แหล่งเรียนรู้

แหล่งเรียนรู้ในอำเภอกุดบาก

แหล่งเรียนรู้ หมายถึง แหล่งข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศ และประสบการณ์ ที่สนับสนุนส่งเสริมให้ผู้เรียนใฝ่เรียน ใฝ่รู้ แสวงหาความรู้และเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย อย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้

โลกปัจจุบันเป็นโลกแห่งข้อมูลข่าวสารที่แพร่หลายทั่วถึงกันได้อย่างรวดเร็ว ไร้อาณาเขตขวางกั้น สภาพดังกล่าวมีส่วนกระทบถึงวิถีชีวิตของผู้คนพลเมืองโดยทั่วไป เพราะเป็นสภาพที่เอื้ออานวยในการรับและ ถ่ายโยงเอาศาสตร์หรือภูมิปัญญาตะวันตกเข้ามาในการพัฒนาประเทศและพัฒนาผลผลิต ตลอดจนการดาเนิน ชีวิต อย่างมิได้มีการปรับปนกับภูมิปัญญาไทยที่มีความเหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นที่เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ทาให้ชุมชนชนบทประสบปัญหาดังที่กล่าวว่าชุมชนล่มสลาย อันมีผลรวมไปถึงความทรุดโทรมของสิ่งแวดล้อม อย่างกว้างขวาง การพยายามใช้กลไกลทางการศึกษาจากเงื่อนไขที่เปิดโอกาสให้มีการพัฒนาหลักสูตร ตามความต้องการ ของท้องถิ่น เป็นช่องทางในการประยุกต์เอาภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีจุดเด่น ที่สามารถพิสูจน์ ตัวเองในการยืนหยัดอยู่รอดได้ ท่ามกลางกระแส การล่มสลายของชุมชนและการทรุดโทรมของสิ่งแวดล้อม ดังกล่าว มาสู่หลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ในแนวทางของการคิดปฏิบัติจริง จากการประยุกต์ปรับปน ภูมิปัญญาชาวบ้านหรือภูมิปัญญาไทยกับปัญญาสากล เพื่อให้ผู้เรียนค้นพบคุณค่าภูมิปัญญาที่มีในท้องถิ่นที่ เหมาะสมกับวิถีชีวิตของชุมชน และสามารถประยุกต์ใช้ได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด นามาซึ่งดุลยภาพที่สงบสันติสุข ของบุคคล ชุมชนและชาติ


แหล่งเรียนรู้ที่เป็นศูนย์การเรียนชุมชน

มีทั้งหมด 6 แหล่งเรียนรู้

แหล่งข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศ และประสบการณ์ ที่สนับสนุนส่งเสริมให้ผู้เรียนใฝ่ เรียน ใฝ่ รู้ แสวงหาความรู้และเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย อย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มีสื่อรูปแบบต่าง ๆ ที่ทำให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพมากกว่าการได้ฟังบรรยายเพียงอย่างเดียว เช่น อุปกรณ์สาธิต สิ่งของจริง (ของจริง) ป้ายข้อมูล โมเดลจำลอง วีดีทัศน์ เทคโนโลยีสื่อเสมือนจริง เป็นต้น การเลือกใช่สื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย สัมพันธ์กับข้อมูล จะช่วยสร้างความน่าสนใจให้แหล่งเรียนรู้ และช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ได้ ประกอบไปด้วย

1.ห้องสมุดประชาชนอำเภอกุดบาก

2.กศน.ตำบลกุดบาก

3.กศน.ตำบลนาม่อง

4.กศน.ตำบลกุดไห

5. ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านบัว

6.ศูนย์การเรียนชุมชน ชุมชนที่ 3

แหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรพอเพียง /เกษตรผสมผสาน /เกษตรทฤษฎีใหม่

มีทั้งหมด 6 แหล่งเรียนรู้

แหล่งการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สามารถประยุกต์ใช้ประโยชน์จากปราชญ์ท้องถิ่น และแหล่งเรียนรู้ชุมชนได้อย่างเหมาะสม เพียงพอทั้งในระดับท้องถิ่น อำเภอ จังหวัด ได้รวบรวมสื่อไว้อย่างเป็นระบบครบถ้วน สามารถต่อยอดเป็นอาชีพที่ยั่งยืนได้ ประกอบไปด้วย

