธีเปิดโรงสี เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2524

       การบริหารจัดการโรงสี ในปี พ.ศ. 2525 ดำเนินการโดยกลุ่มเกษตรกรทำไร่อ่าวน้อย  ซึ่งการดำเนินงานประสบปัญหาหลายประการ  โดยมีปัญหาที่สำคัญ คือ ปริมาณข้าวเปลือกในท้องที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีปริมาณไม่เพียงพอ ต้องซื้อวัตถุดิบจากต่างจังหวัด ทำให้มีต้นทุนการผลิตสูงกับความสามารถในการบริหารจัดการของกลุ่มมีจำกัด การดำเนินการจึงเป็นไปในระยะเวลาสั้น ๆ  โดยต้องหยุดดำเนินกิจการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 อันเป็นปีที่เริ่มดำเนินกิจการจนถึงปี พ.ศ. 2541

 

พระราชดำรัส 

 เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2540

       ในวันที่ 27 พฤษภาคม 2541 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จแปรพระราชฐาน ณ พระราชวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  นายประสงค์  พิฑูรกิจจา  ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์  ได้ถวายรายงานการปฏิบัติหน้าที่ราชการ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีกระแสพระราชดำรัสเกี่ยวกับโรงสีข้าวพระราชทานว่า  “ขณะนี้ได้มีการดำเนินการอย่างไรบ้าง”  ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้กราบบังคมทูลว่า “ปัจจุบันนี้สมาชิกนิคมและราษฎรซึ่งเป็นเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรด  มีสภาพความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น  เนื่องจากมีความเจริญก้าวหน้าด้านสาธารณูปโภค การคมนาคมสะดวกสบาย เกษตรกรจึงหันมาซื้อข้าวบริโภคกอร์ปกับสภาพภูมิประเทศไม่เหมาะสมกับการทำนา”  ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  มีพระราชดำรัสว่า  หากเป็นเช่นนั้นน่าจะให้เกษตรกรผู้ที่ซื้อข้าวสารบริโภค รวบรวมเงินทุนเพื่อจัดซื้อข้าวเปลือกมาร่วมกันดำเนินธุรกิจ ซึ่งจะถูกกว่าและสามารถเก็บไว้ได้นาน โดยการรวมกลุ่มช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทั้งนี้  เพื่อจะได้มีข้าวสารไว้สำหรับบริโภค  และเพื่อจะได้ดำเนินกิจกรรมโรงสีข้าวอย่างต่อเนื่องต่อไป

 

การดำเนินการฟื้นฟูกิจกรรมของโรงสีข้าวพระราชทาน

       ในช่วงเดือนกรกฎาคม 2541 คือ เป็นช่วงเวลาของการฟื้นฟูกิจกรรมของโรงสี โดยมีการดำเนินการคือ 

       3.1 นิคมสร้างตนเองประจวบคีรีขันธ์ ได้ประสานงานกรมประชาสงเคราะห์  และได้รับเงินงบประมาณ จำนวน 492,700 บาท (สี่แสนเก้าหมื่นสองพันเจ็ดร้อยบาทถ้วน)  เพื่อซ่อมแซมเครื่องจักรและโรงคลุม  ตลอดจนซื้อข้าวเปลือก จำนวน 15 เกวียน  เพื่อสีทดสอบ กับนำคณะกรรมการบริหารโรงสี จำนวน 10  คน  ดูงานโรงสีข้าวของกลุ่มเกษตรกรทำนาบ้านนาโส  อำเภอกุดชุม  จังหวัดยโสธร

       3.2 กลุ่มเกษตรกรทำไร่อ่าวน้อย โดยการสนับสนุนของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้ขอความร่วมมือให้องค์การบริหารส่วนตำบล  5  ตำบล  ในเขตอำเภอเมืองฯ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  ถือหุ้นในกลุ่มเกษตรกรทำไร่อ่าวน้อย  แห่งละ  200,000  บาท  รวมเป็นเงิน 1,000,000 บาท

       3.3 องค์การบริหารส่วนตำบลอ่าวน้อย ได้กู้ยืมเงินทุนโครงการส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง จำนวน 500,000 บาท ให้กลุ่มเกษตรกรทำไร่อ่าวน้อยกู้ยืมต่อ

       3.4 กลุ่มเกษตรกรทำไร่อ่าวน้อย ได้ระดมทุนโดยให้สมาชิกถือหุ้นเพิ่ม ได้เงินค่าหุ้นจำนวน 51,800 บาท

       3.5 นิคมสร้างตนเองจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้นำคณะกรรมการดำเนินการเดินทางไปซื้อข้าวเปลือกที่จังหวัดราชบุรี จำนวน 200 เกวียน และโรงสีได้เริ่มเดินเครื่องจักร ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2542 เป็นต้นมา

 

การจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลรูปสหกรณ์

       การดำเนินธุรกิจของโรงสีข้าวพระราชทาน ตั้งแต่เริ่มดำเนินการ ดำเนินการในลักษณะของนิติบุคคลรูปกลุ่มเกษตรกร  ชื่อ  “กลุ่มเกษตรกรทำไร่อ่าวน้อย”  จนถึงวันที่ 1 กันยายน 2548  ได้จดทะเบียนเป็น    นิติบุคคลรูปสหกรณ์  ชื่อ  “สหกรณ์การเกษตรโรงสีข้าวพระราชทานอ่าวน้อย จำกัด”  เลขทะเบียนสหกรณ์ ที่  7700000325482

       สำนักงานตั้งอยู่เลขที่ 196/2 หมู่ที่ 9 ตำบลอ่าวน้อย อำเภอเมืองฯ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  77210 รายละเอียดผลการดำเนินงานปีทางบัญชีล่าสุด ปีสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2551

สหกรณ์ดำเนินธุรกิจ จำนวน 4 ธุรกิจ  คือ

1.  จัดหาสินค้ามาจำหน่าย

2.  แปรรูปข้าวเปลือก

3.  ผลิตปุ๋ยน้ำชีวภาพ และปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด

4.  รับฝากเงินจากสมาชิก

ผลการดำเนินงาน

1. ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย

       รายได้  ขายสินค้าประเภทการเกษตร  รวม 1,063,189.00

                   ขายข้าวสาร                             959,362.00

                   ขายข้าวเปลือก                    65,718.00

                   ขายพันธุ์ข้าวเปลือก                           9,099.00

                   ขายปุ๋ยเคมี                        29,010.00

                 ขายสินค้าประเภทน้ำมัน        รวม 3,764,246.45

                   ขายน้ำมันเชื้อเพลิง                     3,630,078.38

                   ขายน้ำมันหล่อลื่น                       134,168.07

                 ขายสินค้าอื่น ๆ                  รวม     62,543.24

                           รวมขายสินค้าทั้งหมด           4,889,978.69

       หัก  ต้นทุนขายสินค้าประเภทการเกษตร       817,375.62     

                 ต้นทุนขายสินค้าประเภทน้ำมัน          3,513,607.65

                 ต้นทุนขายสินค้าทั่วไป                    48,333.55

                           รวมหักต้นทุนขายทั้งหมด      4,379,316.82

                 กำไรขั้นต้น                                   510,661.87

       บวก รายได้เฉพาะธุรกิจ (ค่าปรับลูกหนี้การค้า)    40,582.50

       หัก  ค่าใช้จ่ายเฉพาะธุรกิจ           รวม   165,258.82

                   เงินเดือน                                    59,510.00

                   ค่าล่วงเวลา/ค่าทำงานวันหยุด             21,150.00

                   ค่าไฟฟ้า                                 10,724.09

                   น้ำมันเชื้อเพลิงใช้ไป                    16,777.21

                   ค่าซ่อมแซมบำรุงรักษายานพาหนะ       42,389.14

                   ค่าใช้จ่ายอื่น                                 14,708.38               

กำไรเฉพาะธุรกิจ              385,985.55

 

