การทำข้าวต้มมัด



ชื่อเรื่อง ข้าวต้มมัด

ชื่อภูมิปัญญา นางฉวีวรรณ ทองอันตัง

พื้นที่ปฏิบัติ บ้านโพนงามท่า ม.3 ต.บ้านแป้น

ประวัติความเป็นมา

ข้าวต้มมัดเป็นหนึ่งในขนมไทย ที่น้อยคนนักจะบอกว่าไม่รู้จัก เนื่องจากเป็นขนมที่มีประโยชน์ และมีคุณค่าทางอาหาร สามารถหาวัตถุดิบในการทำได้ง่ายในท้องถิ่น นอกจากนี้ยังเป็นขนมที่นำข้าวซึ่งเป็นอาหารหลักของคนไทยนำมาประยุกต์ ปรุงแต่งเป็นขนมหวาน จึงถือได้ว่า “ข้าวต้มมัด” เป็นหนึ่งในภูมิปัญญาท้องถิ่นของบรรพบุรุษไทย

“ข้าวต้มมัด” มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น อาทิเช่น ทางภาคเหนือจะเรียกข้าวต้มมัดว่า “ข้าวต้มผัด” ทางภาคกลางเรียกว่า“ข้าวต้มมัด”เรียกตามรูปลักษณ์ที่มีห่อและมัดเป็นกลีบโดยใช้ใบตองและเชือกกล้วย ส่วนทางภาคใต้โดยเฉพาะนครศรีธรรมราชจะเรียกว่า “เหนียวห่อกล้วย” เพราะลักษณะที่เห็น ประกอบกับวิธีการทำที่เป็นการนำข้าวเหนียวมาห่อกล้วยเอาไว้และห่อปิดด้วยใบตองอีกชั้นหนึ่ง นอกจากนี้ บางท้องถิ่นจะห่อข้าวต้มมัดเป็นทรงกรวยโดยใช้ใบกระพ้อแต่ไม่มัด หรือห่อเป็นก้อนด้วยใบเตยหรือใบอ้อย แล้วไว้หางยาว ซึ่งจะเรียกว่า “ข้าวต้ม

ขั้นตอนการทำ

อุปกรณ์ ข้าวเหนียว,กระทิ,น้ำตาล,เกลือ,ใบตอง

1. แช่ข้าวเหนียว แช่ประมาณ 1 คืน หรือ 15 ชั่วโมงแล้วเอามานึ่ง

2. นำกะทิและน้ำตาล เกลือ คนให้เดือดแล้วเอาข้าวเหนียวมาใส่ในกระทะ

3.นำมาวางผึงไว้ให้เย็น แล้วตัดใบตอง นำเอามาห่อแล้วเอาไปนึ่ง

ประโยชน์

1.ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง

2.กล้วยช่วยทำให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น

3.น้ำกระทำให้พลังงานในรูปของไขมัน

4.แป้งในข้าวเหนียวช่วยให้ร่างกายคล่องแคล่ว

5.แคลเซียมช่วยต่อเติมส่วนที่สึกหลอของร่างกาย

6.ได้บุญ(ถ้านำไปทำบุญ)

7.ช่วยในการขับถ่าย

8.ช่วยแก้โรคผอม(เพราะข้าวต้มมัดไขมันเยอะมาก)

การสืบสานต่อให้กับชาวบ้านและลูกหลานทำสืบต่อกันไปแบบยาวนาน

ผู้เขียน นางสาวสุพาพร ชุ่มนาว