1.ศูนย์เรียนรู้เกษตรพอเพียง

2.ศูนย์อินแปงบ้านบัว

3.ศูนย์เรียนรู้บ้านนายพลวัฒน์ โถดาสา

4.ศูนย์เรียนรู้บ้านนางพิมพ์ โถตันคำ

5. ศูนย์เรียนรู้นายพสิษฐ์ สลักคำ

6.ศูนย์เรียนรู้บ้านนายสิ่ง ข่วงทิพย์

ด้านการท่องเที่ยว วัฒนธรรม

มีทั้งหมด 1 แหล่งเรียนรู้

การส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชน ส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนฐานรากให้มีความมั่นคงและมีเสถียรภาพ รวมทั้งเสริมสร้างความสามารถและความเข้มแข็งของชุมชน ปฏิรูปการโครงสร้างการผลิตภาคการเกษตรทั้งระบบ ควบคู่การสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าทางการเกษตร และส่งเสริมการตลาดสมัยใหม่

ดังนั้น โอกาสในการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้ชุมชนตามแนวทางดังกล่าว จำเป็นต้องดำเนินการพัฒนาเชิงพื้นที่ผ่านกระบวนการประชาคม ให้ชุมชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนในการพัฒนาอาชีพและสร้างรายได้ในชุมชน ด้วยการสนับสนุนวิสาหกิจชุมชน และส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน เชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวในแต่ละท้องถิ่น ประกอบไปด้วย

1.หมู่บ้านนวัตวิถีบ้านหนองสะไน

2.หมู่บ้านนวัตวิถีบ้านกุดแฮด

ด้านการทอผ้า

มีทั้งหมด 4 แหล่งเรียนรู้

การทอผ้าใช้กันในหมู่บ้าน และในเมืองโดยทั่วไป มาตั้งแต่โบราณกาล แต่การทอผ้าด้วยมือตามแบบดั้งเดิมนั้น ก็เกือบจะสูญหายไปโดยสิ้นเชิง หากไม่ได้มีการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาได้ทันสถานการณ์ มีกลุ่มแม่บ้านช่างทอผ้าที่รวมตัวกันทอผ้าเป็นอาชีพเสริม และนำออกขายผ่านช่องทางต่างๆ อย่างไรก็ตามในสภาพที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น เป็นการทอผ้าย้อมคราม เพื่อขายเป็นหลัก ดังนั้นจึงได้มีการปรับปรุงพัฒนาสีสัน คุณภาพ และลวดลาย ให้เข้ากับรสนิยมของตลาด ประกอบไปด้วย

1.ศูนย์วิสาหกิจชุมชนบ้านกุดแฮด

2.ศูนย์อินแปงบ้านบัว

3.กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านหนองสะไน

4.ศูนย์เรียนรู้นางสวิงทอง ลามคำ



ด้านการแปลรูปผลิตภัณฑ์

มีทั้งหมด 1 แหล่งเรียนรู้

การสร้างมูลค่าเพิ่มแก่สินค้าเกษตร เป็นเทคนิคที่สำคัญที่จะช่วยให้เกษตรกรสามารถมีรายได้เพิ่มขึ้นจากผลผลิตทางการเกษตรของตัวเองได้ โดยความหมายโดยทั่วไปจะหมายถึง การนำผลผลิตทางการเกษตรมาเพิ่มลักษะพิเศษหรือจุดเด่นบางอย่างให้ต่างไปจากเดิม เพื่อให้ตรงต่อความต้องการของผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น โดยจะมีทั้งสินค้าที่เป็นอาหารและไม่ใช่อาหาร สินค้าทางการเกษตรที่เป็นอาหารนั้นจะมีเทคนิคในการเพิ่มมูลค่าโดยการการแปรรูปหรือการถนอมอาหารเพื่อเพิ่มมูลค่าแก่สินค่าให้มีราคาที่สูงขึ้นกว่าเดิม ซึ่งหากมีการทำอย่างเป็นระบบ จะช่วยส่งผลให้ผลผลิตสินค้าทางการเกษตรมีปริมาณไม่ล้นตลาด ทำให้ไม่เกิดสงครามราคาที่จะทำให้ราคาสินค้าลดลง อีกทั้งยังเสริมสร้างอาชีพใหม่ๆ ในชุมชน และยังสามารถลดต้นทุนการผลิตสินค้าได้อีกด้วย เนื่องจากผลผลิตทางการเกษตรที่ได้ผ่านกระบวนการแปรรูปมาแล้วนั้นโดยส่วนใหญ่จะมีขนาดที่เล็กกว่าขนาดปกติ ทำให้ค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าจากแหล่งผลิตไปยังแหล่งจัดจำหน่ายลดลง โดยศูนย์อินแปงนั้น นอกจะผลิตสินค้าจากผลผลิตทางการเกษตรในท้องถิ่นแล้ว ยังเป็นศูนย์ให้ข้อมูลความรู้ทางด้านการเกษตรอีกด้วย

ประกอบไปด้วย

1.ศูนย์อินแปงบ้านบัว