ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี

ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีชนเผ่าไทกะเลิง

ชนเผ่าไทกะเลิง อำเภอกุดบาก เป็นที่อยู่อาศัยของกลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลาย ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านเผ่า "กะเลิง" ซึ่งเป็น 1 ใน 6 เผ่าของจังหวัดสกลนคร ประกอบไปด้วย

- ชนเผ่าไทญ้อ - ชนเผ่าภูไท

- ชนเผ่าไทโย้ย - ชนเผ่าไทกะโส้

- ชนเผ่าไทลาว - ชนเผ่าไทกะเลิง

กลุ่มชาติพันธ์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่อำเภอกุดบากมี ดังนี้

1) ชาติพันธ์กะเลิง ร้อยละ 95

2) ชาติพันธ์ภูไท ร้อยละ 3

3) ชาติพันธ์ญ้อ ร้อยละ 1

4) ชาติพันธ์ไทลาว ร้อยละ 1

โดยเฉพาะกลุ่มชาติพันธุ์กะเลิง ซึ่งมีมานานนับร้อยปี จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ในแต่ละปีอำเภอกุดบาก ได้มีการจัดกิจกรรมประเพณีไทกะเลิงขึ้นทุกปี ในช่วงเดือนมกราคม วันที่ ๗ – ๙ ของทุกปี เพื่อสืบสานวัฒนธรรมและประเพณี

ชนเผ่ากะเลิง เป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งในหลาย ๆ กลุ่มที่อาศัยอยู่ในจังหวัดสกลนคร มีประวัติความเป็นมา การเลือกหลักแหล่งทำมาหากิน วัฒนธรรม ความเชื่อ ตลอดจนภาษาพูดที่มีสำเนียงหรือถ้อยคำที่นิยมใช้กันเฉพาะในกลุ่มของตน ชนเผ่ากะเลิง เป็นกลุ่มที่ชอบอาศัยอยู่ในพื้นที่ราบสูง ตามไหล่เขาและเมื่อกลุ่มกะเลิงลงมาอยู่พื้นที่ราบปะปนกับโย้ย ญ้อ ทำให้เกิดการรับวัฒนธรรมภาษาพูดในกลุ่มไทย-ลาวชนเผ่ากะเลิง ก่อนจะอพยพมาอยู่ในเขตจังหวัดสกลนคร อาศัยอยู่ในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง