การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเสื่อกก

ชื่อเรื่อง การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเสื่อกก

ชื่อภูมิปัญญา นางบุญเทียม สีสุดา

พื้นที่ปฏิบัติ หมู่ที่ 7 บ้านป่าผาง ตำบลนาตงวัฒนา อำเภอโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร

ประวัติความเป็นมา

( สื่อกก ) เป็นผลิตภัณฑ์ที่พบเห็นแทบทุกจังหวัดในประเทศไทย ซึ่งแรกเริ่มสมัยบรรพบุรุษจะเป็นการทอเสื่อกกไว้ใช้เองในครัวเรือนโดยใช้กกเหลี่ยมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในท้องทุ่ง หรือแหล่งน้ำธรรมชาติ นำกกมาจัก ตากให้แห้ง แล้วทอเป็นผืนเสื่อแบบหยาบๆ ไว้ใช้กันเองในครัวเรือนหรือแจกจ่ายในหมู่ญาติ ต่อมามีการพัฒนาเป็นใช้พันธุ์กกกลมที่ปลูกในท้องนาหรือพื้นที่ที่มีความชื้น เช่น บริเวณริมแหล่งน้ำธรรมชาติ เพราะกกกลมจะมีคุณสมบัติที่ดีกว่าคือมีความเหนียวและผิวละเอียดมากกว่ากกสามเหลี่ยมกกกลมเกิดและเจริญเติบโตได้ดีในบริเวณที่มีน้ำท่วมถึง หลังน้ำลด พอกกเจริญเติมโตได้เต็มที่ก็ทำการตัด นำมาจักแล้วตากให้แห้ง เก็บไว้ทอเสื่อต่อไปเสื่อกกเป็นการทอเสื่อกกจากกกกลมพันธุ์ที่ปลูกโดยไม่ต้องอาศัยความชื้นมากนัก บางคนเรียกกกชนิดนี้ว่า (กกราชินี) ปลูกได้โดยทั่วไป เช่น บริเวณสวนภายในหมู่บ้าน ปลูกรอบๆบริเวณบ้าน ร่องน้ำภายในหมู่บ้าน เป็นพันธุ์ที่มีความเหนียวของเส้นใย และความละเอียดของผิวมากกว่ากกกลมพันธุ์อื่นๆ

ขั้นตอนการทำ

๑.นำต้นกกที่โตได้ขนาดมาจักโดยแยกใจกลางออกเอาแต่เปลือกนอก

๒.นำไปตากแดกให้แห้ง ๑-๓ แดด เก็บไว้ย้อมสีตามความต้องการ

๓.การย้อมสีกก ละลายสีในน้ำให้เข้มข้นต้มให้เดือด หย่อนกกในน้ำต้มเดือด สังเกตการอิ่มตัวของสี ยกกกที่ย้อมขึ้นดูน้ำที่หยดลงพื้นจะใสไม่มีสี เป็นอันว่ากกกินสีได้เต็มที่ นำกกออกไปผึ่งลมให้แห้ง เตรียมไว้ทอ

๔.ขั้นตอนการมัดหมี่/มัดย้อม หากต้องการลวดลายที่เป็นมัดหมี่หรือมัดย้อม ขบวนการขั้นตอนเหมือนการมัดหมี่ผ้าไหม ลวดลายที่ได้บางลายขึ้นอยู่กับขั้นตอนการเก็บตะกอ เหมือนกับการทอผ้าไหมมัดหมี่

๕.ขั้นตอนการทอฟืมที่ใช้ทอเสื่อกกมีหลายชนิด มีการพัฒนารูปแบบอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันใช้การทอเหมือนกับการทอผ้า

๖.การแปรรูป นำเสื่อกกมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลากหลายชนิด

การสืบสานต่อ เป็นภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่น ที่นำเอาต้นกกมาแปรสภาพให้เป็นเส้น ย้อมสี แล้วสานทอให้เป็นแผ่นผืน เพื่อนำมาใช้ปูลาดรองนั่งหรือนอน หรือทำธุรกรรมต่างๆ ตลอดจนทำพิธีกรรมทางศาสนาและความเชื่อ

ผู้เขียน นางสาวสุพาพร ชุ่มนาว