2. ธุรกิจแปรรูปข้าวเปลือก

             รายได้  ขายสินค้า              รวม 2,767,102.45

                   ขายข้าวสาร                             1,703,199.00

                   ขายปลายข้าว                             196,369.00

                   ขายรำ                                     169,763.00

                   ขายข้าวเปลือก                            676,260.45

                   ขายแกลบ                               21,511.00


       หัก  ต้นทุนขาย                              รวม 2,237,513.78

       บวก รายได้เฉพาะธุรกิจ                    รวม   160,264.00

                   รายได้เครื่องชั่ง                               54,900.00

                   รายได้เงินอุดหนุนเครื่องชั่ง                102,000.00

                   รายได้อื่น                                            3,364.00

       หัก  ค่าใช้จ่ายเฉพาะธุรกิจ                 รวม   922,936.69

                   ดอกเบี้ยจ่ายเงินกู้                           401,092.00

                   ค่าเสียหายจากข้าวเปลือกขาดบัญชี        62,381.30

                   ค่าเสียหายจากข้าวเปลือกยุบตัวจากการอบ       41,903.45

                   ค่าเสียหายจากข้าวเปลือกยุบตัวจากการจัดเก็บ        64,698.70

                   ตัดจ่ายสิทธิประโยชน์ในสิ่งปลูกสร้าง         185,254.50

                   ค่าเสื่อมราคาอุปกรณ์โรงสี                     102,758.24

   ค่าใช้จ่ายอื่น                                       64,848.50

กำไรเฉพาะธุรกิจ                           (233,084.02)

3. การผลิตปุ๋ยชีวภาพ

       รายได้                                                รวม   865,245.00

                 ขายปุ๋ยน้ำชีวภาพ                                    36,320.00

                 ขายปุ๋ยอัดเม็ด-ผง ชีวภาพ                    828,925.00           

       หัก  ต้นทุนขาย                                                                  644,293.59

                           กำไรขั้นต้น                                                       220,951.41

       บวก รายได้เฉพาะธุรกิจ (เงินอุดหนุนหรือบริจาค)                           234,830.00

       หัก  ค่าใช้จ่ายเฉพาะธุรกิจ                     รวม   309,211.20

                   ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร-อุปกรณ์                 192,380.00

                   ค่าตัดจ่ายการใช้ประโยชน์สิ่งปลูกสร้าง         99,173.60

                   ค่าใช้จ่ายอื่น                                       17,657.60

                           กำไรเฉพาะธุรกิจ                                               146,570.21

รายได้อื่นและค่าใช้จ่ายดำเนินงาน

รายได้อื่น                                   รวม   134,422.64

                   กำไรจากการจำหน่ายรถยนต์                 95,000.00

                   ค่าเช่าตลาดกลาง                                 15,390.00

                   รายได้อื่น                                          24,032.64

 

ค่าใช้จ่ายดำเนินงาน                       รวม 549,735.12

                   เงินเดือนค่าจ้าง                                     298,980.00

                   ค่าตอบแทน                                       41,960.00

         ค่าเบี้ยประชุม ค่าเบี้ยเลี้ยง                   25,250.25

                   เงินสมทบประกันสังคม                      24,924.00

                   ค่าประกันภัย                              18,788.87

                   ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ                              111,314.00 


สรุปผลการดำเนินงาน

ปีทางบัญชีสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2551


1.  ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย  กำไร                        385,985.55

2.  ธุรกิจแปรรูปข้าวเปลือก    (ขาดทุน)                    (233,084.02)

3.  ธุรกิจผลิตปุ๋ยชีวภาพ        กำไร                        146,570.21

รวม กำไร                                  299,471.74

                          บวก รายได้อื่น                                             134,422.64                            

    หัก         ค่าใช้จ่ายดำเนินงาน                             549,735.12

                                        คงกำไร (ขาดทุน) สุทธิ                 (115,840.74)

 

6. รายการหนี้สินของสหกรณ์

                 หนี้สิน

                 เงินกู้ยืม ธกส.                    5,281,678.75      (ดอกเบี้ยร้อยละ 6.5/ปี)

                 เงินกู้ยืม อบต.อ่าวน้อย            300,000.-         (ดอกเบี้ยร้อยละ 0/ปี)

                 การชำระหนี้ระหว่างปี

                 เงินกู้ยืม ธกส.   ชำระต้นเงิน 618,321.25 บาท ดอกเบี้ยค้าง 210,459.- บาท 

ชำระดอกเบี้ยประจำปี      190,635.- บาท     ปัจจุบันไม่มีดอกเบี้ยค้างชำระ

 

