




ความรู้ในการจัดทำแผน 3 ระดับ
แผนระดับที่ 1 (Z) หมายถึง ยุทธศาสตร์ชาติ เป็นเป้าหมายการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ตามหลักธรรมาภิบาลเพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดทำแผนต่าง ๆ ให้สอดคล้องและบูรณาการกันเพื่อให้เกิดเป็นพลังผลักดันร่วมกันไปสู่เป้าหมายและประเด็นการพัฒนาไปสู่แผนระดับที่ 2 และ 3 อย่างเป็นระบบ
แผนระดับที่ 2 (Y) หมายถึง แผนซึ่งเป็นแนวทางการขับเคลื่อนประเทศในมิติต่าง ๆ เพื่อบรรลุตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งประกอบไปด้วย แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ เพื่อถ่ายทอดไปสู่แนวทางในการปฏิบัติในแผนระดับที่ 3
แผนระดับที่ 3 (X) หมายถึง แผนระดับพื้นที่ เป็นกลไกสำคัญในการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมและเกิดการพัฒนาที่เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ซึ่งมีอัตลักษณ์และทรัพยากรที่แตกต่างกันไป เป็นแผนที่มีความชัดเจนแผนที่จัดทำขึ้นโดยหน่วยงานของรัฐ เพื่อถ่ายทอดเป้าหมายและประเด็น การพัฒนาของแผนระดับที่ 1 และ 2 ไปสู่การปฏิบัติ ในแต่ละปีงบประมาณ หรือ ทุก ๆ ห้วง 5 ปี หรือจัดทำขึ้นตามพันธกรณีหรืออนุสัญญาระหว่างประเทศ นำไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาตามที่กำหนดหลักความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล (Causal Relationship : XYZ) เช่น แผนแผนการศึกษาแห่งชาติ แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน แผนปฏิบัติราชการ แผนปฏิบัติการประจำปี แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา เป็นต้น
แผนระดับที่ 1 (Z) หมายถึง ยุทธศาสตร์ชาติ




แผนระดับที่ 2(Y) หมายถึง แผนซึ่งเป็นแนวทางการขับเคลื่อนประเทศ
ในมิติต่าง ๆ เพื่อบรรลุตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งประกอบไปด้วย แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ
Y1 หมายถึง แผนย่อยของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (Value Chain)
Y2 หมายถึง ประเด็นของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ



แผนระดับที่ 3 (X) หมายถึง แผนระดับพื้นที่
เป็นกลไกสำคัญในการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมและเกิดการพัฒนาที่เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ซึ่งมีอัตลักษณ์และทรัพยากรที่แตกต่างกันไป เป็นแผนที่มีความชัดเจนแผนที่จัดทำขึ้นโดยหน่วยงานของรัฐ เพื่อถ่ายทอดเป้าหมายและประเด็น การพัฒนาของแผนระดับที่ 1 และ 2 ไปสู่การปฏิบัติ ในแต่ละปีงบประมาณ หรือ ทุก ๆ ห้วง 5 ปี หรือจัดทำขึ้นตามพันธกรณีหรืออนุสัญญาระหว่างประเทศ นำไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาตามที่กำหนดหลักความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล (Causal Relationship : XYZ) เช่น แผนแผนการศึกษาแห่งชาติ
แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน แผนปฏิบัติราชการ แผนปฏิบัติการประจำปี เป็นต้น