7. รายชื่อคณะกรรมการดำเนินการชุดปัจจุบัน



รายชื่อเจ้าหน้าที่และพนักงานสหกรณ์ในปัจจุบัน

 

นายนิรันต์          บัวหลวง

นางสาวสุภาพร  สว่างแสง

นายสมชาย         คงด้วง

 

ข้อสังเกตและแนวทางแก้ไข

       สหกรณ์มีปัญหาจากผลขาดทุนสะสมที่ยกมาจาก “กลุ่มเกษตรกรทำไร่อ่าวน้อย” ก่อนจดทะเบียนเป็นสหกรณ์ เป็นเงิน 2,005,252.82 บาท แต่อย่างไรก็ตามภายใต้จุดแข็งของสหกรณ์ที่มีคณะกรรมการดำเนินการที่ทุ่มเท เสียสละ และฝ่ายจัดการที่มีความซื่อสัตย์ การดำเนินการให้ฐานะของสหกรณ์มีเสถียรภาพมากขึ้น จึงควรมีแนวทางดังต่อไปนี้

                 1.  ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย ปีที่ผ่านมามีกำไร 385,985.55 บาท สินค้าสำคัญที่ทำธุรกิจซื้อมาขายไปที่สำคัญ

1.1      น้ำมันเชื้อเพลิง มูลค่า 3,630,078.38 บาท  สหกรณ์จะต้องมีข้อมูลการดำเนินธุรกิจที่ละเอียดรอบคอบ มีความชัดเจนในต้นทุนค่าสินค้าและค่าจัดการรอบด้าน โดยเฉพาะต้นทุนในส่วนที่เป็นการขาดหายตามปกติของสินค้า ป้องกันการสูญหายที่เป็นเหตุผิดปกติที่อาจเกิดจากความเสื่อมชำรุดของหัวจ่าย และการเก็บรักษา มีการตรวจนับสินค้าคงเหลืออย่างแม่นยำ ข้อมูลเหล่านี้ต้องมีการจัดการอย่างเป็นระบบ  เพื่อความชัดเจนในการกำหนดนโยบายของคณะกรรมการดำเนินการ  กับระมัดระวังในการจำหน่ายเป็นเงินเชื่อโดยไม่มีหลักประกัน

1.2      ข้าวสาร มูลค่า 959,362.- บาท  การจำหน่ายข้าวสารเป็นธุรกิจตรงไปตรงมา ไม่มีขั้นตอนยุ่งยาก โดยสหกรณ์จะต้องรักษาคุณภาพของสินค้าจนเป็นที่มั่นใจของสมาชิก และธุรกิจนี้เป็นธุรกิจที่มีแนวทางจะพัฒนาต่อไปได้ตามศักยภาพของสหกรณ์ที่มีอยู่แล้ว

2.  ธุรกิจการผลิตปุ๋ยชีวภาพ  ปีที่ผ่านมามีกำไรสุทธิ 146,570.12 บาท โดยมียอดขาย 865,245.- บาท เป็นธุรกิจที่มีลู่ทางการตลาดดี มีสัดส่วนผลตอบแทนสูงมาก สหกรณ์จำเป็นต้องทดสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ว่า มีประโยชน์คุ้มค่าแก่การใช้ รักษาคุณภาพและขยายธุรกิจให้เติมโตต่อไป

3.  ธุรกิจการแปรรูปข้าวเปลือกปีที่ผ่านมามีผลขาดทุนเฉพาะธุรกิจ 233,084.02 บาท  มีรายได้จากธุรกิจทั้งปี 2,767,102.45 บาท  จากการวิเคราะห์ธุรกิจ  การขาดทุนมีผลจากการที่สหกรณ์มีค่าใช้จ่ายเฉพาะธุรกิจสูงมากคือ เป็นเงิน 922,936.69 บาท  ดังมีรายการสำคัญ คือ

3.1  ดอกเบี้ยจ่ายเงินกู้ 401,092.- บาท  เกิดจากการกู้เงิน ธกส. มาทำธุรกิจ  คงเหลือต้นเงิน 5,281,678.75 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 6.5 ต่อปี  ปัจจุบันสหกรณ์สามารถบริหารหนี้ได้อย่างน่าพอใจไม่มีดอกเบี้ยค้างชำระเมื่อสิ้นปี แนวทางแก้ไขในการลดภาระรายจ่ายด้านดอกเบี้ย คือ เร่งชำระคืนเงินต้น  หาแหล่งเงินกู้ยืมที่มีดอกเบี้ยต่ำหรือระดมเงินฝากจากสมาชิก 


ข้อสังเกตในประเด็นค่าใช้จ่ายค่าดอกเบี้ยที่มีจำนวนมากนี้ เป็นภาระของสหกรณ์ที่มีมาแต่ต้น จากการเน้นการแปรรูปข้าวเปลือกเป็นธุรกิจหลักซึ่งมีผลให้เกิดยอดขาดทุนสะสม ต้องกู้ยืมเงินมาหมุนเวียนหล่อเลี้ยงธุรกิจทั้งระบบ ทั้งที่ตามขนาดธุรกิจที่เหมาะสม ปัจจุบันการทำธุรกิจแปรรูปข้าวเปลือกอาจใช้เงินทุนเพียงไม่เกิน 2 ล้านบาท ดอกเบี้ยที่จำเป็นต้องจ่ายจึงอยู่ที่ประมาณ 1 แสนบาทเศษ เท่านั้น

       3.2 ค่าเสียหายจากข้าวเปลือกขาดบัญชี ข้าวเปลือกยุบตัวจากการอบ  ข้าวเปลือกยุบตัวจาก

การเก็บรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 168,983.45 บาท เป็นข้อมูลสำคัญที่สหกรณ์จะต้องพิสูจน์หาข้อยุติความแน่นอนของอัตราส่วนการขาดหาย การยุบตัว และสรุปเป็นต้นทุนการผลิตประกอบการพิจารณาตัดสินใจผลิตควบคู่กับราคาซื้อข้าวเปลือก ต้นทุนการแปรรูป และราคาขายข้าวสาร

       3.3  ค่าเสื่อมราคาอุปกรณ์โรงสีและตัดจ่ายสิทธิประโยชน์ในสิ่งปลูกสร้าง รวมทั้งสิ้น

288,012.74 บาท  เป็นค่าใช้จ่ายเฉพาะธุรกิจที่ต้องเกิดแน่นอนแม้สหกรณ์จะหยุดการแปรรูปข้าวเปลือก

เป็นข้อมูลสำคัญอีกข้อมูลหนึ่งที่จะประกอบการพิจารณาว่าสหกรณ์ควรจะดำเนินการแปรรูปข้าวเปลือกหรือไม่ มากน้อยเพียงใด

จากข้อมูลที่ปรากฏ การดำเนินธุรกิจแปรรูปข้าวเปลือกจึงควรดำเนินการโดยความระมัดระวัง บริหารจัดการข้อมูลภายในอย่างชัดเจน  เชื่อถือได้  และครอบคลุม   คาดหมายภาวะตลาดได้อย่างใกล้เคียง   การดำเนินธุรกิจจึงจะประสบความสำเร็จได้



7.โครงการทดลองการปลูกปาล์มในพื้นที่โครงการชัยพัฒนาแม่ฟ้าหลวง ตำบลหนองพลับ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  

ความเป็นมา / พระราชดำริ

                  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานพระราชดำริให้สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนาประสานงานกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการศึกษา ทดลองการปลูกปาล์มน้ำมัน สบู่ดำ และพืชพลังงานทดแทนอื่นๆ เพื่อนำไปใช้แปรรูปเป็นพลังงานทดแทนในอนาคต โดยให้ดำเนินการในพื้นที่ของมูลนิธิชัยพัฒนา (ที่ว่างเปล่า) ทั่วประเทศ และพิจารณาหาพื้นที่อื่นๆ ที่มีความเหมาะสมต่อการปลูกประมาณ 10,000 ไร่ ในเขตพื้นที่ภาคใต้ รวมทั้งให้พิจารณาการจัดตั้งโรงงานผลิตน้ำมันปาล์มดิบ ดังเช่น ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ จังหวัดนราธิวาส หรืออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ และให้พิจารณาจัดตั้งโรงงานผลิตน้ำมันไบโอดีเซลขนาดเล็กที่ใช้น้ำมันปาล์ม สบู่ดำ และ/หรือพืชพลังงานอื่นๆ ในการผลิต

หน่วยงานรับผิดชอบ

                        กรมพัฒนาที่ดิน

ผลการดำเนินงาน

   ตามที่ สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา ได้ประสานกรมพัฒนาที่ดิน และผู้อำนวยการโครงการชัยพัฒนา-แม่ฟ้าหลวง เพื่อทดลองปลูกปาล์มน้ำมัน โดยเริ่มปลูกสายพันธุ์สุราษฎร์ธานี 2 จำนวน 200 ไร่ จำนวน 4,080 ต้น เมื่อปี 2548 ภายในพื้นที่โครงการปลูกป่าชัยพัฒนา - แม่ฟ้าหลวง  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นั้น กรมพัฒนาที่ดิน ได้ดำเนินการดูแลแปลงปลูก และจัดทำระบบน้ำแบบมินิสปริงเกอร์ รวมทั้งระบบไฟฟ้าใหม่เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2549 บริษัท อาร์ แอนด์ ดี เกษตรพัฒนา จำกัด ได้ทูลเกล้าฯ ถวายต้นปาล์มสายพันธุ์ CompactNigeria แด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา จึงได้ประสานกรมพัฒนาที่ดินในการดำเนินการเตรียมพื้นที่ และปลูกต้นปาล์มดังกล่าวในช่วงต้นเดือนตุลาคม 2549 โดยปลูกในพื้นที่ใกล้กับแปลงปลูกปาล์มน้ำมันเดิมในปี 2550 ต้นปาล์มเจริญเติบโตดี เนื่องจากมีฝนตกอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนเมษายน โดยขณะนี้ปาล์มน้ำมันติดทะลายผลแล้ว ประมาณ 300 ต้น และกำลังออกเกสรอีกประมาณ 350 ต้น อย่างไรก็ดี ต้นปาล์มน้ำมันที่ปลูกในพื้นที่ลุ่ม ประมาณ 50 ไร่ เกิดน้ำท่วมขังทำให้การเจริญเติบโตหยุดชะงัก และตายประมาณ 80 ต้น ซึ่งขณะนี้ ได้ดำเนินการขุดย้ายต้นปาล์มน้ำมันไปปลูกในพื้นที่ดอนแล้ว คงเหลือ ต้นปาล์มน้ำมันจำนวน 3,716 ต้นในส่วนต้นปาล์มน้ำมันสายพันธุ์ CompactNigeria จำนวน 1,100 ต้น ที่ บริษัท  R & D เกษตรพัฒนา จำกัด ได้น้อมเกล้าฯ ถวาย และนำมาปลูกเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2549 นั้น เจริญเติบโตดี มีความสูงโดยเฉลี่ยประมาณ 95 เซนติเมตร ทรงพุ่มกว้างเฉลี่ยประมาณ 100 เซนติเมตร แต่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมขังประมาณ 200 ต้น กรมพัฒนาที่ดิน จึงได้ดำเนินการขุดย้ายต้นปาล์มน้ำมันไปปลูกในพื้นที่ดอนแล้วเช่นกัน คงเหลือประมาณ 800 ต้นอย่างไรก็ดี ขณะนี้ โครงการฯ สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตทะลายปาล์มน้ำมันที่ปลูกไว้ได้ตั้งแต่เดือนมกราคม - เดือนตุลาคม 2551 เป็นจำนวนรวมประมาณ 19,930 กิโลกรัม

 การดำเนินงานในระยะต่อไป

สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา จะดำเนินการประสานกับกรมพัฒนาที่ดิน และกรมป่าไม้ เพื่อขอขยายแปลงปลูกปาล์ม และสบู่ดำ รวมทั้งติดตามงานโครงการต่างๆ ที่ได้ให้การสนับสนุนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง